พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
25 มีนาคม 2557
 
All Blogs
 
ฟรอสต์ฯ กระตุ้นโอเปอเรเตอร์ไทยปรับตัว รับมือโทรผ่านเน็ต

ฟรอสต์ฯ กระตุ้นโอเปอเรเตอร์ไทยปรับตัว รับมือโทรผ่านเน็ต


นักวิเคราะห์ ฟรอสต์ฯ ชี้บริการ LINE Call คือการส่งสัญญาณผู้ให้บริการเครือข่ายไทยต้องเร่งปรับตัว หลังผู้บริโภคเริ่มมีทางเลือกในการโทรศัพท์ที่ถูกลง โดยต่อเนื่องจากการที่รายได้เฉลี่ยของบริการเสียงลดลงทั่วโลก อย่างไรก็ตามยังต้องดูการตอบรับระยะยาวต่อบริการเช่น LINE Call...

หลังจากที่ LINE ผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่นแชตจากญี่ปุ่นที่มีจำนวนผู้ใช้งานมากที่สุดใน ประเทศไทยได้เปิดให้บริการโทรศัพท์เข้าเบอร์พื้นฐาน (เบอร์บ้าน) และเบอร์โทรศัพท์มือถือราคาถูกภายใต้ชื่อบริการ “LINE Call” ที่ในเวลานี้ระบบจะเปิดใช้งานสำหรับผู้ใช้ LINE บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เท่านั้น แม้ในช่วงเริ่มต้นจะจำกัดการให้บริการใน 8 ประเทศเท่านั้น (โคลัมเบีย, ญี่ปุ่น, เม็กซิโก, เปรู, สเปน, อเมริกา และไทย) แต่การเปิดให้บริการ LINE Call นับเป็นก้าวสำคัญของ LINE ในการพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็น “แพลตฟอร์มการสื่อสารที่สมบูรณ์แบบ” และยังเป็นการวางตำแหน่งของ LINE ในสนามแข่งขันโดยตรงกับผู้เล่นเดมิในตลาด ได้แก่ Skype, Viber, และ Hangout ไปในทันที อีกทั้งการแข่งขันนี้น่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้นไปอีก เนื่องจาก WhatsApp ผู้ให้บริการ Chat แอพพลิเคชั่นที่เพิ่งถูกเฟซบุ๊ก ซื้อไปก็ได้แถลงแผนการเพิ่มความสามารถการสื่อสารผ่านเสียงไปเมื่อเดือน ก.พ.2557 ที่ผ่านมา

นายธีระ กนกกาญจนรัตน์ นักวิเคราะห์อาวุโสจากบริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เมื่อมองดูกลยุทธ์ของ LINE แล้วจะเห็นว่าการเปิดให้บริการ LINE Call นั้นไม่ได้เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจ เนื่องจากเป็นตลาดที่มีมูลค่ามหาศาล โดยในปี 2555 ผู้นำตลาด Internet calling อย่าง Skype นั้นสามารถทำรายได้มากกว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และการที่ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 8 ประเทศเริ่มต้นก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้ LINE มากเป็นอันดับสองของโลก เป็นรองจากญี่ปุ่นเท่านั้น ในขณะที่ผู้บริโภคชาวไทยได้รับประโยชน์จากทางเลือกติดต่อสื่อสารที่มีราคาถูกลงและสะดวกสบายมากขึ้นนั้น LINE Call กลับเป็นหนึ่งในสัญญาณที่บ่งชัดถึงกระแสความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสื่อสารในประเทศไทย"

“รูปแบบการใช้งานบริการข้อมูลหรือ Data Service บนโทรศัพท์ไร้สายที่มีความหลากหลายและได้รับความนิยมมากขึ้นนั้น เป็นสัญญาณของทั้งวิกฤติ และโอกาส ที่มีผลกระทบต่อผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และโทรศัพท์พื้นฐานว่า ต้องมีการปรับตัวเพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงในตลาดผู้บริโภค ถึงแม้ว่า LINE call จะเป็นหนึ่งในช่องทางที่เพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการโครงข่ายโทรคมนาคมสื่อสารในประเทศจากส่วนแบ่งของค่าบริการเชื่อมต่อหรือ Connection fee แต่ก็ส่งผลกระทบต่อรายได้ที่มาจากการใช้งานประเภทโทรผ่านโครงข่ายโทรศัพท์ ซึ่งเป็นรายได้หลักของผู้ให้บริการตลอดมา” นักวิเคราะห์อาวุโส บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวนฯ กล่าว

