ยักษ์ "เฟซบุ๊ก" หาทางโตต่อ ขยายฐานผู้ใช้ลง "ฟีเจอร์โฟน"

ถึงจะพลาดเป้าไปหลังนำบริษัทระดมทุนในตลาดหุ้น แต่ยักษ์โซเชียลเน็ตเวิร์ก "เฟซบุ๊ก" ก็ยังเป็นที่จับตามองไม่เว้นวาย โดยสิ่งที่ต้องเผชิญจากนี้ไปคือการหาหนทางขยายฐานผู้ใช้ และสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ โดยเว็บไซต์ "เทคครันช์" (techcrunch) รายงานว่า มีความเป็นไปได้ที่ "เฟซบุ๊ก" จะหันมาจับกลุ่มตลาดเกิดใหม่ และให้ความสำคัญกับผู้ใช้โทรศัพท์ "ฟีเจอร์โฟน" มากยิ่งขึ้น

"โทมัส เคลย์ตัน" ซีอีโอ บริษัทที่ทำธุรกิจด้านบล็อก "บับเบิ้ล โมชั่น" และอดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัทซอฟต์แวร์โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม "บีอีเอ ซิสเต็มส์" ซึ่งออราเคิลซื้อกิจการไป แสดงความคิดเห็นถึงหนทางที่จะเพิ่มฐานผู้ใช้งานทั่วโลกให้ไปถึง 3,000 ล้านคน ภายในปี 2557 และเพิ่มรายได้จากช่องทางโทรศัพท์มือถือว่า เฟซบุ๊กจำเป็นต้องขับเคลื่อนกลยุทธ์ธุรกิจใน 3 ด้านด้วยกัน

อย่างแรกคือการมองหากลุ่มผู้ใช้สมาร์ทโฟนในอนาคต

จาก ผลการวิจัยของ "ซิสโก้" ได้สรุปออกมาว่า ทุกวันนี้มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือทั่วโลก 5,000 ล้านเครื่อง และภายในปี 2559 จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวอยู่ที่ 10,000 ล้านเครื่องทั่วโลก ซึ่งเฟซบุ๊กสามารถพาตนเองเข้าไปอยู่ในทั้งหมดนั้นได้ แต่ต้องเริ่มไม่นิ่งนอนใจ ควรเริ่มตั้งแต่วันนี้ด้วยการมองกลุ่มผู้มีแนวโน้มที่จะใช้สมาร์ทโฟนในอนาคต อันได้แก่

ผู้ใช้ฟีเจอร์โฟนวันนี้นั่นเอง

การที่เฟซบุ๊กจะ ประสบความสำเร็จในการทำเงินผ่านอุปกรณ์มือถือหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการเจาะตลาดฟีเจอร์โฟน เชื่อว่าเฟซบุ๊กคงมองเรื่องนี้ออกเช่นกัน มิเช่นนั้นคงไม่ซื้อบริษัท "สแน็ปทู" (ในเดือน มี.ค. 2554) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแอปพลิเคชั่น ที่จะทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงเซอร์วิสอย่างเฟซบุ๊ก หรือทวิตเตอร์ บนโทรศัพท์ฟีเจอร์โฟนที่รองรับการท่องเว็บไซต์ได้

ทั้งยังมองไปถึง การพัฒนาเทคโนโลยี "facebook for every phone" ในเดือน มิ.ย. และจับมือกับโอเปอเรเตอร์ทั่วโลกมอบโปรโมชั่นให้ผู้บริโภคใช้เฟซบุ๊กผ่านมือ ถือฟรี 90 วัน เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้งาน

