หนัง‘ประชามติ’



หนัง‘ประชามติ’

พล พะยาบ
คอลัมน์อาทิตย์เธียเตอร์ มติชนรายวัน 19 สิงหาคม 2550


สัปดาห์นี้ขอเกาะกระแส “ประชามติ” ด้วยการหยิบหนังที่มีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับ “การลงประชามติ” มาเล่าสู่กันฟัง



*No (1998)

สัญชาติ : ควิเบค, แคนาดา
วาระประชามติ : ควิเบคแยกตัวออกจากแคนาดา?
วันลงมติ : 20 พฤษภาคม 1980
ผลประชามติ : ไม่แยกตัว

ผลงานกำกับฯของ โรแบร์ เลอพาจ ผู้กำกับฯท้องถิ่นชาวควิเบค เจ้าของผลงานเรื่อง Le Confessional (1995) ที่เคยเข้าฉายในบ้านเรา ชื่อหนังหมายถึงผลประชามติของชาวควิเบคเมื่อปี 1980 ซึ่งปฏิเสธการแยกตัวเป็นอิสระจากแคนาดา

หนังย้อนไปในปี 1970 ปีที่เกิดเหตุลอบวางและปาระเบิดมากมายในมอนทรีออล กระทั่งเรียกขานกันว่า “ตุลาวิกฤต” (October Crisis) โดยกลุ่มก่อการร้ายปีกซ้าย “แนวร่วมปลดปล่อยควิเบค” หรือ “เอฟแอลคิว” นายกรัฐมนตรีปิแอร์ ทรูโด ประกาศกฎอัยการศึกและใช้กำลังทหารปราบปราม รวมทั้งกวาดจับผู้คนหลายร้อยคนโดยไม่ต้องมีหมาย หนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้คือ โซฟี นักแสดงสาวที่กำลังทำงานในงานเอ็กซ์โป 70 ในญี่ปุ่น เพราะ มิเชล แฟนของเธอเป็นสมาชิกเอฟแอลคิวและมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิด

แม้เหตุการณ์อันเป็นฉากหลังจะเคร่งเครียดแต่หนังนำเสนอด้วยแง่มุมขบขันหรรษา จนถูกคนกลุ่มหนึ่งวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำตลกกับเอกราชของควิเบค อย่างไรก็ตาม หนังยังได้รับเสียงตอบรับในแง่ดีด้วยการเข้าชิงหลายรางวัล รวมทั้งคว้ารางวัลภาพยนตร์แคนาดายอดเยี่ยมในเทศกาลภาพยนตร์โตรอนโต

หลังจากการลงประชามติครั้งนี้แล้ว ควิเบคมีการลงประชามติในประเด็นเดียวกันอีกครั้งเมื่อปี 1995 ด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายต้องการแยกตัวที่สูสีขึ้นกว่าเดิม มีหนังสารคดีเรื่อง Referendum : Take Two / Prise 2 (1996) นำเสนอเบื้องหน้า-เบื้องหลังการลงประชามติครั้งนี้ และหนังสารคดีเรื่อง Breaking Point (2005) ซึ่งสร้างขึ้นเนื่องในโอกาสครบ 10 ปี



*Femine-33 (1991)

สัญชาติ : ยูเครน
วาระประชามติ : ยูเครนเป็นอิสระจากอดีตสหภาพโซเวียต?
วันลงมติ : 1 ธันวาคม 1991
ผลประชามติ : ประกาศเอกราช

