พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2556
 
11 พฤศจิกายน 2556
 
All Blogs
 
กทค. ยกร่างฯ ป้องซิมดับ อุดสุญญากาศ แจงศาลปกครอง

กทค. ยกร่างฯ ป้องซิมดับ อุดสุญญากาศ แจงศาลปกครอง

"สุทธิพล ทวีชัยการ" กก.กทค. ชี้ กสท ฟ้องเรียก 2.75 แสนล้านบาทไร้น้ำหนัก  มั่นใจ ออกร่างป้องกันซิมดับ อุดสุญญากาศ คุ้มครองผู้บริโภค...

เมื่อวันที่ 8 พ.ย. นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าว ภายหลังการเข้าห้องพิจารณาคดี 5 ศาลปกครองกลางว่า มั่นใจในคำชี้แจงกรณีที่ถูกบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ยื่นฟ้อง กทค. และ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และขอคุ้มครองฉุกเฉิน เรียก ค่าเสียหาย และขอยกเลิกเพิกถอนมติ กสทช. ที่ออกประกาศ เรื่อง มาตรการ คุ้มครองผู้ใช้บริการกรณีสิ้นสุดสัมปทาน หรือสัญญาให้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ พ.ศ 2556   โดยชี้แจงว่า กสท ไม่มีสิทธิ์ในคลื่นดังกล่าวตั้งแต่สัมปทานกับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) จำกัดสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 15 ก .ย. 2556 และหาก กทค. ไม่ออกประกาศคุ้มครองฯ จะทำให้เกิดภาวะสุญญากาศและไม่มี ผู้รับผิดชอบผู้ใช้บริการประมาณ 17 ล้านราย ดังนั้น การที่ กทค. ออกร่าง ประกาศดังกล่าว ถือเป็นแนวทางที่ถูกต้อง และไม่ได้ทำให้ กสท เสียหายแต่อย่างใด

อีกทั้ง ตาม พรบ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553  กำหนดให้ทั้ง กสท และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต้องนำส่งรายได้จากสัมปทานให้กับแผ่นดินตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป อยู่แล้ว ดังนั้น แม้จะมีสัมปทานหรือไม่มีสัมปทานก็ตาม กสท ก็ไม่มีสิทธิ์ใน รายได้จากสัมปทานนั้นอีกต่อไป การฟ้องกรณีดังกล่าวจึงไม่มีน้ำหนักมากพอ

"การ ที่ กสท ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจำนวน 2.75 แสนล้านบาท จะแตกต่างจากการฟ้องเพื่อเพิกถอนประกาศฯ ดังนั้นต้องเสียเงินค่าธรรมเนียม 1% ของวงเงินหรือ 2.75 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเรียกร้องที่สูญเปล่า เพราะ กสท ไม่สามารถอ้างสิทธิ์ในคลื่นความถี่ได้อีกต่อไป" นายสุทธิพล กล่าว

สำหรับ คดีดังกล่าว กสท ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางเมื่อกลางเดือน ต.ค. 2556 โดยขอคุ้มครองฉุกเฉิน มูลค่าความเสียหาย 2.75 แสนล้านบาท คิดจากรายได้ที่ ควรจะได้รับจากเลขหมายมือถือตามสัญญาสัมปทาน 17-18 ล้านเลขหมาย ซึ่งแต่ละเลขหมาย มีรายได้ขั้นต่ำ 200-300 ต่อเดือน โดยเป็นการคำนวณรายได้ไปจนถึงการสิ้นสุดใบอนุญาตของ กสท ในปี 2568

อย่างไร ก็ตาม ประกาศดังกล่าวยังขัดต่อกฏหมายอยู่ 3 ประเด็น คือ 1.กำหนดให้เจ้าของสัมปทาน คือ กสท และผู้รับสัมปทานคือ ทรูมูฟ และดีพีซี เป็นผู้ให้บริการต่อไปในช่วง ประกาศดังกล่าว ทั้งที่ผู้รับสัมปทานมีข้อจำกัดของกฏหมายในการให้บริการตาม มาตรา 80 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม โดยสรุปสิทธิการบริหารจัดการของ ผู้รับสัมปทานต้องหมดลงตั้งแต่ในวันที่ 15 ก.ย. 2556

2.ประเด็น การใช้คลื่นความถี่ที่จะไม่ขัดต่อมาตรา 46 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม โดย ระบุว่าผู้รับสัมปทานสามารถบริหารคลื่นความถี่ได้เฉพาะในช่วงที่อยู่ใน สัมปทานเท่านั้น ดังนั้นการใช้คลื่นความถี่ภายหลังหมดสัญญาสัมปทานผู้รับ สัมปทานคือทรูมูฟ และดีพีซี จึงไม่มีสิทธิในการนำคลื่นดังกล่าวมาบริหาร จัดการแต่อย่างใด และกสท มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว เพราะเป็นผู้รับใบอนุญาต

3.กรณี ประกาศดังกล่าวมีการเร่งรัดให้โอนย้ายลูกค้าออกจากระบบนั้น ถือเป็นการทำให้ กสทฯเป็นผู้เสียหายโดยตรง เนื่องจากลูกค้าทั้งหมดภายใต้สัญญาสัมปทาน ราว 17 ล้านเลขหมายจะต้องย้ายมาอยู่ในระบบมาย ของ กสท แทน และยังไม่เป็นไป ตามประกาศบริการคงสิทธิเลขหมาย (นัมเบอร์พอร์ทิบิลิตี้) ที่ระบุให้มีการโอน ย้ายแบบยินยอมสมัครใจเท่านั้น จึงส่งผลทำให้ลูกค้าของกสท ที่ควรจะมี ราว 17 ล้านรายย้ายออกจากระบบทั้งหมด.




Create Date : 11 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2556 5:43:17 น. 0 comments
Counter : 800 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.