วิสํญญี เพื่อ ประชาชน
 
มกราคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
22 มกราคม 2555

วิธีการทำให้ไม่เจ็บระหว่างการคลอด ภาค 2.... spinal block

ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้



สวัีสดีวันตรุษจีนนะครับ ทุกท่านๆ  




ผมคงไม่อวยพรให้รำ่รวยเงินทองเหมือนที่ท่านได้รับกันมาแล้ว  ในฐานะที่ผมเป็นหมอ คงจะขอสิ่งอื่นใดไปไม่ได้ นอกจากให้ทุกๆท่านมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยใดๆ ....  สาธุ ......


เข้าเรื่องเลยละกันนะครับผม  วันนี้เป็นส่วนต่อของภาคแรก (ใครยังไม่ได้อ่าน ก็ลองกลับไปอ่านนะครับ จะได้ต่อติด)


สุดท้ายแล้วนั้น ก็จะเป็นเจ้าหนูน้อยส่วนหนึ่ง ที่ไม่ว่ายังไงก็ไม่ยอมออกมาตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเหตุผลใดก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น เด็กตัวโตเกินไปเมื่อเทียบกับช่องเชิงกรานของคุณแม่  เด็กมีภาวะผิดปกติในครรภ์  หรือท้ายที่สุดกับครอบครัวที่ให้ ซินแสจับฤกษ์มหามังกรผงาดโรซัน (เซนต์เซย่า  แหะๆ ) เป็นเวลาคลอด Smiley   ทำให้ต้องหาช่องทางออกมาดูโลกช่องทางอื่นซึ่งก็คือการผ่าตัดคลอดนั่นเอง


วิธีการผ่าแบบไหน  ลงแผลอย่างไร ผมขอไม่พูดถึงนะครับ คงต้องไปถามคุณหมอสูติกันเอง  ....  ผมขอพูดถึงในส่วนของผมเท่านั้น คือวิธีการทำให้ไม่เจ็บระหว่างผ่าตัดที่ผมถนัดกว่า  วิธีการทำให้ไม่เจ็บนั้นแบ่งเป็น 2 วิธีใหญ่ๆนะครับได้แก่


     1. การบล็อคหลัง ( spinal block , epidural block)  วิธีการนี้เป็นวิธีที่กระผมใช้บ่อยที่สุด




        การบล็อคหลังนั้น วิธีการก็คือให้คุณแม่นอนตะแคงข้าง(เหมือนภาพเลยจ้า)  จากนั้นคู้เข่ามาชิดท้อง  คางมาชิดอก แล้วนอนนิ่งๆ คุณหมอจะทายาฆ่าเชื้อบริเวณหลัง จากนั้นจะปูผ้าสะอาด แล้วจะเริ่มใ้ช้เข็มเพื่อหาช่องที่จะฉีดยา ขั้นตอนนี้สำคัญมากนะครับ คุณแม่ต้องอดทนสักครู่ อยู่นิ่งๆ จนกว่าคุณหมอจะบอกว่าขยับได้ หลังจากฉีดยาเรียบร้อยก็จะให้นอนหงายตามปกติ สักไม่เกิน 5 นาที คุณแม่จะเริ่มหนักที่ขาทั้งสอง แล้วจะค่อยชาขึ้นมาด้านบนเรื่อยๆ จนรู้สึกเหมือนว่าขาจะหายไปเลย ไม่ต้องตกใจนะครับ ไม่ต้องพยายามขยับด้วย เดี๋ยวจะหงุดหงิด ( พูดจริงนะครับ เคยเจอมาแล้ว พยายามจนหงุดหงิด) หลังจากนั้นคุณหมอวิสัญญีจะทำการทดสอบว่าชาได้ระดับที่สามารถทำการผ่าตัดได้รึยัง  ถ้าได้แล้วก็ลุยกันเล้ยยยยยย!!!!!



