ดูหนังลงคะแนน ประชาธิปไตยสไตล์มะกัน
ดูหนังลงคะแนน ประชาธิปไตยสไตล์มะกันพล พะยาบ คอลัมน์อาทิตย์เธียเตอร์ มติชนรายวัน 19 พฤศจิกายน 2549 ช่วงครึ่งปีหลังที่ผ่านมา โดยเฉพาะ 2 เดือนก่อนการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐอเมริกา มีขบวนแถวหนังสารคดีโดยคนทำหนังเล็กๆ หลายต่อหลายเรื่อง ทยอยเปิดฉายในวงแคบตามเทศกาลหนัง สมาคม สถาบัน ร้านอาหาร หรือแม้กระทั่งในโบสถ์ บางเรื่องได้ฉายทางโทรทัศน์ พร้อมกับเปิดขายในรูปแบบดีวีดีทางเว็บไซต์ หนังสารคดีกลุ่มนี้เกือบทั้งหมดกล่าวถึงเรื่องเดียวกัน คือ ความวุ่นวาย สภาพปัญหา รวมถึงความไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปี 2004 ที่ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช เฉือน จอห์น แคร์รี่ คู่แข่งจากเดโมแครตไปอย่างสูสี ท่ามกลางความคลางแคลงใจต่อผลการนับคะแนนในหลายจุดหลายมลรัฐ พร้อมกับแนบสารไปยังผู้ชมว่า ชาวอเมริกันแน่ใจได้อย่างไรว่าคะแนนเสียงของตนถูกนับ หรือคะแนนที่ถูกนับอาจจะไม่ตรงกับคนที่เลือก แน่ใจหรือว่าเขตเลือกตั้งของคุณและเครื่องนับคะแนนอิเล็กโทรนิคทำงานได้อย่างเที่ยงตรงและถูกต้อง ลองไล่เรียงดูชื่อหนังสารคดีกลุ่มนี้ไม่ว่าจะเป็น Stealing America, Vote by Vote Hacking Democracy หรือ Eternal Vigilance: The Fight to Save Our Election System ก็จะพบว่าดุเดือดเผ็ดมันกันตั้งแต่ชื่อเรื่องเลยทีเดียว และในเมื่อเนื้อหาของหนังกล่าวถึงปัญหาในการเลือกตั้งที่บุชและรีพับลิกันได้รับชัยชนะ ประกอบกับการนำเสนอในช่วงเวลาก่อนหน้าการเลือกตั้งกลางเทอมวันที่ 7 พฤศจิกายนไม่นาน หนังเลือกตั้ง เหล่านี้จึงเลี่ยงไม่พ้นที่จะถูกมองว่าเป็นแนวร่วมต่อต้าน-ดิสเครดิตบุชและรีพับลิกัน สำหรับเนื้อหาของหนังส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้หยิบยกปัญหามากมายในการเลือกตั้งที่อเมริกันชนต้องเผชิญมาตีแผ่ขุดคุ้ย และตั้งคำถามว่าจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นสารพัดกลโกงหลายรูปแบบ รวมไปถึงเครื่องนับคะแนนอิเล็กโทรนิคเจ้าปัญหาที่สามารถ แฮค ได้อย่างง่ายดาย หลายเรื่องโฟกัสไปที่ความวุ่นวายซึ่งเกิดขึ้นที่รัฐโอไฮโอ หนึ่งใน สะวิง สเตต ที่ได้เป็นรัฐตัดสินว่าใครเป็นผู้ชนะเมื่อ 2 ปีก่อน คราวนั้นคะแนนของบุชนำแคร์รี่เพียงเล็กน้อย ก่อนที่แคร์รี่จะยอมรับความพ่ายแพ้โดยไม่รอผลการนับคะแนนบัตรเลือกตั้งชั่วคราวให้เสร็จสิ้น ท่ามกลางความผิดหวังของผู้สนับสนุน หนังเด่นที่สุดในกลุ่มนี้น่าจะเป็น American Blackout สารคดีความยาว 92 นาที ของ เอียน อินเอบา ที่ได้รางวัลพิเศษจากกรรมการเทศกาลหนังซันแดนซ์ครั้งล่าสุด หนังตามดูเรื่องราวของ ซินเธีย แมคคินนีย์ ส.