Group Blog
 
<<
มกราคม 2549
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
5 มกราคม 2549
 
All Blogs
 
ธรรมาธิปไตย อารยธรรมใหม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นเหตุวิกฤตชาติ (8)

ที่มา ผู้จัดการออนไลน์
บทความโดย ป.เพชรอริยะ

              "ก้าวสู่ปีใหม่ ปี 49 ขอให้ก้าวสู่ ธรรมาธิปไตย 9 คือความยุติธรรม สุขสงบ ก้าวหน้าอย่างยั่งยืนยิ่ง และใหญ่ของปวงชนไทยในแผ่นดิน" "ธรรม คือศูนย์กลางของสรรพสิ่งฉันใด, ธรรมาธิปไตย คือศูนย์กลางของปวงชนไทยฉันนั้น"

        (ต่อจากตอนที่ 7) 13. เมื่อมีปัญญารู้แจ้งมาเป็นลำดับ ถึงที่สุดแล้ว ก็จะมองเห็นภาพรวมกฎธรรมชาติบนความสัมพันธ์ระหว่างอสังขตธรรมกับสังขตธรรมหรือลักษณะแผ่กระจายกับรวมศูนย์ ดำรงอยู่อย่างดุลยภาพในลักษณะพระธรรมจักรดังรูป

        14. เมื่อมีปัญญารู้แจ้ง ตถตา หรือกฎธรรมชาติดังกล่าว เพิ่มเติมได้ดังนี้

        (1) เมื่อพิจารณาขันธ์ 5 ก็จะพบว่า รูปหรือกาย ประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม แสดงให้เห็นความแตกต่างหลากหลาย (สังขตธรรม)

        นาม 4 ได้แก่ เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ ก็มีความแตกต่างหลากหลาย (สังขตธรรม) จิตที่ปรุงแต่งเป็นอกุศล เช่น กลัว โลภ โกรธ หลง นับตั้งแต่ทำลายตนเอง จนถึงทำลายระดับชาติ ระดับโลก ก็มีความแตกต่างหลากหลาย (สังขตธรรม)

        จิตที่ปรุงแต่งเป็นกุศล ก็มีความแตกต่างหลากหลาย นับตั้งแต่สร้างประโยชน์แก่ตนเองไปจนถึงการสร้างสรรค์ประเทศชาติและโลก ก็มีความแตกต่างหลากหลาย (สังขตธรรม)

        นิพพาน คือ สภาวะพ้นจากการปรุงแต่ง เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นในสังขารทั้งปวงแล้ว เมื่อจะคิด พูด ทำความดี แต่ไม่ติดยึดในความดีที่ตนทำ จึงเป็นสภาวะจิตที่อิสระ เหนือการปรุงแต่ง จึงพ้นจากกฎไตรลักษณ์

        และเมื่อเรามีปัญญารู้แจ้งตามความเป็นจริง และไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 อันมีลักษณะความแตกต่างหลากหลายแล้ว (สังขตธรรม) ก็จะสามารถทำให้เราเข้าถึง นิพพาน อันเป็นลักษณะเอกภาพดังกล่าวนี้ เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าขันธ์ 5 ก็ดำรงอยู่บนความสัมพันธ์ระหว่างเอกภาพ (อสังขตธรรม) กับความแตกต่างหลากหลาย (สังขตธรรม) นั่นเอง

        อีกอย่างหนึ่ง จิตที่ปรุงแต่ง จะมีลักษณะรวมศูนย์ที่ตนเอง ทั้งอกุศล และกุศล ส่วนจิตที่อิสระเป็นจิตที่มีคุณภาพจะมีลักษณะแผ่คุณธรรมออกไป

        มีข้อสังเกตว่า จิตปุถุชนจะคิดเอาก่อน (รวมศูนย์ที่ตน) แล้วจะให้ทีหลัง ลักษณะนี้จะเป็นทุกข์ เพราะตรงกันข้ามกับกฎธรรมชาติ

        ส่วนจิตอริยชน จะเป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ คือ จะคิดให้ก่อน แผ่คุณธรรมออกไปก่อน แล้วรับผลตอบแทนทีหลังตามมีตามได้ ท่านจึงไม่เป็นทุกข์ทางใจ เพราะรู้แจ้งดำรงตนเป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ เช่น พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า หรือพระอรหันตสาวกทั้งหลาย จะแผ่เมตตาโปรดสัตว์ แล้วก็จะได้รับการถวายปัจจัย 4 ทีหลัง (แผ่เมตตาสอนธรรมก่อน แล้วรับปัจจัย 4 ทีหลังตามแต่จะได้รับการถวาย และใช้ไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ทำแต่กุศล แต่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในกุศลที่ตนทำ)

