พฤษภาคม 2555

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
12
13
14
15
16
17
18
19
20
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
21 พฤษภาคม 2555
สติคือแสงสว่าง

สติคือแสงสว่าง

 

 

 

:     การมีสติ มีความรู้สึกตัว อยู่เสมอ  มีอยู่ทุกขณะ  ซึ่งต้องฝึกให้

 

มากพอจึงจะเกิดได้อยู่ทุกขณะ   จึงจะเกิดการเห็นความเป็น

 

ธรรมชาติภายในของตนเองได้  ทุกซอกมุมและการมีความรู้สึกที่ตื่น

 

อยู่ทุกขณะ   จึงจะทำให้เกิดการตื่นขึ้นทางความรู้สึกได้   การมี สติ

 

รู้สึกตัวนำไปสู่การตื่นทางความรู้สึกอย่างแท้จริง ความรู้สึกตัวคือ

 

ความพยายามที่จะตื่นขึ้นนั่นเอง  การปฏิบัติอยู่เสมอความรู้สึกจึงตื่นขึ้นได้จริง   ไม่ใช่การอุปมา             

 

  ซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เสมอให้เป็นปกติ   มันจึงจะมีการพัฒนาตนเอง

จากสิ่งหนึ่งไปสู่สิ่งหนึ่งได้   เกิดผลทางการปฏิบัต   คือการตื่นทางความรู้สึก   การไม่เคลิบเคลิ้มอยู่ในสิ่งต่างๆ

 

                                

   ปกติความรู้สึกของเรามีอาการเคลิ้มอยู่ในอารมณ์ที่สัมผัสและเป็นเหตุ

 

ให้เกิดการปรุงแต่ง  เราจึงต้องมีสติกำกับความรู้สึกของเราอยู่เสมอ   ให้

 

เปรียบเหมือนแสงสว่างที่ขับไล่ความมืด  ส่องเห็นซอกหลืบ  ภายในอยู่

 

เสมอ  ถ้าไม่มีสติอยู่จะเปรียบเหมือนอยู่ในความมืด  

 

 

 

สติจึงเป็นแสงสว่างที่ขับไล่ความมืดและนำไปสู่

 

การตื่นทางความรู้สึกได้อย่างแท้จริง...เป็น

 

อาภรณ์ประดับกาย!!!             

 

 

 

 




Create Date : 21 พฤษภาคม 2555
Last Update : 21 พฤษภาคม 2555 22:04:26 น.
Counter : 880 Pageviews.

9 comments
  


***เรามักจะหวังผลทางธรรมะ คือการเกิดเป็นความเข้าใจ แต่เราอาจจะมองข้ามไปว่าการเข้าใจได้นั้นมันมีลำดับขั้น เช่นถ้าเราต้องการมีความรู้สึกที่ตื่นขึ้นได้จริง เราต้องสร้างความมีสติรู้สึกตัวให้เกิดขึ้นก่อน มันจะพัฒนาไปสู่ความรู้สึกที่ตื่นได้ คือการมีความรู้สึกตัวต่อเนื่องอยู่นั่นเอง.

..........หรืออาจจะต้องท้าวความไปก่อนหน้านั่นอีกก็ได้ ว่าทำไมเราจึงมาสนใจเรื่องนี้ ความสนใจนี้จึงจะทำให้เกิดความพยายามที่จะออกจากกองทุกข์

ความจริงอาจจะมีหลายประเด็นที่จะต้องท้าวความ ให้เกิดเป็นความเข้าใจก่อน เพื่อการไม่ติดอยู่ในความเห็นที่ไม่ลงตัว เช่นเดียวกับการที่เราอยากเป็นหมอ หรือวิศกร ถ้าไม่รู้อะไรเลยก็ต้องเริ่มตั้งแต่การหัดเขียน หัดอ่าน นั่นเอง.........
โดย: ไพรสณฑ์ IP: 125.25.16.239 วันที่: 22 พฤษภาคม 2555 เวลา:6:40:22 น.
  