อันที่จริง เนื้อหาของ Femine-33 หรือในชื่อดั้งเดิมว่า Holod 33 ไม่เกี่ยวกับการลงประชามติ แต่เหตุที่เชื่อมโยงไปถึงเนื่องจาก โอเลส ยานชุค ผู้กำกับฯชาวยูเครนนำผลงานเรื่องแรกนี้ออกเปิดตัวทางโทรทัศน์คืนวันที่ 30 พฤศจิกายน 1991 หรือไม่กี่ชั่วโมงก่อนการลงประชามติรับรองกฎหมายประกาศเอกราชวันที่ 1 ธันวาคม โดยยานชุคให้เหตุผลว่าต้องการให้ชาวยูเครนได้เห็นถึงความเลวร้ายของการไร้ซึ่งอิสรภาพ การถูกกดขี่เหยียบย่ำด้วยอุดมการณ์จอมปลอมไร้ความปรานี

หนังดัดแปลงจากนิยายเรื่อง The Yellow Prince ของ วาซิล บาร์กา เล่าถึงความเป็นไปของครอบครัวหนึ่งในช่วงเวลาอดอยากครั้งใหญ่ของชาวยูเครนปี 1932-1933 จากนโยบายปฏิวัติเกษตรกรรมของสตาลิน ซึ่งว่ากันว่ามีชาวยูเครนเสียชีวิตกว่า 6 ล้านคน นับเป็นหนังยูเครนเรื่องแรกๆ ที่ตอบโต้การก่ออาชญากรรมต่อชาวยูเครนของคอมมิวนิสต์โซเวียต



*Answered by Fire (2006)

สัญชาติ : ออสเตรเลีย
วาระประชามติ : ติมอร์ตะวันออกเป็นอิสระจากอินโดนีเซีย?
วันลงมติ : 30 สิงหาคม 1999
ผลประชามติ : ประกาศเอกราช

Answered by Fire เป็นหนังขนาดยาวทางโทรทัศน์ของออสเตรเลียซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง กำกับฯโดย เจสสิก้า ฮอบบ์ เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่สหประชาชาติและกองกำลังนานาชาติที่ถูกส่งไปติมอร์ตะวันออกเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในช่วงการลงประชามติและหลังจากทราบผลซึ่งชาวติมอร์มากกว่า 80 เปอร์เซนต์ สนับสนุนการแยกประเทศ เนื่องจากมีกองกำลังนิยมอินโดนีเซียที่ไม่พอใจพยายามก่อความรุนแรงขัดขวาง

ตัวละครหลักคือ มาร์ค วาลด์แมน(เดวิด เวนแฮม) และโซ เบรนแนน(อิซาเบลล์ เบลอิส) เจ้าหน้าที่สหประชาชาติซึ่งต้องช่วยเหลือชาวติมอร์และรักษาชีวิตตนเองท่ามกลางสถานการณ์บีบคั้น เต็มไปด้วยความรุนแรงและไว้ใจไม่ได้

หนังเข้าชิงหลายรางวัลบนเวทีประกวดของออสเตรเลีย และคว้ามาได้ 4 รางวัล ได้แก่ ผู้กำกับฯยอดเยี่ยมและนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จากสถาบันภาพยนตร์แห่งออสเตรเลีย โดย เจสสิก้า ฮอบบ์ และเดวิด เวนแฮม ตามลำดับ ขณะที่บทภาพยนตร์ก็ซิว 2 รางวัล จากสมาคมผู้เขียนบทภาพยนตร์แห่งออสเตรเลีย



*Vote Yes for Aborigines (2007)

สัญชาติ : ออสเตรเลีย
วาระประชามติ : มอบสิทธิพลเมืองแก่ชาวอะบอริจินส์?
วันลงมติ : 27 พฤษภาคม 1967
ผลประชามติ : ชาวอะบอริจินส์มีสิทธิพลเมือง

นี่คือหนังที่สร้างเพื่อเฉลิมฉลอง 40 ปี การต่อสู้เรียกร้องและได้มาซึ่งสิทธิของชาวอะบอริจินส์ ชนพื้นเมืองกลุ่มน้อยในออสเตรเลียซึ่งถูกคนผิวขาวไล่รุกและทำลายมากว่า 2 ศตวรรษ ซึ่งผลการลงประชามติในครั้งนั้นมีผู้สนับสนุนถึง 90.77 เปอร์เซนต์

