It's All I Have to Bring Today !
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2562
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
2 สิงหาคม 2562
 
All Blogs
 
หม่อมศรีพรหมา ปฏิเสธเป็นเจ้าจอมในร.5 กับชีวิตหลังวลี "มิได้รักทางชู้สาว"



หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา (นามเดิม เจ้าศรี ณ น่าน, 19 มีนาคม พ.ศ. 2431 - 25 กันยายน พ.ศ. 2521) พระธิดาในพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเจ้านครเมืองน่าน กับหม่อมศรีคำ (ชาวเวียงจันทน์) เป็นหม่อมเอกในหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ทั้งสองท่านได้ออกหนังสือ “กสิกร” มีนักวิชาการ /ผู้รู้ เสนอบทความต่างๆ เกี่ยวกับการเกษตรมากมาย ยังมีคอลัมน์เกี่ยวกับการทำอาหาร และการถนอมอาหาร โดยหม่อม เจ้าศรีพรหมา เช่น การคั้นน้ำผลไม้ การหมักดอง การทำแฮม และเบคอน เป็นต้น 



ภาพนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายให้ด้วยฝีพระหัตถ์และทรงตั้งไว้ในห้องพระบรรทม

134
เจ้าศรีพรหมาเกิดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2431 มีพระนามเดิมว่า เจ้าศรี เป็นพระธิดาในพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเจ้านครเมืองน่าน กับหม่อมศรีคำ (ชาวเวียงจันทน์) มีเจ้าพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน 5 องค์ เป็นชาย 3 องค์ (ถึงแก่กรรมหมด) หญิง 2 องค์ คือ เจ้าบัวแก้ว ณ น่าน และเจ้าศรีพรหมา ณ น่าน (ซึ่งท่านเป็นองค์สุดท้อง)

พระยามหิบาลบริรักษ์ (สวัสดิ์ ภูมิรักษ์) และคุณหญิงอุ๊น ภริยา ได้ทูลขอเจ้าศรีพรหมา ณ น่าน กับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเป็นธิดาบุญธรรมเมื่ออายุได้ 3 ปีเศษ ตามบิดาและมารดาบุญธรรมไปกรุงเทพ เข้าศึกษาที่โรงเรียนสุนันทาลัย เป็นเวลา 5 เดือน และโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง (โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย) 8 เดือน 



ปี พ.ศ. 2442 พระยามหิบาลฯ และภริยา ต้องเดินทางไปรับราชการที่ประเทศรัสเซีย จึงต้องถวายตัวเจ้าศรีพรหมา ณ น่าน ไว้ในพระอุปการะสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าศรีพรหมา ณ น่าน จึงใช้ชีวิตและทรงเรียนหนังสืออยู่ในวังกับเจ้านายในพระบรมราชวงศ์ เป็นเวลา 3 ปี ต่อจากนั้นจึงตามพระยามหิบาลฯ และครอบครัวไปอยู่ที่ประเทศรัสเซีย และประเทศอังกฤษ ตามลำดับ หลังจากกลับจากต่างประเทศ ก็กลับเข้ารับราชการ ในพระราชสำนักของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ในหน้าที่นางสนองพระโอษฐ์ ในบางครั้งยังทำหน้าที่เป็นล่ามติดต่อกับชาวต่างประเทศ

มีเรื่องเล่าว่า "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทอดพระเนตรเจ้าศรีพรหมา ณ น่าน ทรงพึงพอพระราชหฤทัย ถึงกับทรงออกพระโอษฐ์ ตรัสขอเจ้าศรีพรหมาด้วยพระองค์เอง ให้รับราชการในตำแหน่งเจ้าจอม เจ้าศรีพรหมาได้กราบบังคมทูลพระกรุณาปฏิเสธเป็นภาษาอังกฤษว่า ท่านเคารพพระองค์ท่าน ในฐานะพระเจ้าอยู่หัว แต่มิได้รักใคร่พระองค์ในทางชู้สาว"  ในกราบบังคมทูลปฏิเสธ โดยเลี่ยงไม่ใช้ภาษาไทย แต่กลับใช้ภาษาอังกฤษ" เป็นการง่ายต่อการกราบบังคมทูลปฏิเสธ และไม่ทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท รัชกาลที่ 5 ก็ทรงเมตตาให้เป็นไปตามอัธยาศัย เรื่องความกล้าของเจ้าศรีพรหมาครั้งนี้ และพระมหากรุณาของรัชกาลที่ 5 ที่มีต่อเจ้าศรีพรหมาเสมอมา มิทรงได้ถือโทษ ยังพระราชทานเมตตาต่อเจ้าศรีพรหมาเสมอมาตราบจนเสด็จสวรรคต

