It's All I Have to Bring Today !
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2559
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
1 สิงหาคม 2559
 
All Blogs
 
13 พฤติกรรมที่ทำให้ "คุณเป็นคนที่น่าเชื่อถือ" ยิ่งขึ้น ลองอ่านดูสิ




ขอบคุณภาพจาก kingmom-flowe.webiz.co.th
แก่นของความน่าเชื่อถือ

สังคมมนุษย์ตั้งอยู่บนหลักของความพึ่งพากัน มีเป้าหมายบางอย่างร่วมกัน และมีความเชื่อใจกัน เป็นการพึ่งพาความรู้ความชำนาญที่แตกต่างกันออกไปเรื่อย ๆ เพราะว่าสังคมในปัจจุบัน ซับซ้อนจนไม่มีใครที่สามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างได้ด้วยตนเองอีกแล้ว เป็นสังคมผู้เชี่ยวชาญ ที่ผู้คนต่างพยายามจะ “เป็น somebody” ที่สำคัญในบางเรื่อง

แม้ว่าในที่สุด มนุษย์จำต้องเชื่อถือผู้อื่นให้กระทำการแทนในบางเรื่องซึ่งตนไม่สามารถกระทำได้ แต่มนุษย์ก็รู้ดีว่ามีคนเป็นจำนวนมากที่ไม่สมควรไว้วางใจให้กระทำการแทน

ความน่าเชื่อถือ เป็นสิ่งที่มอบหมายหรือแต่งตั้งให้ไม่ได้ จะต้องสร้างขึ้นมาด้วยการกระทำของตนเอง และเพราะความเชื่อถือนั้น เป็นปฏิกริยาที่เกิดขึ้นในใจของผู้อื่น อันเป็นผลจากการกระทำตัวของเรา

ความน่าเชื่อถือ (Credibility) เกิดจากบุคลิก (Character) และความสามารถ (Competence) ซึ่งแบ่งได้เป็นแก่นสี่อย่าง คือ

๑. ความซื่อตรง (Integrity) ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ และคนเป็นจำนวนมากให้น้ำหนักเมื่อจะประเมินความน่าเชื่อถือใคร — ความซื่อตรง เปรียบเหมือนรากของต้นไม้ ซึ่งเป็นรากฐานของทุกอย่าง

ความซื่อตรงหมายถึงความซื่อสัตย์  ความชัดเจน การรักษาคำพูด การกระทำที่เปิดเผย ความกล้าหาญ ฯลฯ ในยุคสมัยนี้ หาคนซื่อตรงได้ยากกว่าหาคนเก่ง ความซื่อตรงเป็นเรื่องที่สังเกตได้ยาก เหมือนรากที่อยู่ใต้ดินมองไม่เห็น ต้องดูกันนาน ๆ แต่เรามักให้ความสำคัญกันสูง

๒. เจตจำนง (Intent) เป็นจุดเริ่มต้นของจุดมุ่งหมาย (Motive) วาระ (Agenda) และผลของการกระทำต่าง ๆ เรามักให้ความเชื่อถือกับคนที่มีเจตจำนงตรงไปตรงมา ไม่ยอกย้อน เพราะว่าคนที่มีเจตจำนงและแรงจูงใจที่ดีเหล่านี้ ทำเพื่อประโยชน์ของทุกฝ่ายรวมถึงตัวเราด้วยตั้งแต่เริ่มต้น -- เจตจำนงเป็นเหมือนลำต้นของต้นไม้ ที่ส่งสารอาหารและน้ำจากราก ไปยังทุก ๆ ส่วนของต้นไม้
"    There are no moral shortcuts in the game of business — or life.There are, basically, three kinds of people: the unsuccessful,the temporary successful, and those who become and remain successful. The difference is character.