หัวข้อรายละเอียดการสั่งซื้อหนังสือทางวิเวกฯ
อยู่ในหัวข้อ การปฏิบัติธรรม
โดย: ไพรสณฑ์ (ไพรสณฑ์ ) วันที่: 22 พฤษภาคม 2555 เวลา:7:12:37 น.
  




***ให้เปรียบสติเหมือนแสงสว่าง ที่ทำให้เห็นความรู้สึกของเรา ให้เห็นได้ว่าถ้าเราไม่มีสติอยุ่ จะเหมือนอยู่ในความมืด เราจึงจะเห็นความสำคัญของมัน และอยากให้มีอยู่เสมอ การฝึกให้ฝึกเล่นๆอย่าจริงจัง จะเห็นอาการที่เป็นธรรมชาติของมัน เราจะทำได้ง่ายขึ้น***
โดย: ไพรสณฑ์ IP: 125.25.16.239 วันที่: 22 พฤษภาคม 2555 เวลา:14:00:00 น.
  


.....ในรายละเอียด สติ กับ ความรู้สึกตัว ต่างกันไหมสติจะมีอาการเกิดทางความรู้สึก แต่ ความรู้สึกตัว จะเน้นไปทางกาย คือเอาความรู้สึกไว้ในกาย

พระพุทธเจ้าก็ประทานโอวาทแก่พระมหากัสสปะ ให้เอาสติไว้ในกาย พิจารณากายเป็นอารมณ์
โดย: ไพรสณฑ์ IP: 101.108.104.147 วันที่: 23 พฤษภาคม 2555 เวลา:9:48:26 น.
  



และพิจารณากายเป็นอารมณ์ทำอย่างไร????

คือพิจารณาอาการของกายว่าเป็นอยู่อย่างไรนั่นเอง พระมหากัสสปะพิจารณาอยู่เจ็ดวันจึงเกิดความเข้าใจ....

........จะเห็นว่ามันยังมีลำดับขั้นของความเข้าใจอยู่อีก คือต้องทำให้มากนั่นเอง..........
โดย: ไพรสณฑ์ IP: 101.108.104.147 วันที่: 23 พฤษภาคม 2555 เวลา:10:04:53 น.
  
มีกัลยาณมิตร ผู้มีเมตตาธรรมแจ้งให้ทราบว่า หนังสือทางวิเวกฯ อธิบายเหมือน ท่านโพธินันทะอธิบาย...ตามลิ๊งค์นี้.....

//www.youtube.com/watch?v=S5Nt8TehYvQ&feature=relmfu


แต่การเข้าใจธรรม แม้จะพูดสิ่งเดียวกันแต่เข้าใจไม่เหมือนกัน ท่านแนะวิธีปฏิบัติเพื่อเห็นความจริง คือการละวางตัวตน หรืออัตตา จึงทำให้เกิดเป็นความว่าง ความเป็นอัตตาหรือตัวตนจึงไม่เกิด จึงนำไปสู่การรู้แจ้งหรือพุทธะ

การดับทุกข์ขณะที่ใช้ความเพียรอยู่ ความทุกข์ยังมีอยู่ ลำดับขั้นการปฏิบัติจึงเป็นสิ่งสำคัญ ว่าแต่ละคนติดอยู่ในขั้นใด เมื่อเลื่อนระดับตัวเองได้ จึงเห็นวิธีดับ ความทุกข์เกิดจากการปรุงแต่งของจิตกับกาย เราต้องวิเคราะห์สาเหตุของมันให้พบ การปรุงแต่งของจิตกับกายเนื่องจากการไม่มีสติ จึงเห็นว่าการมีสติจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและเปรียบเหมือนแสงสว่างที่ส่องให้เห็นความมืด คือความมืดในใจ การมีความรู้สึกตัวอยู่เสมอพัฒนาขึ้นมาให้สามารถใช้งานได้รู้สึกตัวได้ทุกขณะ(ตามแนวทางของหลวงพ่อเทียน) มันจึงจะรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง การที่มันเกิดผลได้ เราจึงจะเห็นความสำคัญของสติ และความรู้สึกตัว ดังที่ผมนำมาเสนอว่าให้เห็นความสำคัญของสติ และการมีความรู้สึกตัวอยู่ทุกขณะ ทำให้มากมันจะเกิดเป็นความชำนาญ ความรู้สึกตัวจะทำให้เกิดการตื่นทางความรู้สึกในลำดับถัดไป และการปฏิบัติอยู่เสมอมันก็คืออันเดียวกับความว่างนั่นเอง

....สติ ความรู้สึกตัว การตื่นอยู่ ความว่าง จึงเป็นสิ่งที่เป็นอันเดียวกัน สามารถที่จะใช้แทนกันได้ การว่างอยู่ได้เสมอ จึงสามารถเห็นความจริงทางธรรมชาติได้ เห็นความหลงจากการปรุงแต่ทางความรู้สึก คือการยึดมั่น ให้เกิดเป้น "ตัวเรา" หรือ "อัตตา" นั่นเอง

.........ผมได้นำลิ้งค์การสดงธรรมของหลวงพ่อโพธินันทะ ที่มีกัลยาณมิตรได้ส่งมาให้ทางอีเมล์ เพื่อว่าผู้สนใจที่จะแสวงหาทางดับทุกข์ จะได้มีทางเลือกซึ่งผมเห็นด้วยทุกประการ แต่การนำเสนออาจจะมีขั้นตอนต่างกัน

ขออนุโมทนา

ไพรสณฑ์
โทร.088 686 0586
โดย: ไพรสณฑ์ (ไพรสณฑ์ ) วันที่: 24 พฤษภาคม 2555 เวลา:15:30:30 น.
  



แนวทางของหลวงพ่อเทียน.


//www.youtube.com/watch?v=eck4KNy5wyg
โดย: ไพรสณฑ์ IP: 125.25.16.136 วันที่: 24 พฤษภาคม 2555 เวลา:21:00:15 น.
  
***ผู้ปฏิบัติธรรมที่เห็นทุกข์มากแล้ว ควรหยุดการวนเวียน และอยู่ในวิหารแห่งความว่าง

ส่วนผู้เริ่มต้นยังเห็นทุกข์น้อย ก็ให้ฝึกการมีสติ การรู้สึกตัวให้มาก...

..........จุดหมายคือการมีเพียง ความรู้สึกรู้ และ สิ่งที่ถูกรู้ คือการเป็นผู้รู้เท่านั้น ไม่เป็นผู้กระทำ คือการเกิดเป็น “ตัวตน”หรือ “อัตตา”

............................................................................................................................

***ธรรมะกำมือเดียว***
คือวิธีปฏิบัติในการแก้ไขอาการยึดมั่นในความเป็นตัวตนซึ่งมีอยู่ไม่มากนั่นเอง

ปัจจุบันขณะ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=amarasin

สติคือแสงสว่าง
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=amarasin&group=4

ตัวเราอยู่ตรงไหน
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=amarasin&month=05-2012&date=11&group=4&gblog=6

รู้สึกตัวอยู่เสมอ
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=amarasin&group=3

จิตเห็นอาการของจิต
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=amarasin&month=05-2012&date=28&group=3&gblog=4
***การพิจารณาให้เห็นความจริงของตนเองนำไปสู่การคลายการยึดมั่น การปฏิบัติเพื่อเข้าไปแทรกแทรงอาการปรุงแต่งของกายนั่นเอง การรู้จุดมุ่งหมายของการกระทำจะทำให้เห็นความเป็นเหตุผลได้ เราจะรู้ว่าเราทำเพื่ออะไร ในรายละเอียดได้อธิบายในหนังสือ "ทางวิเวกฯ" มันมีเรื่องที่ต้องท้าวความกันมากพอสมควรจึงได้เขียนเป็นหนังสือ***
โดย: ไพรสณฑ์ (ไพรสณฑ์ ) วันที่: 29 พฤษภาคม 2555 เวลา:5:16:36 น.
  
