พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2556
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
28 มิถุนายน 2556
 
All Blogs
 
เด็กน้อย"บ้านดง" สืบรากไทยพวน

เด็กน้อย"บ้านดง" สืบรากไทยพวน

สดจากเยาวชน
นภาวัลย์ มาเหมาะโชค



กลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพเข้ามายังประเทศ ไทยมีมากมายหลายกลุ่ม



ท่ามกลางชาติพันธุ์อันหลากหลายและสาเหตุต่างๆ ของการย้ายถิ่นฐาน ชาวพวนเป็นอีกกลุ่มชนหนึ่งที่อพยพเข้ามายังดินแดนไทยตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ตามที่ปรากฏในหลักฐานต่างๆ ซึ่งบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและจากคำบอกกล่าวเล่าขานสืบต่อกันมาจากรุ่น สู่รุ่นของชนชาวพวน



ในพื้นที่ตำบลบ้านดงกระทงยาม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นอีกพื้นที่หนึ่งซึ่งประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายพวน เล่ากันว่าชาวพวนในพื้นที่นี้อพยพจากทางนครเวียงจันทน์มาตั้งแต่ราวสมัยกรุงธนบุรีถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นและตอนกลาง



โบราณวัตถุที่เป็นหลักฐานสำคัญของชุมชนคือพระพุทธรูปจำนวนสามองค์ที่เล่าสืบกันมาว่าอัญเชิญมาจากนครเวียงจันทน์พร้อมการอพยพลงมาอยู่ที่ดงกระทงยาม ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวน



คุณลุงวิบูลย์ งามวงศ์ ผู้ก่อตั้งและดูแลพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวน ต.ดงกระทงยาม จ.ปราจีนบุรี เล่าถึงประวัติเรื่องราวของชาวไทยพวนด้วยภาษาพวนอย่างภาคภูมิใจว่า

แจ็บชี้ชวนดูเครื่องใช้ไทยพวน





"เอกลักษณ์ของชาวพวนที่สำคัญมีอยู่ 3 อย่าง หนึ่งคือตัวอักษรพวน จะเห็นได้จากคัมภีร์ใบลานซึ่งเป็นเรื่องทางพุทธศาสนาและตำรายาโบราณ จารด้วยอักษรธรรม สองภาษาพวน ไม่ว่าชาวพวนจะอพยพไปตั้งถิ่นฐานที่ไหนจะยังคงพูดภาษาพวน ปัจจุบันนี้คนเฒ่าคนแก่ยังคงพูดกันอยู่ แต่คนรุ่นหลังๆ มานี้มักไม่ค่อยพูดพวนกับลูกหลาน จะสอนให้เด็กพูดกลางอย่างเดียว ภาษาพวนจึงเริ่ม จะจางหาย เด็กรุ่นใหม่พูดพวนกันเกือบจะไม่ได้แล้วครับ



สามคือ ประเพณีที่ชาวพวนบ้านดงกระทงยามยังคงรักษาและปฏิบัติกันทุกปี เช่น ประเพณีบุญข้าวหลาม (ไทยพวน) ประเพณีสาร ทพวน ประเพณีบุญผะเหวด เป็นต้น"



ด.ญ.กนกวรรณ ศรีเบ้า หรือ น้องโอ๋ นักเรียนโรงเรียนบ้านดงกระทงยาม ผู้เกิดและเติบโตที่บ้านดงกระทงยาม เล่าถึงความผูกพันที่มีต่อพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นด้วยภาษาไทยพวนชัดถ้อยชัดคำ



"บ้านหนูอยู่ใกล้ๆ พิพิธภัณฑ์ พื้นบ้านไทยพวนนี่แหละค่ะ เคยเข้ามาที่นี่หลายครั้งแล้ว ที่แห่งนี้เป็นที่รวบรวมเก็บรักษาข้าวของเครื่องใช้สมัยก่อนของชาวบ้านในชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือเกษตร กรรมและการจับสัตว์น้ำ มีหีบโบราณ กำปั่นโบราณ และข้าวของส่วนตัวมากมายของชาวบ้านในอดีต มีการนำเอาเครื่องใช้ในครัวเรือนมาจำลองจัดไว้ให้ชมว่าครัวสมัยก่อนเป็นแบบไหนมีเครื่องใช้อะไรบ้างค่ะ"

1.พี่นกกับน้องโอ๋พูดคุยกัน

2.เครื่องมือเลี้ยงชีพของชาวพวน

3.ยินดีต้อนรับ

4.คุณลุงวิบูลย์ งามวงศ์





เครื่องใช้อีกชิ้นหนึ่งที่ถูกใจเด็กๆ เมื่อเด็กน้อยคนไหนมาต้องขอลงไปนอนทดสอบกันทุกคน นั่นคือ สะแนน



แจ็บ ด.ช.ธนพล พิมพงษ์ หนุ่มน้อยนักเรียนชั้น ม.2 เล่าเกี่ยวกับสะแนน หรือแคร่ ว่า "สะแนนหรือแคร่ไม้ไผ่นี้ใช้สำหรับให้หญิงหลังคลอดนอนอยู่ไฟครับ ข้างล่างจะมีหม้อน้ำร้อน ข้างบนจะมีแหกางไว้ เป็นความเชื่อโบราณไว้ป้องกันผู้อยู่ไฟให้รอดพ้นจากอันตรายและภูตผีต่างๆ ครับ"



"พิพิธภัณฑ์แห่งนี้นอกจากจะเป็นที่รวบรวมอุปกรณ์เครื่องใช้เพื่อแสดงวิถีชีวิตชาวพวนแล้ว ยังมีเรือนไทยพวนที่ให้พวกเราเข้าดูว่าห้องหับต่างๆ ของคนสมัยก่อนเป็นอย่างไรและมีอะไรบ้างด้วยค่ะ" น้องโอ๋กล่าว



ชีวิตคนเราไม่ได้ต้องการอะไรมาก แค่มีปัจจัยสี่ที่เกื้อหนุนการทำอาชีพ ที่อยู่อาศัย อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม ก็เพียงพอแล้ว แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป คนปรับตัวกลมกลืนเข้ากับชีวิตในปัจจุบัน มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น แต่คนพวนบ้านดงกระทงยามยังคงไม่ลืมวิถีวัฒนธรรม และ ประเพณีที่งดงามของบรรพบุรุษ



การสนับสนุนให้เยาวชนมีส่วนร่วมกับความภาคภูมิใจในการดำรงอยู่แบบพึ่งพาตนเองนั้น เป็นสิ่งที่ทุกชุมชนควรตระหนักพร้อมสนับสนุน เพื่อภายหน้าเยาวชนเหล่านี้จะเป็นกำลังที่เข้มแข็งให้กับชุมชนบ้านเกิดของตนได้ต่อไป



Create Date : 28 มิถุนายน 2556
Last Update : 28 มิถุนายน 2556 7:05:22 น. 0 comments
Counter : 2088 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.