พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2556
 
8 ตุลาคม 2556
 
All Blogs
 
จับตา"บีอาร์เอ็น"ปรับทีมถกใต้

จับตา"บีอาร์เอ็น"ปรับทีมถกใต้

รายงานพิเศษ



1.ศรีสมภพ จิตภิรมย์ศรี

2.พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ

3.อาซิส เบ็ญหาวัน

คําสัมภาษณ์ของนายฮัสซัน ตอยิบ ถึงการปรับทีมเจรจาไฟใต้ของบีอาร์เอ็น



ทำให้เกิดคำถามว่าการปรับเปลี่ยนตัวบุคคลผู้เจรจากลางคันเช่นนี้ จะส่งผลด้านบวกหรือลบต่อการเจรจาอย่างไรบ้าง



นักวิชาการที่เกาะติดปัญหา และผู้ร่วมทีมเจรจาของฝ่ายไทย มีความเห็นดังนี้





ศรีสมภพ จิตภิรมย์ศรี

ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

การปรับเปลี่ยนตัวผู้พูดคุยที่นายฮัสซันระบุ จะไม่กระทบต่อการพูดคุยครั้งต่อไป การมีชื่อนายอาแว ยาบะ ขึ้นมาแทนนายฮัสซัน ไม่น่าจะมีน้ำหนักกระทบใดๆ



เพราะสภาองค์การนำ หรือดีพีพี ของบีอาร์เอ็น มีกรรมการหลายคนช่วยกันสรุปทิศทาง และที่ ผ่านมาบีอาร์เอ็นก็ไม่ได้ ยึดติดที่ตัวบุคคล สาระสำคัญของการพูดคุยอยู่ที่ข้อเสนอของแต่ละฝ่าย



ต้องยอมรับว่าบีอาร์เอ็นเสนอ 5 ข้อออกมาเพราะประวัติศาสตร์ระบุว่าเขาเป็นฝ่ายถูกกระทำ จึงไม่แปลกที่ฝ่ายถูกกระทำจะมีข้อเสนอ



มองให้ระยะยาวย่อมเป็นสิ่งที่ดี เพราะ 5 ข้อของบีอาร์เอ็นช่วยให้กระบวนการสันติภาพมีเนื้อหาที่เป็นรูปธรรม ไม่เช่นนั้นการพูดคุยก็จะไม่มีเป้าหมาย



บีอาร์เอ็นมองออกว่าการเมืองไทยไม่มีเสถียรภาพ ไม่มีใครมั่นใจได้ว่ารัฐบาลชุดนี้จะอยู่ยาวนานแค่ไหน หรือตำแหน่งของเลขาธิการ สมช. จะยืดยาวหรือไม่



ถ้าสังเกตคำให้สัมภาษณ์ของฮัสซันจะเข้าใจว่าการที่บีอาร์เอ็นเสนอให้มีเขตปกครองพิเศษ หรือข้อตกลงใดๆ ก็ตามให้นำเข้าสู่รัฐสภาไทย สะท้อนว่าบีอาร์เอ็นต้องการให้เป็นวาระแห่งชาติที่ประชาชนไทยร่วมกันถกเถียง ร่วมกันหาทางออกจากวิกฤต ครั้งนี้



ไม่ใช่ฝากความหวังไว้กับบุคคลไม่กี่คน แม้แต่ความขัดแย้งในฟิลิปปินส์ยังต้องใช้ความต่อเนื่องถึง 3 รัฐบาล





พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ

ผอ.สำนักสันติวิธี สถาบันพระปกเกล้า

ทราบมาก่อนแล้วว่าบีอาร์เอ็นจะมีการปรับเปลี่ยนตัวพูดคุย สภาองค์การนำ หรือดีพีพี ใช้นายฮัสซัน ตอยิบ เปิดพื้นที่การพูดคุยเพื่อให้มีผลต่อการรับรู้ของสื่อไทย



เมื่อการพูดคุยคืบหน้าและกลายเป็นวาระสำคัญ บีอาร์เอ็นก็ต้องนำผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ เข้ามาเพิ่ม รวมถึงแกนนำกลุ่มอื่นๆ ด้วย



หากนายฮัสซันจะไม่ได้ร่วมโต๊ะเจรจาอีกต่อไป ก็คงไม่เกิดความล่าช้าจนต้องเริ่มกันใหม่ทั้งหมด การพูดคุยยังคงเดินหน้าต่อไปได้อย่างปกติ



ทางมาเลเซียคงหงุดหงิดหากต้องเริ่มสร้างบรรยากาศกันใหม่ทั้งหมดเพราะวันนี้มีความคืบหน้ามาถึงการยื่นคำอธิบาย 5 ข้อเสนอ ยาว 38 หน้ากระดาษมาที่ฝ่ายไทยแล้ว