ส.หญิงผิวสีแห่งจอร์เจีย ที่ตามสืบสาวความไม่ชอบมาพากลในการเลือกตั้งซึ่งทำให้ผู้มีสิทธิจำนวนมาก เสียงหาย ตั้งแต่ที่ฟลอริดาปี 2000 มาจนถึงโอไฮโอ ปี 2004 โดยที่สื่อใหญ่ๆ ไม่แยแส มองว่าเป็นแค่ข่าวลือที่ไร้ความสำคัญ ประกอบการสัมภาษณ์นักการเมือง นักวิชาการ สื่อมวลชน และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ Stealing America, Vote by Vote โดยผู้กำกับฯหญิง โดโรธี ฟาดิแมน คนทำสื่อที่มุ่งนำเสนอประเด็นความยุติธรรมในสังคมและสิทธิมนุษยชนมายาวนานร่วม 30 ปี มีรางวัลการันตีการทำงานกว่า 50 รางวัล หนังปะติดปะต่อเบื้องหลังการเลือกตั้งในมุมมองของผู้คนหลากหลาย ทั้งคนทำโพล ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องคอมพิวเตอร์นับคะแนน ผู้สื่อข่าว นักการเมือง นักเคลื่อนไหว และผู้มีสิทธิลงคะแนนทุกช่วงวัยทุกกลุ่ม อาทิ นักศึกษาชาวโอไฮโอที่ต้องรอลงคะแนนถึง 12 ชั่วโมง หรือชาวอเมริกันพื้นเมืองและชาวอิสแพนิคในนิวเม็กซิโกที่ได้ใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นครั้งแรกเพื่อจะได้รู้ว่าสุดท้ายแล้วเสียงของพวกเขาไม่ถูกนับ Stealing America, Vote by Vote ได้ตั้งคำถามว่าเราจะสร้างระบบการเลือกตั้งที่ช่วยให้ประชาชนมั่นใจว่าเสียงที่พวกเขาใช้ไปนั้นถูกนับอย่างถูกต้องชอบธรรมได้อย่างไร สำหรับ Hacking Democracy ของ ไซมอน อาร์ดิสโซน และรัสเซลล์ ไมเคิลส์ สารคดีความยาว 90 นาที สัญชาติอังกฤษ ที่ได้ฉายทางช่องเอชบีโอช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน มุ่งแฉเครื่องนับคะแนนอิเล็กโทรนิคเจ้าปัญหาโดยเฉพาะ เดินเรื่องโดยคุณยาย เบฟ แฮร์ริส ชาวซีแอตเติลที่ข้องใจว่าเหตุใดทางการจึงซื้อเครื่องนี้มาใช้งาน แฮร์ริสพบว่าเครื่องนับคะแนนของบริษัทหนึ่งไม่มีการเก็บหลักฐานเอกสาร หากมีปัญหาใดๆ ที่ต้องให้นับคะแนนใหม่ก็จะทำไม่ได้ และเมื่อเธอเข้าไปในเว็บไซต์ของบริษัทยังพบว่าข้อมูลภายในเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ไม่มีระบบป้องกันใดๆ ไว้เลย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทุกคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าซอฟต์แวร์ที่ว่านี้สามารถแฮคเพื่อแต่งผลการเลือกตั้งได้ง่ายมาก Hacking Democracy จึงมีชื่อในคราวแรกว่า Votergate เพื่อล้อเลียนคดีล้วงข้อมูลสนั่นโลกในอดีต อีกเรื่องที่พูดถึงกลโกงการเลือกตั้งสารพัดวิธี และจับจ้องไปที่เครื่องนับคะแนนอิเล็กโทรนิคคือ Eternal Vigilance: The Fight to Save Our Election System ของ เดวิด เอิร์นฮาร์ดต์ ทั้งยังกล่างถึงชาวอเมริกันผิวสีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการใช้สิทธิหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการข่มขู่คุกคาม หรือถูกโยกย้าย-เปลี่ยนแปลงสถานที่ลงคะแนนประเด็นชาวอเมริกันผิวสีอยู่ในหนังอีกเรื่องหนึ่ง เป็นหนังสารคดีขนาดสั้น ความยาว 26 นาที เรื่อง No Umbrella : Election Day in the City ลอร่า พากลิน เจ้าของผลงานเล่าว่า เธอพกกล้องวิดีโอไปยังหน่วยเลือกตั้งในเมืองคลีฟแลนด์ โอไฮโอ โดยไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะได้บันทึกเหตุการณ์ความโกลาหลตึงเครียดที่ผู้ใช้สิทธิต้องรอคอยเนิ่นนานเพราะปัญหาติดขัดเกี่ยวกับเครื่องนับคะแนน โดยมีคุณยายผิวสี วัย 80 เป็นตัวละครหลักที่คอยติดต่อสอบถาม-ซักไซ้เจ้าหน้าที่ และเป็นผู้กล่าวคำคมเปรียบเทียบเหตุการณ์นี้ซึ่งถูกใช้เป็นชื่อหนังว่า เหมือนกับเราภาวนาให้ฝนตก แต่ลืมพกร่มมาด้วย ภาพของชนชั้นล่าง ผิวสี ที่ต้องผจญกับอุปสรรคในวันเลือกตั้งกับความบกพร่องของเจ้าหน้าที่รัฐ จึงมองได้ว่าเป็นการสะท้อนถึงความไม่พอใจของชาวอเมริกันที่มีต่อพรรครีพับลิกัน ยังมีหนังเรื่องอื่นๆ อีก เช่น So Goes the Nation โดย อดัม เดล ดีโอ และเจมส์ ดี. สเติร์น ที่มองภาพรวมการเลือกตั้งที่โอไฮโอ ตั้งแต่ยุทธศาสตร์การหาเสียงของบุชกับแคร์รี่ จนถึงสิ้นสุดกระบวนความ ส่วน Call It Democracy ของ แมตต์ คอห์น ย้อนไปยังผลการเลือกตั้งอันแสนคลุมเครือที่ฟลอริดาในปี 2000 ที่พาให้บุชเข้าสู่ทำเนียบขาว และเปลี่ยนแปลงโลกทั้งใบ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น หนังสารคดีเหล่านี้หนีไม่พ้นถูกมองว่ายืนอยู่ฝั่งตรงข้ามบุชจูเนียร์และพรรครีพับลิกัน กระนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าพรรครีพับลิกันของบุชพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งกลางเทอม ปล่อยให้ฝ่ายตรงข้ามอย่างเดโมแครตครองเสียงข้างมากในสภาเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี มีสาเหตุปัจจัยที่สามารถมองเห็นชัดเจนอยู่แล้ว และหนังเล็กๆ เหล่านี้คงไม่มีอิทธิพลรุนแรงขนาดนั้น หนังเรื่องไหนมีเจตนาแอบแฝง หรือเรื่องใดเป็นการทำหน้าที่สื่อโดยปราศจากอคติ การชมและพิจารณาอย่างถี่ถ้วนน่าจะพอตัดสินในเบื้องต้นได้ และในสหรัฐเองไม่ได้มองการแสดงออกลักษณะนี้เป็นเรื่องใหญ่หรือเรื่องที่สมควรถูกตำหนิลองย้อนกลับมามองในบ้านเรา ถ้ามีคนทำหนังแบบนี้บ้าง ผลจะออกมาอย่างไร...
Create Date : 12 ธันวาคม 2549
Last Update : 12 ธันวาคม 2549 11:32:28 น.
3 comments
Counter : 702 Pageviews.
โดย: กัปตันเจิด (ฉันรอเธออยู่ ) วันที่: 12 ธันวาคม 2549 เวลา:11:57:57 น.
โดย: PutterZ (ToppuT ) วันที่: 12 ธันวาคม 2549 เวลา:13:59:24 น.