การที่เว็บไซต์ด้านโซเชีย ลเน็ตเวิร์กรายอื่น ๆ ต่างหันไปเน้นสร้างเซอร์วิสบนแพลตฟอร์มสมาร์ทโฟนทั้งระบบปฏิบัติการไอโอเอส, แอนดรอยด์ และวินโดวส์ โฟน ทำให้พวกเขาละทิ้งตลาดที่ยังมีโอกาสอีกสูงมาก เช่น ฟีเจอร์โฟน เนื่องจากกว่า 90% ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในประเทศกำลังพัฒนาปัจจุบันนี้ยังไม่มีสมาร์ทโฟน เช่น ประเทศยักษ์ของเอเชีย ไล่มาตั้งแต่จีน, อินเดีย และอินโดนีเซีย ต่างมีอัตราผู้ใช้สมาร์ทโฟนน้อยกว่า 10% ของจำนวนประชากรทั้งหมด นอกเหนือไปจากนี้ 90% ของฟีเจอร์โฟนในประเทศเหล่านั้นยังไม่สามารถใช้ดาต้าได้ เป็นต้น

หาก "เฟซบุ๊ก" พัฒนาแอปพลิเคชั่นให้รองรับกับผู้ใช้ฟีเจอร์โฟนในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจะมี ผลในระยะสั้น คือช่วยให้บริษัทเพิ่มฐานผู้ใช้ได้ต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 5 ปี เนื่องจากเป็นตัวเร่ง

อีกทางให้ผู้บริโภคค่อย ๆ เปลี่ยนมาใช้สมาร์ทโฟนราคาถูกเร็วขึ้น ซึ่งจะย้อนกลับมาเป็นประโยชน์กับภาพรวมอุตสาหกรรมและเฟซบุ๊กเองในภายหลัง

ที่ สำคัญถึงแม้จำนวนรายได้ต่อหัว (ARPU) ของผู้ใช้ฟีเจอร์โฟนในประเทศกำลังพัฒนาจะน้อยกว่าผู้ใช้สมาร์ทโฟนในประเทศ พัฒนาแล้วเป็นอันมาก แต่ผู้บริโภคที่ใช้ฟีเจอร์โฟนในประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มที่จะยอมจ่ายเงิน เพื่อใช้บริการด้านโซเชียลมีเดียสูงกว่าผู้ใช้สมาร์ทโฟนในประเทศพัฒนาแล้ว เป็นอย่างมาก เนื่องจากการจ่ายค่าบริการเพิ่มด้วยบัตรเติมเงินในฟีเจอร์โฟนกลายเป็นเรื่อง ปกติธรรมดาที่ผู้บริโภคไม่คิดมากกันแล้ว

กลยุทธ์อันดับถัดมา คือการสานสัมพันธ์กับบรรดาโอเปอเรเตอร์ในตลาดเกิดใหม่

"โท มัส" มองว่า ฟังก์ชั่นหลายอย่างของเฟซบุ๊กสามารถนำมาปรับใช้กับฟีเจอร์โฟนผ่านบริการพื้น ฐานหลาย ๆ อย่างของโทรศัพท์ได้ เช่น การใช้เซอร์วิสส่ง

เอสเอ็มเอส หรือการใช้เครือข่ายเสียงเพื่อแจ้งการอัพเดตในบัญชีเฟซบุ๊ก เป็นต้น การทำแบบนี้ทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงเฟซบุ๊กได้โดยไม่ต้องใช้แพ็กเกจดา ต้า, สมาร์ทโฟน หรือแอปพลิเคชั่น

อย่างไรก็ตาม จะทำได้บริษัทจำเป็นต้องวางเซิร์ฟเวอร์ตามเครือข่ายของโอเปอเรเตอร์รายต่าง ๆ ซึ่ง "โทมัส" มองว่าเป็นราคาที่ถูกมาก หากเทียบกับฐานผู้ใช้งานที่จะเพิ่มขึ้น เพราะทำให้ผู้ใช้ฟีเจอร์โฟนหลายพันล้านคนมีโอกาสใช้เฟซบุ๊ก ขอเพียงแค่เข้าไปตกลงหาความร่วมมือร่วมกันกับโอเปอเรเตอร์ในประเทศที่มี อัตราการเติบโตใช้งานอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือสูง

เท่านี้ฐานผู้ใช้ของเฟซบุ๊กก็จะมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอีกครั้ง โดยสามารถนำประสบการณ์เมื่อครั้งที่ร่วมมือกับ

โอ เปอเรเตอร์ในสหรัฐอเมริกา ไล่มาตั้งแต่เอทีแอนด์ที, เวอไรซัน และทีโมบายล์ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ ในเรื่องการเก็บเงินของเฟซบุ๊กเครดิตรวมไปกับบิลเก็บค่าใช้โทรศัพท์