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนนามเจ้าศรี เป็น "เจ้าศรีพรหมา" ต่อมาในปี พ.ศ. 2459 ทรงขอเจ้าศรีพรหมาให้อภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร เจ้าศรีพรหมาจึงมีฐานะเป็น “หม่อมศรีพรหมา” มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คน คือ หม่อมราชวงศ์อนุพร และหม่อมราชวงศ์เพ็ญศรี หม่อมเจ้าสิทธิพร ซึ่งรับราชการในตำแหน่งอธิบดี ในกระทรวงเกษตร ถวายบังคมลาออกจากราชการซึ่งก็ถูกห้ามปรามอย่างมาก ทั้งสองพระองค์ประกอบอาชีพเกษตรกรรม อยู่ที่บางเบิด (ปัจจุบันคือตำบลทรายทอง อำเภอบางสะพานน้อย) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เริ่มทำการเกษตรบนที่ดินของหม่อมเจ้าศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา ที่ได้รับเป็นมรดกจากท่านเจ้าคุณมหิบาลฯ โดยปลูกผักสวนครัว พืชไร่ เลี้ยงไก่ สุกรพันธุ์เนื้อ และโคนม และต่อมาขยายกิจการเป็นฟาร์ม มีผลผลิตประสบความสำเร็จครั้งแรกของไทย ฟาร์มนี้ยังเป็นสถานีทดลองทางการเกษตรที่มีผลต่อ กสิกรรมในวงกว้าง เป็นผลทำให้หม่อมเจ้าสิทธิพรได้รับยกย่องว่า เป็นบิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่ของไทย

ทั้งสองท่านได้ออกหนังสือ “กสิกร” มีนักวิชาการ /ผู้รู้ เสนอบทความต่างๆ เกี่ยวกับการเกษตรมากมาย นอกจากนี้ยังมีคอลัมน์เกี่ยวกับการทำอาหาร และการถนอมอาหาร โดยหม่อม เจ้าศรีพรหมา เช่น การคั้นน้ำผลไม้ การหมักดอง การทำแฮม และเบคอน เป็นต้น ซึ่งหม่อม เจ้าศรีพรหมานับเป็นคนไทยคนแรกที่ทำหมูแฮมและเบคอนได้ในประเทศไทยในสมัยที่ยังไม่มีตู้เย็น

ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้หม่อมเจ้าสิทธิพรกลับเข้ามารับราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมตรวจกสิกรรม กระทรวงเกษตร เจ้าศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยาจึงต้องติดตามมาอยู่ที่กรุงเทพฯ ด้วย ซึ่งในวาระที่หม่อมเจ้าสิทธิพรดำรงตำแหน่งอยู่ กรมตรวจกสิกรรมสามารถส่งข้าวเข้าประกวดได้รางวัลชนะเลิศเป็นที่ 1 ของโลก

