พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2556
 
14 สิงหาคม 2556
 
All Blogs
 
ดีนอก-ดีใน ดีมั้ย [คําคมคารมเซียน]

ดีนอก-ดีใน ดีมั้ย [คําคมคารมเซียน]

//www.itti-patihan.com/ดีนอก-ดีใน-ดีมั้ย-คําคมคารมเซียน.html

คําคมคารมเซียนตอนนี้เสนอคำว่า "ดีนอก-ดีใน" นักส่องน้องใหม่คงไม่ค่อยเข้าใจ เพราะเติบโตในยุคพุทธพาณิชย์ ซึ่งพระเครื่องฯ ส่วนใหญ่ผลิตจากโรงงานทันสมัย เอาไว-ทันใช้...เข้าว่า เน้นแต่เรื่องความสวยคมชัดและสีสันผิวพรรณที่ส่องเห็นภายนอกขององค์พระเป็นหลักโอกาสนี้จึงอยากย้อนรอยเล่าความหลัง ให้เห็นว่ากว่าจะมาเป็นพระเครื่องฯ ชั้นดีในวันนี้ พ่อแม่ครูบาอาจารย์ในอดีตท่านทุ่มเทกันขนาดไหน

ดีนอก-ดีใน : ความดีที่ครบถ้วนองค์ประกอบของพระเครื่องฯ ชั้นเลิศ นักสะสมพระรุ่นลายครามหลายๆ ท่านจะมีความพิถีพิถันในการเฟ้นหาพระเครื่องในดวงใจ ไม่ใช่เพียงความสวยงามของศิลปะภายนอก แต่ยังเน้นน้ำหนักให้ความสำคัญในรายละเอียดทุกสิ่งอย่าง กว่าจะขึ้นคอได้ ต้องมั่นใจแล้วว่า..."ดีนอก-ดีใน"

มีความหมายอธิบายแยกได้ 2 ส่วน "ดีนอก" หมายถึงความดีเยี่ยมที่มองเห็นและรับรู้ได้จากสายตาภายนอก เริ่มจากเจตนาที่ดี มีความบริสุทธิ์ใจในการจัดสร้าง ไร้วาระซ่อนเร้นเพื่อการค้าแอบแฝง เจ้าภาพ-เจ้าพิธีในการดำเนินการก็ต้องเป็นบุคคลที่โปร่งใส น่านับถือ นามหรือพระนามของพระเครื่องฯ หากมีความหมายที่เป็นสิริมงคล ก็จะถูกเหมารวมว่าดี

พุทธลักษณะขององค์พระก็ต้องมีพุทธศิลป์งดงามลงตัว พุทธพิธีและฤกษ์ยามก็ไม่มั่ว...เป็นไปตามแบบแผนวิธี-ประเพณีโบราณ คณาจารย์ที่มานั่งปรกปลุกเสกก็ต้องเป็นที่ศรัทธามั่นคง เจาะจงว่าเก่ง เข้มขลัง ส่วน "ดีใน" ก็หมายถึงความดีเยี่ยมที่ซ่อนอยู่ภายใน มักหมายถึงเทหวัตถุมวลสารที่นำมาประกอบเป็นองค์พระ

อย่างพระเนื้อผง ก็ต้องยกองค์ "พระสมเด็จฯ" วัดระฆังของหลวงปู่โตเป็นต้นแบบ กว่าที่ท่านจะทำผงต่างๆ สำเร็จนั้น ก็ต้องผ่านขั้นตอนแสนยากเย็น หรือ "หลวงปู่ทวด" เนื้อว่าน วัดช้างให้ ปี 2497 พระอาจารย์ทิมท่านก็ต้องระดม ควานหาว่านกายสิทธิ์ถึง 108 ชนิดมาคลุกเคล้า ที่เป็นพระหล่อโลหะก็ต้องยกเอาพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ตระกูลวัดสุทัศน์ ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) เป็นที่สุด

ท่านบรรจงคัดสรรและคำนวณปริมาณส่วนผสมของโลหะแบบ...ไม่ขาดไม่เกิน เศษเสี้ยวหักๆ จากพระเครื่องฯ ศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวและรุ่นเก่าๆ อื่นๆ อีกมาก รวมทั้งชนวนโลหะเหลือๆ จากพิธีหล่อพระครั้งสำคัญๆ จึงถูกนำมาเป็น "เชื้อ" มวลสาร ผสมผสานกับเทหวัตถุอื่นๆ ที่เชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์อีกมากมาย เพื่อใช้ในการสร้างพระรุ่นหลังต่อๆ มา

เมื่อครบถ้วนทั้ง 2 ส่วน จึงเรียกว่า...ดีนอก-ดีใน อันว่า "ของดี" นี้บางทีก็คล้ายกับเรื่อง "กระบี่อยู่ที่ใจ" อย่างพระสายกรรมฐานที่เคร่งครัดปฏิบัติภาวนา กลับไม่มีพิธี รีตองใดๆ และไม่เน้นในการเสก-สร้างวัตถุมงคล เคยอ่านพบเรื่องตะกรุดของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านทำง่ายๆ เขียนยันต์ใส่กระดาษแล้วม้วนให้ทหารนำติดตัวไปรบ จนช่วยชีวิตให้รอดตายมาได้

หรือกับเรื่องเล่าต่อๆ ไม่ยืนยัน เกี่ยวกับทหารอีกนายหนึ่งที่ขึ้นเขาไปกราบพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่ขอปลอกกระสุนปืนมาพิศดูแล้วส่งคืนกลับให้ทหารนายนั้น

เอ่ยลอยๆ ว่า..."นี่หรือคืออาวุธที่ใช้ฆ่าคน" พอลงเขาเกิดเฉลียวใจ เอาปลอกกระสุนไปแขวนลองส่องยิง ผลคือ...แชะ! ตบท้ายด้วยบันทึกเกี่ยวกับ "เหรียญขวัญถุงรุ่นแรก" ของหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค เป็นเหรียญที่ทำเอาเจ้าภาพผู้จัดสร้างต้องเป็นงง แต่ก็หายสงสัยทันทีหลังจากพบประสบการณ์มากมาย

ก็ท่านแค่เอามือคน 2-3 ที บริกรรมแป๊บ-เป่าพรวด รวดเร็วทันใจ...ใช้ได้เลย ตรงกับที่มีคนเคยพูดไว้ "อะไรที่อริยสงฆ์องค์อรหันต์ท่านสัมผัส...ก็ศักดิ์สิทธิ์แล้ว" ขนาดชานหมากที่หลวงปู่สีท่านเคี้ยวแล้วคายทิ้ง...ยังยิงไม่ออก เซียนแอบบอกว่าตอนนี้มีราคาเป็นหมื่น

ดีมั้ยเนี่ย...เฮ้อ!

คำคมคารมเซียน
วิเชียร ฤกษ์ไพศาล




Create Date : 14 สิงหาคม 2556
Last Update : 14 สิงหาคม 2556 10:44:48 น. 0 comments
Counter : 1742 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.