The Piano Teacher เสียงเพลงผิดคีย์ของครูเปียโน
The Piano Teacher เสียงเพลงผิดคีย์ของครูเปียโนดูหนังในหนังสือ, Starpics Movie Edition ฉบับที่ 595 พฤศจิกายน 2545 ภาพใบปิดที่มีชาย-หญิงแต่งชุดดำนั่งคุกเข่ากอดจูบแนบชิด ในสถานที่ที่ดูแล้วน่าจะใช่ห้องน้ำ มีตัวหนังสือซึ่งเป็นชื่อหนังแปลง่ายๆ ได้ว่า ครูเปียโน ไม่ต้องสงสัยเลยว่านี่เป็นหนังเกี่ยวกับการสอน นอกหลักสูตร ระหว่างครูกับลูกศิษย์ ซึ่งนอกจากต้องหลบๆ ซ่อนๆ จากสายตาผู้อื่นแล้ว ยังเป็นการปะทะขัดแย้งกันระหว่างจริยธรรมและแรงปรารถนา...อันเป็นพื้นฐานของหนังที่ว่าด้วยเรื่องทำนองนี้ ส่วนสิ่งที่อยู่ระหว่างจริยธรรมและแรงปรารถนานั้น จะเป็นความรัก ความใคร่ ความเหงา หรือความแค้น ก็แล้วแต่หนังแต่ละเรื่องจะกำหนดทิศทางไว้อย่างไร แต่สำหรับ The Piano Teacher (La Pianiste) หนังพูดฝรั่งเศสปี 2001 ของผู้กำกับ ไมเคิล ฮาเนเก้ คงไม่อาจระบุแรงขับเคลื่อนได้แน่ชัด นอกจากอ้างถึง สภาพจิต บิดเบี้ยวผิดปกติของตัวละคร และคงต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิเคราะห์มากกว่าคนดูหนังทั่วไปในการแจกแจงเจาะจงลงไปได้ พ้นจากเรื่องสภาพทางอารมณ์และจิตใจแล้ว The Piano Teacher ยังมีประเด็นเรื่องวัฒนธรรมชนชั้นและการแสดงอำนาจมาเกี่ยวข้อง ทำให้หนังเรื่องนี้ดูซับซ้อนเข้าใจยากมากยิ่งขึ้น The Piano Teacher เล่าเรื่อง เอริก้า (อิซาเบลล์ อูแปรต์) สาวใหญ่ผู้มีอาชีพเป็นครูสอนเปียโนในสถาบันดนตรีชั้นนำของเวียนนา เธออาศัยอยู่กับแม่จอมเจ้ากี้เจ้าการ (แอนนี่ จิราร์โดต์) ที่ชอบบ่นว่าเรื่องความประพฤติของลูกสาว เช่นการกลับบ้านผิดเวลา การใช้เงินสิ้นเปลือง เอริก้าจึงมักทะเลาะกับแม่อย่างรุนแรง แต่ลงท้ายทั้งสองก็ปลอบใจกัน และนอนร่วมเตียงกันทุกคืน เอริก้าเป็นครูผู้เข้มงวด ไม่เคยมีรอยยิ้มปรากฏระหว่างที่เธอสอนเปียโนลูกศิษย์ เธอมักจะดุว่า พร่ำพูดถึงทฤษฎี และการตีความของบทเพลงราวกับเป็นบทพูดที่ตายตัว หลังเลิกงานเอริก้าชอบแวะตามร้านขายหนัง-หนังสือโป๊ สูดดมร่องรอยน้ำกามในห้องลับเฉพาะ แวะโรงหนังไดร์ฟ-อิน แอบดูหญิง-ชายบรรเลงเพลงรักใคร่กันในรถ หรือใช้มีดโกนเฉือนอวัยวะเพศตนเองในห้องน้ำ กระทั่งเอริก้าได้พบทางออกแห่งพฤติกรรมแสนโลดโผนของตนเอง เมื่อได้รู้จัก วอลเตอร์ (เบนัวต์ มาชีเมล) หนุ่มหล่อฐานะดีมีพรสวรรค์ในการเล่นเปียโนซึ่งหลงใหลได้ปลื้มเอริก้าอย่างมาก