พฤษภาคม 2555

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
17 พฤษภาคม 2555
ปัจจุบันขณะ

                    ปัจจุบันขณะ 

 

 

จิตเดิมเป็นประภัสสร  เราอาจจะคุ้นเคยกับคำนี้  จนอาจจะไม่รู้ความหมายที่แท้จริงของมันว่าคืออะไร  โดยเฉพาะผู้ที่ไม่สนใจเรื่องการปฏิบัติธรรมอาจจะไม่สนใจความหมายของมันด้วยซ้ำ

 

แต่สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมหรือผู้เห็นทุกข์ในห้วงมหรรณพ  ถ้าสนใจที่จะค้นหาความหมายจะพบว่าความเป็นประเด็นของเรื่องอยู่ที่ตรงนี้   เพราะแท้จริงความทุกข์มันไม่ได้เกิดขึ้นเองนั่นเอง  แต่เกิดจากการไปแสวงหาสิ่งมายึดมั่นถือมั่นจึงเกิดเป็นทุกข์ถ้าเราลองหยุดการค้นหาและทำความรู้สึกให้เป็นปกติอยู่   ไม่ต้องไปวิตกกังวลกับสิ่งใดเราจะพบว่าที่จุดนี้เองคือจุดปลอดความทุกข์    การดิ้นรนอยู่ต่างหากที่ทำให้เกิดเป็นทุกข์  มีแต่ต้องเข้าใจสภาวะนี้ให้เกิดความแจ่มแจ้งจึงจะเห็นว่าเป็นจุดที่ปลอดจากความทุกข์  คือความรู้สึกที่อยู่กับปัจจุบันขณะนั่นเอง   ให้เรากักขังตัวเองให้อยู่ในปัจจุบันขณะให้เป็นปกติอยู่เสมอเราจะรู้สึกว่ามันเป็นเสมือนหลุมหลบความทุกข์   แต่ปกติเรามีความวิตกกังวลอยู่นั่นเองเราจึงไม่สามารถที่จะอยู่ในปัจจุบันได้   แต่จิตจรไปอย่างคนพเนจรจึงเป็นวณิพกเร่ร่อนอยู่ไม่มีแม้แต่ที่พักพิงที่เป็นหลักแหล่งของตนเอง

 

อยู่ในปัจจุบันขณะให้เป็นดั่งการอยู่ในบ้านของตนเอง   อยู่ให้สุขสบายเพราะมันเป็นบ้านของเรานั่นเองไม่มีใครมาไล่แน่นอน   ยกเว้นแต่เราจะทำตัวเป็นคนพเนจรเสียเอง

 

จิตเดิมเป็นประภัสสร   ทำความรู้สึกให้เป็นปัจจุบันขณะเราจึงจะมีแหล่งพักพิงเป็นของตนเอง   อย่าทำตัวเป็นคนพเนจรเร่ร่อนไป    จงหยุดพักให้สบายในบ้านของเราเอง.

 




Create Date : 17 พฤษภาคม 2555
Last Update : 17 พฤษภาคม 2555 3:00:19 น.
Counter : 1213 Pageviews.

9 comments
  
เริ่ดค่ะ
โดย: deco_mom วันที่: 17 พฤษภาคม 2555 เวลา:10:47:30 น.
  




มีสติในกาย พิจารณากายเป็นอารมณ์ ทำให้เกิดเป็นปกติจะมีความรู้สึกเดียวกับความเป็นปัจจุบันขณะ
โดย: ไพรสณฑ์ IP: 125.25.20.157 วันที่: 18 พฤษภาคม 2555 เวลา:9:05:01 น.
  



ปัจจุบันขณะคือการมีความรู้สึกตัวอยู่กับปัจจุบัน

ทำให้มากจะเป็นอาการที่ตื่นอยู่

การตื่นอยู่เสมอ จะเป็นความว่าง
โดย: ไพรสณฑ์ IP: 101.108.107.198 วันที่: 21 พฤษภาคม 2555 เวลา:11:08:31 น.
  




.....สติ ความรู้สึกตัว การตื่นทางความรู้สึก ปัจจุบันขณะ ความว่าง ...........


ถ้าเชื่อมโยงกันได้มันคืออันเดียวกัน.
ทำให้มาก ทำอยู่ทุกขณะเมื่อถึงจุดหนึ่งจะเกิดอาการหยุดการปรุงแต่งทางความรู้สึก จิตตั้งมั่นไม่เขวหรือฟุ้งไปตามสิ่งที่มากระทบ

.........มันจึงจะมากพอแก่การงาน จึงเป็นสิ่งที่เราต้องฝึก ทำให้มีเป็นคุณสมบัติของตนเอง.............

