The Last Laugh(1924) ฝันร้ายของชายในเครื่องแบบ
The Last Laugh ฝันร้ายของชายในเครื่องแบบพล พะยาบ คอลัมน์อาทิตย์เธียเตอร์ มติชนรายวัน 5 พฤศจิกายน 2549 หน้าโรงแรมหรูในเยอรมนี ชายสูงวัยร่างใหญ่หนวดเคราครึ้มแต่งกายภูมิฐานราวกับนายพลผู้เกรียงไกรกำลังทำหน้าที่รับส่ง-ขนกระเป๋าให้แขกของโรงแรม ชายดังกล่าวภาคภูมิใจในตำแหน่งหน้าที่ และ เครื่องแบบ ของตนเองเป็นอย่างมาก รวมทั้งคนในครอบครัวและเพื่อนบ้านก็ให้ความเคารพนบน้อม มองว่าเขาอยู่ในสถานะเหนือกว่า แต่แล้วความภาคภูมิใจของชายในเครื่องแบบก็ต้องพังทลายลง เมื่อผู้จัดการโรงแรมย้ายเขาไปทำงานบริการในห้องน้ำแทนที่พนักงานคนเก่าที่ปลดเกษียณ ผู้จัดการโรงแรมมองว่าเขาอายุมากแล้ว และไม่สามารถยกสัมภาระหนักๆ ให้แขกได้ ชายสูงวัยถูกถอดเครื่องแบบออกจากร่าง ทันใดนั้น อกที่เคยผึ่งผาย-หลังเหยียดตรงกลับคู้ค้อม ดวงตาเบิกโพลงสิ้นสง่าราศี เขามองเครื่องแบบนั้นอย่างอาลัยพร้อมกับคิดหาหนทางให้ได้เครื่องแบบกลับคืน ตกค่ำเขาขโมยมันออกมาจากห้องผู้จัดการ สวมใส่กลับบ้านเพื่อร่วมเลี้ยงฉลองงานแต่งงานของบุตรสาว คืนนั้นเขาดื่มจนเมามาย หลับฝันว่าตนเองยังสวมเครื่องแบบทำหน้าที่ประจำหน้าโรงแรมเช่นเดิม ทั้งยังมีเรี่ยวแรงยกสัมภาระหนักๆ ได้ด้วยมือเดียว คนมากมายห้อมล้อมยกย่องชื่นชม ความภาคภูมิใจของเขากลับมาแล้ว... วันรุ่งขึ้น ความจริงที่ว่าเขาถูกส่งไปทำงานในห้องน้ำก็ถูกเปิดเผยไปทั่ว เพื่อนบ้านที่เคยให้ความนับหน้าถือตาเปลี่ยนมาเป็นหัวเราะเยาะนินทา แม้แต่คนในครอบครัวยังหมางเมิน ชายสูงวัยหมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง เขาย้อนไปยังโรงแรม คืนเครื่องแบบนั้นกลับที่เดิม และจบชีวิตในห้องน้ำ The Last Laugh เป็นหนังเงียบปี 1924 จากเยอรมนี ในตระกูลเอ๊กเพรสชั่นนิสม์ และเป็นหนึ่งในหมุดหมายสำคัญทางประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ในส่วนของเทคนิคการถ่ายภาพ ผลงานของ ฟรีดริช วิลเฮล์ม มัวร์เนา(1888-1931) หรือชื่อที่คุ้นเคยกว่าเมื่ออยู่ในเครดิตกำกับภาพยนตร์ว่า เอฟ. ดับเบิลยู. มัวร์เนา ดัดแปลงจากบทละครบรอดเวย์ของ ชาร์ลส์ ดับเบิลยู. ก็อดดาร์ด หากเปรียบเทียบกับงานอื่นของมัวร์เนาอย่าง Nosferatu(1922) หนังแวมไพร์ซึ่งดัดแปลงจาก Dracula ของ บราม สโตเกอร์ หนังทุนสูงเรื่อง Faust(1926) และ Sunrise(1927) ผลงานหลังจากย้ายมาทำงานในฮอลลีวู้ดและกวาด 7 ออสการ์ ถือว่า The Last Laugh ไม่ใคร่จะถูกกล่าวถึงในวงกว้างในระดับเดียวกัน แต่หากมองในแง่ความสำคัญแล้ว The Last Laugh มักจะถูกจับไปวางเคียงกับ Nosferatu เสมอความสำคัญของ The Last Laugh