วอลเตอร์ตามตื๊อเธอ ทดสอบความสามารถด้านเปียโนจนได้เข้าเรียนกับเธอ แม้ว่าตอนแรกเอริก้าจะมีท่าทีไม่สนใจ พยายามกันเด็กหนุ่มออกไปจากชีวิต แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งที่เธอต้องการแสดงความเป็นเจ้าของ เอริก้าก็กลั่นแกล้งทำร้ายได้อย่างเลือดเย็นแม้ลูกศิษย์ของเธอเอง ตามด้วยการเปิดรับวอลเตอร์พร้อมเงื่อนไขสารพัดซึ่งล้วนแล้วแต่แสดงถึงความวิปริตรุนแรงทางกามารมณ์ วอลเตอร์รับไม่ได้กับเงื่อนไขเหล่านั้น เมื่อเขาทำท่าจะไปจากเธอ เอริก้ากลับตามไปขอร้องอ้อนวอน โดยยอมทำทุกอย่างที่วอลเตอร์ต้องการ และกลายเป็นว่าเธอต้องเจอกับความรุนแรงไม่คาดคิด โดยที่เธอไม่ได้เป็นฝ่ายควบคุม ไม่น่าแปลกใจหากผู้ชมทั่วไปจะไม่อาจเข้าใจชัดเจนนักกับการกระทำของตัวละครในหนังเรื่องนี้ที่เต็มไปด้วยความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด หนังเปิดเรื่องด้วยการทะเลาะเบาะแว้งถึงขั้นทำร้ายร่างกายกันระหว่างแม่-ลูก ไม่กี่วินาทีต่อมาทั้งสองร้องไห้เสียใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้น หรือในครึ่งชั่วโมงสุดท้ายที่เอริก้าและวอลเตอร์ผลัดกันแสดงพฤติกรรมราวกับคนเสียสติ กระทั่งทิ้งท้ายความสงสัยที่ไร้คำอธิบายไว้ให้แก่ผู้ชม อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าแรงขับเคลื่อนตัวละครใน The Piano Teacher นั้น เกี่ยวกับสภาพจิตใจที่ผิดปกติ ดังนั้น การจะทำความเข้าใจหนังเรื่องนี้โดยยกเอาเรื่องจิตวิเคราะห์เป็นตัวตั้ง สำหรับผู้เขียนและเชื่อว่าผู้ชมทั่วไปคงไม่ใช่แนวทางที่ดีนัก ขณะที่ตัวหนังเองที่ดัดแปลงจากนิยายของ เอลฟรีเด เยลิเนค นักเขียนชาวออสเตรีย ยังมีบางเรื่องบางประเด็นที่ชวนให้คิดทำความเข้าใจอยู่พอสมควรหนังแสดงให้ทราบจากบทสนทนาระหว่างแม่-ลูกตั้งแต่ต้นเรื่องว่าเอริก้ามาจากครอบครัวที่ไม่ได้ร่ำรวย ถึงขนาดที่ผู้เป็นแม่ต้องคอยควบคุมการใช้จ่ายของลูก สิ่งเดียวที่ทำให้แม่ภาคภูมิใจและทำให้เธอมีโอกาสได้เข้าสังคมชั้นสูง คือความสามารถด้านเปียโนอันยอดเยี่ยมของเอริก้า เป็นความสามารถด้านเพลงคลาสสิกซึ่งจัดว่าเป็นรสนิยมของชนชั้นผู้มีอันจะกิน ส่วนตัวเอริก้าเองก็มีบุคลิกหยิ่งยโสไร้รอยยิ้มประดับบนใบหน้าที่เชิดสูงอยู่ตลอด แม้ในขณะที่เธออยู่ในหมู่ผู้ชายในร้านขายหนังโป๊ เธอยังสามารถเชิดหน้าด้วยความมั่นใจโดยไม่แคร์สายตาใคร