Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
1 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 
บันทึกการเข้าร่วมมหกรรม KM ภูมิภาคครั้งที่ ๑ ที่ ม.นเรศวร พิษณุโลก ๒๘-๒๙ ก.ย. ๕๐

ยังไม่มีรูปนะครับ เดี๋ยวหามาให้ชม เอาเนื้อเรื่องไปก่อน ยาวหน่อยนะครับ

วันที่ ๒๗ ก.ย. ๕๐ เตรียมบอร์ดและของอย่างอื่น รอทางระยองมาสมทบสามคน เมื่อคนครบก็ออกเดินทางจากปูนแก่งคอยเกือบเที่ยง ไปทางลพบุรี ท่าวุ้ง และโผล่ถนนเอเซียที่สิงห์บุรี แวะทานอาหารเที่ยงที่ แม่ลาปลาเผา ที่ร้านบอกไว้ว่าไม่มีสาขา อาหารอร่อยดี

เดินทางต่อ พี่ทวีสิน โทรมาสอบถาม ก็ตอบไป คงถึงพิษณุโลกประมาณบ่ายสี่ เมื่อถึงที่หมาย เอากุญแจแล้วเข้าห้องพักที่ K.Hall ยังทำไม่เสร็จเลย แต่ห้องเริ่มอยู่ได้บ้างแล้ว ครูบาสุทธินันท์พักที่นี่ด้วย เข้าไปคารวะท่าน เมื่อทีมท่าหลวงมาร่วม ก็ออกไปจัดบอร์ดราวห้าโมงเย็น

ไปถึงที่โรงพยาบาลนเรศวรชั้นสาม มีทีมน้ำเพื่อชีวิตจากทางลำปางเตรียมบอร์ดใกล้เสร็จแล้ว ดูยิ่งใหญ่มาก บอร์ดที่เราเตรียมไปป็นฟิวเจอร์บอร์ดสี่แผ่น เลยต้องหาที่ติด เหลียวมองเจอบอร์ดพับ พี่ทวีสินก็ติดต่อขอบอร์ดพับจากคุณตูน ทุกคนช่วยติดอย่างแข็งขัน ถุงปูนก็วางด้านหลัง ยืมผ้าและไฟจากทางลำปาง บอร์ดเลยเสร็จเรียบร้อย

จากนั้นอาจารย์ JJ พาไปตลาดโต้รุ่งทานราดหน้า และ หมูสะเต๊ะ วันนี้ยังไม่ได้ห้อยขา เดินไนท์บาซ่าของเยอะดีนะ ร้านริมแม่น้ำน่านก็บรรยากาศดี ที่ไนท์บาซ่านี่มีร้านนวดขา นวดตัวด้วย ชั่วโมงละ ๑๐๐ บาท

กลางคืนพี่ทวีสินฉายเรื่องหนูทำอาหาร แต่หลับๆ ตื่นๆ แถมเป็นหนังซูม เลยดูไม่ค่อยรู้เรื่อง

นอนประมาณห้าทุ่ม

วันที่ ๒๘ ก.ย. ๕๐ เริ่มงาน ๘.๓๐ น. ทานอาหารเช้าแบบไม่มีที่นั่ง เพื่อนจากระยองเจอเพื่อนสมัยเรียนมัธยมที่นีด้วย เปิดงานโดย รมต.กระทรวงวัฒนธรรม ศ.เกียรติคุณคุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ และเปิด VCD ความสำเร็จของ KM ภาคเหนือตอนล่าง ผลงาน KM ของ ม.นเรศวร เรื่องการพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาท่าโพธิ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ม.นเรศวร ที่ม.นเรศวรจะเน้น

๑. หารูปแบบเอกลักษณ์ของชุมชน

๒. หารูปแบบเรียนรู้ระหว่างชุมชนกับม.นเรศวร

โดยหารูปแบบแปลกๆ จากนักออกแบบ ปราชญ์ชาวบ้าน ให้กับเครื่องปั้นดินเผาท่าโพธิ์

ใช้วิธีการ ดูงาน (สุโขทัย, ด่านเกวียน นครราชสีมา), ประชุม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนเกิดองค์ความรู้จุดเด่นของเครื่องปั้นดินเผาของท่าโพธิ์คือมีสีสัน ที่เผาแล้วก็ยังสดอยู่

