เพราะเรามีในหลวงผู้ทรงใช้ชีวิตอย่างเพียงพอ
Group Blog
 
 
ธันวาคม 2549
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
14 ธันวาคม 2549
 
All Blogs
 

The Six Equations

6 สุดยอดสมการ

6 สมการยอดฮิตที่ได้รับการโหวตจากผู้อ่านวารสาร “โลกฟิสิกส์” ไม่ว่าจะเป็น "ทฤษฎีสนามแม่เหล็กไฟฟ้าของแม็กแวลล์" กฎของออยเลอร์ กฎของนิวตัน และทฤษฎีสุดคลาสสิกตลอดกาลอย่าง " E=mc2" ของไอนสไตน์ ล้วนกลายเป็น "สมการที่น่านับถือ" หรือเป็นสมการอันแสนประทับใจตลอดกาล
ดร.มาร์ติน ดัวรานี (Dr.Matin Durrani) ผู้ช่วยบรรณาธิการของ “โลกฟิสิกส์” (Physics World) วารสารในเครือบีบีซีได้เปิดให้ผู้อ่านนิตยสารได้ลงคะแนนเลือก "สมการ" ของเหล่านักคณิตศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ที่คิดค้นขึ้นมาว่า ของผู้ใดเป็น "สมการที่น่านับถือที่สุด" (Equation Idol) พร้อมทั้งจัดทำอีเดียตไกด์ (idiot's guide) สำหรับสุดยอดสมการที่ได้รับการนับถือตลอดกาล เพื่อค้นหา ความหมายที่แท้จริงและประโยชน์สมการเหล่านี้...

สมการที่ 1 ทฤษฎีสนามแม่เหล็กไฟฟ้าของแมกซ์เวลล์
(CLERK MAXWELL'S ELECTROMAGNETISM THEORY)

∇.D=p ...... A
∇.B=0 ...... B
∇x E=-∂B/∂t ...... C
∇x H= ∂D/∂t +j ...... D

(A - ดิฟหรือไดเวอร์เจนต์ดี เท่ากับ โร)
(B - ดิฟหรือไดเวอร์เจนต์บี เท่ากับ ศูนย์)
(C - เคิร์ลอี เท่ากับ ลบ ดิฟ B บาย ดิฟ t)
(D - เคิร์ล H เท่ากับ ดิฟ D บาย ดิฟ t บวก j)

(ผลการดำเนินการไดเวอร์เจนต์ในสมการ A และ B จะได้จำนวนสเกลาร์ ส่วนการดำเนินการเคิร์ลใน C และ D จะได้ปริมาณเวกเตอร์ สำหรับผู้สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมในสมการนี้หาอ่านได้จากตำราฟิสิกส์เกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ Mathematics for Physics เพื่อศึกษาคณิตศาสตร์ชั้นสูงที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์นี้
เมื่อ D (ดี) คือสนามที่เคลื่อนที่, E (อี) คือสนามไฟฟ้า, B (บี) คือความหนาแน่นของฟลักซ์แม่เหล็ก, H (เอช) คือความแรงสนามแม่เหล็ก, p (โร) คือความหนาแน่นของประจุอิสระ และ j คือความหนาแน่นของกระแสอิสระ สมการนี้สร้างขึ้นโดยนักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ชาวสก๊อต เจมส์ เคิร์ก แมกซ์เวลล์ ในปี 1873 สมการนี้อธิบายว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอย่างแสง รังสีเอกซ์ หรือไมโครเวฟ มีผลอย่างไรเมื่อเวลาและตำแหน่งในสเปซเปลี่ยนไป
สิ่งที่น่าสนใจในสมการนี้คือการแสดงว่าไฟฟ้าและแม่เหล็ก แรง 2 ชนิดที่นักวิทยาศาสตร์ก่อนหน้านั้นคิดว่าไม่มีความสัมพันธ์กันนั้นจริงๆ แล้วมีความเชื่อมโยงระหว่างกันและกัน เพราะเหตุนี้นักฟิสิกส์จึงได้ดำเนินการรวมแรงแม่เหล็กไฟฟ้าเข้ากับแรงในธรรมชาติอีก 2 แรง คือแรงนิวเคลียร์อย่างอ่อนและแรงนิวเคลียร์อย่างเข้มที่มีอยู่ในนิวเคลียสของอะตอม
ผลของทฤษฎีนี้นำไปสู่ความพยายามสร้างแบบจำลองมาตรฐานของอนุภาคฟิสิกส์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี และความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ต่อไปคือการรวมแรงโน้มถ่วงเข้าไปด้วย เป็นการรวมแรงพื้นฐานในธรรมชาติ 4 แรงเข้าด้วยกัน ดังนั้นแมกซ์เวลล์จึงมีความสำคัญในการเป็นนักฟิสิกส์คนแรกที่ตั้งต้นรวมแรงในธรรมชาติเข้าเป็นหนึ่งเดียว


