พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
8 มีนาคม 2555
 
All Blogs
 
เรื่องหนาว ๆ ร้อน ๆ ของเจ้าเหมียว (Cat Magazine)

เรื่องหนาว ๆ ร้อน ๆ ของเจ้าเหมียว (Cat Magazine)

เรื่อง : ฝ่ายวิชาการโรงพยาบาลสัตว์มั่นมหัคฆ์




ลมหนาวที่พัดผ่านมาเยือนในช่วงปลายปีนี้ แม้ในพื้นที่เมืองหลวงจะไม่ได้หนาวจนถึงขั้นต้องสวมเสื้อผ้าหนาๆ หรือต้องนั่งผิงไฟให้คลายความเย็นเหมือนดั่งเช่นในหลายพื้นที่ของประเทศ แต่ก็ทำให้ได้ออกไปเดินริมถนนรับอากาศดี ๆ ส่งท้ายปี ปลอบใจให้ชื่นบานหลังน้ำลดกันได้บ้าง ซึ่งถ้าครอบครัวของผู้อ่านอาศัยอยู่แถบตอนเหนือที่มีอากาศหนาวเย็นอุณหภูมิเฉียดจุดเยือกแข็งแล้วล่ะก็ เรื่องลมหนาวก็กลายเป็นเรื่องหนาว ๆ สำหรับน้องเหมียวได้ แต่ถ้าเป็นน้องเหมียวเมืองกรุง หน้าหนาวก็อาจจะยังเป็นหน้าร้อนอยู่เช่นเดิม ไม่ว่าฤดูกาลจะเปลี่ยนพันไปอย่างไร หรือเจ้าเหมียวจะอาศัยอยู่พื้นที่ไหน เรื่องหนาว ๆ ร้อน ๆ ก็ยังเป็นเรื่องที่เราต้องใส่ใจอยู่เสมอ







หนาวเหน็บ




เรื่องอากาศหนาว ไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นห่วงนักสำหรับแมวบ้านเรา แต่ในบางพื้นที่ หรือบางประเทศที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง เมื่อน้องแมวต้องออกไปนอกบ้านอันแสนอบอุ่น หรือต้องใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวจัด ร่างกายอาจจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ เรียกว่า Hypothermia หากอาศัยในต่างประเทศที่มีหิมะ อาจพบภาวะความเย็นกัดหรือ frostbite ได้ โดยมากแล้วแมวสายพันธุ์ต่างประเทศจะสามารถปรับตัวเพื่อรับกับสภาพอากาศหนาวเย็นได้ดี เพราะมีขนที่หนาและยาว ซึ่งแตกต่างจากแมวไทยที่มีขนบางและสั้นกว่า ยกตัวอย่างเจ้าเหมียวยักษ์ Maine Coon ที่มีถิ่นกำเนิดจากแถบทวีปอเมริกาเหนือ ต้องอาศัยอยู่ภายนอก จึงทำให้มีการปรับตัวต่อสภาพอากาศที่หนาวเย็นได้ดีตรงกันข้ามกับตัวอย่างที่เห็นได้ชัดอย่าง Sphinx ที่มีขนสั้นแสนบางคงจะยากหากต้องไปอาศัยอยู่ในเขตอากาศหนาวเย็น แต่สำหรับแมวบ้านที่เลี้ยงกันทั่วๆ ไป ถึงแม้ว่าอุณหภูมิจะต่ำจนติดจบก็ตาม ปัญหา Hypothermia ก็ยังพบได้น้อยมาก ๆ ในคลินิก หรือโรงพยาบาลสัตว์ เมื่อเทียบกับปัญหา Hyperthermia หรือ Heat Stroke














หาที่อุ่นให้คลายหนาว




หากเจ้าของแมวท่านใดที่อยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวจัด และกลัวว่าน้องเหมียวจะไม่สบาย วิธีป้องกันก็ทำได้ง่ายๆ เพียงแค่เก็บเจ้าตัวยุ่งไว้ในบ้าน อย่าให้ไปเล่นในที่ที่อากาศหนาวจัด สวมเสื้อผ้าและเตรียมสิ่งรองนอนเอาไว้ และอย่าวางที่นอนเจ้าเหมียวในบริเวณที่มีลมแรงพัดผ่าน ที่นอนนองแมวควรเลือกขนาดที่พอดีกับตัวของเขา เพื่อให้เป็นจุดอบอุ่นที่เจ้าเหมียวจะสามารถเข้าไปหลบหนาวได้ หากเจ้าของสังเกตเห็นว่าน้องแมวมีอาการหนาวสั่น ให้พาเจ้าเหมียวมาอยู่ในบริเวณที่อากาศอบอุ่นสัก 2-3 ชั่วโมงเป็น อย่างน้อย