หนังสารคดี Vote Yes for Aborigines เป็นการย้อนกลับไปเล่าถึงการลงประชามติเมื่อปี 1967 ปฏิกิริยาทางสังคมในแง่มุมต่างๆ ที่นำไปสู่การลงประชามติและเหตุการณ์หลังจากนั้น จากปากคำของอดีตนายกรัฐมนตรี นักการเมือง นักประวัติศาสตร์ และนักเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิ รวมไปถึงการตั้งคำถามถึงคุณค่าความหมายของชัยชนะในวันนั้น

ดร.จอห์น เมย์นาร์ด อาจารย์มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล สาขาอะบอริจินส์ศึกษา กล่าวว่า “การลงประชามตินำมาซึ่งความอิ่มเอมใจอย่างไม่น่าเชื่อแก่ชาวอะบอริจินส์ที่ได้มีสิทธิมีเสียงในประเทศนี้ อย่างไรก็ตาม ในจุดที่คุณเคยมองนั้น ผมว่าเราไม่เคยได้ก้าวไปข้างหน้าอีกเลย”

ความหมายของถ้อยคำนี้คือ ชาวอะบอริจินส์ยังคงเป็นกลุ่มคนเบี้ยล่างในสังคมออสเตรเลีย แม้จะได้สิทธิพลเมืองจากการลงประชามติเมื่อ 40 ปีก่อน

แปลอีกครั้งได้ว่า ผลการลงประชามติอาจจะไม่ได้มีมรรคผลอะไรกับสภาพความเป็นจริงที่ยังคงอยู่...และยังดำเนินต่อไป




Create Date : 19 สิงหาคม 2550
Last Update : 1 กันยายน 2550 3:47:33 น. 6 comments
Counter : 729 Pageviews.

 
ติมอร์ได้ออก...จาก Indonesia
Ucraneก็ได้เป็นอิสระจากรัสเซีย(แถมทาแข่งกีฬามหาลัยโลกที่บ้านเราได้เหรียญทองจะมากกว่ารัสเซีย..ซะอีกแฮะ!!!)
แล้วร่างรัฐธรรมนูญของเราล่ะ???
ว่าแต่ว่า..อย่าลืมออกไปใช้สิทธิของตัวนะวันนี้
เราไปมาแล้ว...


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 19 สิงหาคม 2550 เวลา:9:51:49 น.  

 
ดีนะ แต่ไม่ค่อยชอบเท่าไร่อ่ะ


โดย: นินา IP: 222.123.217.83 วันที่: 19 สิงหาคม 2550 เวลา:10:41:53 น.  

 
รับ

ไม่รับ

รับ

ไม่รับ



โดย: เจ้าชายไร้เงา วันที่: 19 สิงหาคม 2550 เวลา:13:52:15 น.  

 
อยากดูทุกเรื่องเลยยยย โดยเฉพาะ Femine-33


โดย: renton ... ทำไมไม่ล็อคอิน ... IP: 58.8.14.124 วันที่: 20 สิงหาคม 2550 เวลา:13:58:37 น.  

 
เจ้าของบล็อก
รับหรือไม่รับคะ


โดย: ทะเลอาบแสงจันทร์ วันที่: 20 สิงหาคม 2550 เวลา:15:42:19 น.  

 
แหม...ประโยคสุดท้ายมันโดน!!!


โดย: G IP: 203.113.76.7 วันที่: 20 สิงหาคม 2550 เวลา:21:54:21 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แค่เพียงรู้สึกสุขใจ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




บทวิจารณ์ภาพยนตร์รางวัลกองทุน
ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ปี 2549

..............................








พญาอินทรี




ศราทร @ wordpress
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2550
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
19 สิงหาคม 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add แค่เพียงรู้สึกสุขใจ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.