ป้าศรีเพ็ญ (ป้าปุ๋ย) จะเน้นให้ความรู้กับเด็ก เพื่อ

๑. ให้เด็กรักถิ่นฐาน

๒. ส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้าน

๓. ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม

โดยบุคคลากรของ ม.นเรศวร ที่ทำเรื่องนี้ คือ รศ.ดร.จิรวัฒน์

จากนั้น ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ขึ้นมาบรรยายโดยเริ่มจากการกล่าวชื่นชมการดำเนินการด้าน KM ของ ม.นเรศวร และบอกอีกว่ามีรูปแบบของ KM อีกร่วม ๓๐ แบบ ในงาน KM แห่งชาติที่จะจัดขึ้นในวันที่ ๓๐ พ.ย. - ๑ ธ.ค.

ท่านบอกว่าสังคมการเรียนรู้ควรเป็นอย่างไร

๑. อย่าเพิ่งเชื่อชุดความรู้ เช่น สารคดีในโทรทัศน์ ฟังจากคนอื่น เรียนรู้จากคนอื่น แต่อย่าเชื่อ ต้องทดลองเอง

๒. รับรู้ เสาะหา เรียนรู้ ชุดความรู้ อย่างกว้างขวาง

๓. นำมาคิด ปรึกษาหารือ ทดลองในสภาพของเรา

๔. ต้องตั้งกลุ่มเรียนรู้

o การเรียนรู้ของชาวบ้าน ต้องเป็นทีมเพื่อปฏิบัติ

o ต้องฝึกทักษะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) เช่น

§ Story telling

· เล่าให้ฟัง

· เกิดแรงบันดาลใจ

· ให้ไปทำต่อ

· ต้องฝึก

§ Deep listening

· ฟัง และ ส่งสัญญานไปยังผู้พูด เพื่อทำให้ผู้พูดคิดออกว่าจะพูดอะไร

§ Dialogue

· ต่างจาก Discussion ที่เป็นการอภิปรายเพื่อหักล้าง

§ ทักษะไม่ได้อยู่เดี่ยวๆ อาจซ้อนกันอยู่ เช่น Deep listening ซ้อนกับ Dialogue

๕. ความรู้ส่วนใหญ่เป็น Tacit knowledge

๖. ต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกกลุ่ม

o ใช้สติเป็นเครื่องระวังภัย

§ เช่น สังคมชาวนานครสวรรค์เรียนรู้เรื่องตลาด ไม่ขายข้างเพื่อไปสีกิน แต่จะขายไปทำพันธุ์ซึ่งจะทำให้ราคาขายเพิ่มขึ้นมาก แต่แค่ไหนล่ะจะพอเพียง ต้องใช้ลติไม่ให้หลง

§ เรียนธรรมะแบบชาวบ้านธรรมดาทุกองค์กร ทุกชุมชน ทุกคน

๗. คนต้องมั่นใจในตัวเอง เชื่อมั่นในตัวเอง

o แลกเปลี่ยนเรียนรู้, LO, KM ทำให้คนมั่นใจในตัวเองโครงสร้างเครือข่าย กับ โครงสร้างอำนาจ

· โครงสร้างอำนาจจะเป็นทางการ แบบปิรามิด

o ควบคุม สั่งการ

· โครงสร้างเครือข่าย จะไม่เป็นทางการ

o เครือข่ายเรียนรู้

o จัดการความรู้

o แลกเปลี่ยนเรียนรู้

· องค์กรเรียนรู้ ต้อง Synergy กันระหว่างสองโครงสร้าง

· มีกระบวนการส่งเสริมการสร้างสรรค์

· มี "พื้นที่" แลกเปลี่ยนเรียนรู้ องค์กรเรียนรู้ ต้องมีเครือข่ายทางปัญญา

· เชื่อมโยงกับภายนอก ณ ทุกส่วนขององค์กร

· ต้องกึ่งเปิดกึ่งปิด

· ยิ่งยามยาก วิกฤติ ยิ่งต้องเชื่อมโยงมาก เพื่อสร้างพลังลูกครึ่ง (Hybrid vigor)