เขา ยอมรับว่าการจับมือกับโอเปอเรเตอร์แต่ละรายไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุที่บริษัทไอทีในซิลิกอน วอลเลย์ หลายแห่งต้องการหลีกเลี่ยงกลยุทธนี้ แต่บริษัทที่มีขนาดใหญ่และมีฐานผู้ใช้งานจำนวนมหาศาลระดับเฟซบุ๊กจำเป็นต้อง เข้าหาโอเปอเรเตอร์ เพื่อให้อัตราการเติบโตของฐานผู้ใช้และคุณภาพการบริการพัฒนาขึ้นไปอีกระดับ ได้

เรื่องสุดท้าย "เฟซบุ๊ก" ควรเริ่มหาเงินจากโทรศัพท์มือถือได้แล้ว

ต่อยอด จากการร่วมมือกับโอเปอเรเตอร์ เฟซบุ๊กจะสามารถสร้างรายได้แบบชัดเจนด้วยการใช้โมเดลการแบ่งสัดส่วนรายได้ และกลุ่มผู้ใช้ "ฟีเจอร์โฟน" มีแนวโน้มที่จะยอมจ่ายเงินเพื่อใช้บริการใด ๆ ง่ายกว่ากลุ่มผู้ใช้สมาร์ทโฟน (โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์) เนื่องจากรูปแบบการชำระเงินผูกติดกับบิลเก็บเงินค่าโทรศัพท์ของโอเปอเรเตอร์ โดยในตลาดประเทศกำลังพัฒนาแถบเอเชียมีผู้กรอกรหัสบัตรเครดิตสำหรับใช้ซื้อแอ ปในสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์น้อยมาก (ส่วนใหญ่เจ้าของสมาร์ทโฟนไม่มีบัตรเครดิตด้วยซ้ำ)

ล่าสุด "เฟซบุ๊ก" ประกาศช่องทางการชำระเงิน "ฟริกชั่นเลส เพย์เมนต์" (frictionless payments) เกิดจากการจับมือร่วมกันกับโอเปอเรเตอร์ แต่รูปแบบการชำระเงินดังกล่าวยังไม่รองรับผู้ใช้ฟีเจอร์โฟนที่ไม่มีแพ็กเกจ การใช้ดาต้า (ซึ่งถือเป็นกลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่ใหญ่ที่สุดในโลกขณะนี้) แต่อย่างน้อยก็แสดงให้เห็นถึงรูปแบบความร่วมมือที่เฟซบุ๊กเข้าไปทำงานกับโอ เปอเรเตอร์ในเชิงลึก หากทำแบบนี้ได้ในตลาดประเทศกำลังพัฒนา เฟซบุ๊กน่าจะได้รายได้กลับมาเป็นกอบเป็นกำเลยทีเดียว

"โทมัส" ทิ้งท้ายด้วยว่า เฟซบุ๊กเริ่มเข้าไปเป็นพาร์ตเนอร์กับโอเปอเรเตอร์โทรศัพท์มือถือบ้างแล้วใน ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ต่อจากนี้คาดว่าคงได้เห็นเฟซบุ๊กเข้าไปร่วมมือกับโอเปอเรเตอร์มากขึ้นเป็น เท่าตัวในอีกหลายปีต่อจากนี้ แม้เขาจะมองว่าเฟซบุ๊กเริ่มออกเดินมองหาลู่ทางใหม่ ๆ ให้ตนเองได้อย่างถูกวิธี แต่บริษัทควรทุ่มเทเป็นเท่าตัวในการเปิดรับกระแสของตลาดเกิดใหม่ในประเทศ กำลังพัฒนามากกว่านี้ หากต้องการหาลู่ทางทำเงินจากช่องทางโทรศัพท์มือถือให้ได้

* ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ *




Create Date : 09 กรกฎาคม 2555
Last Update : 9 กรกฎาคม 2555 21:23:33 น. 0 comments
Counter : 1739 Pageviews.

angelica0819
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2555
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
9 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add angelica0819's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.