พฤษภาคม 2555

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
26
27
29
30
31
 
 
จิตเห็นอาการของจิต

จิตเห็นอาการของจิต

 ความทุกข์เกิดจากการยึดมั่นทางความรู้สึก  ถ้าเราวิเคราะห์หาสาเหตุของความทุกข์อยู่เสมอ  มันก็จะมีคำตอบเกิดขึ้นว่าความทุกข์เกิดจากอาการของจิตนั่นเอง  จิตเข้าไปยึดมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งจึงทำให้เกิดเป็นอาการ  ปกติเพราะเราเผลอจึงเข้าไปยึดมั่นมันจึงขยายตัวแล้วเกิดเป็นอาการ ดังนั้นถ้าความรู้สึกของเราผิดปกติให้ถอนตัวจากอารมณ์ที่กำลังเกิด เพราะมันแปรปรวนนั่นเอง หรือไม่ก็วางเฉยให้รู้เท่าทันอาการที่เกิดขึ้น ธรรมชาติของจิตมีการแปรปรวน แต่มันเกิดเป็นอาการทางความรู้สึกของเรานั่นคือความเป็นธรรมชาติของมัน ในบางขณะเราจึงต้องวางเฉยต่ออาการที่เกิดอยู่

 

..........  แต่ถ้าเราสังเกตมันอยู่เสมอ  จะเห็นขั้นตอนของมัน  เมื่อมีสิ่งมากระทบมันจะเกิดรู้สึกว่ามีสิ่งมากระทบ  พิจารณาสิ่งนั้น    แล้วเข้าไปยึดมั่น  การเข้าไปยึดมั่นจึงเกิดเป็นอาการ  เกิดเป็นความรู้สึกของเรา  เกิดเป็น”ตัวเรา”เมื่อมันอ่อนตัวลง  ดับไป  แล้วจึงเกิดเป็นทุกข์แต่ขณะที่เกิดเราไม่รู้สึกเป็นทุกข์  เรารู้แต่ว่ามันคือ “ตัวเรา”   ดังนั้นเราจึงต้องสังเกตอาการของมันอยู่เสมอให้เห็นว่ามันไม่ใช่ “ตัวเรา”เพื่อไม่ให้มันเข้าไปยึดนั่นเอง.......ดังนี้.

  

พิจารณาเห็นอาการของจิต   จิตมีราคะ  จิตมีโมหะ  จิตมีโทสะ  จิตมีกุศลมูล จิตมีอกุศลมูล   จิตขัดข้อง  หรือหลุดพ้นจากอาสวะต่างๆ  จิตมีความแจ่มใสหรือขุ่นมัว  พิจารณาให้รู้ชัดในอาการต่างที่เกิดอยู่ว่าเป็นอาการอย่างใด

 

 ........พิจารณาให้เห็นเหตุที่ทำให้เกิดเป็นอาการต่างๆเหล่านั้นอยู่เสมอ  คือจิตเห็นอาการของจิตนั่นเองและให้เห็นในความไม่ใช่ตัวเรา  เพราะความรู้สึกที่เป็น "ตัวเรา" เป็นอาการยึดมั่น  แต่ให้ว่างอยู่หรือให้เห็นว่ามันเป็นเพียงพลังงานของกายเท่านั้นอย่าเห็นว่ามันเป็นตัวเราหรือของเราเพื่อให้มันปล่อยวาง........

  




Create Date : 28 พฤษภาคม 2555
Last Update : 17 ตุลาคม 2556 6:35:11 น.
Counter : 1566 Pageviews.

12 comments
  
***ผู้ปฏิบัติธรรมที่เห็นทุกข์มากแล้ว ควรหยุดการวนเวียน และอยู่ในวิหารแห่งความว่าง

ส่วนผู้เริ่มต้นยังเห็นทุกข์น้อย ก็ให้ฝึกการมีสติ การรู้สึกตัวให้มาก...