แต่ต่อมาเกิดเหตุการณ์ทางการเมือง ทำให้หม่อมเจ้าสิทธิพรต้องออกจากราชการ และเกิดกบฏบวรเดช ซึ่งพระเชษฐา คือพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชทรงเป็นหัวหน้าในการก่อการแย่งชิงอำนาจกลับคืนจากคณะราษฎรผู้ปกครองแผ่นดิน ซึ่งเปลี่ยนระบบการปกครองระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย หม่อมเจ้าสิทธิพรได้รับการชักชวนให้เข้าร่วมก่อการด้วย แต่การก่อการไม่สำเร็จ ทำให้หม่อมเจ้าสิทธิพรต้องโทษจำคุกตลอดพระชนม์ชีพ ที่เกาะตะรุเตา และเกาะเต่า ภายหลังได้รับพระราชทานนิรโทษกรรม จึงจำคุกเพียง 11 ปี หม่อม เจ้าศรีพรหมาต้องรับภาระหนักทั้งเลี้ยงดูโอรสธิดา ดูแลกิจการที่อำเภอบางเบิด และ ตามไปส่งอาหารและยาให้หม่อมเจ้าสิทธิพรตามสถานที่ต่างๆ ที่ถูกคุมขังไว้

ในรัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ หลังจากหม่อมเจ้าสิทธิพรพ้นโทษแล้ว ก็ได้ทรงเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ถึง 2 สมัย หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา จึงได้กลับมาอยู่ที่กรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งหม่อมเจ้าสิทธิพรสิ้นชีพิตักษัย เมื่อ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2514 หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา จึงได้ผลักดันให้เกิด “มูลนิธิสิทธิพร กฤดากร” เพื่อเป็นการสานต่อเจตนารมณ์ของหม่อมเจ้าสิทธิพร และส่งเสริมการจัดตั้งโรงเรียนเพื่อประโยชน์ทางการเกษตร

หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา พิราลัยเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2521 ชันษาได้ 90 ปี พระอัฐิของท่านได้นำมาประดิษฐานไว้ที่ ณ วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร ร่วมกับพระอัฐิของหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร 




ที่มา วิกิพีเดีย

หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา



หม่อมศรีพรหมา ปฏิเสธเป็นเจ้าจอมในร.5 กับชีวิตหลังวลี "มิได้รักทางชู้สาว"

หม่อมศรีพรหมา กฤดากร (จากหนังสือ ลูกท่านหลานเธอ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในราชสำนัก)





สำหรับสตรีทั่วไปแล้วการได้เข้าวังและได้รับโปรดเกล้าฯเข้ารับราชการในราชสำนักฝ่ายในถือเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวเองและวงตระกูล แต่ในประวัติศาสตร์ไทยบันทึกเรื่องราวของหม่อมศรีพรหมา กฤดากร สตรีที่ปฏิเสธตำแหน่งเจ้าจอมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ออกพระโอษฐ์ขอให้เจ้าศรีพรหมา เข้ารับราชการตำแหน่งเจ้าจอม แต่ท่านกราบบังคมทูลปฏิเสธเป็นภาษาอังกฤษสื่อสารเนื้อหาใจความว่า “เคารพพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์ แต่มิได้รักใคร่พระองค์ในทางชู้สาว” (ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย, 2550)

วลีดังกล่าวนอกจากจะทำให้นึกถึงเรื่องราวความนักในวรรณกรรมอมตะที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับความรักท่ามกลางความแตกต่างทางชนชั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังเป็นที่โจษจันและถูกเล่าขานต่อกันมาในฐานะพฤติกรรมที่แหวกมาตรฐานเดิมที่เคยมีมา การได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชการในตำแหน่งต่างๆ ถือเป็นเกียรติยศ และมีโอกาสยกฐานะวงศ์ตระกูลหากภายภาคหน้าได้เป็น “เจ้าจอมมารดา” ย่อมถือว่ามีส่วนเกี่ยวข้องเป็นพระญาติกับพระเจ้าแผ่นดิน แต่สำหรับหม่อมศรีพรหมาแล้ว ท่านไม่เลือกเส้นทางนี้

