Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2548
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
1 พฤศจิกายน 2548
 
All Blogs
 
การแปรรูป กฟผ. : บทเรียนจาก ปตท.

บทความ การแปรรูป กฟผ. : บทเรียนจาก ปตท.
โดย ประสาท มีแต้ม
ที่มา ผู้จัดการออนไลน์

       1. ความเป็นมา

       เมื่อเดือนมีนาคม 2547 นายกฯทักษิณ ชินวัตร ได้กล่าวอย่างเกรี้ยวกราดว่า “ตายเป็นตาย รัฐบาลจะไม่ยอมถอยเด็ดขาด” ประเด็นการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยให้เหตุผล 2 ด้าน คือ

       ด้านที่เป็นเหตุผลหลักที่ต้องแปรรูปมี 3 ข้อ คือ (1) เพื่อความมีประสิทธิภาพและให้เกิดการแข่งขัน (2) เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ (3) เพื่อให้เกิดการระดมทุนในการลงทุนเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ต่อไป โดยรัฐบาลจะไม่ต้องค้ำประกันเงินกู้ให้ หรือไม่ต้องการเพิ่มหนี้สาธารณะให้แก่ประเทศอีก

       สำหรับเหตุผลของด้านที่ไม่ยอมถอยก็เพราะกลัวว่าจะเสียความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนต่างประเทศ หรือเกรงว่าหุ้นจะร่วงอย่างมโหฬารนั่นเอง

       แต่ในที่สุดรัฐบาลทักษิณก็ต้องยอมถอย เพราะเกรงจะเสียคะแนนนิยมในช่วงการเลือกตั้งใหญ่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 จนหลังจากชนะการเลือกตั้ง รัฐบาลทักษิณกลับเตรียมแปรรูปอย่างเงียบเชียบ พร้อมกับการใช้เล่ห์เหลี่ยมสารพัด เช่น ตอบแทนผลประโยชน์ก้อนโตให้แก่พนักงานที่เคยคัดค้าน ในส่วนที่ยืนหยัดคัดค้านก็จะถูกกลั่นแกล้งต่างๆ นานาจากผู้บริหาร

       บทความนี้จะนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับเหตุผลในการแปรรูปว่า ข้ออ้างของนายกฯทั้ง 3 ข้อนั้นว่าแท้ที่จริงแล้วมีเหตุผลหรือไม่ นอกจากนี้จะนำเสนอบทเรียนจากการแปรรูป ปตท.มาประกอบด้วย

       2. สถานภาพของ กฟผ.

       กฟผ. (อายุองค์กรประมาณ 35 ปี) เป็นกิจการของรัฐหรือของประชาชนเพื่อจัดหาพลังงานไฟฟ้าให้แก่ประชาชน ทรัพย์สินของ กฟผ. ไม่ว่าจะเป็นที่ดินบริเวณที่สายไฟฟ้าผ่าน หรือเขื่อนต่างๆ ล้วนได้มาจากการเวนคืนหรือรอนสิทธิ์มาจากประชาชน

       จากรายงานประจำปี 2547 กฟผ. มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 3.7 แสนล้านบาท มีรายได้รวมในปีนั้นเท่ากับ 2.3 แสนล้านบาท โดยมีกำไรขั้นต้น 42,000 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 3 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 18.2% และ 12.9% ของรายได้ ตามลำดับ

       กิจการที่มีขนาดใหญ ่และทำกำไรสุทธิอย่างงามมาตลอดจะไม่มีปัญญาลงทุนเองเชียวหรือ

       ในด้านการขยายการลงทุนเพิ่มเติม จากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือ PDP (2547-2558) ได้ปรับลดลงมาจากการสร้างโรงไฟฟ้าที่ระดับ 1,860 มาเป็น 1,000เมกกะวัตต์ต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มการขยายตัวลดลง ซึ่งหากประเมินค่าก่อสร้างอย่างคร่าวๆ ก็พบว่ากำไรสุทธิที่ กฟผ.ได้รับก็พอๆ กับต้นทุนค่าสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ นั่นคือไม่ต้องกู้เพิ่มก็สามารถสร้างได้

       ในด้านความโปร่งใสหรือการตรวจสอบได้ ระบบระเบียบการเงินการคลังของรัฐวิสาหกิจทั้งหลายก็เข้มงวดพอใช้ได้ไม่ใช่หรือ อย่างไรก็ตาม หากนักการเมืองคิดจะโกงกิน พวกเขาก็มีวิธีการที่แยบยลจนยากที่ “ระเบียบการเงิน” ใดๆ จะจับได้ (แต่สังคมจับได้) อยู่ดี