..........จุดหมายคือการมีเพียง ความรู้สึกรู้ และ สิ่งที่ถูกรู้ คือการเป็นผู้รู้เท่านั้น ไม่เป็นผู้กระทำ คือการเกิดเป็น “ตัวตน”หรือ “อัตตา”

............................................................................................................................

***ธรรมะกำมือเดียว***

ปัจจุบันขณะ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=amarasin

สติคือแสงสว่าง
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=amarasin&group=4

ตัวเราอยู่ตรงไหน
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=amarasin&month=05-2012&date=11&group=4&gblog=6

รู้สึกตัวอยู่เสมอ
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=amarasin&group=3
โดย: ไพรสณฑ์ (ไพรสณฑ์ ) วันที่: 28 พฤษภาคม 2555 เวลา:11:09:59 น.
  


.....การฝึกทั้งหมดเพื่อปล่อยวางอาการยึดมั่นทางความรู้สึกนั่นเอง ..............


อาจจะสรุปรวบยอด คือการอยู่เฉยๆก็ได้ ปกติจิตเรามีอาการดิ้นรน จึงบังคับให้มันอยู่เฉยๆให้เป็นปกตินั่นเอง....แต่การอยู่เฉยๆที่ว่านี้ ต้องอยู่แบบผู้เจนจบในอารมณ์ทุกข์ จึงวางเฉย
โดย: ไพรสณฑ์ IP: 182.53.57.48 วันที่: 28 พฤษภาคม 2555 เวลา:12:00:55 น.
  
กำลังฝึก เริ่มจากความคิด เอาสติมาพิจารณา พยายามปลดที่ละอย่าง อย่างช้าๆพร้อมให้กำลังใจตัวเอง จิตเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก แต่จะพยายาม ขอบคุนที่นำสิ่งดีๆมาให้อ่าน
โดย: บ้านเล็กในเมืองเล็ก วันที่: 28 พฤษภาคม 2555 เวลา:15:03:06 น.
  

ให้ฝึก สติ ร่วมกับ ความรู้สึกตัว นะครับ มันต่างกันนิดหนึ่ง

สติ จะเน้นไปที่อาการของความรุ้สึก
แต่ความรู้สึกตัวจะเน้นไปที่อาการของกาย คือมีสติในกาย.

...ให้ฝึกร่วมกับการทำงาน ให้มันมีสองความรู้สึกควบคู่กันไป เหมือนกับเราโยนลูกบอลสองลูกโดยใช้มือเดียวนั่นเองโดยไม่ให้มันหล่น คล้ายๆกับเล่นกายกรรม

.....ให้ฝึกเล่นๆอย่าจริงจัง จะเห็นอาการที่เป็นธรรมชาติของมัน ฝึกให้มากพอที่จะทำให้เกิดการรุ้เท่าทันอารมณ์ของตนเองได้จึงจะใช้งานได้ แต่ถ้ามันเริ่มเฝือให้หยุดถ้าไปฝืนมันจะเกิดอาการเครียด
โดย: ไพรสณฑ์ IP: 125.25.16.127 วันที่: 28 พฤษภาคม 2555 เวลา:18:23:21 น.
  


ปรมัตถธรรมธาตุ๔ คือจิต รูป เจตสิก นิพพาน


ปรมัตถธรรมธาตุ หมายถึงธาตุธรรมชาติ

จิต คือธาตุรู้
รูป คือวัตถุ หรือสิ่งที่จิตเข้าไปรู้
เจตสิก คืออาการที่จิตเข้าไปรู้รูป

ความรู้สึกของเรา คือ เจตสิก คืออาการที่จิตเข้าไปรู้รูป จึงเกิดเป็นความรู้สึกว่าเป็น "ตัวเรา" จะเห็นว่าแท้จริง ความรู้สึกที่เป็น ตัวเรา หรือวิญญาณ หรือความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้น เป็นเพียงอาการของธาตุธรรมชาติปรุงแต่งกันอยู่เท่านั้น แล้วทำไมเราจึงไปสำคัญมั่นหมายว่าเป็นตัวเราหรือของเรา เพราะมันเป็นการทำงานของธาตุธรรมชาติเท่านั้น มันเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเหมือนภาพมายาที่เกิดจากการปรุงแต่งนั่นเอง ถ้ามันไม่ปรุงแต่งกันมันก็เป็นเพียงธาตุธรรมชาติเท่านั้น