ข้อควรระวังที่ไม่ควรละเลย




แม้อากาศหนาวจะไม่ได้ก่ออันตรายให้แมวทั่วไปถึงแก่ชีวิต แต่สำหรับลูกแมว และแมวแก่ เรื่องหนาวไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ ที่จะมองข้ามไปได้ เพราะลูกแมวและเหมียวชรามีความไวต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงมากกว่า ควรให้ลูกแมวนอนกกไฟ โดยอาจใช้โคมไฟส่องห่างจากตัวลูกแมว ประมาณ 2-3 ฟุต ซึ่งโคมไฟที่ส่องจะช่วยให้อากาศบริเวณนั้นมีความอบอุ่นขึ้นมาได้ วิธีการกกไฟนี้เป็นวิธีเดียวกับที่ใช้เพิ่มความอบอุ่นให้ลูกหมูเล็กๆ ในฟาร์มหมู รวมทั้งฟาร์มไก่ที่มีอากาศหนาวเย็นจัดแล้วมาปรับใช้กับสัตว์เลี้ยงที่บ้านของเราเอง







เรื่องฮอต ๆ




ในเขตเมืองเช่นกรุงเทพ มีอากาศที่ค่อนข้างอบอุ่น (แม้จะอยู่ในฤดูหนาวก็ตาม) แสงแดดในช่วงเวลานี้จัดจ้านไม่แพ้กับหน้าร้อนเพียงแต่ว่ามีลมหนาวแผ่วๆ มาปะทะตัว ไม่ให้เรารู้สึกว่าร้อนมากก็เท่านั้นเอง ถ้าจะให้พูดถึงปัญหาที่มากับอากาศที่แสนร้อนก็คงหนีไม่พ้นเรื่อง Heat Stroke ซึ่งพบได้มากในสุนัข แต่ก็สามารถเกิดขึ้นกับแมวได้เช่นกัน เช่น เจ้าของที่ทิ้งแมวไว้ในรถที่ตากแดดอุณหภูมิภายในรถที่ปิดสามารถพุ่งขึ้นไปได้สูงถึง 40 องศาเซลเซียส หรือ 104 องศาฟาเรนไฮต์ได้ภายในเวลา 15 นาที เท่านั้น หากแมวเป็นแมวสายพันธุ์ที่มีขนหนา เช่น แมวในกลุ่มเปอร์เซีย หรือแมวรูปร่างอวบอ้วน ก็มีแนวโน้มที่จะเกิด Heat Stroke ได้ เนื่องจากมีการสะสมความร้อนไว้ในชั้นไขมันของร่างกายส่วนแมวที่มีโรคเรื้อรัง เช่น มีภาวะเกี่ยวกับโรคหัวใจ ก็จะทำให้ร่างกายมีความสามารถในการจัดการเมื่อเกิดความร้อนสูงได้น้อยลง ดังนั้นไม่ควรทิ้งแมวไว้ในรถ แม้ว่าจะมีการแง้มกระจกเพื่อช่วยระบายความร้อนแล้วก็ตาม







อาการที่ต้องระวัง




เมื่อแมวแสดงอาการอ้าปากหอบหายใจ น้ำลายไหล ม่านตาขยายอ่อนแรง มีอาการคล้ายจะอาเจียน ร้อง ในบางรายเป็นมากอาจมีอาการชักและหมดสติได้ เจ้าของควรนำแมวไปพบสัตวแพทย์ทันที ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้โดยการนำผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดได้ท้องและลำตัว เพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย







จัดการเรื่องความร้อนเบื้องต้น




โดยปกติแมวจะมีอุณหภูมิร่างกายอยู่ที่ 100.5-102.5 องศาฟาเรนไฮต์ หากอุณหภูมิร่างกายสูงเกินกว่า 104 องศาฟาเรนไฮต์ แสดงว่าร่างกายมีความร้อนสูงที่อยู่ในเกณฑ์อันตราย แต่หากอุณหภูมิร่างกายสูงเกินกว่า 106-107 องศาฟาเรนไฮต์ อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้สามารถวัดอุณหภูมิร่างกายของแมวได้โดยการใช้เทอร์โมมิเตอร์ชนิดปรอท หรือชนิดดิจิทัล วัดอุณหภูมิผ่านทางรูทวาร โดยใช้สารหล่อลื่นทาที่ปลายกระเปาะ จากนั้นเสียบปลายปรอทเข้าไป นานประมาณ 2 นาที จากนั้นอ่านอุณหภูมิที่ได้ บันทึกไว้ และแจ้งให้สัตวแพทย์ทราบ เมื่อไปถึงสถานพยาบาลสัตว์ ทำการบันทึกอุณหภูมิทุก 15 นาที และหยุดเช็ดตัว เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิกลับเข้ามาสู่ภาวะปกติ




ไม่ว่าจะร้อนจัด หรือเย็นจัด ก็เป็นเรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญทั้งสิ้น ปัญหาเรื่องความเย็นอาจจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ในบ้านเรา (ยกเว้นในบางพื้นที่) ส่วนมากจะพบปัญหาจากความร้อน และโรคที่มากับความร้อนมากกว่า หากเจ้าของหมั่นดูแลเอาใจใส่และสังเกตอาการของเจ้าเหมียวอย่างใกล้ชิดเป็นประจำแล้วล่ะก็ ไม่ว่าจะร้อนหรือจะหนาว เจ้าเหมียวก็ทนได้ ส.บ.ม. สบายเหมียว


เว็บวาไรตี้ |ดูดวง |สถานที่ท่องเที่ยว|ก๋วยเตี๋ยวเรือ|กุมารทอง


Create Date : 08 มีนาคม 2555
Last Update : 8 มีนาคม 2555 9:13:39 น. 0 comments
Counter : 1552 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.