มกราคม 2553

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
13
14
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
27
29
30
31
 
 
เกี่ยวกับไพรสณฑ์
เกี่ยวกับผู้เขียน .


“ไพรสณฑ์” เป็นนามปากกาของมหาบัณฑิตทางรัฐประศาสนศาสตร์จากนิด้า หนุ่มใหญ่วัยเกษียณที่ชื่อ ไพรสินธ์ ทองประเสริฐ


ไพรสณฑ์... .....สนใจเรื่องของธรรมะมาตั้งแต่เริ่มเป็นหนุ่มน้อย จึงรู้จักพระพุทธทาส,หลวงปู่ชา,หลวงพ่อเทียนเป็นอย่างดี (จากหนังสือของท่าน)ก็ทดลองฝึกธรรมะตามแนวของอาจารย์เหล่านั้น แต่เนื่องจากไม่ได้เอาจริงจึงไม่มีมรรคผลอะไรเกิดขึ้นนอกจากความเข้าใจในแนวทางเท่านั้น

จวบจนได้เกษียณฯจากองค์การโทรศัพท์ฯ(ก่อนกำหนด)จึงเกิดการเห็นได้ว่าแท้จริงชีวิตในที่สุดก็จะจบลงเท่านั้น จึงเห็นความเป็นอนิจจังของชีวิตเกิดขึ้นคือเกิดความรู้สึกที่เห็นความจริงแท้ของชีวิต และด้วยเหตุที่ไม่ได้ทำงานแล้วจึงมีเวลาว่างพอที่จะศึกษาธรรมะจึงได้ออกบวชเพื่อศึกษาธรรมะอย่างจริงจัง(เป็นเวลาเจ็ดเดือน) ในระหว่างปฏิบัติก็ได้บันทึกความรู้สึกของตนไปด้วยอาศัยที่มีฝีมือทางการขีดเขียนอยู่บ้างจึงบันทึกเป็นภาษากวีด้วยเห็นว่ามันบรรยายความรู้สึกได้กระชับดีนั่นเอง ในระหว่างปฏิบัติเกิดนิมิตเกิดขึ้นทางความรู้สึกแว๊บหนึ่งเห็นภาพความจริงแห่งชีวิตเกิดขึ้น โดยเห็นว่ามันเป็นความหลงเกิดอยู่นั่นเองเพราะความจริงของมันชีวิตคือความเป็นธรรมชาติเท่านั้น......จึงได้แนวทางในการพิจารณาติดตัวออกมาด้วย.


แต่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในความรู้สึกนั้นมันไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้จริงในชีวิตจริงได้ก็ตกอยู่ในการยึดมั่นอย่างเดิม แต่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในตอนบวชนั้นมันชัดเจนอยู่จึงต้องทบทวนอยู่เสมอและพยายามครุ่นคิดหาคำตอบว่าทำไมเราจึงไม่สามารถเข้าใจความจริงแท้ของชีวิตได้..........แต่จากการที่พยายามอยู่เสมอมันก็เริ่มเห็นความจริงขึ้นได้โดยลำดับจึงมีการบันทึกความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพิ่มเติมมาเรื่อย........จนในที่สุดก็สามารถนำเอาความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั้นเข้ามาไว้ในใจได้จึงเห็นได้ว่าเพราะมีความหลงในความเป็นตัวเองนั่นเองคือสาเหตุที่ทำให้ไม่เกิดความเข้าใจความเป็นอนิจจังของมันได้ จึงสามารถที่จะเขียนบทสรุปออกมาได้ และเห็นว่าควรจะเอาเรื่องนี้มาเผยแพร่เพื่อยืนยันว่าความหลุดพ้นเป็นความจริงทางธรรมชาติถ้าเราใช้ความพยายามที่จะเข้าใจความจริงของธรรมชาติมันก็สามารถที่จะเข้าใจได้นั่นเองจึงต้องการนำเสนอเรื่องนี้เพื่อบันทึกไว้เป็นหลักฐานและเพื่อนำมาอธิบายให้ผู้สนใจได้เข้าใจโดยอาจจะนำข้อข้องใจมาโพสท์ถาม-ตอบในเว็บไซต์(หรือทาง E-mail)เพิ่มเติมจากการอ่านในหนังสือซึ่งผู้เขียนอาจจะอธิบายไม่ชัดเจนอยู่ก็ได้หรือมีเรื่องที่จะทำความเข้าใจในบางเรื่องอยู่ก็ได้..



...............และความจริงก่อนที่จะเกิดแรงบันดาลใจจากเรื่องนี้มันก็มีเหตุมาจากการศึกษาโหราศาสตร์ด้วย คือเกิดมีความสงสัยเป็นอย่างมากว่าคำทำนายของโหราศาสตร์มันมีความแม่นยำอยู่จึงสงสัยว่าเหตุการณ์มันเกิดขึ้นได้อย่างไร..........จึงได้หาคำตอบมาก่อนเรื่องนี้ซึ่งก็ได้คำตอบจากทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอนสไตน์นั่นเองว่าเพราะแท้จริงความรู้สึกของมนุษย์คือพลังงานมันจึงแปรปรวนไปตามพลังงานขนาดที่ใหญ่กว่าคือดวงดาว........จึงสรุปได้ว่าแท้จริงมนุษย์มีวิถีนั่นเองเพราะมันเป็นพลังงานธรรมชาติจึงได้อธิบายเรื่องเหตุการเกิดเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ในหนังสืออีกเล่มหนึ่ง. “ดวงดาว,มนุษย์และเหตุการณ์ทางสังคม” เพื่อจะสรุปว่าความจริงมนุษย์มีวิถีเพราะมันเป็นพลังงานนั่นเองซึ่งมันแสดงเป็นผลที่เกิดทางสังคมนั่นเองเราไม่เข้าใจเหตุการเกิดของมันเราจึงไม่รู้ว่าดวงดาวมาเกี่ยวข้องอย่างไรกับตัวเราเช่นเดียวกับที่เราจะต้องเข้าใจว่าตัวเราเป็นเพียงพลังงานธรรมชาติเท่านั้นคือความจริงของมัน.