ในฉากนี้หนังได้ใส่เสียงเพลงต่อเนื่องจากฉากก่อนหน้าที่เอริก้าบรรเลงเปียโนร่วมกับนักดนตรีอีก 2 คน ต่อเนื่องมาระหว่างที่เธอเดินทางจนถึงร้านดังกล่าว ราวกับว่าเธอได้พกพาเอาความสูงส่งของดนตรีคลาสสิกไว้กับตัวตลอดเวลา เอริก้าไม่ใช่คุณครูผู้ใจดี ตรงกันข้าม เธอมักจะพูดจาประชดแดกดันเมื่อลูกศิษย์เล่นไม่ได้ดังใจ เช่นครั้งหนึ่งเธอประชดลูกศิษย์ที่เล่นเปียโนไม่ลึกซึ้งถึงตัวเพลงว่า เล่นโน้ตผิดพลาดในเพลงของเบโธเฟน ยังฟังเพราะกว่าการตีความไม่ได้เรื่อง ไม่ใช่ด้วยฐานะครูที่ สูงกว่า เท่านั้น แต่เอริก้าได้ปฏิบัติตัวให้ เหนือกว่า อย่างจงใจ เหมือนกับการวางอำนาจ และแน่นอนว่าไม่มีลูกศิษย์คนไหนกล้าโต้แย้งหรือแสดงความไม่พอใจ นอกจากก้มหน้าก้มตาเล่นเปียโนต่อไป ดังนั้น ฉากเปิดตัวของวอลเตอร์ที่ถูกเอริก้าปิดประตูลิฟต์ใส่ แต่เขากลับไม่สะทกสะท้าน วิ่งขึ้นบันไดได้ทันถึงที่หมายพร้อมกับเธอที่ใช้ลิฟต์ จึงเปรียบเหมือนการเทียบชั้นท้าทายอำนาจของเอริก้า จนสร้างความไม่พอใจให้เธอ และตั้งป้อมตอบโต้วอลเตอร์ด้วยการแสดงความเหนือกว่าข่มเขาหลายต่อหลายครั้ง หลังจากไม่แยแสและต่อต้านวอลเตอร์ในช่วงแรก ทันทีที่เอริก้าเห็นว่าวอลเตอร์ไปใกล้ชิดกับลูกศิษย์สาวคนหนึ่งของเธอ เอริก้าจึงเปลี่ยนวิธีการเพื่อให้ตนเองยังเป็นฝ่ายที่อยู่เหนือกว่าวอลเตอร์ต่อไปด้วยการเปิด เกมรัก ซึ่งเธอเป็นผู้กระทำฝ่ายเดียว โดยยื่นคำขาดห้ามวอลเตอร์ร่วมเล่นได้ตามใจ มิฉะนั้นเธอจะยุติเรื่องทั้งหมด เอริก้าร่างกฎอันวิปริตรุนแรงให้วอลเตอร์กระทำตาม แม้กฎดังกล่าวจะเป็นไปในรูปแบบมาโซคิสม์ คือให้เธอเป็นผู้ถูกกระทำ แต่นั่นก็เพียงเปลือกนอกเท่านั้น เพราะเอริก้ายังถือเป็นผู้กำหนดความเป็นไปด้วยกฎของเธออยู่นั่นเอง มาถึงจุดนี้ เอริก้ากำลังจะกลายเป็นผู้อยู่เหนือกว่าโดยเบ็ดเสร็จ ถ้าวอลเตอร์ไม่เกิดขยะแขยงในความวิปริตของเอริก้าและผละหนีไป พร้อมกับตุ้มแห่งอำนาจที่ถูกเหวี่ยงไปอยู่กับวอลเตอร์ทันที การตามไปอ้อนวอนขอร้องวอลเตอร์ทั้งที่เขาไม่ไยดี ลงท้ายด้วยภาพเอริก้าเปิดประตูเดินโซซัดโซเซออกไปบนลานน้ำแข็งกว้าง ทำให้มาดสตรีผู้เย่อหยิ่งของเธอต้องสูญสลายลงโดยสิ้นเชิง ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อวอลเตอร์มาหาเอริก้าที่บ้านและลงมือกระทำการรุนแรงบางอย่างทั้งที่เอริก้าไม่ได้รับความสุขจากการกระทำนี้เหมือนที่เธอเคยต้องการ เท่ากับว่าวอลเตอร์ได้แสดงบทบาทเป็นผู้กุมอำนาจเหนือกว่า และกำหนดความรุนแรงใน เกมรัก เสียเอง ผู้หญิงที่ต้องใช้ปัจจัยภายนอกฉาบหน้าเพื่อแสดงอำนาจอย่างเอริก้า อำนาจนั้นจึงไม่ใช่อำนาจที่คงทนถาวรและมีกำลังมากพอ และเมื่อใช้อำนาจในทางที่รุนแรงเพื่อความพอใจส่วนตัวก็จะถูกมองเป็นความผิดเพี้ยนไม่ปกติ ขณะที่วอลเตอร์คือผู้ชายที่พร้อมจะแสดงอำนาจได้ทุกเมื่อแม้ในด้านที่รุนแรง โดยไม่คิดว่าเป็นเรื่องผิดแปลกแต่อย่างใด ฉากเล็กๆ ฉากหนึ่งที่วอลเตอร์และเพื่อนๆ กรูกันลงไปบนลานน้ำแข็งเพื่อเล่นกีฬาแห่งความรุนแรงอย่างฮ็อคกี้ ทั้งที่มีกลุ่มผู้หญิงกำลังฝึกซ้อมสเก็ต วอลเตอร์เพียงแค่ใช้รอยยิ้มก็ทำให้สาวๆ ยอมเลิกเล่น แสดงถึงประเด็น อำนาจและความรุนแรงเป็นสิทธิของผู้ชาย ได้อย่างดีฉากสุดท้ายที่เอริก้ามองวอลเตอร์เดินลับหายไปในห้องแสดงดนตรีด้วยแววตาเจ็บแค้นพร้อมกับทำร้ายตนเองไปด้วย จึงเป็นผลลัพธ์ที่น่าเจ็บปวดยิ่งนักสำหรับผู้หญิงเช่นเธอ หนังทิ้งท้ายเป็นภาพเอริก้าเปิดประตูเดินออกไปจากสถานที่นั้นทั้งที่เธอมีกำหนดการแสดงดนตรี ราวกับว่าเอริก้าหันหลังให้กับสิ่งที่เธอใช้เสริมตัวตนทั้งฐานะและอำนาจให้สูงส่งเกินกว่าความเป็นจริงมาตลอดชีวิต สังเกตว่ามีสองเหตุการณ์การกระทำที่คล้ายกันของเอริก้าที่กล่าวถึงไว้แล้วและควรหยิบมาพูดถึงอีกครั้ง นั่นคือการที่เธอเปิดประตูเดินออกจากสถานที่หนึ่ง ครั้งแรกคือเมื่อไปอ้อนวอนวอลเตอร์ และเปิดประตูเดินโซซัดโซเซออกไปบนลานน้ำแข็ง กับฉากจบเป็นการเปิดประตูเดินออกจากโรงละคร และเมื่อนึกทบทวนดูจะเห็นว่าตัวละครสำคัญทั้งสองคือเอริก้าและวอลเตอร์ต่างมีการเปิดประตู เข้า-ออก ให้เห็นตลอดทั้งเรื่อง เริ่มตั้งแต่ฉากแรกเอริก้าเปิดประตู เข้า บ้าน (ขณะที่ฉากสุดท้ายเธอเปิดประตู ออก) เปิดประตูเข้าห้องลับฉายหนังโป๊ เปิดประตูสถาบันดนตรีที่เธอสอนเพื่อแอบมองวอลเตอร์ ก่อนจะกลับเข้าไปข้างใน เห็นได้ว่า ประตู เป็นสิ่งกั้นระหว่างพื้นที่แห่งตัวตน (บ้าน, สถาบันดนตรี, ห้องลับ, โรงละคร) กับสังคมภายนอก เป็นพื้นที่แห่งตัวตนที่เอริก้าสามารถเปิดเผยและปลดเปลื้องความต้องการเบื้องลึก (การยกฐานะ, ความต้องการทางเพศ, อำนาจ) ได้เต็มที่ ซึ่งเธอพร้อมจะป้องกันไม่ให้คนนอกได้เข้ามารบกวนหากเธอไม่ต้องการ ส่วนการเปิดประตูของวอลเตอร์นั้นต่างออกไป