สำหรับมหาวิทยาลัย ต้องเลิกคิดว่ามหาวิทยาลัยเป็นศูนย์รวมของความรู้ แต่คิดว่าเป็นแค่ Part of networking

สังคมอุดมปัญญาต้องนิยามคำว่า บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ใหม่ ไม่ใช่ให้บริการด้านวัตถุ แต่บริการการเรียนรู้ด้วย โดยให้มีคุณอำนวยในชุมชน

ต้องเชื่อมั่นในความศักดิ์สิทธิ์ในความเป็นมนุษย์และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในสังคมอุดมปัญญา คำว่าปัญญาต้องนิยามใหม่ ไม่ใช่มีความรู้มาก แต่ ปัญญาที่แท้ต้องเป็นปัญญาที่มาจากการปฏิบัติ

คำว่า Talent ประกอบด้วย ความคิดเชิงบวก, มนุษย์สัมพันธ์ดี, ซื่อสัตย์/ขยัน/อดทน, เรียนรู้ได้ไว จะเห็นว่าไม่มีคำว่าความรู้อยู่เลยดังนั้น ยุคสังคมแห่งความรู้ ความรู้ไม่ได้สำคัญที่สุด

บทบาทของผู้บริหาร จะต้องเข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกองค์กรระดับปฏิบัติการ

ทักษะของผู้บริหาร

๑. ปัญญารวมหมู่

๒. เชื่อมระบบภายในกับภายนอก

๓. สร้าง Cluster ธุรกิจ/Collaboration แนว KM ทักษะของ "ปัญญาร่วมมือ"

สรุป

๑. สังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมเปิด มีอิสระภาพสูง และมีความมุ่งมั่นร่วมกันสูง

๒. การเรียนรู้ที่ทรงพลังที่สุดคือการเรียนรู้ที่ใช้ "พลังสาม" คือ โครงสร้างเครือข่าย, การเรียนรู้เชิงบวก และ เน้นที่การปฏิบัติ

ฟังคุณหมอวิจารณ์ จบก็มาเผ้าบอร์ดและตอบข้อซักถาม

ตอนบ่ายได้ไปทานก๊วยเตี๋ยวชากังราว แบบห้อยขาที่ขึ้นชื่อของพิษณุโลก อร่อยมาก ซัดไปสี่ชามจากนั้นนมัสการพระพุทธชินราช ซื้อของฝากได้จำนวนหนึ่งไปพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี มีของเก่าๆ และภูมิปัญญาชาวบ้านเพียบ เช่น

· ตัวอย่างของกับดักหนู และที่มาของคำว่า "ไม้ซีกงัดไม้ซุง" ก็มาจากกับดักหนูนี่เอง

· ที่มาของคำว่า "สุ่มสี่สุ่มห้า" ก็มาจากการสุ่มปลาตั้งหลายครั้งยังไม่ได้เสียที

· คำว่า "อย่าเอามือซุกหีบ" มาจากเครื่องหีบอ้อย เพราะจะโดนหีบเอา

· คำว่า "กระได" จะเป็นแบบยกเก็บได้ แต่ "บันได" จะเก็บไม่ได้

· คำว่า "กระไดคู่กระไดผี กระไดคี่กระไดคน" เพราะหากจำนวนขั้นเป็นเลขคู่ เมื่อก้าวเท้าใด จะไม่กลับมาเท้านั้น คือไปไม่กลับนั่นเอง

· คนโบราณจะฝังรกไว้ที่ต้นไม้ใหญ่ เพื่อให้รากฐานมั่นคง และฝังให้ถึงราก จึงเรียก "ฝังรกราก"

· รกเด็กผู้หญิงจะไม่ฝังต้นที่มีดอกสีเหลือง

· การอยู่ไฟสามสิบวัน เป็นการคุมกำเนิดอย่างหนึ่งทั้งหมดนี้จะอยู่ในเล่ม "บันทึกชาวทุ่ง" ที่มีจำหน่ายที่พิพิธภัณฑ์ฯ ด้วย ซื้อมาแล้วมิรอช้า เรื่องของไทย คนไทยต้องรู้ครับ