โดย: ไพรสณฑ์ IP: 125.25.40.187 วันที่: 24 พฤษภาคม 2555 เวลา:17:01:29 น.
  



ดูตัวอย่างชายคนนี้


//www.youtube.com/watch?v=eck4KNy5wyg
โดย: ไพรสณฑ์ (ไพรสณฑ์ ) วันที่: 25 พฤษภาคม 2555 เวลา:4:53:52 น.
  



การบรรลุธรรมคืออะไร???

คือแสวงหาเท่าไหร่ก็ไม่พบ จนต้องหยุดเพราะเหนื่อยแล้ว การหยุดนั่นเองจึงพบความเป็นธรรมชาติของตัวเอง และของทุกสิ่ง จึงเห็นว่าเพราะมันเป็นเช่นนั้นเอง การเห็นความเป็นธรรมชาติ จึงต้องไม่เอาธรรมชาติมาเป็นตัวเอง เพราะตัวเราแท้จริงคือความเป็นธรรมชาติ การปรุงแต่งอยู่จึงเป็นความหลง เพราะมันจะไม่เป็นอย่างที่เราอยากเป็น คือบังคับมันไม่ได้ มีแต่ต้องเข้าใจธรรมชาติของมัน มันจึงจบ
โดย: ไพรสณฑ์ IP: 101.108.111.63 วันที่: 25 พฤษภาคม 2555 เวลา:20:25:06 น.
  
***ผู้ปฏิบัติธรรมที่เห็นทุกข์มากแล้ว ควรหยุดการวนเวียน และอยู่ในวิหารแห่งความว่าง

ส่วนผู้เริ่มต้นยังเห็นทุกข์น้อย ก็ให้ฝึกการมีสติ การรู้สึกตัวให้มาก...

..........จุดหมายคือการมีเพียง ความรู้สึกรู้ และ สิ่งที่ถูกรู้ คือการเป็นผู้รู้เท่านั้น ไม่เป็นผู้กระทำ คือการเกิดเป็น “ตัวตน”หรือ “อัตตา”

............................................................................................................................

***ธรรมะกำมือเดียว***
คือวิธีปฏิบัติในการแก้ไขอาการยึดมั่นในความเป็นตัวตนซึ่งมีอยู่ไม่มากนั่นเอง

ปัจจุบันขณะ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=amarasin

สติคือแสงสว่าง
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=amarasin&group=4

ตัวเราอยู่ตรงไหน
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=amarasin&month=05-2012&date=11&group=4&gblog=6

รู้สึกตัวอยู่เสมอ
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=amarasin&group=3

จิตเห็นอาการของจิต
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=amarasin&month=05-2012&date=28&group=3&gblog=4
***การพิจารณาให้เห็นความจริงของตนเองนำไปสู่การคลายการยึดมั่น การปฏิบัติเพื่อเข้าไปแทรกแทรงอาการปรุงแต่งของกายนั่นเอง การรู้จุดมุ่งหมายของการกระทำจะทำให้เห็นความเป็นเหตุผลได้ เราจะรู้ว่าเราทำเพื่ออะไร ในรายละเอียดได้อธิบายในหนังสือ "ทางวิเวกฯ" มันมีเรื่องที่ต้องท้าวความกันมากพอสมควรจึงได้เขียนเป็นหนังสือ***
โดย: ไพรสณฑ์ (ไพรสณฑ์ ) วันที่: 29 พฤษภาคม 2555 เวลา:5:15:00 น.
  
.....ปกติการที่เราบอกว่าเราเห็นธรรมหรือเข้าใจธรรมนั้น อาการทางธรรมชาติคือความรู้สึกของเราเปลี่ยนไป แต่ถ้าเราไม่เข้าใจในเหตุผลของจิตและกาย ความรู้สึกนั้นก็จะหายไป เพราะมันเป็นอาการที่เกิดทางกาย ที่มีผลทางความรู้สึก ถ้าเราจะเข้าถึงสภาวะนั้นได้ต้องฝึกเท่านั้น

เริ่มต้น ต้องฝึกการมีสติ และความรู้สึกตัว เมื่อมีมากพอมันจึงจะเปลี่ยนไปเป็นอาการตื่น และเป็นความว่าง ปกติเราสามารถที่จะทำความรู้สึกของเราให้ตื่น หรือว่างได้ แต่มันจะเกิดได้ชั่วคราว การฝึกอยู่เสมอมันจึงจะเกิดขึ้นได้จริงถาวร