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย ผู้เขียนหนังสือ “ลูกท่านหลานเธอ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในราชสำนัก” อธิบายชาติกำเนิดของหม่อมศรีพรหมาว่า เป็นธิดาพระเจ้าสุริยวงศ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน กับแม่เจ้าศรีคำ ในดินแดนภาคเหนือ วิถีชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติในอาณาจักรล้านนา เมื่ออายุได้ 3-4 ขวบ บิดาของท่านมีพระประสงค์ให้ธิดาเจริญรุ่งเรืองในอนาคต ทรงตัดพระทัยยกให้เป็นธิดาบุญธรรมของ พระยามหิบาลบริรักษ์ และคุณหญิงอุ๊น ขณะดำรงตำแหน่งเป็น พระพรหมสุรินทร์ ข้าหลวงกำกับราชการในฝ่ายเหนือ

ด้วยเหตุนี้ท่านต้องจากบ้านเกิดมาใช้ชีวิตในเมืองหลวง เข้าศึกษาในโรงเรียนสุนันทาลัย และสตรีวังหลัง ซึ่งถือเป็นโรงเรียนสตรีชั้นนำมีชื่อเสียงแถวหน้าในสมัยนั้น

เจ้าศรีพรหมาถูกถวายตัวไว้ในพระอุปการะของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ หลังพระยามหิบาลบริรักษ์ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นอัครราชทูตประจำกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย เจ้าศรีพรหมาจึงได้รับประสบการณ์จากการเลี้ยงดูร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าหลายพระองค์ ได้ศึกษาวิชาความรู้สมัยใหม่ ซึมซับธรรมเนียมประเพณีร่วมกับเจ้านายรุ่นเดียวกัน

เมื่ออายุได้ 12 ขวบ ท่านมีโอกาสเดินทางติดตามบิดามารดาบุญธรรมไปประเทศรัสเซีย บันทึกบางตอนจากการเดินทางของท่านเล่าถึงสภาพรัสเซียหลังจากเปลี่ยนรถจากเยอรมันมาเป็นรัสเซีย เมื่อถึงสถานีชายแดนก็พบเห็นสภาพบ้านเมืองเปลี่ยนไป สถานีเก่า ไม่มีตึก กลายเป็นกระท่อมมุงคามุงหญ้า ผู้คนแต่งตัวไม่เรียบร้อย เครื่องนุ่งห่มสภาพเก่า บ่งบอกถึงสถานะการเงินของผู้คนในพื้นที่ ซึ่งท่านแสดงความคิดเห็นว่า ความแตกต่างระหว่างฐานะในรัสเซียเป็นอีกหนึ่งเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการปฏิวัติในรัสเซีย

    “พวกผู้ดีนะๆ น่ะ เวลางานหลวงเขาว่าแต่งตัวกันเครื่องเพชร เครื่องพลอย เพรียบพรึ่บเชียว แสดงว่ามั่งมีแต่ว่าไอ้คนจนกลางถนนนี้มันไม่มีจะกิน เพราะงั้นมันถึงปฏิวัติ”

เจ้าศรีพรหมาเข้ารับราชการในพระราชสำนักในหน้าที่นางพระกำนัลหลังจากกลับจากรัสเซีย ท่านรับใช้สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถอย่างใกล้ชิด ผู้เขียนหนังสืออธิบายว่า ช่วงเวลานี้ท่านอยู่ในวัยสาวเปล่งปลั่ง งามตามธรรมชาติ มีวิชาความรู้ เฉลียวฉลาด มั่นใจในตัวเองแบบที่สาวชาววังไม่เป็น

ลักษณะเหล่านี้น่าจะทำให้ท่านเป็นที่พอพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงให้รับราชการตำแหน่งเจ้าจอม แต่ท่านกราบบังคมทูลปฏิเสธด้วยประโยคข้างต้นที่กลายเป็นเรื่องเล่าลือต่อกันมา ไม่เพียงจะเป็นเรื่องที่หาญกล้าแหวกค่านิยมสมัยนั้นแล้ว เรื่องเล่าขานกันต่อมาคือน้ำพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มิได้ทรงถือโกรธ ยังคงพระราชทานพระเมตตาอย่างสม่ำเสมอ