    Jon Huntsman, ประธานกรรมการ Huntsman Chemical



ขอบคุณภาพจาก sites.google.com

๓. ศักยภาพ (Capabilities) ซึ่งประกอบด้วยความพิเศษเฉพาะตัว เช่นพรสวรรค์ ทัศนคติ ทักษะ ความรู้ หรือแม้แต่สไตล์; ศักยภาพ คือสิ่งที่จะเปลี่ยนวัตถุดิบและองค์ประกอบให้เป็นผลลัพธ์ที่ดี เปรียบเหมือนกิ่งก้านของต้นไม้ ซึ่งถ้าไม่มีกิ่งก้าน ก็ไม่มีใบ ไม่มีดอก ไม่มีผล

๔. ผลลัพธ์ (Results) หมายถึงประสิทธิผล ถ้าในอดีตเราไม่เคยทำอะไรได้สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ จะไปให้ใครเขามาเชื่อถือหรือมั่นใจในตัวเรา!

ความซื่อตรงและเจตจำนง เป็นแก่นสำคัญของบุคลิก (Character); ส่วนศักยภาพและผลลัพธ์ เป็นแก่นของความสามารถ (Competence)

ความน่าเชื่อถือไม่ใช่สิทธิโดยกำเนิด ไม่มีใครได้สิ่งนี้มาตั้งแต่อ้อนแต่ออก แต่คนเราพัฒนาบุคลิกภาพขึ้นจากการอบรมเลี้ยงดู ความแข็งแกร่งของสภาพจิตใจ ความสามารถในการเรียนรู้ การเข้าใจในโอกาสและเปลี่ยนโอกาสนั้นให้เป็นประโยชน์

พฤติกรรม ๑๓ อย่าง ที่เสริมสร้างความน่าไว้วางใจ

ความน่าเชื่อถือนั้นมาจากบุคลิกและความสามารถอันสร้างความอุ่นใจได้ว่าจะเป็นผู้ที่ไว้วางใจได้ ไม่ทำให้ผิดหวังหนังสือ the Speed of Trust ของ Covey แยกแยะพฤติกรรมแบบนี้ออกมาเป็น ๓ กลุ่ม คือ

๑. พฤติกรรมที่มาจากบุคลิกภาพ

๒. พฤติกรรมที่มาจากความสามารถ

๓. พฤติกรรมที่มาจากบุคลิกและความสามารถ

การสังเกตพฤติกรรมที่คนแสดงออกมาจะช่วยให้ประเมินความน่าไว้วางใจได้ง่ายขึ้น แม้ว่าบางทีก็อาจผิดได้

ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าคนที่เราเชื่อถือหรือเชื่อใจ จะไม่มีทางทำให้ผิดหวัง อะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้: สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม, ไม่มีใครที่จะสำเร็จตลอดเวลา, Sh!t happens... แต่การไม่มีหลักประเมิน อาจผิดได้มากกว่า




พฤติกรรมที่มาจากบุคลิก

พฤติกรรม ๑: พูดตรง — สื่อสารกับทุกคนอย่างตรงไปตรงมา ไม่ปล่อยให้ใครหลงอยู่ในความเข้าใจผิด คำว่าตรงไปตรงมาหมายความว่าชัดเจน ชอบก็บอกว่าชอบ ไม่ชอบก็บอกไม่ชอบ ไม่กลับกลอกปลิ้นปล้อน ต่อหน้าพูดอย่าง ลับหลังพูดอีกอย่าง; ลักษณะการพูดตรง มักจะมีการประกาศเจตจำนงออกมาอย่างชัดเจน แต่การพูดไม่ตรงนั้น จะเต็มไปด้วยการปิดบังข้อมูล บอกไม่หมด ประจบประแจงเยินยอจนเลี่ยน หรือแถไปเรื่อย

พฤติกรรม ๒: ยอมรับนับถือผู้อื่นด้วยน้ำใสใจจริง — การยอมรับนับถือผู้อื่น แสดงถึง self-esteem เพราะเขารู้ว่าตัวเขาไม่ได้ด้อยค่าลงด้วยการนับถือผู้อื่น จึงไม่ต้องยกตนข่ม ดูถูก หรือทำให้ผู้อื่นรู้สึกต่ำต้อยเพื่อให้ตนรู้สึกว่าสูงส่งกว่า; คนเรามีดีแตกต่างกัน ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ผู้ที่สามารถยอมรับนับถือผู้อื่นได้ด้วยความจริงใจคือผู้ที่เห็นสิ่งที่ดีในผู้อื่นตามความเป็นจริง คนที่มีลักษณะนี้จะถามความเห็นอยู่บ่อย ๆ จะต่างกับพวกที่ยึดเอาความคิดตนเป็นใหญ่ ที่ชอบแสดงอำนาจ ชอบสั่งเพียงเพื่อให้ได้รู้สึกว่าตัวมีอำนาจ