จะเห็นว่าเราไม่เข้าใจลำดับขั้นของความรู้สึก เราจึงล้มลุกคลุกคลานอยู่ ผู้ที่นำมาสอนส่วนใหญ่เอาผลบั้นปลายมาแนะนำกัน แต่ไม่ได้แนะนำเบื้องต้น คือปัญหาที่ตนเคยพบมาก่อน พอเกิดผลได้ก็บอกว่ามันมีอยู่แล้วในตัวเรา ความจริงมันก็มีอยู่แล้ว แต่มันมีไม่มากพอที่จะนำมาใช้งาน การทำให้มันมากพอนั่นเองคือสิ่งที่เราจะต้องใช้ความพยายามให้มันเกิดขึ้นได้ คือต้องฝึกปฏิบัติให้เกิดพละอินทรีย์ เช่นเดียวกับการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มันต้องออกแรงนั่นเอง

เราต้องขัดเกลาอาการยึดมั่นในตน ปกติเรามักจะบอกว่ามันเป็นความหลง แต่ที่ถูกต้องเรียกว่าการยึดมั่น เราจึงต้องขัดเกลามัน ขูดมัน ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดการเข้าใจเท่านั้นแต่ต้องออกแรงด้วย..........
โดย: ไพรสณฑ์ (ไพรสณฑ์ ) วันที่: 30 พฤษภาคม 2555 เวลา:5:27:15 น.
  



....การสอนหรือการแนะนำการปฏิบัติธรรม ผู้สอนหรือผู้แนะนำ มักเสนอแต่ผลสุดท้ายที่เกิดขึ้น แต่ไม่แนะนำเคล็ด(ลับ)ในการปฏิบัติ สิ่งที่ผู้ปฏิบัติธรรมต้องประสบคือความเครียดที่เกิดจากการปฏิบัติ ผู้ที่มีศรัทธาเท่านั้นที่จะฝ่าฟันจุดนี้ไปได้ คือถ้าไม่ปฏิบัติก็มีทุกข์อยู่นั่นเอง ที่สุดจึงมีพละอินทรีย์สามารถอยู่ในธรรมหรืออยุ่ในความรู้สึกที่ละเอียดอ่อนได้นำมาอธิบายได้เพราะมีผลเกิดขึ้น.

ซึ่งต้องฝึกและทำให้มากนั่นเอง เพื่อให้เกิดประสบการณ์ทางอารมณ์ เกิดความชำนาญมีประสบการณ์ทางอารมณ์การที่จะรอการเกิดการบรรลุธรรมแบบลัดนั้นเป็นไปได้ยาก หรือต้องผ่านการเพียรมามากต่อมากแล้วเท่านั้น แม้แต่พระพุทธเจ้า ยังต้องมีความเพียร ฝึกสมาธิจนได้ฌานสมาบัติ และยังต้องบำเพ็ญทุกขกิริยา มาอีกต่างหาก.............ความเพียรนั่นเองที่ทำให้เราบรรลุผลได้ แม้แต่การมีความรู้สึกตัวให้เกิดอยู่ทุกขณะก็ยังต้องใช้ความเพียร ทั้งๆเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย และยังมีเรื่องง่ายๆหลายอย่างที่เราทำไม่ได้ เพราะเรามัวแต่หาทางลัดนั่นเอง
โดย: ไพรสณฑ์ IP: 125.25.29.141 วันที่: 30 พฤษภาคม 2555 เวลา:10:28:58 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไพรสณฑ์
Location :
อำนาจเจริญ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



การปฏิบัติธรรม...
คือการมีสติรู้ความจริงของชีวิต

ชีวิตคือความเป็นธรรมชาตินั่นเอง
การมองชีวิตในมุมกลับจึงเห็นความจริงว่ามันคือการเกิด-ดับของความเป็นธรรมชาตินั่นเองที่เป็นอยู่คือการยึดมั่น...

...การเห็นความจริงนี้จึงเป็นการเห็น"สัจจะธรรม"จึงพบคำตอบเกิดขึ้นว่าพวกเรามาทำธุระอะไรกันอยู่บนโลกใบนี้. แท้จริงมันคือการเกิด-ดับของความเป็นธรรมชาติเท่านั้น...คือความจริงที่จะต้องทำความเข้าใจ เพราะการเข้าใจว่าเป็น "ตัวเรา"มันเป็นการหลงอยู่ในการปรุงแต่งของความเป็นธรรมชาติเท่านั้น.


...การเข้าใจมันตามจริง.... จึงเห็นความเป็นเหตุผลเกิดขึ้น..."ตัวเรา"เป็นเพียงการสมมุติของธรรมชาติเท่านั้น จึง เกิดความวิเวก วังเวง เพราะมันเป็นความจริงนั่นเอง
New Comments