แม้ว่าครั้งแรกการพยายามเปิดประตูลิฟต์ที่มีเอริก้าอยู่ข้างในจะไม่สำเร็จ แต่หลังจากนั้น วอลเตอร์ได้ บุกรุก พื้นที่ส่วนตัวของเอริก้าตลอดเวลา ทั้งการเปิดประตูห้องสอนเปียโนของเอริก้าโดยไม่ได้รับอนุญาต เปิดประตูห้องน้ำที่เอริก้าเก็บตัวอยู่ เปิดประตูเข้าอพาร์ตเมนต์และห้องพักเอริก้า รวมไปถึงครั้งสุดท้ายที่เขาบุกไปตอนกลางคืน บังคับให้เอริก้าเปิดประตูห้องก่อนจะทำร้ายเธอ ซึ่งวอลเตอร์ไม่เคยรู้สึกผิดต่อการกระทำเหล่านี้เลย ยิ่งกว่านั้น เอริก้ายังต้องเป็นฝ่ายผละไปเสียด้วยซ้ำ ดังเช่นเมื่อเธอบุกไปหาวอลเตอร์ที่สนามฮ็อคกี้ และอีกครั้งในฉากสุดท้าย การแสดงพื้นที่ส่วนตัวและการเข้า-ออกพื้นที่ดังกล่าวของแต่ละตัวละคร จึงเป็นส่วนหนึ่งของหนังในการกล่าวถึงประเด็นเรื่องสิทธิการแสดงออกและอำนาจของชาย-หญิงซึ่งแตกต่างกันอย่างชัดเจน ทั้งหมดนี้ทำให้ The Piano Teacher จัดเป็นหนังในแนว เฟมินิสม์ หรือการสะท้อนความเหลื่อมล้ำด้านสิทธิความเป็นผู้หญิงที่เข้มข้นเรื่องหนึ่ง ด้วยการหยิบยกเรื่องราวมาเปรียบเทียบกล่าวถึงในแง่มุมที่ต่างไปจากหนังแนวนี้เรื่องอื่นๆ อีกทั้งได้การแสดงอันยอดเยี่ยมของนักแสดงนำทุกคน โดยเฉพาะอูแปรต์ในบทเอริก้าที่ทำให้เธอคว้ารางวัลที่เมืองคานส์กระนั้น ด้วยพฤติกรรมของตัวละครอันชวนให้สับสนสงสัย ไปจนถึงกระอักกระอ่วนชวนหดหู่ ทำให้ The Piano Teacher ห่างไกลจากความเป็นหนังสำหรับชมเพื่อความบันเทิงเริงใจ แต่เป็นเหมือนอาหารรสเฝื่อนเคี้ยวยากที่กินอิ่มท้องแบบทรมาน
Create Date : 17 กุมภาพันธ์ 2551
21 comments
Last Update : 17 กุมภาพันธ์ 2551 2:06:11 น.
Counter : 12043 Pageviews.
โดย: ปุถุซน 18 กุมภาพันธ์ 2551 9:39:48 น.
โดย: haro_haro 18 กุมภาพันธ์ 2551 13:19:44 น.
โดย: beerled IP: 203.154.187.189 18 กุมภาพันธ์ 2551 16:17:13 น.
โดย: ม่วนน้อย 19 กุมภาพันธ์ 2551 10:17:20 น.
โดย: ม่วนน้อย 19 กุมภาพันธ์ 2551 10:21:44 น.
โดย: wayakon IP: 58.9.235.183 21 กุมภาพันธ์ 2551 18:25:54 น.
โดย: nanoguy IP: 125.24.84.164 22 กุมภาพันธ์ 2551 3:19:45 น.
โดย: nanoguy IP: 125.26.133.74 23 กุมภาพันธ์ 2551 15:40:37 น.
โดย: ม่ามา IP: 222.123.14.42 7 มีนาคม 2551 14:51:47 น.
โดย: Duddy IP: 110.77.229.174 26 กรกฎาคม 2555 17:11:36 น.
โดย: Aticha IP: 118.172.88.84 17 กรกฎาคม 2564 18:07:23 น.