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [? ]
บทวิจารณ์ภาพยนตร์รางวัลกองทุน ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ปี 2549 ..............................select movie / blog ....... --international-- ....... The Walking Dead I Wish I Knew 127 Hours The Expendables vs. Salt No puedo vivir sin ti Bright Star The World is Big and Salvation Lurks Around the Corner Sin Nombre Invictus Afghan Star Moon Gigante The Promotion An Education Up in the Air Snow (Snijeg) Liverpool Tahaan Lion's Den Tulpan Everlasting Moments Absurdistan Topsy-Turvy Ramchand Pakistani The Pope's Toilet Antonio's Secret พลเมืองจูหลิง Flashbacks of a Fool And When Did You Last See Your Father? The Boy in the Striped Pyjamas Gran Torino Departures Gomorra Abouna + Daratt Grace Is Gone The Road to San Diego Into the Wild Slumdog Millionaire The Silly Age The Year My Parents Went on Vacation It's Hard to Be Nice Ben X Caramel The Class Kings จาก Kolya ถึง Empties The Unknown Woman Dokuz Heima Cocalero The Blood of My Brother & Iraq in Fragments 12:08 East of Bucharest Rescue Dawn Mongol 6 : 30 Something Like Happiness To Each His Cinema The Counterfeiters ข้างหลังภาพ Lions for Lambs + Michael Clayton Father and Daughter Possible Lives กอด The Buried Forest รัก-ออกแบบไม่ได้ Lights in the Dusk The Piano Teacher Do You Remember Dolly Bell? Sisters in Law Al Otro Lado A Time for Drunken Horses Zelary Bug The Invasion The Science of Sleep Paris, I love you Still Life The Lives of Others Heading South Renaissance ABC Africa The Death of Mr. Lazarescu Maria Full of Grace The Last Communist Eli, Eli, lema sabachthani? 4 : 30 Late August, Early September The Circle The Cave of the Yellow Dog Italian for Beginners Love/Juice Your Name is Justine The Syrian Bride Dragon Head Reconstruction Eros The Scarlet Letter The Night of Truth Familia Rodante Bonjour Monsieur Shlomi Lantana Flanders Tokyo . Sora The World Whisky Buffalo Boy S21 : The Khmer Rouge Killing Machine Fire, Earth, Water C.R.A.Z.Y. All about My Mother Jasmine Women Battle in Heaven The Day I Became a Woman Man on the Train CSI : Grave Danger Innocence Life Is a Miracle Drugstore Girl Der Untergang The Bow Happily Ever After The Wayward Cloud The House of Sand Or, My Treasure Janji Joni Moolaade Vodka Lemon Angel on the Right Twentynine Palms The Taste of Tea ....... --independent-- ....... Goodbye Solo The Hurt Locker (500) Days of Summer Towelhead Kabluey Three Burials of Melquiades Estrada Titus Chuck & Buck The Woodsman Pollock Last Days The Limey Inside Deep Throat Coffee and Cigarettes Garden State My Name is Joe Sexy Beast Real Women Have Curves The Brown Bunny Before Sunset Elephant Bubble You Can Count on Me 9 Songs ....... --classic-- ....... Memories of Underdevelopment (1968) The Last Laugh The Snows of Kilimanjaro The Cabinet of Dr.Caligari Nanook of the North The Apu Trilogy ....... --หนังมีไว้ให้คิด-- ....... The Schoolgirl's Diary Long Road to Heaven The Imam and the Pastor Maquilapolis ....... --what a film!-- ....... Kabuliwala (1956) Macunaima (1969) Kozijat rog (1972) The Girl and the Echo (1964) Fruits of Passion (1981) Happy Gypsies (1967) ....... --introducing-- ....... Death Race 2000 (1975) ซอมบี้ปากีฯ+ผีดิบมาเลย์+ซูเปอร์แมนตุรกี Zinda Muoi Father and Daughter ....... --directed by-- ....... Ouran (1968) Pierwsza milosc (1974) Salome (1978) 4 หนังสั้น เคียรอสตามี recommended ....... - 'รงค์ วงษ์สวรรค์ กับภาพยนตร์ - เทมาเส็ก พิคเจอร์ส - Heading South - Still Life - The Apu Trilogy - The Day I Became a Woman - จาก Fire, Earth สู่ Water พญาอินทรี ศราทร @ wordpress
1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
31