..........มองในภาพรวมจะเห็นได้ว่าเราหลงการปรุงแต่งของธรรมชาตินั่นเอง ควรเข้าใจมันตามจริง การเข้าใจได้จึงเห็นว่าไม่ควรยึดมั่นถือมั่น......เพราะมันเกิดแล้วดับอยู่นั่นเอง




โดย: ไพรสณฑ์ IP: 125.25.16.127 วันที่: 28 พฤษภาคม 2555 เวลา:21:01:05 น.
  
การอธิบายความเป็นธรรมชาติของตัวเรา ในทางฟิสิกส์


ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ของ อัลเบริต ไอน์ไสตน์



จากสูตร E= mcc

E = พลังงาน m = มวลสาร
C C= ความเร็วแสงยกกำลังสอง( C x C)

เป็นสูตรแสดงความสัมพันระหว่างพลังงานกับมวลสาร คือมวลสารเกิดจากการรวมตัวกันของพลังงาน หรือธาตุทั้งสี่นั่นเอง มวลสารในระดับเล็กสุดคืออนุภาค หรือปรมณู
.....การทำงานของพลังงาน คือการเกิดปฏิกิริยาต่างๆ หรือการรวมตัวกันในระดับต่างๆ ทำให้เกิดมิติที่ซับซ้อน เหมือนธรรมชาติกำลังเล่นดนตรี คือการเกิดการสัมพัทธกันอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องอจินไตย์ นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ให้เข้าใจได้ทั้งหมด ซึ่งทั้งหมดมันคือการเกิดปฏิกิริยาของธาตุทั้งสี่นั่นเอง ไม่ยกเว้นแม้ตัวเรา.


......ดังนั้นการทำงานของตัวเราก็คือการทำงานของธรรมชาตินั่นเอง ที่เราคิดว่าเป็นตัวเรา การหลงในความเป็นตัวเรา จึงเป็นการหลงในความเป็นธรรมชาตินั่นเอง เปรียบเหมือนคนหลงทิศ ที่ไม่รู้ว่าความจริงเป็นอย่างไร แต่คนหลงทิศก็ยังรู้ว่าตนเองหลง แต่การหลงในความเป็นธรรมชาติเราไม่รู้ว่าเราหลง เพราะเราคิดว่ามันเป็นตัวเรานั่นเอง.............ในความเป็นเหตุผลเราจึงต้องรู้มันตามจริง และในความเป็นเหตุผลนี้เราจึงจะเข้าใจความจริงของมันได้.

โดย: ไพรสณฑ์ (ไพรสณฑ์ ) วันที่: 29 พฤษภาคม 2555 เวลา:4:51:11 น.
  
***ผู้ปฏิบัติธรรมที่เห็นทุกข์มากแล้ว ควรหยุดการวนเวียน และอยู่ในวิหารแห่งความว่าง

ส่วนผู้เริ่มต้นยังเห็นทุกข์น้อย ก็ให้ฝึกการมีสติ การรู้สึกตัวให้มาก...

..........จุดหมายคือการมีเพียง ความรู้สึกรู้ และ สิ่งที่ถูกรู้ คือการเป็นผู้รู้เท่านั้น ไม่เป็นผู้กระทำ คือการเกิดเป็น “ตัวตน”หรือ “อัตตา”

............................................................................................................................