จากนั้นจับจ่ายของที่ระลึก ได้การ์ดมาพอสมควร ส่งให้ใครต่อใครเก้าใบ ได้เสื้อยืดมาด้วย

เย็นไปนวดเท้า แล้วทานน้ำชาที่ริมแม่น้ำน่าน จากนั้นกลับที่พักอาจารย์วรภัทร์มาถึงคืนนี้

กลางคืนนอนเที่ยงคืนครึ่ง


วันที่ ๒๙ ก.ย. ๕๐ วันนี้ครูบาสุทธินันท์ขึ้นเวที วันนี้นั่งฟังที่หน้าร้านขายกาแฟ ดูถ่ายทอดสดเอา ที่ได้จากครูบาฯ ครั้งนี้

๑. ต้องอย่าแยกการเรียนรู้ออกจากชีวิต ให้ทำแบบนี้

o การเรียนรู้ด้วยการวิจัย

o การเรียนรู้ตลอดชีวิต

o การศึกษาเพื่อทำมาหากิน

o การเป็นคนต้องผสมกันระหว่าง

i. การทำงาน

ii. การวิจัย

iii. การเรียนรู้ และ

iv. ชีวิต

๒. ฟังครูบาแล้วมีความเห็นว่า คนฟังจะมี ๒ แบบ

o คนที่เคยไปมหาชีวาลัยก็จะเห็นว่าได้ทำมาจริง มาจากการทดลอง ทำมานาน เรียนรู้

o คนที่ไม่เคยไปมหาชีวาลัย ก็จะเหมือนฟังหัวหน้าเกษตรกรมาเล่าผลงานให้ฟัง

๓. ชุดความรู้ที่เหมาะกับคนยากจน ไม่มีในระบบการศึกษา

o คิดถึงคำที่อาจารย์วรภัทร์ที่เคยบอกว่า "ระบบการศีกษาไทยสอนคนให้เป็นเสมียน แต่ตำแหน่งไม่พอ ไม่เห็นสอนคนให้เป็นชาวไร่ชาวนาบ้างเลย"

๔. ต้นยูคาลิปตัสตัดได้ในปีที่ ๔

๕. หากไม่เจอ Blog จะเดินหน้ากิจกรรมต่อไม่ได้

o ยิ่งกว่าคนจมน้ำตาย

o หลับตามคลำช้าง

๖. หัวใจของ Blog คือเป็นที่ให้เราถามได้ทุกเรื่อง คนตอบก็ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเยอะที่มาตอบ

๗. แนะนำก๊วนเฮฮาศาสตร์ คือ

o คุณ Handy

i. เป็นคนชุมพร

ii. บอกว่า Blog เป็น Humandizing tool

o คุณสิงห์ป่าสัก

i. ข้าราชการกรมส่งเสริมการเกษตร

ii. บอกว่า ทุกคนเป็นคนดี แต่จะทำอะไรดีๆ เพื่อสังคมได้อย่างไร

iii. เอาครอบครัวมาด้วย ไม่แยกการจัดการความรู้ออกจากชีวิต

o คุณสมพร พวงประทุม

i. คณะเภสัชศาสตร์ มช.

o อาจารย์ Panda

o คุณตูน

i. ม.นเรศวร

o อาจารย์ลูกหว้า

o ดร.แสวง

o คุณเมตตา

i. ม.สงขลานครินทร์

o พี่ทวีสิน

o อาจารย์แป๋ว

o คุณแผ่นดิน

o คุณหนิง

o คนชอบวิ่ง

i. คุณหมอสุธี
ใกล้เที่ยง ดร.วรภัทร์ สอน Learning cycle ของ ดร.Nonaka และ Partanen มี ๔ หัวข้อวนกันอยู่

๑. Talk o คุยo Datao สุ (เน้น ฟัง)o ทุกข์

๒. Thinko คิดo Informationo จิo สมุทัย

๓. Theoryo คลิกo Knowledgeo ปุo นิโรธ

๔. Tryo คลำo Intelligento ลิo มรรค

Talk สำคัญที่สุด ให้ใช้เครื่องมือ Dialogue และต้อง Deep listening อาจารย์ฯ บอกว่าต้องทำ Deep listening ๔๐ ครั้งขึ้นไป เป็นการฝึกกำลังสติอย่างหนึ่ง เป็นการบวชอยู่กับงาน