พฤติกรรม ๓: เสริมสร้างความโปร่งใส — คนที่มีพฤติกรรมแบบนี้ จะอยู่กับความเป็นจริงที่สามารถตรวจสอบได้ ไม่มีอะไรหมกเม็ด จะไม่รวบอำนาจ หรือรวบการตัดสินใจไว้ที่ตัวเอง ไม่มีวาระซ่อนเร้น หากสงสัยอะไร สามารถถามได้ทุกเรื่อง และจะได้ยินคำตอบทุกเรื่อง

พฤติกรรม ๔: แก้ไขในสิ่งผิด — ในกรณีที่เกิดผิดพลาด คนพวกนี้แก้ไข/ชดใช้ แทนการปกปิด แก้ตัว โบ้ย หาแพะ หรือปัดความรับผิดชอบ คนพวกนี้เป็นนักปฏิบัติที่กล้าเปลี่ยนแปลง ในเมื่อรู้ว่าทำแบบเก่ายังไม่ดีพอ

พฤติกรรม ๕: เหมือนกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง — การกระทำของคนแบบนี้ เหมือนกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง เมื่อเขาชมเราเรื่องใดเรื่องหนึ่งต่อหน้า เขาก็ชมเราในเรื่องเดียวกันกับคนอื่นแม้เราไม่อยู่ เขาให้เครดิตเราสำหรับงานที่เราทำ โดยไม่ฮุบไปเป็นผลงานของตัวเอง ไม่นินทาใคร ไม่กล่าวอ้างโดยเท็จ หรือหลอกตัวเอง


ขอบคุณภาพจาก pixabay.com

พฤติกรรมที่มาจากความสามารถ

พฤติกรรม ๖: มีผลงานคุณภาพ — อันนี้ไม่ใช่แค่มีผลงานเฉย ๆ แต่หมายถึง commit กับงาน ใช้เวลาคิด ตระเตรียมการล่วงหน้า และสามารถสร้างงานออกมาด้วยคุณภาพที่ดี ตรงตามกำหนดเวลาที่ได้สัญญาไว้ และตามต้นทุน (งบประมาณ) ที่คิดไว้ล่วงหน้า; การทำงานได้ตามเป้าหมาย หมายถึงคน ๆ นั้น รู้จักสิ่งที่ทำอย่างแท้จริง ไม่มั่ว; ถ้าทำไม่ได้ ก็จะบอกว่าทำไม่ได้ หรือถ้าจะทำให้ได้จะต้องมีอะไรเพิ่ม แต่ไม่ใช่ในความหมายของการตั้งเงื่อนไขต่อรอง

พฤติกรรม ๗: ปรับปรุงตลอดเวลา — คือการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงตัวเองและสิ่งที่ทำ ให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ไม่หยุดนิ่ง เรียนรู้ เพิ่มพูนประสบการณ์ตลอดเวลา เปลี่ยนเอาความผิดพลาดมาเป็นประสบการณ์ ถึงแม้จะสำเร็จ ก็ยังคิดปรับปรุง

พฤติกรรม ๘: เผชิญหน้ากับความเป็นจริง — ไม่หลอกตัวเองด้วยความเพ้อเจ้อ เผชิญหน้ากับความเป็นจริง ทั้งที่ชอบและไม่ชอบ เห็นปัญหาเป็นปัญหาและแก้ไข เห็นโอกาสเป็นโอกาสและป้องกันความเสี่ยงก่อนทำ ยอมรับในข้อจำกัด ยอมรับเพื่อนร่วมงานต่าง ๆ ในแบบที่เขาเป็น ไม่ว่าดีหรือไม่ดี การตระหนักว่าใครดีหรือไม่ดีตรงไหน ทำให้ใช้จุดดี-หลีกเลี่ยงจุดไม่ดีได้