       ในด้านการแข่งขัน แม้ กฟผ.กำลังจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯอยู่แล้ว แต่ก็พยายามหามาตรการเพื่อให้ กฟผ. มีส่วนแบ่งการตลาดถึง 50% นับว่าเป็นมาตรการที่ไม่เป็นธรรมกับเอกชนรายอื่น ระบบสายส่งซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งไฟฟ้าและเคยเป็นสมบัติของประชาชนมาก่อน แทนที่จะถูกกันไว้เป็นสมบัติของส่วนรวม บริษัท กฟผ. จำกัด(มหาชน) กลับยึดเอาไปด้วย

       ดังนั้นเหตุผลในการแปรรูป กฟผ. ที่ท่านนายกฯกล่าว ล้วนไม่น่าเชื่อถือ

       3. ผลประโยชน์ 4 ชั้นของกลุ่มทุน

       ในกระบวนการขายรัฐวิสาหกิจต้องมีการว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งปกติมักจะคิดค่าปรึกษา (advisory fee) ประมาณ 1% ของมูลค่าทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจที่จะขาย และอีกไม่เกิน 3% เป็นค่าประกันการขายหุ้น (underwriting fee) กฟผ. มีทรัพย์ถึง 3.7 แสนล้านบาท เงินก้อนนี้จะโตขนาดไหน นี่เป็นผลประโยชน์ชั้นที่หนึ่ง

       จากบทเรียนในการแปรรูป ปตท. หุ้นเข้าตลาดในราคา 35 บาทต่อหุ้น ปัจจุบันขึ้นไปอยู่ที่ 230 บาท จำนวน 2,850 ล้านหุ้น ถ้าคิดว่ามีการซื้อขายกันเพียง 25% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด เราสามารถคำนวณได้ว่าส่วนต่างของราคามีค่าถึงกว่า 1.3 แสนล้านบาท นี่เป็นผลประโยชน์ขั้นที่สอง

       แม้ท่านนายกฯทักษิณได้ประกาศเตือนในที่ประชุม ครม.ว่า ห้ามญาติพี่น้องของรัฐมนตรีเข้าไปซื้อ แต่ก็เป็นการยากที่จะห้ามคนขับรถของรัฐมนตรี

       สำหรับผลประโยชน์ชั้นที่สาม คือการส่งคนของตนเข้าไปเป็นคณะกรรมการประจำ รวมทั้งเป็นผู้บริหารด้วย ในกรณีของ ปตท. ซึ่งมีคณะกรรมการ 15 คน ปรากฏว่ามีอยู่ 3 ท่านเป็นผู้ใกล้ชิดเป็นพิเศษกับท่านนายกฯทักษิณ เช่น ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายกสภามหาวิทยาลัยชินวัตร และที่ปรึกษานายกฯ เป็นต้น นอกจากนี้ระดับรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ ปตท.ก็มีนามสกุลเดียวกับท่านนายกฯ ด้วย

       เมื่อกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ปตท.กับ กฟผ. แล้ว จะพบสิ่งที่น่าสนใจ 2 อย่าง คือ (1) กรรมการ ปตท.บางคนยังเป็นกรรมการ กฟผ. ด้วย เช่น คุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นต้น และ (2) ประมาณ 70% ของเชื้อเพลิงทั้งหมดที่ กฟผ. ใช้อยู่ต้องซื้อมาจาก ปตท. ในราคาที่แพงมากโดยเฉพาะค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติ ส่งผลให้ทุก 100 บาทที่คนไทยจ่ายค่ากระแสไฟฟ้าจะกลับเข้าสู่กระเป๋าของ ปตท.ถึง 43 บาท

       ผมเข้าใจว่า นี่คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ กฟผ. ไม่ยอมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ

       สำหรับผลประโยชน์ชั้นที่สี่ คือระบบอินเทอร์เน็ตที่จะมากับสายส่งไฟฟ้าซึ่งสามารถเข้าถึงเกินกว่า 98% ของพื้นที่ทั้งหมด เมื่อวันนั้นมาถึงผู้ประกอบการด้านคอมพิวเตอร์คงจะเข้ามาร่วมทุนด้วย

       4. บทเรียน(อีกอย่างหนึ่ง) จาก ปตท.

