พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2556
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
23 ตุลาคม 2556
 
All Blogs
 
เช็กสัญญาณโรคร้าย "มะเร็งต่อมน้ำเหลือง" (รายงานพิเศษ)

เช็กสัญญาณโรคร้าย "มะเร็งต่อมน้ำเหลือง"

รายงานพิเศษ



ชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทย ภายใต้สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย จัดเสวนา "ทำอย่างไร...เมื่อคนที่คุณรักเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง" ครั้งที่ 7 เนื่องในโอกาสวันโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองโลก ปี 2556 เมื่อเร็วๆ นี้ ศ.นพ.ธานินทร์ อินทรกำธรชัย ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทย บอกว่า จากสถิติเราพบผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในประเทศไทย เฉลี่ยปีละ 800-1,000 ราย แม้พบมากแต่ก็เป็นมะเร็งเพียงไม่กี่ชนิดที่มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ถึงร้อยละ 60



รศ.พญ.นงลักษณ์ คณิตทรัพย์ ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายวิชาการและอาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ร.พ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ อธิบายว่า มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นมะเร็งที่มีต้นกำเนิดมาจากต่อมน้ำเหลือง หรือเนื้อเยื่อน้ำเหลือง ที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (lymphocyte) เจริญเติบโตมากผิดปกติ โดยแบ่งเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด ฮอดจ์กิน และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด ไม่ใช่ฮอดจ์กิน เป็นชนิดที่พบได้บ่อยกว่า แบ่งเป็นชนิด บี-เซลล์ และ ที-เซลล์ ซึ่งเป็นชนิดที่ร้ายแรงและรักษายากกว่า

ลักษณะต่อมน้ำเหลือง





สำหรับปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ได้แก่ ผู้ ที่ป่วยด้วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคเอดส์ การปลูกถ่ายไขกระดูก โรคภูมิแพ้ตนเอง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโต้ หรือผู้ที่ต้องทานยากดภูมิคุ้มกัน การติดเชื้อบางชนิด เช่น เชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบ๊กเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter Pylori) ที่กระเพาะอาหาร เชื้อไวรัสตับอักเสบ และเชื้อเอชไอวี เป็นต้น โดยอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะพบมากขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

ศ.นพ.ธานินทร์ - รศ.พญ.นงลักษณ์





วิธีสังเกตอาการ ได้แก่ การพบก้อนเนื้อที่บริเวณต่างๆ ของร่างกาย เช่น คอ รักแร้ หรือขาหนีบ และมีอาการอื่นร่วมด้วย คือ มีไข้ หนาวสั่น มีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด ซึ่งหากเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ตา อาจทำให้ตาพร่ามัว หากเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่โพรงจมูก อาจเกิดอาการไซนัสเรื้อรัง เป็นต้น



วิธีการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ส่วนใหญ่แพทย์จะใช้การให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งถือเป็นวิธีการรักษาที่ให้ผลดีที่สุด และอาจให้ร่วมกับยาแอนติบอดี้บางชนิด สำหรับการฉายรังสีรักษาจะใช้ในบางกรณี อาทิ มีก้อนขนาดใหญ่มาก หรือรอยโรคอยู่ในตำแหน่งพิเศษ เช่น ในสมอง โพรงจมูก ช่องทรวงอก อัณฑะ เป็นต้น นอกจากนี้ การเปลี่ยนถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ ก็เป็นการรักษาอีกทางหนึ่ง กรณีเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดที่รุนแรง



"สำหรับผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดบีเซลล์ แพทย์นิยมให้แอนติบอดี้ซึ่งออกฤทธิ์ทำลายบีเซลล์โดยตรง ร่วมกับการรักษาด้วยเคมีบำบัด ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราการหายขาดจากโรคของผู้ป่วยได้อีกร้อยละ 10-15"



คนในครอบครัวจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะคอยให้กำลังใจผู้ป่วยเพื่อต่อสู้กับโรค โดยควรมีญาติหรือคนในครอบครัวมาพบแพทย์กับผู้ป่วยทุกครั้ง และดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด




Create Date : 23 ตุลาคม 2556
Last Update : 23 ตุลาคม 2556 1:00:47 น. 0 comments
Counter : 2099 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.