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย เล่าถึงคำเล่าลือเรื่องพระองค์ทรงฉายพระรูปเจ้าศรีพรหมาด้วยฝีพระหัตถ์ ทรงตั้งรูปนั้นไว้ในห้องพระบรรทมบนพระที่นั่งอัมพรสถานจวบจนสวรรคต

ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าศรีพรหมาครองตนเป็นโสด กระทั่งในวัย 27 ปี ท่านพบรักกับหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร โอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์

เรียกได้ว่าความคิดของท่านทั้งสองเห็นพ้องตรงกันเรื่องความแตกต่างระหว่างคนจนกับคนรวย หลังการสมรสทั้งสองละทิ้งสังคมเหมืองหลวงไปประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่ฟาร์มบางเบิด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่ในสมัยนั้นสภาพทุรกันดาร เดินทางยากลำบาก

ท่านทั้งสองถือว่าสถานที่ฟาร์มบางเบิดเป็นสถานีทดลองการเกษตรสมัยใหม่เพื่อนำวิทยาการด้านเกษตรมาเผยแพร่สู่เกษตรกร โดยไม่ได้คิดว่าจะทำกำไร

อีกหนึ่งเรื่องยากลำบากในชีวิตของหม่อมเจ้าศรีพรหมาคือช่วงที่หม่อมเจ้าสิทธิพร ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏร่วมกับพระองค์เจ้าบวรเดช พระเชษฐา ต้องจำคุกที่บางขวาง และถูกส่งไปกักขังที่เกาะตะรุเตาและเกาะเต่าถึง 11 ปี

ระหว่างนั้นหม่อมศรีพรหมาต่อสู้ชีวิตพร้อมกับโอรสธิดาคือ ม.ร.ว. อนุพร และม.ร.ว.เพ็ญศรี จนกระทั่งหม่อมเจ้าสิทธิพรได้รับพระราชทานอภัยโทษนิรโทษกรรมกลับมาที่ฟาร์มอีกครั้ง

ด้วยความมุ่งมั่นพัฒนาการเกษตร หม่อมเจ้าสิทธิพรทรงรับเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรฯ เป็นเวลา 7 เดือน การต่อสู้เพื่อพัฒนาการเกษตรของทั้งสองท่านก็ใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัว ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย อธิบายว่า หม่อมศรีพรหมาขายที่ทางไร่นา เครื่องประดับบ้านและร่างกายบางชิ้นเพื่อพัฒนาการเกษตร

ฟาร์มบางเบิดเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องขายออกไป ทั้งสองท่านย้ายมาทำฟาร์มขนาดย่อมในช่วงบั้นปลายชีวิต โดยที่หม่อมเจ้าสิทธิพรเขียนบทความด้านการเกษตรและแสดงความคิดเห็นทั้งสนับสนุนและคัดค้านนโยบายด้านการเกษตรของแต่ละรัฐบาล จนกระทั่งวาระสุดท้ายของหม่อมเจ้าสิทธิพร ในช่วง พ.ศ. 2514

หม่อมศรีพรหมา ยังปฏิบัติกิจสืบทอดเจตนารมย์ของคู่ชีวิตมาตลอดตราบจนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อพ.ศ. 2521


133
อ้างอิง: 

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ลูกท่านหลานเธอ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในราชสำนัก. กรุงเทพฯ : มติชน, 2550

คลิกเพื่อชมภาพและอ่านต่อ...


ขอบคุณของแต่งบล็อก...

132
ญามี่  / June July August / ชมพร  / เรือนเรไร  /  oranuch_sri / goffymew / Zairill



Create Date : 02 สิงหาคม 2562
Last Update : 2 สิงหาคม 2562 6:43:15 น. 0 comments
Counter : 615 Pageviews.

Turtle Came to See Me
Location :
พัทลุง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]





★ที่มา ล็อกอิน ★Turtle Came to See Me ★( บทกวี Poem )
เป็นหนังสือ สำหรับเยาวชน
★Turtle Came to See Me
แต่งโดย :Margrita Engle
★★★★



BlogGang Popular Award #11

BlogGang Popular Award #12
Friends' blogs
[Add Turtle Came to See Me's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.