***ธรรมะกำมือเดียว***
คือวิธีปฏิบัติในการแก้ไขอาการยึดมั่นในความเป็นตัวตนซึ่งมีอยู่ไม่มากนั่นเอง

ปัจจุบันขณะ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=amarasin

สติคือแสงสว่าง
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=amarasin&group=4

ตัวเราอยู่ตรงไหน
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=amarasin&month=05-2012&date=11&group=4&gblog=6

รู้สึกตัวอยู่เสมอ
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=amarasin&group=3

จิตเห็นอาการของจิต
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=amarasin&month=05-2012&date=28&group=3&gblog=4
***การพิจารณาให้เห็นความจริงของตนเองนำไปสู่การคลายการยึดมั่น การปฏิบัติเพื่อเข้าไปแทรกแทรงอาการปรุงแต่งของกายนั่นเอง การรู้จุดมุ่งหมายของการกระทำจะทำให้เห็นความเป็นเหตุผลได้ เราจะรู้ว่าเราทำเพื่ออะไร ในรายละเอียดได้อธิบายในหนังสือ "ทางวิเวกฯ" มันมีเรื่องที่ต้องท้าวความกันมากพอสมควรจึงได้เขียนเป็นหนังสือ***



โดย: ไพรสณฑ์ (ไพรสณฑ์ ) วันที่: 29 พฤษภาคม 2555 เวลา:5:09:48 น.
  
.....ปกติการที่เราบอกว่าเราเห็นธรรมหรือเข้าใจธรรมนั้น อาการทางธรรมชาติคือความรู้สึกของเราเปลี่ยนไป แต่ถ้าเราไม่เข้าใจในเหตุผลของจิตและกาย ความรู้สึกนั้นก็จะหายไป เพราะมันเป็นอาการที่เกิดทางกาย ที่มีผลทางความรู้สึก ถ้าเราจะเข้าถึงสภาวะนั้นได้ต้องฝึกเท่านั้น

เริ่มต้น ต้องฝึกการมีสติ และความรู้สึกตัว เมื่อมีมากพอมันจึงจะเปลี่ยนไปเป็นอาการตื่น และเป็นความว่าง ปกติเราสามารถที่จะทำความรู้สึกของเราให้ตื่น หรือว่างได้ แต่มันจะเกิดได้ชั่วคราว การฝึกอยู่เสมอมันจึงจะเกิดขึ้นได้จริงถาวร

จะเห็นว่าเราไม่เข้าใจลำดับขั้นของความรู้สึก เราจึงล้มลุกคลุกคลานอยู่ ผู้ที่นำมาสอนส่วนใหญ่เอาผลบั้นปลายมาแนะนำกัน แต่ไม่ได้แนะนำเบื้องต้น คือปัญหาที่ตนเคยพบมาก่อน พอเกิดผลได้ก็บอกว่ามันมีอยู่แล้วในตัวเรา ความจริงมันก็มีอยู่แล้ว แต่มันมีไม่มากพอที่จะนำมาใช้งาน การทำให้มันมากพอนั่นเองคือสิ่งที่เราจะต้องใช้ความพยายามให้มันเกิดขึ้นได้ คือต้องฝึกปฏิบัติให้เกิดพละอินทรีย์ เช่นเดียวกับการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มันต้องออกแรงนั่นเอง

เราต้องขัดเกลาอาการยึดมั่นในตน ปกติเรามักจะบอกว่ามันเป็นความหลง แต่ที่ถูกต้องเรียกว่าการยึดมั่น เราจึงต้องขัดเกลามัน ขูดมัน ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดการเข้าใจเท่านั้นแต่ต้องออกแรงด้วย..........
โดย: ไพรสณฑ์ (ไพรสณฑ์ ) วันที่: 30 พฤษภาคม 2555 เวลา:5:27:45 น.
  



จากปรมัตถธรรมธาตุ๔ เขียนเป็นสมการได้ดังนี้...

เจตสิก = จิต + รูป

คือจิต เข้าไปรู้รูป จึงเกิดการปรุงแต่งเป็นอาการเกิดขึ้น คืออารมณ์ของเรานั่นเอง เมื่อธาตุรู้เข้าไปรู้สิ่งต่างๆจึงเกิดเป็นอาการ คือความรู้สึกเป็นทุกข์ เป็นสุข พอใจ ไม่พอใจนั่นเอง

การปรุงแต่งของจิตกับรูป ลองสังเกตุอาการทางความรู้สึกของตนเองก็ได้ ว่าจิตหรือความรู้สึกของเราปกติมันเคลิ้มอยู่ อาการเคลิ้มนั่นเองคือการเข้าไปปรุงแต่ง หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ามันเพลินอยู่

ลองไขว้สมการ..