        ฉะนั้นจิตของผู้รู้แจ้งแล้วจะดำรงอยู่อย่างดุลยภาพ เป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ จึงสามารถนำกฎธรรมชาติมาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์แห่งมนุษยชาติได้

        (2) ญาณทัสสนวิสุทธิ ทำให้รู้แจ้งกฎธรรมชาติ อย่างเป็นไปเอง กฎธรรมชาติดำรงอยู่บนความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะอสังขตธรรม (ด้านเอกภาพ) กับสังขตธรรมอันเป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย เช่น ธาตุต่างๆ หรือสิ่งไม่มีชีวิต ก็มีความแตกต่างหลากหลาย สิ่งมีชีวิตได้แก่ พืชและสัตว์ ก็มีความแตกต่างหลากหลาย

        และสภาวะอสังขตธรรมมีลักษณะแผ่กระจาย ส่วนสภาวะสังขตธรรม มีลักษณะรวมศูนย์จะเห็นว่า ลักษณะแผ่กระจายกับรวมศูนย์ กฎธรรมชาติจึงดำรงอยู่ดุลยภาพ

        ดังนี้แล้วก็แสดงให้เห็นชัดว่า ความสัมพันธ์ของกฎธรรมชาติกับขันธ์ 5 อยู่ภายใต้กฎเดียวกัน หรือเป็นหนึ่งเดียวกัน

        (3) และเมื่อนำกฎธรรมชาติไป พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ ก็จะพบความสัมพันธ์ 2 ลักษณะ คือ

        1) ดวงอาทิตย์ เป็นด้านเอกภาพ ดาวเคราะห์ เป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย

        2) ดวงอาทิตย์แผ่โอบอุ้มดาวเคราะห์ ขณะเดียวกันดาวเคราะห์ทั้งหลาย ต่างก็ขึ้นต่อดวงอาทิตย์ หรือรวมศูนย์ที่ดวงอาทิตย์ จะเห็นได้ว่าลักษณะแผ่กับรวมศูนย์ ก่อให้เกิดระบบสุริยจักรวาลดำรงอยู่อย่างดุลยภาพ

        (4) ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ขันธ์ 4, กฎธรรมชาติ และจักรวาล ดำรงอยู่ภายใต้กฎเดียวกัน เป็นสิ่งเดียวกัน คือดำรงอยู่อย่างดุลยภาพระหว่างด้านเอกภาพกับด้านความแตกต่างหลากหลาย ซึ่งดำรงอยู่บนสัมพันธภาพในลักษณะ พระธรรมจักร นั่นเอง

        (5) ในมิติหนึ่งแสดงให้เห็นว่า กฎธรรมชาติ นั่นดำรงอยู่บนความสัมพันธ์ระหว่างด้าน ลักษณะทั่วไป (General) และด้าน ลักษณะจำเพาะ (Individual)

        ลักษณะทั่วไป คือ ลักษณะที่แผ่กระจายครอบงำส่วนย่อยทั้งหมด หรือลักษณะจำเพาะที่มีความแตกต่างหลากหลาย

        ลักษณะจำเพาะ คือ ส่วนย่อยที่มีความแตกต่างหลากหลาย ดังจะขยายความเพิ่มเติมว่า

        - อสังขตธรรม เป็นด้านลักษณะทั่วไปของกฎธรรมชาติ ส่วน สังขตธรรม เป็นลักษณะจำเพาะของกฎธรรมชาติหรือ อสังขตธรรม เป็นลักษณะทั่วไป ส่วนธาตุต่างๆ สิ่งไม่มีชีวิต และสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ เป็นด้านลักษณะจำเพาะ

        - บรมธรรม, นิพพาน, ธรรมาธิปไตย เป็นลักษณะทั่วไป ส่วนขันธ์ 5 เป็นลักษณะจำเพาะ และอีกความสัมพันธ์หนึ่ง นิพพาน เป็นลักษณะทั่วไป ส่วนการปรุงแต่งจิตเป็นกุศล และอกุศลเป็นลักษณะจำเพาะ