        ในเมื่อผมทำบ่อยสุด  แปลว่ามันต้องมีของใช่มั๊ยครับ .... มันมีของจริง  ของดีด้วยนะจะบอกให้  อันดับแรกเลยนะครับ  คุณแม่จะไม่หลับ...อ่า...บางคนจะบอกว่า "จริงหราค่า ไม่หลับมันจะดีหราค่า  ขอหลับได้ไหมค่า ดิฉันกลัว"  ... ผมจะบอกว่าการที่คนไข้นั้นสามารถมีสติสามารถที่จะควบคุมร่างกาย (ในส่วนที่ไม่ได้ทำการผ่าตัด) เองได้นั้น เป็นสิ่งที่ปลอดภัยมากเลยนะครับ เพราะว่าการทำให้สลบเพื่อทำการผ่าตัดนั้น  ไม่ใช่แค่ฉีดยา แล้วคนไข้หลับ แล้วจบนะครับ ....มันมีกระบวนการมากมายเช่น  การใส่ท่อช่วยหายใจ ซึ่งเป็นส่วนที่อันตรายที่สุดโดยเฉพาะในมารดา ซึ่งมีงานวิจัยบอกว่าการใส่ท่อช่วยหายใจนั้นยากกว่าคนธรรมดาถึง  8 เท่า!!!  "เอ... แล้วใส่ท่อช่วยหายใจไม่ได้ แล้วทำไมอะ ก็ทำให้ตื่นซะสิ ไม่เห็นมีไรเลย"   ... ก็จริงนะครับ ถ้าใส่ไม่ได้ ก็คงต้องให้ตื่นก่อน แต่ลองจินตนาการตามนะครับ ใส่ท่อช่วยหายใจไม่ได้  คุณหายใจเองก็ไม่ได้ แล้วอากาศที่ไหนจะเข้าปอด แล้วอ๊อกซิเจนที่ไหนจะเข้าไปเลี้ยง (โคตรรรรร) น่ากลัวมากกกกกกกก Smiley  นอกจากนั้นในการดมยาสลบคนท้องนั้น ยังมีความเสี่ยงที่ยาอาจจะ...ขอย้ำนะครับว่า "อาจจะ" เข้าสู่เด็ก ซึ่งต่างกับการบล็อคหลัง ซึ่งยาจะอยู่มารดาแทบทั้งหมด  และในที่สุดแล้ว เมื่อน้องที่เราคอยฟูมฟักด้วยความรักมาเก้าเดือนลืิมตามาดูโลก คุณแม่ก็จะได้ยินเสียงสวรรค์กังวานในห้อง ได้เห็นสิ่งที่คุณแม่เฝ้ารอคอยที่จะดูแล ได้สัมผัสกับแก้มของเจ้าตัวเล็กในทันทีหลังจากคลอดแล้ว ... เห็นมั๊ยครับ ว่าการไม่หลับนั้นได้ประโยชน์ฺขนาดไหน


         นอกจากเรื่องที่ไม่หลับแล้ว ก็จะมีการให้ยาแก้ปวด ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะทำการให้ยาแก้ปวดซึ่งมันจะเป็น Morphine ตอนฉีดยาเข้าไปด้วย ซึ่งยานี้จะมีฤทธิ์แก้ปวดไปได้นานประมาณ 12-24 ชั่วโมงเลยทีเดียว ทำให้คุณแม่ไม่ได้มานั่งขอยาแก้ปวดบ่อยๆ


         ข้อดีมีแล้ว  ข้อเสียละมีไหม?  ต้องมีอยู่แล้วครับ เพราะ ไม่มีอะไร100% ในการแพทย์  ข้อเสียก็คือคุณแม่อาจจะมีอาการจุกๆ ตึงๆ ขณะทำการผ่าตัดได้ (แต่จริงๆผมว่าก็ไม่มากนะ คุณแม่ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหา) คุณแม่จะขยับขาไม่ได้ประมาณ 4-6 ชั่วโมงหลังผ่า่ตัด ซึ่งเป็นผลจากยาชาที่ฉีดให้ ซึ่งถ้าคุณแม่หยิกนิ้วโป้งตัวเองแล้วยังไม่เจ็บ ห้ามลุกเด็ดขาดเลยนะครับ เดี๋ยวจะล้มได้ ...  รวมทั้งอาจจะมีอาการคลื่นไส้ คันตามตัว ซึ่งเป็นผลจาก Morphine ที่ใส่ให้ อาการจะมากน้อยแตกต่างกันไป โดยส่วนใหญ่นั้นจะสั่งยาแก้คลื่นไส้ ยาแก้คันไว้ให้แล้วด้วย


         พอเห็นภาพกันใช่มั๊ยครับ..... สุดท้ายผมก็ขอย้ำเหมือนเดิมว่า อันนี้เป็นส่วนใหญ่ที่ปฏิบัติกัน อย่างไรก็ตามวิธีการใดก็ตามขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในขณะนั้น และ ดุลยพินิจของแพทย์ที่ทำการรักษาเป็นหลัก   ผมเชื่อว่า ไม่ว่ายังไงก็ตาม แพทย์ก็ต้องทำให้คุณปลอดภัยที่สุด 


ปล.ที่พูดมานี่คือ spinal block นะครับ ส่วน epidural block อันนั้นละเอียดไป ใครอยากรู้ก็ถามส่วนตัวมาละกันนะครับ  Smiley







Free TextEditor


Create Date : 22 มกราคม 2555
Last Update : 22 มกราคม 2555 15:18:37 น. 1 comments
Counter : 2716 Pageviews.  

 
บรรยายได้ละเอียดและเห็นภาพมากๆค่ะ 555
เล่าเป็นฉากๆเลย
ขอบคุณค่ะ


โดย: Maggy IP: 27.55.0.113 วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:21:26:27 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Fenopski
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add Fenopski's blog to your web]