เริ่มจากการที่หนังถูกกำหนดแหวกแนวให้เป็นหนังเงียบที่ปราศจากบทบรรยายแทรกเป็นระยะดังเช่นหนังเงียบเรื่องอื่นๆ ผู้กำกับฯมัวร์เนาจึงต้องนำเสนอหนังทั้งเรื่องด้วยภาพเคลื่อนไหวเพียงอย่างเดียว ไม่มีบทพูด ไม่มีบทบรรยาย โดยให้สัมฤทธิ์ผลต่อการสื่อเรื่องราว-สะท้อนความลึกในจิตใจของตัวละครตามสไตล์เอ๊กเพรสชั่นนิสม์ และเป็นหน้าที่ของ คาร์ล ฟรอยน์ด ผู้กำกับภาพ ที่ต้องคิดค้นเทคนิควิธีการถ่ายภาพแปลกใหม่ ทั้งมุมกล้อง การเคลื่อนกล้อง หรือเลนส์ที่ใช้ เพื่อตอบโจทย์ให้ได้ ผลคือ The Last Laugh กลายเป็นหนังปี 1924 ที่ ล้ำ ในเรื่องเทคนิคการถ่ายภาพ แม้บางเทคนิคจะไม่ได้มีขึ้นเป็นเรื่องแรก แต่ถือว่าหนังได้รวบรวมเทคนิควิธีการเคลื่อนกล้องหลากหลายไว้ด้วยกัน มีช็อตตื่นตะลึง เช่น ช็อตเปิดเรื่องที่เป็นการเคลื่อนกล้องในแนวดิ่งโดยวางกล้องบนรถเข็นเลื่อนลงมากับลิฟต์ พร้อมกับถ่ายผ่านลูกกรงลิฟต์ไปยังล็อบบี้โรงแรม หรือการซูมภาพและเคลื่อนผ่านประตูกระจก แบบที่เห็นเป็นช็อตเด่นของหนังยิ่งใหญ่ตลอดกาลเรื่อง Citizen Kane(1941) ยังมีการถ่ายภาพที่ให้ภาพคล้ายใช้มือถือกล้องหรือ แฮนด์-เฮลด์ ในฉากความฝันสุดแฟนตาซี(ฟรอยน์ดวางกล้องบนหน้าอก และบรรทุกแบตเตอรี่ไว้บนหลัง) การซูมเข้าจากระยะไกลเพื่อนำทิศทางเสียง ในฉากที่เพื่อนบ้านตะโกนข้ามตึกบอกเรื่องฉาวของชายในเครื่องแบบ หรือการวางกล้องเป็นแกนกลางหมุนตามตัวละครที่หมุนเป็นวงกลม ซึ่งล้วนแต่เป็นช็อตคุ้นเคยของผู้ชมในยุคปัจจุบัน แต่จัดว่าแปลกใหม่ในยุคทศวรรษ 20 งานนี้ทำให้ผู้กำกับภาพ คาร์ล ฟรอยน์ด ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้สร้างนวัตกรรมด้านการถ่ายภาพ เขาฝากผลงานในเยอรมนีอีก 7-8 เรื่อง รวมทั้งงานคลาสสิค Metropolis(1927) ของ ฟริตซ์ ลัง ก่อนจะข้ามมาแสดงฝีมือในหนังดังอีกนับไม่ถ้วนในฮอลลีวู้ด นอกจากการถ่ายภาพน่าตื่นตะลึงแล้ว หนังยังใช้เทคนิคพิเศษอื่นๆ เพื่อสื่อถึงสภาพจิตใจของตัวละคร เช่น ฉากที่ชายในเครื่องแบบมองเห็นโรงแรมล้มลงมาทับ อันที่จริง ชื่อดั้งเดิมของหนังเรื่องนี้ในภาษาเยอรมันคือ Der Letzte Mann แปลว่า The Last Man หมายถึงพนักงานเปิดประตูซึ่งเป็นตัวละครเอกของเรื่องที่ถูกปลดออกจากตำแหน่ง เป็นชื่อที่ตรงกับอารมณ์และเรื่องราวเริ่มต้นที่มัวร์เนา และคาร์ล มาเยอร์ ผู้เขียนบทต้องการ โดยเรื่องราวในหนังจะเป็นไปและจบลงตามที่เล่าไว้ข้างต้น แต่ว่ากันว่ามาเยอร์ถูกบีบจากผู้สร้างให้เปลี่ยนตอนจบเป็นแบบแฮปปี้เอนดิ้งเพื่อให้เข้าถึงผู้ชมได้ง่ายขึ้น หากดูชื่อโปรดิวเซอร์ของหนังเรื่องนี้คงไม่น่าแปลกใจนัก เพราะเขาคือ เอริค พอมเมอร์ โปรดิวเซอร์ที่เคยสร้างวีรกรรมบอกให้ โรแบร์ต วีเนอ เปลี่ยนตอนจบของ The Cabinet of Dr.Caligari(1920) ซึ่งคาร์ล มาเยอร์ เป็นหนึ่งในผู้เขียนบท มาแล้ว ตอนจบใหม่ที่เพิ่มเข้ามาเกิดขึ้นหลังจากที่ชายในเครื่องแบบนั่งหมดอาลัยตายอยากในห้องน้ำ หนังใส่คำบรรยายครั้งแรกและครั้งเดียวว่า เรื่องราวควรจะจบลงตรงนี้ ในชีวิตจริง, สิ่งที่ชายสูงวัยผู้โดดเดี่ยวตั้งตาคอยมีเพียงความตาย แต่ผู้สร้างบังเกิดความสงสาร จึงเปิดทางให้บทจบที่ไม่น่าจะเป็นไปได้อุบัติขึ้น เรื่องราวต่อมา...ชายผู้สิ้นหวังได้รับมรดกจากมหาเศรษฐีชาวอเมริกันที่เขียนพินัยกรรมว่าจะมอบทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่ผู้ที่อยู่กับเขาตอนสิ้นลม และอดีตชายในเครื่องแบบเป็นผู้โชคดีรายนั้น เขาเปลี่ยนสถานะตนเองจากพนักงานต่ำต้อยเป็นแขกผู้มีเกียรติของโรงแรม กินอาหารหรูเลิศ มีบริกรรุมล้อม ก่อนจะจากไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะบทจบดังกล่าวสอดคล้องกับกระแสฮอลลีวู้ดในเวลานั้นที่เต็มไปด้วยหนังสนุกสนานจบแบบแฮปปี้เอนดิ้ง มีผู้ตีความบทบรรยายครั้งแรกและครั้งเดียวที่มัวร์เนาและมาเยอร์ใส่เข้ามาว่าเป็นการล้อเลียนตนเอง และประชดฮอลลีวู้ดไปพร้อมกัน กระทั่งเป็นที่มาของชื่อ The Last Laugh เมื่อเข้าฉายในสหรัฐ และแพร่หลายมาจนปัจจุบัน สำหรับแก่นสารของหนังที่ถือว่าไร้กาลเวลาและเข้าได้กับทุกสังคมคือ การให้ความสำคัญกับระบบชนชั้น โดยมี เครื่องแบบ เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์เปลือกนอก ความภาคภูมิใจของผู้สวมใส่ ทั้งมีสง่าราศี และได้รับความเคารพนบนอบจากคนทั่วไปนั้น เกิดขึ้นเพียงเพราะมีเครื่องแบบติดตัว ขณะเดียวกัน เครื่องแบบก็ยังไม่ใช่ที่สุดของความยิ่งใหญ่ เพราะคนในเครื่องแบบยังต้องค้อมศีรษะให้แก่คนมีเงิน หากมองจากสังคมเยอรมนีในช่วงเวลานั้นจะพบว่า คนในเครื่องแบบ โดยเฉพาะทหาร มีบทบาทสำคัญทางการเมืองอย่างมาก มีความพยายามล้มล้างรัฐบาลในปี 1920 เพราะไม่พอใจที่ถูกสั่งให้ลดกำลังทหารลง แต่ความพยายามดังกล่าวถูกปราบปรามสิ้น ขณะเดียวกัน มีผู้ตีความไปอีกว่า เครื่องแบบ ในหนังมีนัยเกี่ยวกับการถือกำเนิดของพรรคนาซี อย่างไรก็ตาม มุมมองหลังนี้ผู้เขียนว่าไม่น่าจะถูกต้องนัก เพราะต้องไม่ลืมว่าช่วงต้นทศวรรษ 1920 ฮิตเลอร์แม้จะเริ่มเป็นที่รู้จัก มีการเคลื่อนไหวที่น่าจับตามองแต่ก็ยังเป็นแค่เด็กหนุ่มหัวรุนแรงที่ก่อการปฏิวัติและโดนจับขังคุก
Create Date : 01 ธันวาคม 2549
Last Update : 25 สิงหาคม 2550 18:45:07 น.
4 comments
Counter : 1882 Pageviews.
โดย: ฟาง IP: 124.121.66.236 วันที่: 15 ธันวาคม 2549 เวลา:21:48:42 น.