       ท่านนายกฯทักษิณกล่าวว่า หุ้นของ กฟผ. จะนำออกมาขายเพียง 30% เท่านั้น ที่เหลือยังคงเป็นของกระทรวงการคลังอยู่

       เรื่องนี้ก็เป็นกลลวงอีกอย่างหนึ่ง จากรายงานของ ปตท. พบว่าในเดือนเมษายน 2546 กระทรวงการคลังถือหุ้น 69.28% แต่พอมาถึง กันยายน 2547 กลับลดลงเหลือเพียง 52.48% เท่านั้น

       แปลเป็นไทยได้ว่า ขณะนี้กำไรสุทธิหลังหักภาษีของ ปตท. ในปี 2547 ซึ่งสูงถึง 62,666 ล้านบาท แทนที่จะเป็นของประชาชนทั้งหมดก็ต้องตกเป็นของผู้ถือหุ้นไม่กี่คนถึงเกือบครึ่งหนึ่ง

       คาดกันว่าในปี 2548 ปตท.จะมีกำไรสุทธิเกือบหนึ่งแสนล้านบาท ในขณะที่คนไทยทั้งประเทศต้องแบกรับจ่ายค่าเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน

       ผมจะขอจบบทความนี้ด้วยการเปรียบเทียบค่าตอบแทนของกรรมการ (เบี้ยประชุมและโบนัส) ของ ปตท. (ซึ่งแปรรูปไปแล้ว) และ กฟผ. (ซึ่งยังไม่แปรรูป) ในปีเดียวกันคือ 2547

       พบว่า ของ กฟผ. มีจำนวน 2.69 ล้านบาท ในขณะที่ ปตท. 22.9 ล้านบาท คิดเป็นกว่า 8 เท่าตัว ส่วนเงินเดือนและโบนัสของผู้บริหาร ปตท. จำนวน 8 คน รับไปเบาะๆ รวม 60.2 ล้านบาท

       เรื่องราวทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว สามารถสรุปได้ง่ายๆ ว่าเป็นกระบวนการดังในหนังสือ “ซื้อรัฐวิสาหกิจแถมประเทศไทย” โดย ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ นั่นคือ ‘ชง-เสิรฟ์-จ่าย’ หรือเป็นกระบวนการที่เรียกว่า ‘สามเหลี่ยมทรราชย์’ นั่นเอง.-

       ***************************

โครงการการจัดการความรู้เรื่องพลังงาน

       สนับสนุนโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณะสุข(สวรส.) ภาคใต้

       แผนงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี

มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)




Create Date : 01 พฤศจิกายน 2548
Last Update : 1 พฤศจิกายน 2548 7:10:49 น. 7 comments
Counter : 516 Pageviews.

 
หวัดดีครับ


โดย: Zantha วันที่: 1 พฤศจิกายน 2548 เวลา:8:13:10 น.  

 
แปรรูปไปให้พวกกลุ่มทุน หุ้นส่วนใหญ่ก็ล็อคเอาไว้ไอ้ไอ้พวกดูดในรัฐบาล ค่าไฟก็ต้องขึ้นเพื่อทำกำไร แล้วยังมาอ้างคนอื่นอีก


โดย: myfiction (myfiction ) วันที่: 1 พฤศจิกายน 2548 เวลา:9:39:51 น.  

 
ขอสาป แช่งคนโกง จงลงนรก


โดย: วารีรัญ (sasiny ) วันที่: 5 พฤศจิกายน 2548 เวลา:7:23:43 น.  

 
เห็นใจคนจนบาง คนรวยก็รวยๆๆๆ คนจนก็จนๆๆๆ


โดย: รักประเทศไทย IP: 202.29.39.1 วันที่: 7 พฤศจิกายน 2548 เวลา:11:53:37 น.  

 
พวกมัน.... พวกเรา


โดย: รักประเทศไทย IP: 202.29.39.1 วันที่: 7 พฤศจิกายน 2548 เวลา:11:57:32 น.  

 
ถ้ามันเอา กฟผ เข้าตลาดหลักทรัพย์ขอให้มันฉิบหายวายวอดไม่มีแผ่นดินจะอยู่


โดย: รักไทยด้วยใจไม่ใช่logo IP: 203.156.142.94 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2548 เวลา:11:49:15 น.  

 
ไปกันก้าวหน้าไป


โดย: นิ IP: 125.24.40.87 วันที่: 19 ธันวาคม 2549 เวลา:20:36:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

WangAnJun
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add WangAnJun's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.