และมาเลเซียก็รับรู้ว่าบีอาร์เอ็นเพิ่มฝ่ายวิชาการ ฝ่ายสังคมและฝ่ายวัฒนธรรมเข้ามา เพื่อจะอธิบายถึง 5 ข้ออย่างละเอียดได้หากฝ่ายไทยสงสัยบางประเด็นในเวลาที่ร่วมโต๊ะพูดคุย



หรือถ้าการพูดคุยจะเกิดชะงักขึ้นมาจริงๆ น่าจะมาจากฝ่ายไทยเองมากกว่า เพราะฝ่ายไทยฝากความหวังไว้ที่ตัวบุคคล เช่น กรณีตำแหน่งเลขาธิการ สมช. ซึ่งมีความไม่แน่นอนพอสมควร



ทางแก้ปัญหาคือ ฝ่ายไทยต้องสร้างโรดแม็ปให้ชัดเจนดังเช่นที่บีอาร์เอ็นเสนอให้กระบวนการสันติภาพเป็นวาระแห่งชาติ และต้องผ่านรัฐสภา



ขณะที่นายอาแว ยาบะ ที่ถูกพูดถึงว่าน่าจะมาแทนนายฮัสซันนั้น อาแว ยาบะ เป็นคนที่อยู่ในวันลงนามระหว่างไทยกับบีอาร์เอ็นครั้งแรก เป็นคนใกล้ชิดกับนายฮัสซัน เป็นคนในพื้นที่ จ.นราธิวาส ทั้งยังมีความสนิทสนมกับแกนนำระดับเสนาธิการ เพียงแต่อาแวอาจไม่ยอมรับกระบวนการพูดคุยครั้งแรกเท่านั้น



ภายหลังดีพีพีอาจเห็นว่านายฮัสซันมีท่าทีประนี ประนอมเกินไป จึงให้นายอาแวเข้ามาร่วมด้วยอีกคน ซึ่งฝ่ายไทยรู้จักอาแวมากว่า 4 ปีแล้ว แต่ไม่เคยแสดงบทบาทที่เด่นชัดเท่านั้นเอง



ถ้าสภาดีพีพีจะเปลี่ยนตัวจริง ก็สะท้อนว่าการพูดคุยจะเข้มข้นกว่าเดิม หรือเป็นการเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่เห็นต่างได้ร่วมโต๊ะพูดคุยด้วย



เพราะตั้งแต่เริ่มลงนามการพูดคุยครั้งแรกที่มาเล เซีย ฝ่ายบีอาร์เอ็นมีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย กระทั่งการพูดคุยผ่านมา 7 เดือน สภาดีพีพีของบีอาร์เอ็นอาจรู้สึกว่าไม่มีความคืบหน้า



และฝ่ายไทยตั้งต้นสืบสภาพและขอให้ลดเหตุรุนแรงอยู่ประเด็นเดียว ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นการบีบบีอาร์เอ็นโดยข้ามขั้นตอนการเสนอเงื่อนไขร่วมกันไป



ต่อมาจึงมีการออกแถลง การณ์ข้อเสนอ 5 ข้อผ่านยูทูบ เพื่อให้ฝ่ายไทยเห็นว่าอยู่ดีๆ จะให้วางปืนเลยโดยที่ฝ่ายไทยไม่ทำอะไรดูจะเอาแต่ได้ไปหน่อย



ล่าสุด บีอาร์เอ็นจึงลงรายละเอียดมาให้เป็นคำอธิบายยาว 38 หน้ากระดาษ ซึ่งมีความเป็นวิชาการมากขึ้น



ฝ่ายไทยก็ให้กฤษฎีกาช่วยดูในรายละเอียดข้อกฎหมายว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ทั้งกฎหมายเดิมและความเป็นไปได้ในการออกกฎหมายเพิ่ม เวลานี้เหลือแต่ว่าการพูดคุยครั้งต่อไปจะลงรายละเอียดได้มากน้อยแค่ไหน



แต่การให้สัมภาษณ์ล่าสุดของนายฮัสซัน สะท้อนว่าบีอาร์เอ็นต้องการกำหนดกรอบการพูดคุย เพื่อยกระดับให้เป็นการเจรจาต่อไป แม้ตัวเขาจะร่วมหรือไม่ได้ร่วมคุยก็ตาม



กระบวนการพูดคุยสันติภาพในโลกนี้ ไม่มีที่ไหนที่ไปขอให้อีกฝ่ายลดความรุนแรงลง มีแต่ต้องช่วยกันสร้างโรดแม็ปร่วมกัน



