พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
เมษายน 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
7 เมษายน 2555
 
All Blogs
 
บันได 9 ชั้น 35 UP แม่ท้องสุขภาพดี



ปรากฏการณ์ทั่วโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันพบว่า ผู้หญิงตั้งครรภ์ตอนอายุหลัง 35 ปีมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้คุณแม่มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพทั้งของแม่และลูก เพราะรู้ดีว่าปัญหาต่าง ๆ มีมากกว่าการตั้งครรภ์เมื่ออายุยังน้อยกว่านี้ อย่าวิตกจนเกินไปค่ะ วิทยาการด้านการแพทย์พัฒนาอยู่ตลอดเวลา แล้วความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ ก็มีมากกว่าเดิม

คุณแม่อาจเลือกท้อง ในช่วงที่ดีที่สุดไม่ได้ เพราะมัวแต่ยุ่งหัวฟูอยู่กับการงาน พอเงยหน้าขึ้นมากับเขาสักหน่อย อ้าว! อายุเรา 30 กว่าแล้วนี่ เจอชายในฝันโค้งสุดท้าย ก็ต้องสร้างครอบครัวกันเวลานี้แหละ

ไลฟ์สไตล์และสภาพสังคมเปลี่ยนไป แต่วงจรชีวิตตามธรรมชาติไม่ได้เปลี่ยนตามค่ะ การตั้งครรภ์ เมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไปจึงต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพราะเข้าข่ายการตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก ถึงแม้ว่าผู้หญิงวัยนี้ภายนอกอาจยังดูสาวสดใสไร้ริ้วรอยก็ตาม

ทำไมต้องดูแลเป็นพิเศษ

พออายุ 35 ปีไปแล้วสภาวะร่างกายเอื้ออำนวยต่อการตั้งครรภ์ลดลง มีไข่ตกน้อยลง คุณภาพของไข่ก็ลดลงด้วยค่ะ บางคนอาจพบโรคเกี่ยวกับอวัยวะภายในของผู้หญิง เช่น เกิดพังผืดหรือเนื้องอกในมดลูก และช็อกโกแลตชีสต์ ฯลฯ การตั้งครรภ์ในวัย 35 ปีขึ้นไปมีสิ่งที่ต้องระวังภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างด้วยกัน เช่น ระหว่างตั้งครรภ์ แม่จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น ภายในครรภ์อาจพบปัญหารกเกาะต่ำ ครรภ์เป็นพิษ หรืออาจจะคลอดยากต้องผ่าคลอดแทนการคลอดเอง มีโอกาสแท้งมากขึ้นกว่าตอนอายุยังน้อย 5-6 เท่า เป็นต้น

ส่วนลูกน้อยในครรภ์ คุณแม่ก็มีความเสี่ยงจากการคลอดก่อนกำหนด คลอดออกมาอาจมีน้ำหนัก ตัวน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ หลังคลอดมีโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือการหายใจเร็วเพราะมีน้ำคั่งในปอด และอาจพบความผิดปกติทางพันธุกรรมบางอย่าง ซึ่งที่พบบ่อยก็คือดาวน์ซินโดรม

ก่อนจะรู้สึกว่ามี แต่เรื่องน่ากลัวไปซะหมด ต้องบอกว่าปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เกิดกับคุณแม่ทุกเรื่อง และไม่ได้เกิดกับคุณแม่ทุกคน เพียงแต่ต้องระวังไว้เพราะโอกาสเสี่ยงนั้นมี ถ้าก่อนตั้งครรภ์คุณแม่ปรึกษาคุณหมอว่าต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง หรือระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่ดูแลสุขภาพตัวเองรับการตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลา 9 เดือน ความเสี่ยงเหล่านี้จะบรรเทาเบาบางลงไปได้ด้วย 9 ขั้นตอน

1. ตรวจครรภ์ตามนัด

ระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่ควรพบคุณหมอตามนัด เพื่อจะได้ทราบสิ่งที่ปกติหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้น และแก้ไขทันท่วงที คุณแม่บางท่านอาจมีความเสี่ยงบางประการ คุณหมอก็จะดูแลใกล้ชิดเพื่อป้องกันการแท้ง

