จุฬาฯ มหา'ลัยแรกในอาเซียนได้เข้าถึงข้อมูล “เซิร์น”

จุฬาฯ ลงนามเป็นสมาชิกลุ่มวิจัยสถานีตรวจวัดอนุภาคขอ “เซิร์น” และเป็นชาติแรกในอาเซียนที่ได้สิทธิเข้าถึงข้อมูลเพื่อร่วมวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาค และมีโอกาสมีส่วนร่วมในการค้นพบครั้งสำคัญ
       
       ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการโครงการความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัยกับเซิร์น (CERN) เปิดเผยถึงการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ กับกลุ่มการทดลองซีเอ็มเอส (CMS) ภายใต้องค์กรแห่งยุโรปเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์ (The European Oganization for Nuclear Research) หรือเซิร์น เมื่อวันที่ 14ก.ค.55 ณ วังสระปทุมโดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประทานในพิธีลงนามดังกล่าว
       
       ข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ ศ.ดร.ไพรัชกล่าวว่าสืบเนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยทรงเสด็จพระราชดำเนินเยือนเซิร์นถึง 4 ครั้ง และทรงมีพระราชดำริสนับสนุนให้นักวิจัยไทยได้มีโอกาสเข้าร่วมวิจัยในโครงการของเซิร์น ครั้งแรกคือเมื่อปี 2543 ซึ่งเซิร์นยังไม่มีเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี (LHC) ครั้งที่ 2 ในปี 2546 ครั้งที่ 3 ในปี 2552 ซึ่งเซิร์นกำลังติดตั้งสถานีตรวจวัดอนุภาคซีเอ็มเอส และครั้งที่ 4 เมื่อปี 2553 ซึ่งเซิร์นได้เดินเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซีแล้ว
       
       ในการเสด็จเยือนครั้งที่ 3 นั้นได้มีการลงนามในเอกสารแสดงเจตจำนงที่จะมีความร่วมมือกัน (Expression of Interest) หรืออีโอไอ (EOI) ระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) และกลุ่มวิจัยสถานีตรวจวัดซีเอ็มเอส เพื่อแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยร่วมกับเซิร์น และเมื่อวันที่ 14 ก.ค.2553 เซิร์นได้ลงนามกับ 13 หน่วยงานวิทยาศาสตร์ของไทยเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามพระราชดำริ
       
       การลงนามทั้ง 2 ครั้งทำให้เกิด 4 กิจกรรมสำคัญ ได้แก่ 1.โครงการคัดเลือกนักศึกษาและครูฟิสิกส์เพื่อร่วมโปรแกรมภาคฤดูร้อนของเซิร์น 2.โครงการเซิร์นสคูลไทยแลนด์ (CERN School Thailand) และโครงการบรรยายเชิงปฏิบัติการด้านฟิสิกส์อนุภาค (Thailand Experimental Particle Physics Novice) 3.โครงการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานด้านการประมวลผลแบบกริดร่วมกัน (National e-Science Infrastructure) และ 4.โครงการส่งเสริมให้การทำวิจัยร่วมกับเซิร์น ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้การรับรองเป็นสมาชิกประจำของสถานีตรวจวัดอนุภาคซีเอ็มเอสเมื่อเดือน มิ.ย.55 และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกสมทบของสถานีตรวจวัดอนุภาคแอตลาส (ATLAS)
       
       ส่วนการลงนามความร่วมมือล่าสุดระหว่างภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาฯ และกลุ่มวิจัยสถานีตรวจวัดซีเอ็มเอสนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สนับสนุนงบประมาณ 8.6 ล้านบาทเพื่อสนับสนุนการเป็นสมาชิกประจำของซีเอ็มเอส และอีก 7 ล้านบาทเพื่อพัฒาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการประมวลผลแบบกริดร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลซีเอ็มเอสเทียร์-2 (CMS Tier-2 Data Center) เพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์ข้อมูลผลการทดลองจากซีเอ้มเอสและงานวิจัยเชิงคำนวณด้านต่างๆ ของไทย
       
       ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า การเข้าเป็นสมาชิกของซีเอ็มเอสนี้ทำให้ไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีความร่วมมือกับเซิร์นโดยตรง ซึ่งจะเป็นการยกระดับความร่วมมือด้านฟิสิกส์อนุภาคของไทยกับซีเอ็มเอส และเปิดโอกาสให้นักวิจัยเข้าถึงข้อมูลการทดลองของซีเอ็มเอสและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเสาะหาฟิสิกส์ใหม่ๆ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้นักวิจัยไทยได้เป็นส่วนหนึ่งของการค้นพบใหม่ๆ ที่สำคัญ เช่น การยืนยันการมีอยู่ของอนุภาคฮิกก์ส (Higgs) การมีอยู่ของอนุภาคสมมาตรยิ่งยวด การศึกษาสสารมืดและพลังงานมืด เป็นต้น
       
       ทางด้าน ดร.บุรินทร์อัศวพิภพ นักฟิสิกส์อนุภาค จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า หากไม่มีความร่วมมือครั้งนี้ ไทยเราคงได้แต่ติดตามข่าวสารการวิจัยของเซิร์น และไม่ได้เข้าร่วมในการศึกษา ซึ่งการเข้าถึงของข้อมูลเซิร์นแบ่งเป็นหลายระดับ โดยข้อมูลที่เซิร์นจัดเป็นข้อมูลเทียร์-0 (tier-0) จากนั้นจะส่งข้อมูลไปยังเทียร์-1 ซึ่งอยู่ประมาณ 6-7 แห่ง โดยศูนย์ข้อมูลที่ใกล้ไทยมาที่สุดคือไต้หวัน จากนั้นข้อมูลไปผ่านกระบวนการจะถูกส่งไปยังเทียร์-2 ที่มีอยู่ประมาณ 60-70 แห่ง ซึ่งจะนำข้อมูลที่ได้มาสร้างแบบจำลองทางฟิสิกส์
       
       “น่าเสียดายที่เราได้เข้าร่วมช้าไปเลยไม่ได้มีส่วนร่วมในการค้นพบอนุภาค “ว่าที่ฮิกก์ส” ที่เซิร์นเพิ่งประกาศไป” ดร.บุรินทร์กล่าว

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์




Create Date : 15 กรกฎาคม 2555
Last Update : 15 กรกฎาคม 2555 7:51:32 น. 0 comments
Counter : 1407 Pageviews.

angelica0819
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2555
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
15 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add angelica0819's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.