Group Blog
 
 
ธันวาคม 2551
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
20 ธันวาคม 2551
 
All Blogs
 
งานผลิตจุลินทรีย์ เรื่องดีๆ ลงทุนไม่มาก

การผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์จากธรรมชาติ

หัวเชื้อจุลินทรีย์ : เกิดจากกระบวบการเลี้ยงขยายจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้
เจริญเติบโต และเพิ่มจำนวนมากขึ้น การผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ มีหลายวิธี คือ
วิธีที่ 1. การผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์จากจุลินทรีย์ในดิน

ส่วนประกอบ
1. เศษไม้ ใบไม้ผุ และดินที่มีเส้นใยเชื้อราสีขาว 60 กิโลกรัม
2. รำละเอียด 15 กิโลกรัม
3. กากน้ำตาล 6 กิโลกรัม
4. น้ำสะอาด 120 ลิตร

วิธีทำ
1. ผสมเศษไม้ ใบไม้ผุ และดินที่มีเส้นใยเชื้อราสีขาวขึ้นปกคลุม กับรำละเอียด
2. ผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร และกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม คลุกเคล้าให้เข้ากันกับส่วน
ผสมข้อ 1. จะได้ส่วนผสมที่มีความชื้นประมาณ 30 %
3. กองส่วนผสมในที่ร่มแล้วเกลี่ยกองสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ใช้กระสอบป่าน
ที่ชุบน้ำคลุมทิ้งไว้ ประมาณ 7 วัน หรือให้มีเส้นใยเชื้อราสีขาวกระจายทั่วกอง โดยรดน้ำให้กระสอบป่านชื้นอยู่เสมอ
4. นำส่วนผสมที่ได้ใส่ในถังหมัก เติมน้ำสะอาด 100 ลิตร และกากน้ำตาล 5 กิโลกรัม คนให้เข้ากัน ปิดฝาแล้วทิ้งไว้อย่างน้อย 7 วัน จึงกรองเอาหัวเชื้อจุลินทรีย์บรรจุเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท
วิธีที่ 2. การผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์จากสับปะรด

ส่วนประกอบ
1. สับปะรด 2 ผล
2. น้ำสะอาด 20 ลิตร
3. กากน้ำตาล 5 กิโลกรัม


วิธีทำ
1. หั่นสับปะรดเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วบรรจุในถังหมัก
2. เติมน้ำสะอาดและกากน้ำตาล คนส่วนผสมให้เข้ากันแล้วปิดฝาภาชนะให้สนิท หมักทิ้งไว้อย่างน้อย 7 วัน คนส่วนผสมในระหว่างหมักทุกวัน
(วิธีที่ 1,2 ผู้แนะนำ : ดร.จรัส กิจบำรุง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 5 จังหวัดชัยนาท กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
วิธีที่ 3. การผลิตหัวเชื้อจุสินทรีย์ธรรมชาติ

1. เก็บหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติจากตาเปลือกสับปะรดในแปลงปลูกสับปะรดที่อยู่ในระยะการเจริญเติบโตเต็มที่ พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวขายสู่ตลาดผู้บริโภค ซึ่งแปลงสับปะรดดังกล่าว จะต้อง ไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดโรคพืชมาก่อนหน้าที่จะเก็บเชื้อจุลินทรีย์ไม่น้อยกว่า 3 เดือน
2. เฉือนหรือปอกเปลือกสับปะรดให้ติดตาจากสับปะรดจำนวน 3 ส่วน สับหรือบดให้ละเอียดแล้วนำไปผสมกับน้ำตาลโมลาสจำนวน 1 ส่วน นำทั้งสองส่วนมาคลุกเคล้าให้เข้ากันอย่างดี พร้อมทั้งใส่น้ำมะพร้าวผสมด้วยจำนวน 1 ส่วน แล้วนำส่วนผสมข้างต้นใส่ภาชนะแล้วปิดฝาด้วยผ้าขาวบาง ทิ้งไว้ 7 – 10 วัน ถ้ามีกลิ่นเหม็นให้ใช้น้ำตาลโมลาสเติมเข้าไปพอสมควรแล้วคนให้เข้ากันจนกลิ่นหายไป
3. หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่หมักได้ที่ จะมีกลิ่นหอมหรืออาจจะมีกลิ่นเปรี้ยวบ้างเล็กน้อย หรือมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นหัวเชื้อสุรา สามารถเก็บในภาชนะที่ปิดฝาสนิทในสภาพอุณหภูมิห้องได้นานเป็นปี
(ผู้แนะนำ : คุณสำรวล ดอกไม้หอม กองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร)