สำหรับคุณมีอายุ 35 ปีขึ้นไป คุณหมอต้องตรวจครรภ์อย่างละเอียด เช่น มีตรวจเลือดตรวจปัสสาวะ ตรวจอัลตร้าซาวนด์หลายครั้ง ตรวจเจาะน้ำคร่ำเพื่อดูโครโมโซมว่าทารกในครรภ์มีความผิดปกติอย่าง เช่นดาวน์ซินโดรมหรือไม่ การตรวจเหล่านี้มีความสำคัญค่ะ คุณแม่อย่าลืมไปตามนัด

2. เลือกอาหารมีประโยชน์

อาหารครบ 5 หมู่ เป็นพื้นฐานการดูแลสุขภาพที่ง่ายที่สุด ควรเป็นอาหารที่ย่อยง่ายจะได้ไม่ท้องอืดท้องเฟ้อ ผักผลไม้จะช่วยให้คุณแม่สดชื่น ช่วยเรื่องขับถ่ายและอุดมไปด้วยวิตามิน อาหารพวกแป้งสำคัญ อย่ากินเกินแต่ก็อย่างด ถ้ากลัวอ้วนเลือกแป้งที่ไม่ผ่านการแปรรูปหรือขัดขาว เช่น ข้าวกล้อง มัน ข้าวโพด หรือธัญพืชต่างๆ กินสลับสับเปลี่ยน เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารหลากหลาย

นอกจากนั้น คุณแม่ควรได้รับโปรตีนพอเพียงเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายยิ่งดี จำกัด การกินไขมันให้น้อยๆ และอย่าลืมดื่มน้ำ ช่วงนี้คุณแม่อาจนึกอยากอาหารบางอย่าง โดยเฉพาะอาหารรสเปรี้ยว ควรจะเลือกชนิดที่มีประโยชน์ไม่เกิดโทษด้วยนะคะ ส่วนอาหารรสจัดหรืออาหารที่เคยแพ้ ก็ควรหลีกเลี่ยงในระหว่างตั้งครรภ์ด้วย

3. กินโฟลิกให้พอเพียง

กรดโฟลิกช่วยให้ อวัยวะต่างๆ ของทารกเจริญเติบโตได้อย่างเป็นปกติ อาหารในธรรมชาติที่มีโฟลิกเอซิด เช่น ผักใบเขียว หน่อไม้ฝรั่ง แครอต กล้วย ถั่ว ฯลฯ คุณหมออาจสั่งให้กินชนิดเม็ด หรือถ้าคิดจะกินเองต้องปรึกษาคุณหมอก่อน เพราะมีเรื่องปริมาณการกินกำหนดเวลามาเกี่ยวข้องด้วย

4. ตัดใจเพื่อลูก

บุหรี่และแอลกอฮอล์ ก็เป็นที่รู้กันดีว่าต้องงดแน่ รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนอย่างชาและกาแฟ ชาจะทำให้แม่ท้องที่มักจะมีปัญหาท้องผูกอยู่แล้วท้องผูกง่ายขึ้น ส่วนกาแฟดื่มแล้วอาจทำให้ใจสั่นนอนไม่หลับพักผ่อนไม่เพียงพอ นอกจากนี้เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน จะทำให้ปัสสาวะบ่อยขับน้ำออกจากร่างกาย อย่ามองข้ามช็อกโกแลตด้วย เพราะมีกาเฟอีนอยู่ ควรกินแต่น้อย

สิ่งที่ควรจะงดเว้น ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ก็คือการโหมงานเหนื่อยหนักจนเกินไป การเดินทางไกลๆ หรือโดยสารรถแล้วกระเทือนมากๆ ควรงดการออกกำลังกายและเพศสัมพันธ์เพราะอาจทำให้แท้งได้ ในวัยนี้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้จึงควรป้องกันไว้ก่อนค่ะ

5. ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายดี กับทุกเพศทุกวัย รวมทั้งแม่ท้องด้วย เพราะจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง การทรงตัวดีคล่องแคล่ว ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี คลายเครียด ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยให้นอนหลับสบาย

พอพ้นไตรมาสแรกคุณ แม่ควรเริ่มออกกำลังกาย เพื่อความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น เพื่อสร้างความแข็งแรงให้ร่างกายพร้อมสำหรับตั้งครรภ์และการคลอด แต่ไม่ควรออกกำลังกายในแบบหนัก ๆ หรือจะปรึกษาคุณหมอก่อนว่า สามารถออกกำลังกายได้หรือยัง และออกกำลังกายวิธีไหนอย่างไรจึงจะปลอดภัย

