ทุกๆวันคือวันใหม่ ที่ดีกว่าวันเก่า

สิ่งที่เจ้าหน้าที่ธนาคารไม่มีเวลาอธิบาย...แต่เรา จำเป็นต้องรู้

สิ่งที่เจ้าหน้าที่ธนาคารไม่มีเวลาอธิบาย
....แต่เรา จำเป็นต้องรู้


เทคนิคง่ายๆ ได้ดอกเบี้ย(ออมทรัพย์)มากกว่าที่คิด
ความจริง - บัญชีออมทรัพย์ จะมีดอกเบี้ยปันผลเข้ามา ๒ ครั้งต่อปี คือทุกสิ้นเดือนมิถุนายน และสิ้นเดือนธันวาคมของทุกปี
สิ่งที่ควรทำ - ทุกสิ้นเดือนมิถุนายน (30 มิ.ย.)และสิ้นเดือนธันวาคม (31 ธ.ค.) จงอย่าเพิ่งถอนเงินออกมาใช้จนกว่าจะสิ้นวัน หรือถ้าให้ดีรอถอนเงินวันที่หนึ่งเดือนถัดไปดีกว่า


เพราะเงินที่เหลือค้างบัญชีในวันนั้น จะทำให้คุณได้ดอกเบี้ย แตกต่างไปจากที่คุณคิด


 
ตัวอย่าง ณ 30 มิ.ย. เหลือเงินติดบัญชีแค่ 5 บาท
ปรากฎว่าดอกเบี้ยปันผลได้แค่ 1 บาทกว่า
ขณะที่ บางคนมีเงินในบัญชี 6000 บาท ได้ดอกเบี้ยไป 50 กว่าบาท 


ดังนั้นบางคนมีเงินในบัญชีหลักหมื่นหรือแสน ดอกเบี้ยวันนั้นก็แปรผันไปตามจำนวนเช่นกัน
เหตุนี้เอง ผู้ใหญ่จึงมักสอนว่าเวลาเงินเดือนออกสิ้นเดือน อย่าเพิ่งกดออกมาใช้ ให้รอถอนวันที่หนึ่ง
เดือนถัดไป เพื่อจะได้ดอกเบี้ยธนาคารมากขึ้น เพราะดอกเบี้ยมาคิด ณ สิ้นเดือนนั่นเอง
โดยเฉพาะบัญชีออมทรัพย์ ต้องจำ 30 มิ.ย. และ 31 ธ.ค. ให้แม่นๆ



สาเหตุที่ตู้เอทีเอ็ม กลืนบัตรเอทีเอ็ม หรือดูดเงินสดของคุณเข้าไปอีกครั้ง
ความเชื่อ - 1.1 ขณะที่ตู้เอทีเอ็มเด้งบัตรคืนกลับมา เสียงโทรศัพท์มือถือก็ดังขึ้น ...
งั้นรับโทรศัพท์ก่อนดีกว่า เดี๋ยวค่อยหยิบบัตร
       1.2 ขณะที่ตู้เอทีเอ็มเด้งเงินสดที่คุณต้องการกดออกมา แต่คุณปวดท้องเบา ...
งั้นแอบทำธุระข้างตู้ก่อนดีกว่าเดี๋ยวค่อยหยิบเงิน
ความจริง - ตู้เอทีเอ็ม จะให้เวลารับเงิน หรือรับบัตรเอทีเอ็มคืน เพียง 15 - 20 วินาทีเท่านั้น
ถ้าไม่รีบดึงเงิน หรือบัตรออกมา ทั้งสองอย่างจะถูกตู้ดูดกลับเข้าไปอีกครั้งเพื่อความปลอดภัยของเงินและบัตรดังนั้นกรณีที่คุณลืมจริงๆ คนที่ต่อคิวคุณก็จะหยิบไปไม่ได้นั่นเอง
ทางแก้ - โทร.ติดต่อธนาคารที่คุณเปิดบัญชีไว้ทันทีเพื่ออายัดบัตร หรือเพื่อขอเงินคืน
 


ใช้บัตรเอทีเอ็ม ที่ตู้ของธนาคารอื่น แล้วโดนตู้นั้นกลืนบัตรเข้าไป
ความเชื่อ - แจ้งอายัดบัตรไว้ก่อน แล้วขอรับบัตรคืนภายหลังได้
ความจริง - ไม่ได้ ธนาคารทุกธนาคารไม่คืนบัตรเอทีเอ็มของต่างธนาคารให้ (ถึงจะอ้างว่าจะไม่ใช่ความผิดของคุณเลยก็ตาม) ทั้งนี้เป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย


