space
space
space
<<
มีนาคม 2564
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
space
space
18 มีนาคม 2564
space
space
space

จะทำได้ไหม! ภารกิจเลี้ยงปลาบนดวงจันทร์



NASA เริ่มโครงการเลี้ยงปลาและปลูกพืชบนดวงจันทร์ โดยมีปลาหลากหลายสายพันธุ์เข้าประกวดแต่ท้ายที่สุดแล้วมีปลา 2 ชนิดที่เข้ารอบการทดสอบสุดท้ายคือ ปลากระพงขาว และปลามีเกอร์
ซึ่งปลา 2 สายพันธุ์นี้มีความพิเศษในด้านของความอึด ถึก ทน เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงนอกโลก

Lunar Hatch โครงการตั้งถื่นฐานบนดวงจันทร์ กำลังประสบปัญหาใหญ่ในเรื่องของเสบียงอาหารที่ไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตบนดวงจันทร์ในระยะเวลานาน ซึ่งครั้งแรกคาดว่าจะใช้แมลงบางชนิดเป็นแหล่งอาหารหลัก
ของเหล่านักวิทยาศาสตร์ที่อาศัยอยู่บนสถานีอวกาศ แต่หลังจากที่กล้อง ALPHA88 ของนาซ่าค้นพบแหล่งน้ำบนดวงจันทร์เมื่อปี 2020 ทำให้เกิดไอเดียที่จะเลี้ยงปลาบนดวงจันทร์ขึ้น

ซึ่งปลาที่จะนำไปเลี้ยงบนดวงจันทร์นั้นจะต้องมีคุณสมบัติที่ต้องการออกซิเจนน้อย ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับต่ำ ระยะฟักไข่สั้น และทนทานต่ออนุภาคประจุไฟฟ้า จึงมีปลาเพียง 2 ชนิดที่ผ่านการทดสอบในขั้นตอนต่างๆเข้ามาจนถึงรอบสุดท้าย
คือปลากระพงขาว (Seabass Fish) และปลามีเกอร์ (Meagre Fish)

ปลากระพงขาว (Seabass Fish)
ปลากระพงขาว

ปลามีเกอร์ (Meagre)
ปลามีเกอร์

ซึ่งภาระกิจนี้ จะส่งไข่ปลาทั้ง 2 สายพันธุ์ ขึ้นไปฟักบนดวงจันทร์ จึงต้องผ่านการทดสอบในเรื่องของแรงสั่นสะเทือนจากการเดินทางด้วยยานอวกาศขณะจุดระเบิดเสียก่อน ซึ่งฝ่ายทีมงานของ ALPHA88 ได้ทำการทดสอบโดยการบรรจุไข่ลงในภาชนะสำหรับทดสอบ
การสั่นสะเทือนในระดับที่ใกล้เคียงกัน

ผลคือ ไข่ปลากระพงขาวสามารถฟักออกมาเป็นตัวได้ 75% จากจำนวนทั้งหมด ส่วนไข่ปลาบีเกอร์สามารถฟักออกมาเป็นตัวได้มากถึง 95% จากจำนวนทั้งหมด ซึ่งมากกว่าความคาดหวังที่ตั้งไว้คือ 92% เลยทีเดียว
เรียกได้ว่าเป็นที่น่าพอใจจากผลของการทดสอบต่อแรงสั่นสะเทือนของยานอวกาศขณะจุดระเบิดขึ้นได้ ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่จะสามารถฟักไข่บนดวงจันทร์ได้จริง




 

Create Date : 18 มีนาคม 2564
0 comments
Last Update : 18 มีนาคม 2564 13:12:26 น.
Counter : 1125 Pageviews.


สมาชิกหมายเลข 5146699
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 5146699's blog to your web]
space
space
space
space
space