............ .สำหรับเรื่อง “ทางวิเวกฯ...” นี้จึงอาจจะสรุปลงอย่างสั้นๆได้ว่ามนุษย์จะต้องศึกษาความจริงของตนเองในความเป็นธรรมชาติให้เข้าใจความเป็นตัวตนและความรู้สึก หรือสังขารกับจิต (ธาตุรู้) ซึ่งคือการรวมกันอยู่ของธาตุทั้งสี่ซึ่งไอน์สไตน์ก็อธิบายว่ามันคือพลังงานนั่นเองที่อยู่ในรูปของมวลสารความรู้สึกหรือจิตจึงเป็นพลังงาน ดังนั้นความรู้สึกหรือจิตก็เป็นธาตุธรรมชาตินั่นเองซึ่งในศาสนาพุทธเรียกว่าสภาพธรรม แต่มันปรุงแต่งกันขึ้นมาให้เกิดเป็นความรู้สึกว่าเป็นตัวเราซึ่งเป็นการสมมุติตนเองขึ้นมา (ตามการอธิบายในอภิธรรม) ดังนั้นความเป็นตัวเรา(ความรู้สึก)จึงเป็นการทำงานของพลังงานธรรมชาติเท่านั้นคือความจริงของมัน แต่เราเข้าไปยึดมั่นจึงเกิดเป็นตัวเราขึ้นมาซึ่งจะเห็นว่าธรรมชาติมีความซับซ้อนมากจนเราก็คิดว่ามันคือตัวเราจริง การทำงานของมันคือการเกิดปฏิกิริยาต่อกันอยู่นั่นเอง ถ้าเรามีความรู้สึกที่วางเฉยอยู่(ในความว่าง)มันก็จะมีสภาพเป็นเพียงธาตุตามธรรมชาติอยู่เท่านั้น ดังนั้นการไม่ปรุงแต่งความรู้สึก(การไม่มีความรู้สึกเกิดอยู่)ความรู้สึกที่เป็นตัวเราก็ไม่เกิดขึ้น อารมณ์ความรู้สึกของเราเป็นการปรุงแต่งกันขึ้นมา การเกิดเป็น “อัตตา” , “ตัวตน”, หรือ“ตัวเรา” เพราะความหลงอยู่ในความเป็นธรรมชาติของตนเองนั่นเองทั้งหมดเป็น “การยึดมั่น” ทางความรู้สึกอยู่เท่านั้น...เราจึงต้องมีชีวิตอยู่ใน. “ความว่าง” ...จึงจะมีความเป็นเหตุผลเกิดอยู่เพราะไม่มีอะไรเป็นความจริงนั่นเองมันเป็นการปรุงแต่งของความรู้สึกเท่านั้นคือความจริงของมันจึงต้อง .ทำความรู้สึกให้ตื่นอยู่เสมอ .เพื่อรับรู้ความจริงของชีวิตความเป็นเหตุผลจึงจะเกิดขึ้นในความรู้สึกได้จึงจะเป็นที่สุดแห่งการแสวงหาไม่มีความสงสัยอีกเพราะถ้ายังมีการยึดมั่นอยู่มันก็จะยังไม่จบสิ้นลงนั่นเองจึงต้องทำความจริงนี้ให้ปรากฏ.
...............................................................................
/ไพรสณฑ์ / . E-mail. Amarasinn @yahoo.co.th

//amarasin.bloggang.com



Create Date : 12 มกราคม 2553
Last Update : 21 เมษายน 2554 7:13:13 น.
Counter : 957 Pageviews.

0 comments

ไพรสณฑ์
Location :
อำนาจเจริญ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



การปฏิบัติธรรม...
คือการมีสติรู้ความจริงของชีวิต

ชีวิตคือความเป็นธรรมชาตินั่นเอง
การมองชีวิตในมุมกลับจึงเห็นความจริงว่ามันคือการเกิด-ดับของความเป็นธรรมชาตินั่นเองที่เป็นอยู่คือการยึดมั่น...

...การเห็นความจริงนี้จึงเป็นการเห็น"สัจจะธรรม"จึงพบคำตอบเกิดขึ้นว่าพวกเรามาทำธุระอะไรกันอยู่บนโลกใบนี้. แท้จริงมันคือการเกิด-ดับของความเป็นธรรมชาติเท่านั้น...คือความจริงที่จะต้องทำความเข้าใจ เพราะการเข้าใจว่าเป็น "ตัวเรา"มันเป็นการหลงอยู่ในการปรุงแต่งของความเป็นธรรมชาติเท่านั้น.


...การเข้าใจมันตามจริง.... จึงเห็นความเป็นเหตุผลเกิดขึ้น..."ตัวเรา"เป็นเพียงการสมมุติของธรรมชาติเท่านั้น จึง เกิดความวิเวก วังเวง เพราะมันเป็นความจริงนั่นเอง
New Comments