กรณีที่อาจได้คืน คือ หากตู้เอทีเอ็มนั้นตั้งอยู่หน้าธนาคาร แล้วคุณโชคดีที่พบกับเจ้าหน้าที่มีใจ (คือทั้งใจดีและเข้าใจ) ก็อาจให้ความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษให้


ขอทำบัตรเอทีเอ็มใบใหม่ โดยไม่ได้บอกความประสงค์ว่าต้องการบัตรประเภทใด
ความเชื่อ - เดี๋ยวจนท.ธนาคารคงถามเราเอง ว่าต้องการบัตรแบบไหน แล้วค่อยทำบัตรให้ตามที่เราต้องการ
ความจริง - จนท.ธนาคาร(อาจ)ไม่ถาม แล้วเลือกบัตรที่มีค่าแรกเข้า/ค่าธรรมเนียมรายปีแพงที่สุดให้ เพราะถือว่าเป็นคุณค่าที่คุณคู่ควร
สิ่งที่ควรทำ - เอ่ยปากถามจนท.หรือศึกษาให้แน่ใจก่อนว่าคุณต้องการบัตรแบบใด ค่าแรกเข้า/รายปีเท่าไหร่ /เวลาถูกตู้เอทีเอ็มกลืนเข้าไปขอรับคืนบัตรได้มั้ย


ค่าธรรมเนียมการถอนเงินที่ตู้เอทีเอ็มธนาคารอื่น
ความเชื่อ - มีค่าธรรมเนียมเฉพาะกดถอนเงินที่ตู้ธนาคารอื่น  แต่ตรวจสอบยอดไม่มีค่าธรรมเนียม
ความจริง - มี ทั้งสองกรณี คือ ในแต่ละรอบเดือน ทั้งการถอนเงินและสอบถามยอดที่ตู้เอทีเอ็มธนาคารอื่น ครั้งที่ 5 เป็นต้นไปคิดครั้งละ 5 บาท


บัตรเอทีเอ็มที่มีวงเงินคุ้มครองกรณีเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ
ความเชื่อ - สามารถใช้บัตรนี้ติดต่อโรงพยาบาล กรณีเกิดอุบัติเหตุ เช่น มีดบาด น้ำร้อนลวก หกล้มได้
ความจริง - ไม่ได้ การรับเงินค่าชดเชยตามวงเงินคุ้มครอง ต้องเป็นกรณีตายด้วยอุบัติเหตุเท่านั้น หรือหากยังไม่ตาย ต้องพิการถาวร เช่นแขนขาด ขาขนาด ตาบอด...ถาวร
บางบริษัทประกันอาจมีเงื่อนไขระบุว่า คุ้มครองเฉพาะอุบัติเหตุ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับมอเตอร์ไซค์ไม่ว่าจะซ้อนหรือขับขี่ด้วยซ้ำ จึงต้องตรวจสอบให้ดี


เจ้าของบัญชีนอนป่วย เซ็นชื่อไม่ได้ มอบอำนาจไม่ได้ จะถอนเงินได้หรือไม่ ถ้าไม่มีบัตรเอทีเอ็ม
ความเชื่อ - ธนาคารอาจอนุโลมให้แปะโป้งแทนการเซ็นชื่อได้ เพราะเห็นว่าป่วยอยู่
ความจริง -  ไม่ได้ หากเปิดบัญชีด้วยการเซ็นชื่อ ตัวอย่างลายเซ็นที่สมุดบัญชีเป็นหลักฐานเดียวที่ธนาคารใช้ตรวจสอบตัวบุคคลได้ การแปะโป้งจึงไม่สามารถอนเงินได้เพราะไม่มีตัวอย่างแปะโป้งให้ไว้กับธนาคาร กรณีที่เจ้าของบัญชีนอนป่วยไม่รู้เรื่องราว บุคคลอื่นจึงถอนเงินแทนไม่ได้ จนกว่าจะหายเป็นปกติหรือเสียชีวิต ญาติจึงนำหลักฐานติดต่อรับเงินได้ ได้แก่ 1)หนังสือแต่งตั้งผู้จัดการมรดก (กทม.ติดต่อศาลแพ่ง ถ.รัชดา/ต่างจังหวัดติดต่อศาลประจำจังหวัด)2) ทะเบียนบ้าน 3) ใบมรณบัตร 4) สมุดบัญชี
 