คุณ clerk maxwell

“แล้วมันมีประโยชน์อะไรกับฉันล่ะ?”
สมการของแมกซ์เวลล์ถูกใช้ผ่านอุตสาหกรรมสื่อสาร ยกตัวอย่างเช่น ใช้ออกแบบเสาอากาศโทรศัพท์เคลื่อนที่ของคุณ




สมการที่ 2 สมการออยเลอร์
(EULER'S EQUATION)

ei p + 1 = 0

(อี ยกกำลัง ไอ ไพ บวก หนึ่งเ ท่ากับ ศูนย์)

สมการนี้เป็นสุดยอดในการรวมเข้ากับสมการของแมกซ์เวลล์ และสร้างขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ชาวสวิส ลีโอนาร์ด ออยเลอร์ ในศตวรรษที่ 18 นักฟิสิกส์ชอบสมการนี้เพราะว่าเป็นสมการที่รวมหลักทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน 9 อย่าง ในสมการเดียว
คือ p (ไพ) ซึ่งเป็นค่าที่คำนวณจากเส้นรอบวงที่หารด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของตัวมันเอง i (ไอ) เป็นรากที่สองของลบหนึ่ง (เป็นจำนวนจินตภาพ) และ e (อี) มีค่า 2.71828 ส่วนพื้นฐานอีก 6 อย่างที่เหลือคือ การคูณ การบวก การเท่ากับ ศูนย์ หนึ่ง และเลขชี้กำลังซึ่งหมายถึงการคูณด้วยตัวมันเองเป็นจำนวนเท่าของเลขชี้กำลัง เช่น 2 ยกกำลัง 2 หมายถึง 2x2 หรือ 2 ยกกำลัง 3 หมายถึง 2x2x2 เป็นต้น



“แล้วมันมีประโยชน์อะไรกับฉันล่ะ?”
ไม่มี สมการออยเลอร์เป็นโครงสร้างของคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ที่ไม่มีแนวทางในการนำไปปฏิบัติที่แจ่มชัด แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่นักฟิสิกส์หลายๆ คนกล่าวเป็น “สิ่งที่สวยงาม” ก็ตาม

สมการที่ 3 กฎข้อที่ 2 ของนิวตัน
(NEWTON'S SECOND LAW)

F=ma

(เอฟ เท่ากับ เอ็มเอ)

สมการนี้อธิบายความจริงที่ว่าถ้าคุณให้แรง F (เอฟ) แก่วัตถุซึ่งมีมวล m (เอ็ม) จะทำให้มวลนั้นเกิดความเร่ง a (เอ) สมการนี้ถูกคิดขึ้นโดย ไอแซก นิวตัน ในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 และเป็นรูปแบบพื้นฐานของการเคลื่อนที่ตามกฎข้อที่ 2 ของเขาเอง



“แล้วมันมีประโยชน์อะไรกับฉันล่ะ?”
กฎข้อที่ 2 ของนิวตัน ใช้บอกว่ามินิคูปเปอร์ของคุณเร็วเป็นสายฟ้าแลบแค่ไหน ถ้าคุณเร่งจาก 0 กม /ชม ไปเป็น 60 กม /ชม

สมการที่ 4 ทฤษฎีปีทาโกรัส
(PYTHAGORAS'S THEOREM)

a²+b²=c²

(เอ ยกกำลัง สอง บวก บี ยกกำลัง สอง เท่ากับ ซี ยกกำลัง สอง)
สมการในชั้นเรียนที่ได้รับความนิยมสูงสุด ทฤษฎีปีทาโกรัสใช้หาความยาวของด้านประกอบสามเหลี่ยม ถ้า a (เอ) และ b (บี) เป็นด้านประกอบมุมฉากของสามเหลี่ยม และ c (ซี) เป็นด้านตรงข้ามมุมฉาก ที่คุณต้องการหาความยาว วิธีการง่ายๆ คือ หาค่ายกกำลังสองของ a และ b แล้วบวกกัน ก่อนจะถอดรากเพื่อที่จะได้ค่า c



“แล้วมันมีประโยชน์อะไรกับฉันล่ะ?”
สมการของปีทาโกรัสใช้ในกระบวนการสำรวจหรือหาระยะทางด้วยรูปสมเหลี่ยม ที่สามารถชี้ตำแหน่งของคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือที่มีการรับส่งสัญญาณ 3 จุด

สมการที่ 5 สมการโชรดิงเจอร์
(SCHRÖDINGER'S EQUATION)

HΨ=EΨ

(เอชไซ เท่ากับ อีไซ)

