It's All I Have to Bring Today !
Group Blog
 
 
มีนาคม 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
29 มีนาคม 2556
 
All Blogs
 

บันไดชีวิตขั้นที่ ๐๑๐ มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต... อานิสงส์การมีวาจาสุภาษิต



"ปลามีชีวิตยืนยาวอยู่ได้ก็เพราะอาศัยปากเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็เพราะปากนั่นเอง ปลาจึงต้องติดเบ็ดเสียชีวิตโดยง่าย
เช่นกัน คนเราจะประสบความสำเร็จได้รับความเจริญก้าวหน้าในชีวิตก็เพราะอาศัยวาจาสุภาษิตจากปาก แต่ก็เพราะวาจาทุพภาษิตจากปากเพียงคำเดียวบางครั้งแม้แต่ชีวิตก็ยากจะรักษาไว้ได้"



  • วาจาสุภาษิตคืออะไร ?
วาจาสุภาษิต หมายถึง คำพูดที่ผู้พูดได้กลั่นกรองไว้ดีแล้วมิใช่สักแต่พูด อวัยวะในร่างกายของคนเรานี้ก็แปลก

 ตา มีหน้าที่ดูอย่างเดียว ธรรมชาติให้มา ๒  ตา
 หู มีหน้าที่ ฟังอย่างเดียว ธรรมชาติให้มา ๒ หู
 จมูก มีหน้าที่ดมกลิ่นอย่างเดียว ธรรมชาติให้มา ๒ รู
 แต่ปาก มีหน้าที่ถึง ๒ อย่าง คือทั้งกินและพูด ธรรมชาติกลับให้มาเพียงปากเดียว แสดงว่าธรรมชาติต้องการให้คนดูให้มาก ฟังให้มากแต่พูดให้น้อยๆ ให้มีสติคอยระมัดระวังปาก จะกินก็กินให้พอเหมาะ จะพูดก็พูดให้พอดี ลักษณะคำพูดที่พอเหมาะพอดี เป็นคุณทั้งแก่ตัวผู้พูดและผู้ฟังเรียกว่า วาจาสุภาษิต


  • องค์ประกอบของวาจาสุภาษิต
๑.ต้องเป็นคำจริง ไม่ใช่คำพูดที่ปั้นแต่งขึ้นไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่บิดเบือนจากความจริง ไม่เสริมความ ไม่อำความต้องเป็นเรื่องจริง จริง จริง

๒.ต้องเป็นคำสุภาพ เป็นคำพูดไพเราะที่กลั่นออกมาจากน้ำใจที่บริสุทธิ์ ไม่เป็นคำหยาบ คำด่า คำประชดประชัน คำเสียดสี คำหยาบนั้นฟังก็ระคายหู แค่คิดถึงก็ระคายใจ

๓.พูดแล้วก่อให้เกิดประโยชน์ เกิดผลดีทั้งแก่คนพูดและคนฟังถึงแม้คำพูดนั้นจะจริงและเป็นคำสุภาพแต่ถ้าพูดแล้วไม่เกิดประโยชน์อะไรกลับจะทำให้เกิดโทษ ก็ไม่ควรพูด

๔.พูดไปด้วยจิตเมตตา พูดด้วยความปรารถนาดี อยากให้คนฟังมีความสุข มีความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ในข้อนี้หมายถึงว่า แม้จะพูดจริง เป็นคำสุภาพ พูดแล้วเกิดประโยชน์ แต่ถ้าจิตยังคิดโกรธ มีความริษยาก็ยังไม่สมควรพูด

๕.พูดถูกกาลเทศะ  แม้ใช้คำพูดที่ดี เป็นคำจริง เป็นคำสุภาพเป็นควำพูดที่มีประโยชน์ และพูดด้วยจิตที่เมตตา แต่ถ้าผิดจังหวะไม่ถูกกาลเทศะผู้ฟังยังไม่พร้อมที่จะรับแล้ว จะก่อให้เกิดผลเสียได้เช่น จะกลายเป็นประจานกันหรือจับผิดไป
-พูดถูกเวลา (กาล) คือ  รู้ว่าเวลาไหนควรพูด เวลาไหนยังไม่ควรพูด ควรพูดนานเท่าไร  ต้องคาดผลที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย
-พูดถูกสถานที่ (เทศะ) คือ รู้ว่าในสถานที่เช่นไร เหตุการณ์แวดล้อมเช่นไร จึงควรที่จะพูดหากพูดออกไปแล้วจะมีผลดีหรือผลเสียอย่างไร เช่นมีความหวังดีอยากเตือนเพื่อนไม่ให้ดื่มเหล้าแต่ไม่เตือนขณะที่กำลังมาอยู่อย่างนี้นอกจากเขาจะไม่ฟังแล้ว เราเองอาจเจ็บตัวได้ "คนฉลาดไม่ใช่เป็นแต่พูดเท่านั้น ต้องนิ่งเป็นด้วย" "คนที่พูดเป็นนั้น ต้องรู้ในสิ่งที่ไม่ควรพูดให้ยิ่งกว่าสิ่งที่ควรพูด"


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการพูด
ลักษณะของทูตที่ดี (ทูตสันติ)

๑.ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ด่วนปฏิเสธ
๒.เมื่อถึงคราวพูด ก็สามารถทำให้ผู้อื่นฟัง
๓.รู้จักกำหนดขอบเขตของการพูดให้กะทัดรัด
๔.จำเนื้อความทั้งหมดที่จะพูด
๕.เข้าใจเนื้อความทั้งหมดโดยละเอียดตามความเป็นจริง
๖.ทำให้ผู้อื่นเข้าใจตามได้
๗.ฉลาดในการพูดที่เป็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์
๘.ไม่ก่อการทะเลาะวิวาท
 "ผู้ใด เข้าไปสู่บริษัทที่พูดคำหยาบคาย ก็ไม่สะทกสะท้านไม่ยังคำพูดให้เสีย ไม่ปกปิดข่าวสาร พูดจนหมดความสงสัย และเมื่อถูกถามก็ไม่โกรธผู้นั้นย่อมควรทำหน้าที่ทูต"
(วินัย จุลวรร 7/201)