พฤติกรรม ๙: ทำความคาดหวังให้ชัดเจนสำหรับทุกคน — สิ่งที่คาดหวังเป็นเป้าหมายร่วมกันของผู้ที่อยู่ร่วมกัน หากไม่มีเป้าหมายร่วม หมู่คนก็ไม่สามารถจะอยู่รวมกันได้ ต่างคนต่างทำไปตามที่เห็นสมควร และในที่สุดจะนำไปสู่ความวุ่นวาย หากยังมีใครยังไม่ชัดเจนในความคาดหวัง คนที่มีพฤติกรรมนี้ จะอธิบายหรือพูดคุย/ปรับเปลี่ยนจนทุก ๆ คน เห็นภาพเดียวกัน เพื่อที่ต่างจะแยกย้ายไปทำงานของตน ไปในทิศทางเดียวกัน

พฤติกรรม ๑๐: มีความรับผิดชอบ — ทั้งตนเองและผู้ที่ร่วมกันอยู่ ใครทำอะไร ได้รับสิ่งนั้น ผิดเป็นผิด ชอบเป็นชอบ ตลอดจนสื่อสารความคืบหน้าของสิ่งที่ทำอยู่ ไม่หลบเลี่ยงความรับผิดชอบ ไม่ชี้นิ้ว เอาความดีใส่ตัว เอาความชั่วใส่คนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ลับหลัง



ขอบคุณภาพจาก //www.bloggang.com

พฤติกรรมที่มาจากบุคลิกและความสามารถ

พฤติกรรม ๑๑: ฟังก่อน — เข้าใจเหตุการณ์ ข้อจำกัด ความคิดความรู้สึกของคู่สนทนา ก่อนที่จะตัดสินหรือให้คำแนะนำใด ๆ การตัดสินไปโดยไม่รู้อะไร เกิดมาจากอคติและมีโอกาสผิดสูง หากเรารู้ดีกว่าคู่สนทนาโดยไม่ต้องฟังเขา บางที เราควรจะเป็นคนที่ทำงานนั้นแทนที่จะให้เขาทำ

พฤติกรรม ๑๒: รักษาคำพูด — โดยทั่วไป เป็นวิธีที่เร็วที่สุดที่จะสร้างความเชื่อถือ และเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่จะต้องรักษาคำพูด; คนทั่วไปมักคิดว่าคำสัญญาที่ให้กันระหว่างสมาชิกในครอบครัว จะสำคัญน้อยกว่าคำสัญญาในเรื่องงาน หรือกับคนนอก เพราะว่าครอบครัวสนิทกัน พูดจากันได้ ความจริงไม่เป็นอย่างนั้น สัญญาก็คือสัญญาและการรักษาสัญญาคือเครื่องหมายแห่งเกียรติของคน ดังนั้นอย่าให้สัญญามั่วที่รักษาไม่ได้

พฤติกรรม ๑๓: ขยายวงความเชื่อใจ — เพราะเราไม่สามารถทำทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง และเราไม่วางใจที่จะมอบหมายให้คนที่เราไม่เชื่อใจกระทำการแทนเรา ดังนั้นหากมัวแต่ระแวงคนอื่นโดยไม่มีเหตุผล นอกจากไม่ได้งานแล้ว ยังจะเป็นโรคประสาทด้วย ความระแวงเป็นการผลักไสผู้คนให้ออกห่างจากตัวเรา จึงเหลือกำลังในการทำอะไรต่อมิอะไรน้อยลงเรื่อย ๆ โดยไม่รู้ตัว

ความน่าเชื่อถือ “เป็นอคติ” เพราะเป็นปฏิกริยาของความรู้สึกซึ่งประเมินจากการกระทำในอดีต ความน่าเชื่อถือไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันว่างานหรือสิ่งที่มอบหมายจะสำเร็จ -- แต่ถึงเป็นอคติ การมีพฤติกรรมในอดีตมาช่วยประเมิน ก็น่าจะดีกว่าไม่มีเครื่องมือใด ๆ มาช่วยเลย