จิต = เจตสิก - รูป
อาการรู้,หรือ ธาตุรู้ คือการไม่ปรุงแต่ง คือไม่เคลิ้มอยู่ หรือไม่เพลินอยู่นั่นเอง

และอีกสมการ.

รูป = เจตสิก - จิต

คือมีแต่กาย จิตหายไป คือว่าง ถ้าว่างจริงๆก็คือไม่เคลิ้มอยู่ หรือไม่เพลินอยู่นั่นเอง

***การมีความรู้สึกตัวอยู่ มันจะไม่เคลิ้ม ไม่เพลิน แต่เห็นอาการของจิต ของกายได้อยู่ จิตเห็นอาการของจิตก็คืออย่าให้มันเคลิ้มอยู่นั่นเอง***

จบ. ทางทฤษฎี ที่เหลือคือการปฏิบัติให้เป็นไปตามทฤษฎี
โดย: ไพรสณฑ์ IP: 125.25.18.50 วันที่: 31 พฤษภาคม 2555 เวลา:10:23:45 น.
  



จะเห็นได้ว่าการเกิดผลได้ ไม่ต้องอาศัยตรรกะอะไรเลย แต่ต้องปฏิบัติ ให้ตรงเหตุ ตรงผล ของมันเท่านั้น การค้นหามันจึงไม่พบ เพราะไม่เข้าใจธรรมชาติของมันนั่นเอง คือต้องแก้ที่เหตุ ผลจึงจะเกิดขึ้นได้
โดย: ไพรสณฑ์ IP: 125.25.18.50 วันที่: 31 พฤษภาคม 2555 เวลา:10:28:14 น.
  





..........ว่าง สงบ คือบทสรุปของการแสวงหา การดิ้นรนอยู่จึงเป็นทุกข์.................
โดย: พอใจสิ่งที่มีอยู่ IP: 125.25.28.195 วันที่: 6 กรกฎาคม 2555 เวลา:6:11:55 น.
  





..........ว่าง สงบ คือบทสรุปของการแสวงหา การดิ้นรนอยู่จึงเป็นทุกข์.................
โดย: พอใจสิ่งที่มีอยู่ IP: 125.25.28.195 วันที่: 6 กรกฎาคม 2555 เวลา:6:11:55 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไพรสณฑ์
Location :
อำนาจเจริญ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



การปฏิบัติธรรม...
คือการมีสติรู้ความจริงของชีวิต

ชีวิตคือความเป็นธรรมชาตินั่นเอง
การมองชีวิตในมุมกลับจึงเห็นความจริงว่ามันคือการเกิด-ดับของความเป็นธรรมชาตินั่นเองที่เป็นอยู่คือการยึดมั่น...

...การเห็นความจริงนี้จึงเป็นการเห็น"สัจจะธรรม"จึงพบคำตอบเกิดขึ้นว่าพวกเรามาทำธุระอะไรกันอยู่บนโลกใบนี้. แท้จริงมันคือการเกิด-ดับของความเป็นธรรมชาติเท่านั้น...คือความจริงที่จะต้องทำความเข้าใจ เพราะการเข้าใจว่าเป็น "ตัวเรา"มันเป็นการหลงอยู่ในการปรุงแต่งของความเป็นธรรมชาติเท่านั้น.


...การเข้าใจมันตามจริง.... จึงเห็นความเป็นเหตุผลเกิดขึ้น..."ตัวเรา"เป็นเพียงการสมมุติของธรรมชาติเท่านั้น จึง เกิดความวิเวก วังเวง เพราะมันเป็นความจริงนั่นเอง
New Comments