        - ดวงอาทิตย์ เป็นลักษณะทั่วไป ส่วนดาวเคราะห์ เป็นลักษณะจำเพาะ

        ในอีกมิติหนึ่ง ถ้าลักษณะทั่วไปเป็นธรรม, ลักษณะจำเพาะ ก็จะพลอยเป็นธรรมไปด้วยอย่างเช่น เมื่อใจบริสุทธิ์ การคิด, การพูด, การกระทำ ก็จะดีไปด้วย หรือถ้าดวงอาทิตย์ดำรงอยู่ได้ดาวเคราะห์ก็ยังดำรงอยู่ได้

        แต่ถ้าลักษณะทั่วไปเลวร้าย ลักษณะจำเพาะ หรือส่วนย่อยที่ประกอบกันขึ้นก็จะเลวร้ายไปด้วย เช่น ถ้ากิเลสครอบงำจิต การคิด, การพูด, การกระทำ ก็จะเป็นไปตามอำนาจกิเลส

        หรือดวงอาทิตย์แตกสลาย ดาวเคราะห์ทั้งหลายก็จะพินาศไปด้วย

        หรือเมื่อโลกแตกสลาย สิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ก็จะต้องพินาศไปด้วย

        หรือ เมื่อระบอบการเมืองเลว ก็จะทำให้รัฐบาล, กระทรวง, กรม, จังหวัด, อำเภอ, ตำบล, หมู่บ้าน, ครอบครัว, บุคคล, ประชาชนจะย่ำแย่ไปด้วย เป็นต้น

        จากนั้นก็จะนำกฎธรรมชาติไปประยุกต์ทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ

        (6) ทั้งหมดที่อธิบายมานั้นเป็นความรู้ที่ค่อนข้างจะยาก ทั้งเป็นองค์ความรู้ใหม่ของโลกในยุคปัจจุบัน แต่ก็สามารถที่จะทำให้เข้าใจได้ รู้แจ้งได้ด้วยความศรัทธา (faith) ความตั้งใจ (volition) ความใฝ่รู้ (curiously) คือการปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งปริยัติ และปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา (Insight development) อย่างมีปณิธานอันแน่วแน่เพื่อมวลมนุษยชาติ หรือมีปณิธานในเบื้องต้นว่า "เรียนอะไรก็ได้ ทำหน้าที่อะไรก็ได้ ให้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเทศชาติ" สักวันหนึ่งท่านก็จะเป็นนักการเมืองผู้มีคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ของชาติ และของโลก

        แต่ถ้าเป็น พระภิกษุพุทธสาวก ก็ได้ดำรงสติระลึกอยู่เสมอว่า "ข้าพเจ้าบวชเรียนเป็นภิกษุศึกษา ทำหน้าที่อุทิศตนเพื่อมวลมนุษยชาติตามแบบอย่างพระบรมศาสดา" ก็สามารถที่จะเข้าถึงองค์ความรู้ดังกล่าวนี้ได้โดยไม่ยากนัก และจะเป็นปัจจัยในการสร้างสรรค์ประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อมนุษยชาติอย่างกว้างขวางต่อไป ตามแบบอย่างพระศาสดา

        องค์ความรู้อันยิ่งใหญ่ดังกล่าว ได้รู้ความเป็นมาการก่อเกิดของธรรมาธิปไตย เป็นสัจธรรมและปัญญาอันยิ่งใหญ่ของแผ่นดิน ทั้งการประยุกต์ตามลักษณะพิเศษของประเทศไทย สรุปเป็นหลักการปกครอง ได้ดังนี้

        1. หลักธรรมาธิปไตย 2. หลักพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ 3. หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน 4. หลักเสรีภาพบริบูรณ์ทางการเมือง 5. หลักความเสมอภาคทางโอกาส 6. หลักภราดรภาพ 7. หลักดุลยภาพ 8. หลักเอกภาพ 9. หลักนิติธรรม (จะขยายความในตอนต่อไป)

        ปัญหาของประเทศไม่ใช่อยู่ที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก่อนอื่นจะต้องจัดความสัมพันธ์รัฐธรรมนูญให้มีหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 เสียก่อน จึงค่อยแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราต่างๆ ให้สอดคล้องกับหลักการปกครอง จึงจะเป็นความถูกต้องและเป็นชัยชนะของปวงชนในแผ่นดิน




Create Date : 05 มกราคม 2549
Last Update : 1 เมษายน 2549 9:12:01 น. 0 comments
Counter : 580 Pageviews.

WangAnJun
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add WangAnJun's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.