นายธีระ กล่าวต่อว่า จากผลสำรวจของฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน ในปี 2556 พบว่า ที่ผ่านมารายได้รวมจากการให้บริการโทรศัพท์ในระบบเสียงของผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นโดยเฉลี่ยหดตัวลง 3.7% ในขณะที่รายได้จากการใช้ข้อมูลหรือ Data Service นั้นขยายตัวขึ้นถึง 26% เมื่อเทียบกับปี 2555 ในส่วนของผู้ใช้บริการ ฟรอสต์ฯ พบว่ามีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบจ่ายเงินล่วงหน้าหรือ Pre-paid เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 11.9% ในขณะที่ผู้ใช้งานในระบบ Post-paid นั้นเพิ่มขึ้นถึง 27.8% จากปี 2555  แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างรายได้ของผู้ให้บริการนั้นเป็นเทรนด์ที่เห็นได้จากประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียเช่นกัน ตัวอย่างเช่น บริษัท NTT Docomo ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นพบว่า รายได้เฉลี่ยจากการใช้งานโทรศัพท์ของผู้ใช้แต่ละคนลดลงถึง 40% ในช่วง 2 ปีที่ LINE เริ่มเปิดให้บริการ Voice Call นอกจากนี้  ในปี 2554 บริษัท SingTel ผู้ให้บริการรายใหญ่ในสิงคโปร์ก็ประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงของรายได้จากความนิยมของ WeChat แอพพลิเคชั่นเช่นกัน

นักวิเคราะห์อาวุโส บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวนฯ กล่าวอีกว่า สิ่งที่เราได้เห็นคือเหล่าผู้ให้บริการมีความตื่นตัวและปรับโครงสร้างรายได้โดยให้ความสำคัญกับการสร้างรายได้จากบริการเสริม (OTT) และบริการเพิ่มมูลค่า Value Added Service (VAS) อื่นๆมากขึ้น รวมถึงการลงทุนในกลุ่มธุรกิจ Start up เพื่อหาแหล่งรายได้ใหม่ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกกรอบอุตสาหกรรมโทรคมนาคม”

นายธีระ กล่าวถึงการปรับตัวในตลาดต่างประเทศว่า ในประเทศญี่ปุ่น NTT Docomo เริ่มหารายได้จากช่องทางใหม่โดยการลงทุนในธุรกิจโรงเรียนสอนทำอาหารเพื่อนำเอาเนื้อหามาถ่ายทอดบนโครงข่ายเป็นบริการเสริม รวมถึงให้บริการแปลภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษแบบเรียลไทม์บนโครงข่าย LTE ให้แก่สมาชิกเป็นบริการเสริม ในสิงคโปร์ผู้เล่นหลักเช่น SingTel และ StarHub ได้แยกแพ็กเกจการใช้บริการ WeChat และ WhatsApp ออกจากบริการข้อมูล (Data Service) ทั่วไป ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเลือกที่จะจ่ายค่าบริการเพิ่มเพียงเล็กน้อยเพื่อใช้บริการ Chat แอพทั้งสองได้แบบ Unlimited และบริษัท TelStra ในประเทศออสเตรเลียเปิดให้บริการ HD Voice ที่ให้บริการเสียงสนทนาที่คมชัดและป้องกันเสียงรบกวนเมื่อพูดคุยในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง เป็นต้น” 

“สำหรับตลาดประเทศไทย ตัวแปรสำคัญสำหรับเหล่าผู้ให้บริการคือความพร้อมของระบบโครงข่าย 4G LTE ที่จะเปิดโอกาสทางธุรกิจให้กับรายได้จากบริการ OTT และ VAS อีกเป็นจำนวนมาก ส่วนผลตอบรับและผลกระทบจากบริการ LINE Call นั้นยังคงต้องดูกันต่อไปเนื่องจากคุณภาพและความเสถียรของการสื่อสารยังเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินผู้นำการให้บริการในตลาด” นักวิเคราะห์อาวุโส บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวนฯ กล่าว.




Create Date : 25 มีนาคม 2557
Last Update : 25 มีนาคม 2557 2:24:20 น. 0 comments
Counter : 948 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.