ในมุมกลับกัน ใครจะเชื่อถือเราหรือไม่ กลับไม่สำคัญเท่ากับที่เราได้ทำอะไร...อย่างดี...อย่างจริงใจ...เพื่อผู้อื่นบ้างหรือไม่ ผู้ที่ประพฤติได้ตามนี้ ย่อมเป็นบัณฑิตที่น่าคบ...จริงไหมครับ

สรุปความน่าเชื่อถือตามหลักธรรมก็คือ การเป็นผู้มีศีล 5 ข้อ เป็นอย่างน้อย และการมีธรรมะนั่นเอง


ขอบคุณภาพและบทความ จาก //www.winnews.tv/news/5770



Create Date : 01 สิงหาคม 2559
Last Update : 1 สิงหาคม 2559 0:47:26 น. 7 comments
Counter : 1104 Pageviews.

 
13 ข้อนี่ถ้าทำได้ เยี่ยมเลยค่ะ


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เรียวรุ้ง Literature Blog ดู Blog
Close To Heaven Food Blog ดู Blog
lovereason Book Blog ดู Blog
เตยจ๋า Dharma Blog ดู Blog




โดย: mambymam วันที่: 1 สิงหาคม 2559 เวลา:7:33:06 น.  

 
น้องซีมาบอกว่าเพื่อนไม่เชื่อหนูค่ะ ลองสอบถามดูได้ความว่า

เพื่อนไม่ยอมห้อยบัตร เพื่อนเอาปากกาเขียนผิวตัวเอง เพื่อน.... หนูบอกเพื่อนแล้วเพื่อนก็ไม่เชื่อหนูเลย เพื่อนไม่รักหนู

เด็กหนอเด็กค่ะ


โดย: kae+aoe วันที่: 1 สิงหาคม 2559 เวลา:11:53:37 น.  

 
ขอบคุณสาระดีๆ ค่ะ


โดย: คนสวยที่ไม่เคยสวย วันที่: 1 สิงหาคม 2559 เวลา:14:55:28 น.  

 
มีศีลครบทั้ง 5 ข้อ นี่ก็ประเสริฐแล้วค่ะ

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
AppleWi Beauty Blog ดู Blog
กะว่าก๋า Book Blog ดู Blog
ทนายอ้วน Food Blog ดู Blog
สาวไกด์ใจซื่อ Food Blog ดู Blog
กางเกงยักษ์ลอยฟ้า Food Blog ดู Blog
เจ้าการะเกด Food Blog ดู Blog
เตยจ๋า Dharma Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


*** คำศัพท์ คำเรียก แปลก ๆ ไม่คุ้นหู ได้จากเพื่อนบล็อกเยอะเลยเหมือนกันค่ะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 1 สิงหาคม 2559 เวลา:16:37:32 น.  

 
ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันนะคะ

เตยจ๋า Dharma Blog ดู Blog




โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 2 สิงหาคม 2559 เวลา:0:23:49 น.  

 
เตยจ๋า Dharma Blog ดู Blog
โหวต โหวต โหวต สาธุ



โดย: หอมกร วันที่: 2 สิงหาคม 2559 เวลา:8:17:02 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณเตย
13 พฤติกรรมความน่าเชื่อถือ อ่านแล้วได้ทัศนคติ
ที่ดีมากๆเลยค่ะดีใจจังได้เข้ามาอ่านเอนทรี่ย์นี้พอดีเลย ^^

ปล..555เสียงหัวเราะทำให้สดชื่น อย่าลืม
เข้ามาอ่านบ่อยๆก็ได้น๊าาา คิดถึงนะคะคุณเตย ฝันดีค่าาา
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เตยจ๋า Dharma Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: mastana วันที่: 2 สิงหาคม 2559 เวลา:22:22:45 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Turtle Came to See Me
Location :
พัทลุง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]





★ที่มา ล็อกอิน ★Turtle Came to See Me ★( บทกวี Poem )
เป็นหนังสือ สำหรับเยาวชน
★Turtle Came to See Me
แต่งโดย :Margrita Engle
★★★★



BlogGang Popular Award #11

BlogGang Popular Award #12
Friends' blogs
[Add Turtle Came to See Me's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.