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [? ]
บทวิจารณ์ภาพยนตร์รางวัลกองทุน ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ปี 2549 ..............................select movie / blog ....... --international-- ....... The Walking Dead I Wish I Knew 127 Hours The Expendables vs. Salt No puedo vivir sin ti Bright Star The World is Big and Salvation Lurks Around the Corner Sin Nombre Invictus Afghan Star Moon Gigante The Promotion An Education Up in the Air Snow (Snijeg) Liverpool Tahaan Lion's Den Tulpan Everlasting Moments Absurdistan Topsy-Turvy Ramchand Pakistani The Pope's Toilet Antonio's Secret พลเมืองจูหลิง Flashbacks of a Fool And When Did You Last See Your Father? The Boy in the Striped Pyjamas Gran Torino Departures Gomorra Abouna + Daratt Grace Is Gone The Road to San Diego Into the Wild Slumdog Millionaire The Silly Age The Year My Parents Went on Vacation It's Hard to Be Nice Ben X Caramel The Class Kings จาก Kolya ถึง Empties The Unknown Woman Dokuz Heima Cocalero The Blood of My Brother & Iraq in Fragments 12:08 East of Bucharest Rescue Dawn Mongol 6 : 30 Something Like Happiness To Each His Cinema The Counterfeiters ข้างหลังภาพ Lions for Lambs + Michael Clayton Father and Daughter Possible Lives กอด The Buried Forest รัก-ออกแบบไม่ได้ Lights in the Dusk The Piano Teacher Do You Remember Dolly Bell? Sisters in Law Al Otro Lado A Time for Drunken Horses Zelary Bug The Invasion The Science of Sleep Paris, I love you Still Life The Lives of Others Heading South Renaissance ABC Africa The Death of Mr. Lazarescu Maria Full of Grace The Last Communist Eli, Eli, lema sabachthani? 4 : 30 Late August, Early September The Circle The Cave of the Yellow Dog Italian for Beginners Love/Juice Your Name is Justine The Syrian Bride Dragon Head Reconstruction Eros The Scarlet Letter The Night of Truth Familia Rodante Bonjour Monsieur Shlomi Lantana Flanders Tokyo . Sora The World Whisky Buffalo Boy S21 : The Khmer Rouge Killing Machine Fire, Earth, Water C.R.A.Z.Y. All about My Mother Jasmine Women Battle in Heaven The Day I Became a Woman Man on the Train CSI : Grave Danger Innocence Life Is a Miracle Drugstore Girl Der Untergang The Bow Happily Ever After The Wayward Cloud The House of Sand Or, My Treasure Janji Joni Moolaade Vodka Lemon Angel on the Right Twentynine Palms The Taste of Tea ....... --independent-- ....... Goodbye Solo The Hurt Locker (500) Days of Summer Towelhead Kabluey Three Burials of Melquiades Estrada Titus Chuck & Buck The Woodsman Pollock Last Days The Limey Inside Deep Throat Coffee and Cigarettes Garden State My Name is Joe Sexy Beast Real Women Have Curves The Brown Bunny Before Sunset Elephant Bubble You Can Count on Me 9 Songs ....... --classic-- ....... Memories of Underdevelopment (1968) The Last Laugh The Snows of Kilimanjaro The Cabinet of Dr.Caligari Nanook of the North The Apu Trilogy ....... --หนังมีไว้ให้คิด-- ....... The Schoolgirl's Diary Long Road to Heaven The Imam and the Pastor Maquilapolis ....... --what a film!-- ....... Kabuliwala (1956) Macunaima (1969) Kozijat rog (1972) The Girl and the Echo (1964) Fruits of Passion (1981) Happy Gypsies (1967) ....... --introducing-- ....... Death Race 2000 (1975) ซอมบี้ปากีฯ+ผีดิบมาเลย์+ซูเปอร์แมนตุรกี Zinda Muoi Father and Daughter ....... --directed by-- ....... Ouran (1968) Pierwsza milosc (1974) Salome (1978) 4 หนังสั้น เคียรอสตามี recommended ....... - 'รงค์ วงษ์สวรรค์ กับภาพยนตร์ - เทมาเส็ก พิคเจอร์ส - Heading South - Still Life - The Apu Trilogy - The Day I Became a Woman - จาก Fire, Earth สู่ Water พญาอินทรี ศราทร @ wordpress
1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29