บ่ายสองเก็บบอร์ด ทานก๊วยเตี๋ยวเรือ นมัสการพระนเรศวร แล้วเดินทางกลับสระบุรี

มาครั้งนี้ได้อะไรมากมาย ได้ฟังคุณหมอวิจารณ์บรรยาย ยังอยากรู้รูปแบบ KM ๓๐ แบบ มีอะไรบ้างหว่า, ได้รู้จักกลุ่มเฮฮาศาสตร์ ที่มีมิตรภาพบนโลกไซเบอร์, ได้ฟังวงจรการเรียนรู้จากอาจารย์วรภัทร์, ได้เจอ Blogger ตั้งหลายคน

ที่แน่ๆ ได้สัมผัสพิษณุโลกแล้ว มีของดีมากกว่าที่คิด เพราะเมื่อก่อนถ้านึกถึงพิษณุโลก จะนึกออกเฉพาะพระพุทธชินราช แต่ตอนนี้มีก๊วยเตี๋ยวห้อยขาแสนถูกปาก, พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี ที่เป็นแหล่งรวมภูมิปัญญาชาวบ้านชั้นดี แล้วจะมาเที่ยวใหม่นะ



Create Date : 01 ตุลาคม 2550
Last Update : 1 ตุลาคม 2550 16:53:33 น. 13 comments
Counter : 1006 Pageviews.

 
CoAP ของ ดร.จิรวัฒน์ ที่กล่าวถึงนั้น เบื้องหลังในความเป็นจริงคือ การลอกเลียนแบบอย่างเนียบเยียนโดยผ่านกระบวนการอธิบายอย่างนักวิชาการ

เครื่องปั้นดินเผาท่าโพธิ์ เป็นเพียงกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาที่สร้างงานขึ้นมาจากการเลือกสรรค์อาชีพ เจ้าของทำอะไรไม่เป็นสักอย่าง แต่จ้างๆๆ คนมาทำทุกขั้นตอน แล้วเรียนรู้เป็นคนดู ไม่ใช่คนปฏิบัติ ป้าปุ๋ยดีที่เผยแพร่ความรู้ที่มีให้กับชุมชน แต่ต้องยอมรับว่า นักวิชาการเข้าไปเพื่อจะทำงานวิจัยโดยตระเวณพาป้าปุ๋ยไปตามชุมชนปฏิบัติการด้านศิลปกรรมที่ประกอบอาชีพเครื่องปั้นดินเผามาชั่วนาตาปี อย่างลุงขอมที่ทุ่งหลวง สุโขทัย หรือที่บ้านมอญที่ประกอบเครื่องปั้นดินเผามากว่า 100 ปี

ป้าปุ๋ยนั่นแหละที่ตระเวณดูๆๆๆ แล้วขอความรู้เขามาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสร้างสรรค์งานเครื่องปั้นของป้าปุ๋ย ส่วนกลุ่มเครื่องปั้นดินเผานั้น มาเรียนรู้งานของป้าปุ๋ยมั้ย....

ตอบยาก เพราะลักษณะการปั้นของท่าโพธิ์นั้น คนที่มาปั้นคือ คนอีสานที่ผ่านงานมาจากเกาะเกร็ดแล้วถูกว่าจ้างให้มาทำงานให้ป้าปุ๋ย ส่วนลาย การลงพิมพ์ การกลิ้งลายเขียนสีนั้น ก็ลอกเลียนมาจากที่อื่นๆ ซึ่งถ้าจะนับกันจริงๆ แล้ว กลุ่มบ้านมอญ ด้านเกวียน ทุ่งหลวง คีรีมาศ ทำกันมาตั้งนานแล้ว


คลุกคลีกับเครื่องปั้นดินเผามานาน แต่ไม่พบว่า โรงงานที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผา ( ไม่ใช่กลุ่ม เพราะมีอยู่โรงเดียว) จะไปแลกเปลี่ยนกับเขาได้ยังงัย เพราะไปถึงก็ไปถามๆๆๆ เขาว่านี่ทำยังงัย นี่ทำยังงัย เพื่อที่จะเอามาทำในโรงงานตัวเอง