วิธีที่ 4. การผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ

ส่วนประกอบ
1. เปลือกและตาสับปะรดที่แก่จัด 3 ส่วน
2. ผักปัง ทั้งเถา ใบ และยอด 2 ส่วน
3. รากหญ้าขน 2 ส่วน
4. น้ำมะพร้าว 2 ส่วน
5. กากน้ำตาล 2 ส่วน
6. น้ำ 1 ส่วน
วิธีทำ
นำเปลือกและตาสับปะรด ผักปัง และรากหญ้าขน มาสับหรือบดให้ละเอียดใส่ถังหมัก ใส่น้ำมะพร้าว กากน้ำตาล และน้ำ ลงในถังคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาถังหมักให้สนิท หมักทิ้งไว้ 7 – 10 วัน จะมีกลิ่นเปรี้ยวนำไปใช้ประโยชน์ได้
(ผู้แนะนำ : กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร (เพื่อการผลิต) บ้านยางงาม หมู่ที่ 1 และบ้านคุ้งวารี หมู่ที่ 6
ต.บางม่วง อ.เมือง จ.นครสวรรค์)

วิธีที่ 5. การผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ
ส่วนประกอบ
1. สับปะรดสุก หรือใกล้สุกก่อนเก็บเกี่ยว ภายใน 7 วัน
จำนวน 3 กิโลกรัม (เฉพาะเปลือก)
2. กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
3. น้ำมะพร้าว 1 กิโลกรัม
4. ยาคูลท์ 1 ขวด(นมเปรี้ยว)
5. แหนม 1 มัด
6. ถังหมักมีฝาปิดขนาด 30 – 200 สิตร
วิธีทำ
1. เก็บหัวเชื้อธรรมชาติจากตาสับปะรดที่อยู่ในระยะการเจริญเติบโตที่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวส่งตลาดเพื่อบริโภค และแปลงดังกล่าวไม่ควรมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมาก่อนไม่น้อยกว่า 3 เดือน จะได้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายกลุ่มชนิดพันธุ์
2. เฉือนหรือปอกสับปะรดให้ติดตาจากผลสับปะรดสุก จำนวน 3 ส่วน แล้วบดให้ละเอียด นำไปผสมกับน้ำตาลโมลาส จำนวน 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากันพร้อมทั้งใส่น้ำมะพร้าวผสมลงไป 1 ส่วน นำผสมทั้งหมดใส่ภาชนะคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วใส่ยาคูลท์และแหนมลงไป แล้วปิดผาตั้งไว้ในร่มประมาณ 15 - 30 วัน ถ้ามีกลิ่นเหม็นให้เติมน้ำตาลโมลาส หรือความเข้มข้นสูงให้เติมน้ำมะพร้าวลงไปด้วย กลิ่นเหม็นจะหายไป แล้วใช้ไม้คนอยู่เสมอ
3. หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่หมักได้ที่แล้วจะมีกลิ่นหอมหรือกลิ่นเปรี้ยวบ้างเล็กน้อย หรือมีกลิ่นคล้ายกลิ่นหัวเชื้อสุรา ไม่มีฟองเดือดลอยน้ำเหมือนเริ่มหมักครั้งแรก สามารถเก็บในภาชนะที่ปิดฝาในสภาพอุณหภูมิห้องได้นานเป็นปี
(ผู้เผยแพร่ : คุณธาร นวลแก้ว หัวหน้าฝ่ายแผนงาน สำนักงานเกษตรจังหวัดอุทัยธานี)

วิธีที่ 6. การผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์จากเศษผักและผลไม้
วัสดุที่ใช้
1. เศษผัก เปลือกสับปะรด ผลไม้ เช่น กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก ฟักทองแก่ แตงโม
2. กากน้ำตาล
วิธีทำ
1. สับเศษพืชผัก (ถ้าซื้อมาจากตลาดสดอาจจะมีสารเคมีฆ่าแมลง ให้ล้างน้ำแล้วผึ่งให้
แห้งก่อน) เปลือกสับปะรด ผลไม้ต่างๆ เช่น กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก ฝรั่ง แตงโม ฟักทองแก่ ฯลฯ ไม่จำกัดจำนวน
2. ใส่กากน้ำตาลลงไปคลุกเคล้าส่วนผสมให้ทั่วและเข้ากัน ดูสีเหมือนสีของข้าวผัด
ก็ใช้ได้
3. นำส่วนผสมที่คลุกเคล้าเข้ากันดีแล้วใส่ถังหมักจุลินทรีย์ ปิดฝาให้สนิทหมักใน
ที่ร่ม เป็นเวลา 7 วัน ก็นำเชื้อจุลินทรีย์ไปใช้ได้ โดยนำไปขยายต่อผสมกับกากน้ำตาลและน้ำสะอาด ในอัตราส่วน 1 : 1 : 200 ส่วน ปิดฝาถังหมักให้สนิทเก็บไว้ 3 วัน เปิดฝาถังหมักระบายก๊าซออกบ้าง ในวันที่ 3 และนำไปใช้ได้ เช่น ใช้ผลิตฮอร์โมน, ผลิตปุ๋ยอินทรีย์, ใช้กำจัดกลิ่น ฯลฯ