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [? ]
บทวิจารณ์ภาพยนตร์รางวัลกองทุน ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ปี 2549 ..............................select movie / blog ....... --international-- ....... The Walking Dead I Wish I Knew 127 Hours The Expendables vs. Salt No puedo vivir sin ti Bright Star The World is Big and Salvation Lurks Around the Corner Sin Nombre Invictus Afghan Star Moon Gigante The Promotion An Education Up in the Air Snow (Snijeg) Liverpool Tahaan Lion's Den Tulpan Everlasting Moments Absurdistan Topsy-Turvy Ramchand Pakistani The Pope's Toilet Antonio's Secret พลเมืองจูหลิง Flashbacks of a Fool And When Did You Last See Your Father? The Boy in the Striped Pyjamas Gran Torino Departures Gomorra Abouna + Daratt Grace Is Gone The Road to San Diego Into the Wild Slumdog Millionaire The Silly Age The Year My Parents Went on Vacation It's Hard to Be Nice Ben X Caramel The Class Kings จาก Kolya ถึง Empties The Unknown Woman Dokuz Heima Cocalero The Blood of My Brother & Iraq in Fragments 12:08 East of Bucharest Rescue Dawn Mongol 6 : 30 Something Like Happiness To Each His Cinema The Counterfeiters ข้างหลังภาพ Lions for Lambs + Michael Clayton Father and Daughter Possible Lives กอด The Buried Forest รัก-ออกแบบไม่ได้ Lights in the Dusk The Piano Teacher Do You Remember Dolly Bell? Sisters in Law Al Otro Lado A Time for Drunken Horses Zelary Bug The Invasion The Science of Sleep Paris, I love you Still Life The Lives of Others Heading South Renaissance ABC Africa The Death of Mr. Lazarescu Maria Full of Grace The Last Communist Eli, Eli, lema sabachthani? 4 : 30 Late August, Early September The Circle The Cave of the Yellow Dog Italian for Beginners Love/Juice Your Name is Justine The Syrian Bride Dragon Head Reconstruction Eros The Scarlet Letter The Night of Truth Familia Rodante Bonjour Monsieur Shlomi Lantana Flanders Tokyo . Sora The World Whisky Buffalo Boy S21 : The Khmer Rouge Killing Machine Fire, Earth, Water C.R.A.Z.Y. All about My Mother Jasmine Women Battle in Heaven The Day I Became a Woman Man on the Train CSI : Grave Danger Innocence Life Is a Miracle Drugstore Girl Der Untergang The Bow Happily Ever After The Wayward Cloud The House of Sand Or, My Treasure Janji Joni Moolaade Vodka Lemon Angel on the Right Twentynine Palms The Taste of Tea ....... --independent-- ....... Goodbye Solo The Hurt Locker (500) Days of Summer Towelhead Kabluey Three Burials of Melquiades Estrada Titus Chuck & Buck The Woodsman Pollock Last Days The Limey Inside Deep Throat Coffee and Cigarettes Garden State My Name is Joe Sexy Beast Real Women Have Curves The Brown Bunny Before Sunset Elephant Bubble You Can Count on Me 9 Songs ....... --classic-- ....... Memories of Underdevelopment (1968) The Last Laugh The Snows of Kilimanjaro The Cabinet of Dr.Caligari Nanook of the North The Apu Trilogy ....... --หนังมีไว้ให้คิด-- ....... The Schoolgirl's Diary Long Road to Heaven The Imam and the Pastor Maquilapolis ....... --what a film!-- ....... Kabuliwala (1956) Macunaima (1969) Kozijat rog (1972) The Girl and the Echo (1964) Fruits of Passion (1981) Happy Gypsies (1967) ....... --introducing-- ....... Death Race 2000 (1975) ซอมบี้ปากีฯ+ผีดิบมาเลย์+ซูเปอร์แมนตุรกี Zinda Muoi Father and Daughter ....... --directed by-- ....... Ouran (1968) Pierwsza milosc (1974) Salome (1978) 4 หนังสั้น เคียรอสตามี recommended ....... - 'รงค์ วงษ์สวรรค์ กับภาพยนตร์ - เทมาเส็ก พิคเจอร์ส - Heading South - Still Life - The Apu Trilogy - The Day I Became a Woman - จาก Fire, Earth สู่ Water พญาอินทรี ศราทร @ wordpress
1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
31
เครื่องแบบ ... แบบนี้ ยังคงมีอีกหลายสังคมที่ยกเอามันมาตัดสินค่าความเป็น คน / ตัดสินความคิดและตัดสินอะไรอีกหลายอย่าง