สมการนี้สร้างขึ้นโดยนักฟิสิกส์ชาวออสเตรียนชื่อ เออร์วิน โชรดิงเจอร์ ในช่วงกลางทศวรรษ 1920 ซึ่งสมการนี้สามารถอธิบายพฤติกรรมของอนุภาคเล็กๆ อย่างอิเล็กตรอนและเป็นส่วนหนึ่งในรูปแบบของทฤษฎี “กลศาสตร์ควอนตัม”
เราไม่สามารถระบุตำแหน่งหรือเวลาที่แท้จริงของอนุภาคอย่างอิเล็กตรอนได้ ทั้งหมดที่ทำได้คือการระบุความน่าจะเป็นของอิเล็กตรอนที่จะอยู่ในสถานที่แน่นอนและเวลาที่กำหนดแน่นอน สัญลักษณ์ Ψ คือฟังก์ชันคลื่น ที่อธิบายโอกาสของอนุภาคที่จะอยู่ในตำแหน่งต่างๆ ของสเปซ (ส่วน H (Harmitnian: ฮาร์มิโตเนียน) คือตัวดำเนินการพลังงาน เมื่อดำเนินการกับฟังก์ชันคลื่น Ψ จะได้พลังงาน E และฟังก์ชันคลื่น Ψ ตัวเดิม)



คุณ SCHRÖDINGER

“แล้วมันมีประโยชน์อะไรกับฉันล่ะ?”
มีการประยุกต์ใช้สมการโชรดิงเจอร์ในแวดวงอิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างเช่น ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ใช้ควอนตัมบีม (Quantum Beam) สร้างระบบเลเซอร์เพื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สายให้กับคอมพิวเตอร์ตามบ้าน

สมการที่ 6 สมการของไอนสไตน์
(EINSTEIN'S EQUATION)

E=mc²

(อี เท่ากับ เอ็มซี ยกกำลังสอง)

สมการอันโด่งดังของไอน์สไตน์นี้ แสดงให้เห็นว่ามวลพลังงานไม่ได้แยกจากกัน เพราะจริงๆ แล้วนั้นมีความสัมพันธ์กัน สิ่งที่สมการนี้อธิบายคือ วัตถุซึ่งมวล m (เอ็ม) มีพลังงานเท่ากับ E = mc² เมื่อ c (ซี) คือความเร็วแสงที่มีความเร็วถึง 300 ล้านเมตรต่อวินาที ดังนั้นวัตถุเล็กๆแม้มีมวลน้อย ก็มีพลังงานได้มหาศาลและในขณะเดียวกัน พลังงานก็มีมวลเช่นกัน และเดาได้เลยว่าในปี 2005 คุณจะได้ยินเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับสมการนี้เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ของการค้นพบสมการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ ทั่วโลกจะถือโอกาสสำคัญนี้เป็นเป็นปีสากลของฟิสิกส์ (International Year of Physics) แม้จะยังไม่ได้รับแน่นอนจากองค์การสหประชาชาติ



“แล้วมันมีประโยชน์อะไรกับฉันล่ะ?”
E=mc² ใช้คำนวณหาพลังงานที่อะตอมในโรงไฟฟ้าปลดปล่อยพลังงานนิวเคลียร์ออกมา


สมการเหล่านี้เกิดจากความพยายามอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ ในรูปของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์โดยต้องอาศัยคณิตศาสตร์ชั้นสูงมาช่วยในการคำนวณ และด้วยความที่สมการเหล่านี้จับต้องไม่ได้อาจทำให้คนที่ไม่ได้ศึกษาทางด้านนี้ไม่เข้าใจว่ามันมีประโยชน์อย่างไร แบบจำลองทางฟิสิกส์นี้เป็นสิ่งที่นักฟิสิกส์จะสามารถทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตโดยอาศัยพื้นฐานของความจริง ทางทีมงานผู้จัดการวิทยาศาสตร์หวังว่าอย่างน้อยการนำเสนอครั้งนี้คงจะทำให้หลายๆ คน เข้าใจว่าฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์มีประโยชน์อย่างไร




 

Create Date : 14 ธันวาคม 2549
2 comments
Last Update : 15 ธันวาคม 2549 17:02:10 น.
Counter : 2463 Pageviews.

 

อยากทราบว่าแล้วเดี๋ยวนี้ไม่มีสมการหรือความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นอีกแล้วหรือครับ เพราะว่าเห็นมีแต่เรื่องราวของนักวิทยาศาสตร์เก่าๆอ่ะ

 

โดย: jojotaweesak 17 ธันวาคม 2549 0:55:23 น.  

 

คงจะช่ายอะ ไม่งั้นเราคงมีสมการใหม่ๆๆมาเรียนกันเนอะๆๆ

 

โดย: rit (rittee07 ) 18 ธันวาคม 2549 9:17:59 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


rittee07
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add rittee07's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.