อย่างไรก็ตาม ง นฝีมือ ก็ยังเป็นงานฝีมือ ถึงแม้ว่า ท่าโพธิ์ จะมาเรียนรู้เทคนิคของบ้านมอญ มาเรียนรู้เทคนิคของสุโขทัย แต่ลายมือศิลปินย่อมแตกต่าง

ขัดใจกับ VCD ที่ไม่ระบุแหล่งเรียนรู้จ่ากลุงขอม สุโขทัย ลุงจินดา บ้านมอญ นครสวรรค์ ที่ให้วิชาความรู้กับท่าโพธิ์
พิษณุโลก เพราะทั้งสองท่านั้นถือเป็นปราชญ์ด้านเครื่องปั้นดินเผาอย่างแท้จริง

ถ้าคุณได้เห็นบูธที่โชว์การทำเครื่องปั้นดินเผา คนที่ขึ้นรูปนั่นล่ะ คนนครพนมที่มารับจ้างป้าปุ๋ยปั้นกระถาง.. ส่วนกลุ่มที่ทำงานออกแบบงานศิลป์ และการแกะสลักนั่นน่ะ ลุงเค้ก (จินดา) จากบ้านมอญ ( บ้านมอญมีกลุ่มทำอาชีพเครื่องปั้นดินเผากว่า 50 ครัวเรือน )

โดยส่วนตัวแล้วไม่เชื่อว่างานวิชาการจริงใจ เห็นได้จากงานนี้ เลือกเอาแต่ด้านของตัวเองนำเสนอ



โดย: ผ่านมาอ่าน IP: 117.47.89.80 วันที่: 1 ตุลาคม 2550 เวลา:18:01:56 น.  

 


แวะมานั่งอ่านค่ะ
ชอบทานก๋วยเตี๋ยวชากังราวเหมือนกัน
เวลาไปจ.พิษณุโลกทีไรไม่มีพลาด
เต็มที่ 3 ชามเหมือนกันค่ะคุณ
อ้อ...ที่นี่ข้าวมันไก่ก็อร่อยนะคะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 1 ตุลาคม 2550 เวลา:18:36:43 น.  

 
ผมเคยทำ VDO Presentation เรื่อง KM ให้หน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง สัมภาษณ์ท่านหมอวิจารณ์ พานิช ด้วย ท่านเป็นนึกคิดเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการทำ KM มากๆท่านหนึ่ง แนวทาง KM นี้ดีมากๆ เลยครับ ผมว่าควรให้ความสำคัญมากขึ้นอีก โดยเฉพาะกับชุมชน


โดย: พ่อข้าวปั้น (takechio ) วันที่: 1 ตุลาคม 2550 เวลา:21:21:49 น.  

 

ขอบคุณเกร็ดความรู้ที่นำมาฝากกันจ้ะ


โดย: p_tham วันที่: 2 ตุลาคม 2550 เวลา:10:54:34 น.  

 
สนใจ "บันทึกชาวทุ่ง" ครับ


อย่างสำนวน "อย่าเอามือซุกหีบ" ตั้งแต่เด็กๆ ผมจะเห็นเขาวาดภาพประกอบเป็นรูปแขนขนสอดเข้าไปในหีบเก็บของ

ที่แท้ มันคือลูกหีบอ้อยต่างหาก


โดย: คนทับแก้ว วันที่: 2 ตุลาคม 2550 เวลา:11:17:02 น.  

 
ขอบคุณที่แวะไปทักทายที่ บลอก นะคะ

แวะ เอาความรัก มาฝาก หนึ่งอัน ค่ะ



โดย: ช้อนชาสีน้ำเงิน วันที่: 2 ตุลาคม 2550 เวลา:23:02:06 น.  

