พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
232425262728 
 
11 กุมภาพันธ์ 2557
 
All Blogs
 
วิศวะลาดกระบัง ฉลองสาวไทยไปอวกาศ เปิดศูนย์ข้อมูลไอโอโนสเฟียร์ฯ

วิศวะลาดกระบัง ฉลองสาวไทยไปอวกาศ เปิดศูนย์ข้อมูลไอโอโนสเฟียร์ฯ

ศิวพร อ่องศรี



เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่เพิ่งผ่านมานี้ *

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ภาควิชาโทร คมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. เพิ่งจัดงานแถลงข่าวเพื่อฉลองความสำเร็จของ "พิรดา เตชะวิจิตร์" วิศวกรดาวเทียมสาว แห่งสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (จิสด้า)



ซึ่งสร้างประวัติศาสตร์ผ่านการคัดเลือกให้เป็นผู้หญิงไทยคนแรกที่เดินทางท่องอวกาศ



งานแถลงข่าวดังกล่าว ใช้ชื่อว่า "พิรดา เตชะวิจิตร์ วิศวกรดาวเทียม THAILAND"S FIRST SPACE TRAVELLER ผู้หญิงไทยคนแรกเดินทางท่องอวกาศ เปิดประสบการณ์และความสำคัญของชั้นบรรยากาศที่มีต่อชีวิต เศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ"



ในงานนี้มีการจัดเสวนาและนิทรรศการความสำคัญของชั้นบรรยากาศและอวกาศที่มีต่อชีวิต เศรษฐกิจและประเทศชาติ



พร้อมถือฤกษ์ดีเปิด "ศูนย์ข้อมูลไอโอโนสเฟียร์และจีเอ็นเอสเอส" เป็นแห่งแรกของประเทศไทย



และแสดงผลงานวิจัยเกี่ยวกับอวกาศ เช่น ผลกระทบของชั้นไอโอโนสเฟียร์ต่อการสื่อสารการบิน



ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า



"ในโอกาสที่คุณพิรดา เตชะวิจิตร์ ศิษย์เก่าวิศวะลาดกระบังและเป็นผู้หญิงไทยคนแรกที่ได้รับคัดเลือกเดินทางท่องอวกาศกับยานลิงซ์ มาร์ก ทู (LYNX MARK II) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ประมาณต้นปี 2558 นับเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย คณะวิศวะลาดกระบังจัดงานเสวนาครั้งนี้ขึ้นเพื่อต้องการกระตุ้นให้เยาวชนคนรุ่นใหม่และคนไทยสนใจตื่นตัวศึกษาชั้นบรรยากาศที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคน รวมทั้งภาคธุรกิจ ภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม หรือแม้กระทั่งเรื่องความมั่นคงและการทหาร"



สำหรับแนวทางการศึกษา "ชั้นบรรยากาศโลก" พร้อมนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์และประเทศชาติ มีมากมายหลายด้าน อาทิ





- ระบบการสื่อสารข้อมูลโดยใช้ดาวเทียมเป็นตัวช่วยในการสื่อสารส่งสัญญาณส่งให้ประชาชนในหลายๆ พื้นที่



- กิจการการบินที่ช่วยให้เครื่องบินสัญจรทางอากาศได้มีคุณภาพและปลอดภัย



- การถ่ายทอดรายการโทรทัศน์ผ่านสัญญาณดาวเทียม



- การเกษตรอัจฉริยะ ซึ่งในต่างประเทศเริ่มใช้ "จีพีเอส" (บอกพิกัดผ่านดาวเทียม) เข้ามาใช้ในการเกษตรส่งสัญญาณไปที่เครื่องจักรในไร่นาเพื่อการเก็บเกี่ยวอัตโนมัติ เพื่อลดต้นทุนการทำงาน



การขุดเจาะแหล่งน้ำมันซึ่งต้องมีการตั้งพิกัดการขุดเจาะ หรือการสำรวจทางดาวเทียม



- การรังวัดที่ดินในกรณีที่เกิดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก ซึ่งมีผลต่อพื้นที่ที่ดินที่อาจมีการคลาดเคลื่อนจากเดิม



รวมทั้งการตรวจสอบไฟป่า อุทกภัยและภัยพิบัติในพื้นที่ต่างๆ ตรวจสอบและการเตือนภัย อาทิ ปริมาณคลื่นยูวีในแต่ละวันและพายุสุริยะจากดวงอาทิตย์ ความแปรปรวนของชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์และโทรโพสเฟียร์



ศ.ดร.สุชัชวีร์ระบุด้วยว่า ประเทศไทยของเราโชคดี โดยเฉพาะบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรแม่เหล็กโลก (Magnetic Equator) ที่หลายคนอาจจะไม่รู้ตัวว่าเรากำลังได้รับการปกป้องจากสนามแม่เหล็กโลก ซึ่งกันไม่ให้อนุภาคที่มีปริมาณสูงและรุนแรงลงมาทำลายชีวิตบนโลกได้



นอกจากนั้น ยังโชคดีกว่าใครที่ประเทศไทยตั้งอยู่บนเส้นศูนย์สูตรแม่เหล็กโลก และมีตำแหน่งสำคัญต่อการศึกษาและวิจัยเป็นอย่างมาก เนื่องจากในบริเวณนี้มีความแปรปรวนของชั้นไอโอโนสเฟียร์สูงมาก