หากเผลอแจ้ง เลขที่บัญชี และเลขที่บัตรประชาชนให้กับมิจฉาชีพที่โทรมาหลอก
ความเชื่อ - รีบอายัดบัตรเอทีเอ็ม และสมุดบัญชี เงินในบัญชีจะได้ปลอดภัย
ความจริง - ไม่จำเป็นต้องอายัด ถ้า..บัตรเอทีเอ็ม สมุดบัญชี และ บัตรประชาชนตัวจริงทั้งหมดยังอยู่กับตัวคุณเอง
มิจฉาชีพไม่สามารถถอนเงินจากบัญชีได้อยู่แล้ว เพราะการถอนเงินที่ตู้ ต้องใช้บัตรเอทีเอ็ม

และการถอนเงินที่สาขา ต้องใช้บัตรประชาชนตัวจริง และสมุดบัญชีตัวจริง ติดต่อด้วยตนเองเท่านั้น

ปัญหาคือ ตามแผนของมิจฉาชีพเท่าที่พบคือ  โทรเข้ามาอีกครั้ง เพื่อหลอกว่ามีเงินโอนเข้าบัญชี
ขอให้คุณไปตรวจสอบยอดเงินที่ตู้เอทีเอ็ม
โดยมันจะคอยบอกวิธีขณะคุณทำรายการที่ตู้ ซึ่งมันหลอกว่าเป็นทางลัดในการตรวจสอบ แต่ความจริงเป็นการกดโอนเงินออกไปให้บัญชีมิจฉาชีพ เหยื่อหลงทำตามด้วยความไม่รู้ เพราะหน้า
จอเป็นเมนูภาษาอังกฤษ
บางครั้งมันก็หลอก(อีก)ว่า ต้องโอนเงินออกมาที่บัญชีเลขที่นี้ก่อน เพราะเงินในบัญชีเต็ม (คิดได้ไง?)เพื่อจะได้โอนเงินเข้าไปในบัญชีเหยื่อได้ ซึ่งความจริง คือ หลังจากโอนเงินออกไปให้มันแล้ว
ก็ไม่มีเงินโอนเข้ามาเลย
สิ่งที่ควรทำ - ต้องมีสติ เมื่อรับโทรศัพท์เสมอ เห็นว่าท่าไม่ดี กดวางสายทันที! (คุณลิขิตชีวิตได้ด้วยปลายนิ้ว)


การคิดดอกเบี้ยปรับ สินเชื่อกู้บ้าน (จ่ายช้าไปนิด ทำไมเบี้ยปรับ..บานกว่าที่คิด)
ความจริง - อัตราดอกเบี้ยปรับ คิดจาก เพดานดอกเบี้ย ลบ ดอกเบี้ยเงินกู้บ้านที่ได้รับ
ซึ่งแต่ละธนาคารกำหนดเพดานดอกเบี้ยไม่เท่ากัน บางธนาคาร 15% บางธนาคาร 19%
ดังนั้น ต้องรู้เพดานดอกเบี้ยของธนาคารนั้นก่อน แล้วนำ เพดานดอกเบี้ย ลบ ดอกเบี้ยเงินกู้บ้านที่ได้รับ
สมมติ...ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ได้ คือ 4% แต่เพดานดอกเบี้ยของธนาคารนั้นๆ อยู่ที่ 19% เท่ากับว่าดอกเบี้ยปรับ ตกวันละ 15% ต่อปีต่อวัน!!