 
เพิ่งไปงานสัมมนาวิชาการของสภาพัฒน์ฯมา
วิชาการเต็มสมอง และเห็นกระบวนการต่างๆของเจ้าหน้าที่

เห็นด้วยกับพ่อข้าวปั้น
แนวทาง KM นี้ดี
ควรให้ความสำคัญมากขึ้นอีก โดยเฉพาะกับชุมชนค่ะ


โดย: ยิปซีสีน้ำเงิน วันที่: 3 ตุลาคม 2550 เวลา:11:09:31 น.  

 
สวัสดีคร้าบคุณคนขับช้า

แวะมาอ่าน เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง แหะๆ


สำหรับหนังสือ วันนี้ครูไปฝากร้านที่หน้ามหาวิทยาลัยส่งไปให้แล้วนะฮับ คาดว่าทางร้านจะไปที่ไปรษณีย์ในวันพรุ่งนี้ก่อนเที่ยง และหนังสือน่าจะไปถึงไม่เกินวันจันทร์ เห็นแล้วอย่าต๊กกะใจนะฮับ ค่อยๆ อ่านได้เลยไม่ต้องรีบ เมื่อไรก็เมื่อนั้นจ้า


โดย: วลีวิไล วันที่: 5 ตุลาคม 2550 เวลา:22:44:43 น.  

 
หัวใจเปิดกว้าง รับรู้อย่างมีสติ แล้วเราจะได้สิ่งดีๆเพื่อใช้ในการต่อยอดความคิด และคืนสิ่งดีๆกลับสู่สังคมนะจ๊ะ


โดย: นู๋ยูริน วันที่: 6 ตุลาคม 2550 เวลา:20:23:43 น.  

 
ครูกี้ครับ
ขอบคุณครับสำหรับหนังสือ จะรีบอ่านนะครับ

นู๋ยูริน
พยายามเปิดใจนะ แต่ข้อมูลไม่เพียงพอ เลยต้อง Ignore ไปบ้าง แต่จะเอาเรื่องมองโลกในแง่ดีมาจับนะ คิดแบบ ดร.อาจอง เคยสอน ทำเรื่องที่ ดีต่อผู้อื่น, ดีต่อตัวเอง และเราแถมอีกข้อ ดีต่อโลกใบนี้ด้วย ถ้าตอบสามข้อนี้ ทำได้เลยจ้า


โดย: คนขับช้า วันที่: 6 ตุลาคม 2550 เวลา:22:55:48 น.  

 
แวะมาดูแล้ว ไม่ผิดหวัง ขอบคุณ..


โดย: jdee IP: 61.19.225.162 วันที่: 17 ตุลาคม 2550 เวลา:8:13:23 น.  

 
นู๋อยากไปเรียนที่ ม.น มั่กมากเลยค่ะ น่าอยู่ดีค่ะ
แต่ไม่มีข้อมูลเท่าไรค่ะ นู๋เป็นเด็กใต้ค่ะเที่ยวมาทั่วแล้วแต่อยากเข้าเรียนที่นี้มากเยย ถึงแม้ว่าแม่ไม่อยากให้มาเพราะเป็นห่วง พี่หรือเพื่อนๆคนใดมีข้อมูลก็ช่วยเล่าสู่กันฟังบ้างน่ะค่ะที่ uhu_yok_5@hotmail.com



โดย: เด็กลังกาสุกะ(นู๋หยก) IP: 61.19.78.35 วันที่: 11 ธันวาคม 2550 เวลา:8:55:59 น.  

 
พิษณูโลก เเหล่มมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


โดย: yopathum วันที่: 21 ตุลาคม 2551 เวลา:21:02:31 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คนขับช้า
Location :
นครศรีธรรมราช Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ย้ายมาเป็นคนสระบุรี ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๖๖

เคยมาเป็นคนนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ ๑ เมษายน ๒๕๕๘

เคยมาเป็นคนสระบุรี ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗

เคยเป็นคนกรุงเทพฯ ตั้งแต่ ๑ เมษายน ๒๕๕๒

ย้ายที่ทำงานในจังหวัดสระบุรี ตั้งแต่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๖
เคยเป็นคนสระบุรี ตั้งแต่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๕

เคยเป็นคนนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ ๑ สิงหาคม ๒๕๓๙

เคยเป็นคนระยอง ตั้งแต่ ๒๕๓๗
Friends' blogs
[Add คนขับช้า's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.