เพียงแต่บีอาร์เอ็นมีความชัดเจนก่อนถึงขั้นเสนอเงื่อนไขว่าถ้าฝ่ายไทยทำได้ 5 ข้อ จะเริ่ม วางอาวุธตั้งแต่เดือนไหน พื้นที่จังหวัดไหนก่อน ด้วยซ้ำ



ที่สำคัญบีอาร์เอ็นก็เสนอหัวใจข้อเรียกร้องเพียงแค่เขตปกครองพิเศษ ตรงนี้ชัดเจนว่ามาเลเซียเป็นฝ่ายปรู๊ฟข้อเสนอก่อน เพราะถ้ายังเรียกร้องเอกราชต่อไปปัญหาไม่มีทางจบ



คนระดับอาวุโสในบีอาร์เอ็นก็เข้าใจเรื่องนี้ดีฉะนั้นฝ่ายไทยไม่ต้องกังวลอะไรมาก







อาซิส เบ็ญหาวัน

ประธานสภาที่ปรึกษา ศอ.บต.

การปรับเปลี่ยนตัวบุคคลในการพูดคุยของฝ่ายบีอาร์เอ็น ไม่น่ากังวลต่อการพูดคุยครั้งต่อไป เพราะเป็นการปรับเพื่อหาความชอบธรรมให้ทีมพูดคุยมีความหนักแน่นขึ้น



การเพิ่มบุคลากรที่เป็นนักประวัติศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ นักกฎหมาย อย่างละ 1 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมศาสตร์ 3 คน ตัวแทนนักเคลื่อนไหว 1 คน และตัวแทนนักศึกษา 1 คน สอดคล้องกับทีมพูดคุยฝ่ายไทยที่มีทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ ฝ่ายวิชาการ และภาคประชาสังคม



การปรับเปลี่ยนของบีอาร์เอ็นครั้งนี้ฝ่ายไทยไม่ได้ขัดข้องแต่อย่างใด



ส่วนที่นายฮัสซัน ตอยิบ แกนนำและหัวหน้าทีมพูดคุยฝ่ายบีอาร์เอ็นระบุว่าอาจไม่ได้ร่วมทีมพูดคุยครั้งต่อไป เชื่อว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของนายฮัสซัน ที่อาจถูกกดดันมาจากสภาองค์กรนำ หรือดีพีพี



ดีพีพีประกอบด้วยกรรมการหลายคน ซึ่งจะเป็นฝ่ายลงมติในการกำหนดนโยบายต่างๆ รวมถึงกำหนดว่าหัวหน้าทีมพูดคุยจะเป็นใครด้วย



แต่เชื่อว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะทางมาเลเซียอาจจะรู้สึกว่าการจัดการทางด้านเอกสาร หรือข้อตกลงหลายๆ อย่างจะทำให้เกิดความยุ่งยากตามมา



ส่วนที่ฝ่ายไทยโดย ศอ.บต ส่งทีมไปคุยกับกลุ่มพูโลเก่า ที่สวีเดน ไม่ได้เป็นการกระทำโดยพลการ เพราะ ศอ.บต.ต้องแจ้งให้บีอาร์เอ็นทราบก่อนและเป็นไปได้ว่าได้รับไฟเขียวให้ไปคุยกับกลุ่มอื่นได้



และขณะนี้ยังไม่ได้มีการยกระดับไปสู่การเจรจาหรือจะตกลงอะไรร่วมกัน เป็นเพียงการพูดคุยเพื่อสร้างความไว้วางใจต่อกัน



ความจริงขบวนการต่อสู้ก็มีหลายกลุ่มเพียงแต่บีอาร์เอ็นเป็นกลุ่มใหญ่ ในอนาคตถ้าทุกกลุ่มขึ้นโต๊ะพูดคุยร่วมกันได้จะง่ายขึ้น



การพยายามพูดคุยกับหลายกลุ่มเป็นผลดีกว่าผลเสีย ส่วนการตกลงเงื่อนไขใดๆ เป็นเรื่องของอนาคต ซึ่งต้องใช้ความไว้ใจและความอดทนสูง



นายฮัสซันก็ย้ำชัดเจนว่าไม่มีการแบ่งแยกดินแดน ประเด็นเขตปกครองพิเศษก็จะยังไม่พูดถึงถ้าการพูดคุยยังไม่มีเสถียรภาพ



แต่สิ่งที่พอโล่งใจได้คือทางกองทัพไม่ได้ขัดขวางการพูดคุยครั้งนี้




Create Date : 08 ตุลาคม 2556
Last Update : 8 ตุลาคม 2556 9:20:35 น. 0 comments
Counter : 986 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.