ความบานปลายของดอกเบี้ยปรับอยู่ตรงจุดนี้ คือ คิดจากยอดหนี้คงเหลือทั้งหมดที่กู้มา!!!!
นั่นคือ ถ้ากู้บ้านเป็นเงิน 3.3 ล้าน และเพิ่งผ่อนไป จนเหลือหนี้ที่ 3 ล้านบาท ธนาคารจะนำดอกเบี้ยปรับมาคำนวณจากยอดหนี้ตัวนี้ นั่นคือ
(15% x 3,000,000)/365 = ดอกเบี้ยปรับ 1,233 บาทต่อวัน
แล้วนำยอดนี้ไปคิดดอกเบี้ยในทุกๆวันที่เลยกำหนดมานั่นเอง
ข้อควรระวังคือ ธนาคารอาจบอกคุณว่า สามารถชำระเลยกำหนดได้ 7 วัน ไม่คิดเบี้ยปรับ (ถือเป็น 7 วันทอง)แต่
คุณต้องนับให้เป็น คือ นับวันที่กำหนดชำระ ถือเป็นวันที่ 1 เลย แล้วนับต่อไปอีก 6 วัน ถ้าจ่ายทันภายในวันดังกล่าวนี้จะไม่ถูกปรับ
เช่น กำหนดชำระทุกสิ้นเดือน ระยะปลอดดอกเบี้ยปรับคือ ภายในช่วงวันที่ 31ถึง6 หรือ 30ถึง5 
แต่ถ้าช้าไปเพียงวันเดียว  ดอกเบี้ยปรับอาจมโหฬาร เพราะธนาคารเริ่มปรับโดยนับย้อนตั้งแต่วันกำหนดชำระ เป็นวันแรกนั่นเลยทีเดียว
นี่คือสาเหตุว่าทำไม จ่ายเกินวันที่ปลอดดอกเบี้ยแค่วันเดียว แต่ธนาคารกลับคิดดอกเบี้ยเป็น 8 วัน เพราะเวลาคิดดอกเบี้ย ถือว่าคิดตั้งแต่วันกำหนดชำระนั่นเอง


การคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต (เหลือยอดค้างชำระแค่นิด ..เบี้ยปรับกลับบานกว่าที่คิด)
ความเชื่อ - คุณรูดไป 900,045 บาท ชำระไปแล้ว 900,000 บาท ขาดอีกเพียง 45 บาทค้างชำระไว้ คิดว่าเดี๋ยวค่อยจ่ายรอบหน้า ดอกเบี้ยคงไม่เยอะ
ความจริง - ธนาคารคิดเบี้ยปรับจากยอดที่คุณรูดไป (ไม่สนใจดูว่าเหลือยอดค้างชำระไว้เท่าไหร่) ดังนั้น ดอกเบี้ยปรับคิดจากยอด 900,045 บาท ไม่ใช่ยอดค้างชำระ






Free TextEditor




 

Create Date : 17 มิถุนายน 2553
5 comments
Last Update : 17 มิถุนายน 2553 10:58:39 น.
Counter : 3621 Pageviews.

 

ได้ความรู้มากมายเลยนะเธอ

เธอทำตัวได้มีประโยชน์ต่อสังคม ต่อตาสี ตาสา ยายมี ยายมา อย่างฉันมากมาก ขอบใจจ้ะ

แต่ดูกฎการคิดแบบธนาคาร ฉันว่ามันไม่ค่อยยุติธรรมต่อชาวบ้านยังไงไม่รู้อ่ะ

 

โดย: พี่เอ๋ IP: 125.24.197.14 17 มิถุนายน 2553 11:03:35 น.  

 

เอา blog ของน้องแอนไปดูสิ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=anybear&group=4

 

โดย: Badz2010 IP: 125.24.197.14 17 มิถุนายน 2553 11:05:30 น.  

 

เวริ์คมากกกกกกกกกก

 

โดย: ชิโยจัง 17 มิถุนายน 2553 13:18:23 น.  

 

 

โดย: ชิโยจัง 17 มิถุนายน 2553 14:13:34 น.  

 

มาให้กำลังใจครับ>

 

โดย: nuyect 17 มิถุนายน 2553 16:46:30 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Tacoma
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ขอต้อนรับสู่เรื่องราวหลากหลาย
ที่เกิดขึ้นกับชีวิตเรา
ทั้งสุข เศร้า เหงา ซึ้ง สูญเสีย
ผ่านความผิดหวัง ความสุข สมหวัง
ในความรัก การเรียน การสมัครงาน
มาหลายต่อหลายหน ....

กำลังเรียนรู้ว่าทุกสิ่งมีเกิดขี้น ตั้งอยู่ และดับไป
เพราะ....
"เราเป็นคนที่อยู่บนโลกนี้อย่างชั่วครู่ชั่วยาม
อยู่อย่างเข้าใจแล้วก็จากมันไปเท่านั้นเอง"
- เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์

Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
17 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Tacoma's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.