6. ระวังการกินยา

เมื่อตั้งครรภ์คุณ แม่ต้องระมัดระวังเรื่องการกินยา เพราะยามากมายหลายชนิด สามารถส่งผ่านจากแม่และมีผลอันไม่พึงประสงค์ต่อลูกในท้อง หรืออาจทำให้แท้งได้ เพราะฉะนั้นหลักการก็คือ อย่าซื้อหายามากินเอง ถึงแม้ยานั้นจะเคยใช้เป็นประจำดูไม่น่ามีผลร้ายก็ตาม ควรใช้ยาเท่าที่จำเป็นและควรปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ยา แม้กระทั่งอาหารเสริมวิตามินต่าง ๆ ก็ควรบอกคุณหมอให้ละเอียด เพราะอาหารเสริมบางอย่างก็อาจไม่เหมาะนัก

7. พักผ่อนให้เพียงพอ

การพักผ่อนจำเป็น มาก สำหรับคุณแม่ค่ะ ถ้าพักผ่อนพอเพียงจะดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของแม่ ซึ่งจะส่งผลไปยังลูกในท้องด้วย ระยะนี้คุณแม่ควรลดงานลง หรือถ้าทำงานเป็นกะอาจขอแลกเวรกับเพื่อนร่วมงาน คุณแม่ควรจะได้นอนหลับอย่างเต็มอิ่มอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง แต่ละคนต้องการนอนมากน้อยต่างกัน จะกี่ชั่วโมงก็ตามถ้าตื่นแล้ว รู้สึกว่านอนอิ่มตื่นขึ้นมาแจ่มใสมีแรงทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวันก็แปลว่านอนพอค่ะบ่าย ๆ หาเวลางีบหลับชาร์จแบตเล็กน้อยเพื่อความสดชื่น แต่อย่านอนเกินบ่าย 3 โมงนะคะ เพราะกลางคืนจะไม่หลับค่ะ

8. ควบคุมน้ำหนัก

น้ำหนักตัวคุณแม่ ตลอดการตั้งครรภ์จะขึ้นประมาณ 10-12 กิโลกรัมโดยประมาณ บางคนอาจเพิ่มได้มากกว่านี้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวเดิมของแต่ละคน คุณหมอจะคอยเตือนหากคุณแม่น้ำหนักเกิน คุณแม่ที่กินเพลินแล้วอ้างว่ากินเผื่อลูกอาจอ้วนเกิน แทนที่น้ำหนักจะไปอยู่กับลูกกลับมาอยู่กับแม่มากกว่า อย่าปล่อยให้อ้วนมากนะคะ ความอ้วนจะนำโรคและอาการแทรกซ้อนอย่างเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือครรภ์เป็นพิษมาสู่คุณแม่ค่ะ

9. ผ่อนคลายอารมณ์

จิตใจ อารมณ์ของคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์มีผลต่อร่างกายทั้งของแม่และลูกมาก คุณแม่อาจมีความกังวลทั้งจากการตั้งครรภ์ และเรื่องอื่นอยู่หลายกระบุง จะห้ามให้หยุดคิดเหมือนปิดสวิตช์ เลยคงไม่ง่ายนัก เพราะฉะนั้น หลีกเลี่ยงซะจะได้ไม่ต้องคิดหันไปทำอย่างอื่นที่รู้สึกรื่นรมย์ มีของที่ชอบไว้ใกล้ๆ ตัวหนังสือดี ๆ ภาพสวย ๆ เพลงเพราะ ๆ อาหารอร่อย ดอกไม้สีสดใส ฯลฯ เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายหาความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เพื่อจะได้เตรียมตัวให้พร้อม แต่อย่าหมกมุ่นในข้อมูลมากเกินไปหรือกลัวสิ่งที่รู้ เราควรรับเพื่อรู้ นำความรู้ที่ได้มาดูแลตัวเองให้ดีที่สุดไงคะ

แหล่งสถานที่ท่องเที่ยว ข้อมูลการท่องเที่ยวของจังหวัดจันทบุรี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

ท่องเที่ยว | ท่องเที่ยวไทย | การท่องเที่ยว | ข้อมูลท่องเที่ยว | สถานที่ท่องเที่ยว | แหล่งท่องเที่ยว | ท่องเที่ยวทั่วไทย | เว็บท่องเที่ยว | ค้นหาข้อมูลท่องเที่ยว | travel |




Create Date : 07 เมษายน 2555
Last Update : 7 เมษายน 2555 13:14:55 น. 0 comments
Counter : 1556 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.