วิธีที่ 7. การผลิตจุลินทรีย์ (อีเอ็ม) และการประยุกต์ใช้
วัสดุอุปกรณ์
1. ถังพลาสติกมีฝาปิดเพื่อทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ (อีเอ็ม)
2. ถุงพลาสติกเจาะรู หรือถุงปุ๋ย
3. วัสดุรองก้นถัง เพื่อช่วยระบายน้ำ
4. กากนำตาล
5. เศษอาหารสดต้องไม่เกิน 12 ชั่วโมง (เปลือกสับปะรด กล้วย เศษผัก จะให้ หัวเชื้อจุลินทรีย์มากและหอม ถ้ามีสารอาหารครบ 5 หมู่ จะได้หัวเชื้อที่ดีมาก)
6. ขวดพลาสติกใส (ห้ามใช้ขวดแก้ว) หรือถังพลาสติกเพื่อขยายหัวเชื้อจุลินทรีย์
7. น้ำสะอาดปราศจากคลอรีน (อาจใช้น้ำประปาที่เปิดใส่ถังทิ้งไว้ค้างคืน)
ขั้นที่ 1 การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ (อีเอ็ม)
1.1 นำเศษอาหารสด (สะเด็ดน้ำ) มาผสมกากน้ำตาล ในอัตราส่วน เศษอาหารสด
1 กิโลกรัม ต่อ กากน้ำตาล 2 – 5 ช้อน โต๊ะ คลุกและนำใส่ถุงที่ให้น้ำไหลออกได้ (อาจใช้ถุงพลาสติกที่เจาะรูโดยรอบหรือถุงปุ๋ย)
1.2 มัดปากถุงแล้วใส่ไว้ในถังพลาสติกที่เตรียมไว้ ควรรองก้นด้วยวัสดุช่วยระบายน้ำ (ใช้ถาดใส่ไข่พลาสติกได้) ปิดฝาไม่ให้อากาศเข้า ทิ้งไว้ 7 วัน หลัง 7 วันแล้วให้เปิดฝาดูจะมีน้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์สีน้ำตาล กลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน
ขั้นที่ 2 การขยายหัวเชื่อจุลินทรีย์ (อีเอ็ม)
2.1 นำหัวเชื้อจุลินทรีย์ผสมกากน้ำตาล และน้ำสะอาด ในอัตราส่วน 1 : 1 : 200 มาผสมและใส่ภาชนะที่เตรียมไว้
2.2 ปิดฝาให้สนิทเก็บไว้ 3 วัน (วันที่ 3 มีก๊าซมาก ควรเปิดฝาระบายก๊าซบ้าง)
ขั้นที่ 3 การประยุกต์ใช้
3.1 ใช้ในครัวเรือน เช่น เช็ดพื้น แช่ล้างตระกรันในหม้อต้มน้ำ เช็ดรองเท้า ล้างห้องส้วม เช็ดกระจก ซักผ้า ล้างรถ ฯลฯ ใช้บำบัดกลิ่น และเร่งการย่อยสลาย เช่น บำบัดน้ำเสียจากท่อระบายน้ำ และระบบบ่อบำบัดน้ำเสียรวม บำบัดกลิ่นและเร่งการย่อยสลายสิ่งปฏิกูลในห้องน้ำ บำบัดกลิ่นขยะมูลฝอย และรถขนขยะ ฯลฯ
3.2 ใช้เพื่อการเกษตรกรรม เช่น ใช้รดต้นไม้ ผลิตฮอร์โมน ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ กำจัดกลิ่นมูลและกลิ่นสาบสัตว์ ใช้ปรับและเสริมคุณภาพดินเพื่อการเพาะปลูกพืช ฯลฯ (ถ้าใช้รดแปลงพืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ ให้ผสมกากน้ำตาล และน้ำสะอาด 1 : 1 : 1,000)

(รายงานที่ 6–7 ผู้แนะนำ : โครงการเทคโนโลยีสะอาด (CPIE) เพื่อประสิทธิภาพอุตสาหกรรม
ในจังหวัดสมุทรปราการ)
การผลิตหัวเชื้อจากจุลินทรีย์ในดินจะดีกว่าการผลิตหัวเชื้อจากสับปะรด เพราะจะได้ จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์หลายชนิด ซึ่งมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมในแปลงปลูกและเจริญเติบโตได้ดีในธรรมชาติ
ประโยชน์ของหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ
ใช้สำหรับเป็นส่วนผสมในการทำปุ๋ยหมักแห้งชีภาพ ทำน้ำสกัดชีวภาพ และใช้สลายตอซังในนาข้าว เป็นต้น


Create Date : 20 ธันวาคม 2551
Last Update : 20 ธันวาคม 2551 20:17:58 น. 1 comments
Counter : 858 Pageviews.

 
จะปีใหม่แล้ว ขออวยพรก่อนนะ เพราะกลัวว่าจะไม่ได้เม้นต์ให้ ขอคุณพระพุทธเจ้า จงดลบันดาลให้เห็นแจ้งในธรรม ขอให้มีทรัพย์ในการสร้างบารมี ขอให้เป็นคนดีของสังคม และมีความสุขกับความดีที่ได้กระทำกันทั้งครอบครัวเลยนะ...


โดย: wbj วันที่: 26 ธันวาคม 2551 เวลา:12:44:08 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

amaki
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Add to Google
free counters
HotelClub
japa
Friends' blogs
[Add amaki's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.