  • โทษของการด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์
 ผู้ด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ คือ พระสงฆ์ และผู้ปฏิบัติธรรมติเตียน พระอริยเจ้า จะประสบควมฉิบหาย ๑๑ ประการ ต่อไปนี้
๑.ไม่บรรลุธรรมที่ตนยังไม่บรรลุ
๒.เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว
๓.สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว
๔.เป็นผู้หลงเข้าใจว่าได้บรรลุสัทธรรม
๕.เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
๖.ต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง
๗.บอกลาสิกขา  คือ สึกไปเป็นฆราวาส
๘.เป็นโรคอย่างหนัก
๙.ย่อมถึงความเป็นบ้า  คือ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต
๑๐.เป็นผู้หลงไหลทำกาละ คือ ฆ่าตัวตาย
๑๑.เมื่อตายไปย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติวินิบาต


  • ถ้อยคำที่ไม่ควรเชื่อถือ
๑.คำกล่าวพรรณนาคุณ ศรัทธา ของบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา
๒.คำกล่าวพรรณนาคุณ ศีล ของบุคคลผู้ทุศีล
๓.คำกล่าวพรรณนาคุณ พาหุสัจจะ ของบุคคลผู้ไม่สดับ
๔.คำกล่าวพรรณนาคุณ จาคะ ของบุคคลผู้ตระหนี่
๕.คำกล่าวพรรณนาคุณ ปัญญา  ของบุคคลผู้โง่
ทั้ง ๕  ประการจัดเป็นคำซึ่งไม่ควรฟัง ไม่ควรเชื่อ


ลักษณะเสียงที่สมบูรณ์ของมหาบุรุษ


๑.แจ่มใส ไม่แหบเครือ
๒.ชัดเจน ชัดถ้อยชัดคำ  ไม่ติดขัด
๓.ไพเราะ อ่อนหวาน
๔.เสนาะโสต
๕.กลมกล่อม หยดย้อย
๖.ไม่แตก ไม่พร่า
๗.ซึ้ง
๘.มีกังวาน


อานิสงส์การมีวาจาสุภาษิต

๑.เป็นคนมีเสน่ห์ เป็นที่รักของชนทุกชั้น
๒.มีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรม
๓.มีวาจาสิทธิ์ ได้รับความสำเร็จในสิ่งที่เจรจา
๔.ย่อมได้ยินได้ฟังแต่สิ่งที่ดีงาม
๕.ไม่ตกในอบายภูมิ
"วาจาสุภาษิต ไม่ว่าจะพูดด้วยสำเนียงภาษาอย่างไรก็ตาม วาจานั้นย่อมเป็นวาจาชั้นสูง ความแก่การสรรเสริญของบัณฑิต ตรงกันข้ามวาจาทุพภาษิตแม้จะพูดด้วยภาษาใดสำเนียงดีแค่ไหน บัณฑิตก็ไม่สรรเสริญ"




 

Create Date : 29 มีนาคม 2556
2 comments
Last Update : 29 มีนาคม 2556 6:36:42 น.
Counter : 1516 Pageviews.

 

อืม คำพูดเนี่ย!
มีความสำคัญกับชีวิตเยอะจริงๆนะคะ
ทำให้ตัวเรามีทั้งความก้าวหน้าและความเสื่อมได้

ขอบคุณที่นำสาระดีๆแบบนี้มาฝากค่ะ
นอนหลับฝันดีนะคะ

ป.ล.ขอบคุณที่แวะไปโหวตให้ด้วยค่ะ น่ารักจัง



 

โดย: ฝากเธอ2 3 เมษายน 2556 20:39:04 น.  

 

อ่านดูแล้วเหมือนกับว่าการจะใช้คำพูดแบบระวังปากนั้นมันมีกฎง่ายๆแค่นิดเดียว
แต่ทำไมตอนนำไปปฎิบัติมันถึงได้ยากเย็นซะจริงๆเลยน๊าาาา..

นี่ขนาดว่าธรรมชาติให้มาแค่คนละปาก โลกเรายังวุ่นวายได้ขนาดนี้
ถ้าธรรมชาติสร้างให้ทุกคนมีสองปากละก็..โลกเราคงถึงขั้นโกลาหล..ฮิๆๆ


ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมที่บล็อกเรานะคะ แถมยังไปโหวตให้ (ตามคำขู่) อีก


แต่บล็อกเราไม่ได้มีสาระอะไรพอที่จะโหวตหรอกนะคะ
มีคนไปโหวตให้เนี่ย..คนถูกโหวตอายนะนี่..ฮิๆๆ


ขอบคุณทั้งคนที่ไปโหวตให้และคนที่ (ขู่) ให้ไปโหวตด้วยค่ะ..

 

โดย: คนร่วมชายคา 4 เมษายน 2556 2:52:52 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


Turtle Came to See Me
Location :
พัทลุง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]





★ที่มา ล็อกอิน ★Turtle Came to See Me ★( บทกวี Poem )
เป็นหนังสือ สำหรับเยาวชน
★Turtle Came to See Me
แต่งโดย :Margrita Engle
★★★★



BlogGang Popular Award #11

BlogGang Popular Award #12
Friends' blogs
[Add Turtle Came to See Me's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.