.....ปกติการที่เราบอกว่าเราเห็นธรรมหรือเข้าใจธรรมนั้น อาการทางธรรมชาติคือความรู้สึกของเราเปลี่ยนไป แต่ถ้าเราไม่เข้าใจในเหตุผลของจิตและกาย ความรู้สึกนั้นก็จะหายไป เพราะมันเป็นอาการที่เกิดทางกาย ที่มีผลทางความรู้สึก ถ้าเราจะเข้าถึงสภาวะนั้นได้ต้องฝึกเท่านั้น

เริ่มต้น ต้องฝึกการมีสติ และความรู้สึกตัว เมื่อมีมากพอมันจึงจะเปลี่ยนไปเป็นอาการตื่น และเป็นความว่าง ปกติเราสามารถที่จะทำความรู้สึกของเราให้ตื่น หรือว่างได้ แต่มันจะเกิดได้ชั่วคราว การฝึกอยู่เสมอมันจึงจะเกิดขึ้นได้จริงถาวร

จะเห็นว่าเราไม่เข้าใจลำดับขั้นของความรู้สึก เราจึงล้มลุกคลุกคลานอยู่ ผู้ที่นำมาสอนส่วนใหญ่เอาผลบั้นปลายมาแนะนำกัน แต่ไม่ได้แนะนำเบื้องต้น คือปัญหาที่ตนเคยพบมาก่อน พอเกิดผลได้ก็บอกว่ามันมีอยู่แล้วในตัวเรา ความจริงมันก็มีอยู่แล้ว แต่มันมีไม่มากพอที่จะนำมาใช้งาน การทำให้มันมากพอนั่นเองคือสิ่งที่เราจะต้องใช้ความพยายามให้มันเกิดขึ้นได้ คือต้องฝึกปฏิบัติให้เกิดพละอินทรีย์ เช่นเดียวกับการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มันต้องออกแรงนั่นเอง

เราต้องขัดเกลาอาการยึดมั่นในตน ปกติเรามักจะบอกว่ามันเป็นความหลง แต่ที่ถูกต้องเรียกว่าการยึดมั่น เราจึงต้องขัดเกลามัน ขูดมัน ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดการเข้าใจเท่านั้นแต่ต้องออกแรงด้วย..........
โดย: ไพรสณฑ์ (ไพรสณฑ์ ) วันที่: 30 พฤษภาคม 2555 เวลา:5:31:43 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไพรสณฑ์
Location :
อำนาจเจริญ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



การปฏิบัติธรรม...
คือการมีสติรู้ความจริงของชีวิต

ชีวิตคือความเป็นธรรมชาตินั่นเอง
การมองชีวิตในมุมกลับจึงเห็นความจริงว่ามันคือการเกิด-ดับของความเป็นธรรมชาตินั่นเองที่เป็นอยู่คือการยึดมั่น...

...การเห็นความจริงนี้จึงเป็นการเห็น"สัจจะธรรม"จึงพบคำตอบเกิดขึ้นว่าพวกเรามาทำธุระอะไรกันอยู่บนโลกใบนี้. แท้จริงมันคือการเกิด-ดับของความเป็นธรรมชาติเท่านั้น...คือความจริงที่จะต้องทำความเข้าใจ เพราะการเข้าใจว่าเป็น "ตัวเรา"มันเป็นการหลงอยู่ในการปรุงแต่งของความเป็นธรรมชาติเท่านั้น.


...การเข้าใจมันตามจริง.... จึงเห็นความเป็นเหตุผลเกิดขึ้น..."ตัวเรา"เป็นเพียงการสมมุติของธรรมชาติเท่านั้น จึง เกิดความวิเวก วังเวง เพราะมันเป็นความจริงนั่นเอง
New Comments