โดยเฉพาะที่ จ.ชุมพร มีตำแหน่งใกล้กับเส้นศูนย์สูตรแม่เหล็กและเป็นแหล่งกำเนิดปรากฏการณ์ Plasma bubble





"ดังนั้นเพื่อให้การใช้ประโยชน์จากอวกาศเป็นไปอย่างสูงสุดเพื่อสาธารณชน ทางคณะต้องการสร้างองค์ความรู้ การศึกษาวิจัยและให้ความรู้ต่อประชาชนทั่วไป รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนรุ่นใหม่เข้ามาศึกษาด้านอวกาศและชั้นบรรยากาศ และทางคณะขอเชิญประชาชนร่วมอนุรักษ์ชั้นบรรยากาศด้วยการลดมลพิษทางอากาศและลดขยะอวกาศอันเกิดจากสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและถูกทิ้งไว้ในวงโคจรรอบโลก มีทั้งซากจรวดและดาวเทียมรวมไปถึงชิ้นส่วนที่เกิดขึ้นหลังจากการชนกันหรือถูกทำลาย เพื่อให้โลกของเราจะได้น่าอยู่ยิ่งขึ้น" ศ.ดร.สุชัชวีร์กล่าว



รศ.ดร.พรชัย ทรัพย์นิธิ หัวหน้ากลุ่มวิจัยด้านสนเทศศาสตร์และการสื่อสารด้านอวกาศและชั้นบรรยากาศ สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวว่า



ทางคณะตั้ง "ศูนย์ข้อมูลไอโอโนสเฟียร์และจีเอ็นเอสเอส" เป็นที่แรกของประเทศไทย ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกียวโต สถาบัน NICT ประเทศญี่ปุ่นและพันธมิตร



ศูนย์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลชั้นบรรยากาศจากเครือข่ายรับจีเอ็นเอสเอสทั่วประเทศ และสถานีสังเกตการณ์ชั้นบรรยากาศที่ สจล.วิทยาเขตชุมพร จ.ชุมพร และจ.ภูเก็ต โดยจะส่งสัญญาณกลับมาที่เซิร์ฟเวอร์ที่ศูนย์ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแสดงผลเป็นแผนที่ 2 มิติของประเทศไทย และเพื่อวิเคราะห์สัญญาณดาวเทียม



"ข้อมูลที่ได้รับนั้นจะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปทำประโยชน์อื่นๆ ทั้งทางภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม หรือเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ เช่น การวิจัยและพัฒนาในสาขาวิชาที่หลากหลาย ซึ่งสามารถเข้าไปดูได้ที่ //iono-gnss.kmitl.ac.th และในอนาคตคณะวิศวกรรม ศาสตร์ สจล.มีแผนที่จะขอความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพิ่มเติมในการรวบรวมข้อมูลให้มากยิ่งขึ้นต่อไป" รศ.ดร.พรชัยเผย



ด้าน พิรดา คนไทยคนแรกที่จะได้บินไปท่องอวกาศกับเครื่องบิน "ลิงซ์ มาร์ก ทู" ช่วงต้นปี 2558 เผยว่า เป็นความใฝ่ฝัน ตั้งแต่สมัยเรียนวิศวะลาดกระบัง อวกาศเป็นความลี้ลับที่ท้าทาย ทำให้อยากเป็นนักบินอวกาศมาโดยตลอดจึงมุ่งมั่นที่จะศึกษาด้านวิศวะ



ที่ผ่านมาทำงานเป็นวิศวกรดาวเทียมที่สำนักงานจิสด้า มีหน้าที่คอยติดต่อสื่อสารกับดาวเทียมไทยโชต (ธีออส) ซึ่งเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติของไทย



ต่อมาได้ทุน THEOS Operational Training Program (TOTP) ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้านดาวเทียมที่สถาบัน ISAE ของฝรั่งเศส และมีโอกาสได้ตามความฝันของตนเองด้วยการสมัครเข้าร่วมโครงการ "แอ็กซ์ อพอลโล่" จนได้รับคัดเลือกเป็นคนไทยคนแรก และเป็น 1 ใน 23 คน จาก 62 ประเทศทั่วโลกที่จะไปท่องอวกาศช่วงต้นปี 2558



ระหว่างทริประทึกดังกล่าวจะมีนักบิน 1 คน กับผู้โดยสารอีก 1 คน ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลกด้วยความเร็ว 3,552 ก.ม./ช.ม. ใช้เวลา 3.30 นาที ยานลำนี้จะขึ้นมาอยู่ที่เขตอวกาศบริเวณ 103 ก.ม.เหนือระดับน้ำทะเล เราจะได้สัมผัสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง นักบินจะดับเครื่องยนต์และให้เวลาราว 6 นาที เพื่อผู้โดยสารได้ถ่ายรูปและจดจำประสบการณ์อันล้ำค่าครั้งนี้ รวมใช้เวลาการเดินทางไป-กลับ 60 นาที



"อยากบอกน้องๆ เยาวชนทุกคนว่าให้ฝันให้ไกล แล้วไปให้ถึงด้วยความมุ่งมั่น เรียนรู้และสร้างสรรค์ ทำให้ทุกอย่างเป็นจริงได้ และหันมาเรียนรู้ด้านโทรคมนาคมและการสื่อสารชั้นบรรยากาศ/อวกาศ ซึ่งทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. เองเปิดสอนสาขาวิชานี้ด้วย" พิรดากล่าว




Create Date : 11 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 11 กุมภาพันธ์ 2557 11:05:56 น. 0 comments
Counter : 726 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.