" การเป็นผู้ให้ ย่อมสุขใจ กว่าการเป็นผู้รับ "
Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
29 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
ชวนร่วมบริจาคโลหิต ช่วยผู้ป่วยเด็กโรคเลือด

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ชวนร่วมบริจาคโลหิตในโครงการ
"ปันโลหิตให้น้อง" ระหว่างวันที่ 1-31 ตุลาคม 2553
สำรองโลหิตช่วยผู้ป่วยเด็กโรคเลือดให้ได้รับการรักษา
อย่างสม่ำเสมอ และบรรเทาภาวะขาดแคลนโลหิต
ช่วงปิดเทอม พร้อมรับของที่ระลึก พวงกุญแจกรุ๊ปโลหิต


แพทย์หญิงสร้อยสอางค์ พิกุลสด
ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า
ในเดือนตุลาคม 2553 ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ
สภากาชาดไทย ได้จัดโครงการ ปันโลหิตให้น้อง
เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนร่วมบริจาคโลหิต
เพื่อให้มีปริมาณเพียงพอสำหรับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอตลอดปี
โดยเฉพาะผู้ป่วยด้วยโรคทางโลหิตวิทยาหรือโรคเลือด
อาทิ โรคโลหิตจาง โรคธาลัสซีเมีย เกล็ดโลหิตต่ำ
ฮีโมฟีเลีย ฯลฯ ส่วนใหญ่จะเป็นตั้งแต่แรกเกิด
และบางรายจำเป็นต้องได้รับการรักษา
ด้วยการให้โลหิตเป็นประจำอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต


โดยโลหิตที่ได้จากการรับบริจาคทั้งหมด 23 %
นำไปใช้กับผู้ป่วยโรคเลือด ซึ่งมีประมาณ 60,000 - 100,000 ราย
และมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี
จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีโลหิตสำรองเพียงพออย่างสม่ำเสมอ
ในการรักษาผู้ป่วยโรคเลือด
ที่จะต้องได้รับการรักษาด้วยการให้โลหิตเท่านั้น
ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยในโรงพยาบาลต่าง ๆ


ทั้งนี้ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ
ได้กำหนดเป้าหมายการจัดหาโลหิตบริจาคอย่างน้อย
วันละ 1,500-2,000 ยูนิต
หรือเดือนละ 45,000 ยูนิต
แต่ในช่วงของเดือนตุลาคม ของทุกปี
มักจะเกิดภาวะขาดแคลนโลหิต เนื่องจากสถานศึกษาต่าง ๆ
ซึ่งเป็นหน่วยรับบริจาคโลหิตปิดภาคเรียนไม่มีการรับบริจาคโลหิต
ทำให้ปริมาณโลหิตกว่า 25 % ที่เคยได้รับบริจาคจากนักเรียน
นิสิต นักศึกษา ลดจำนวนลงไป
และยังเป็นช่วงฤดูฝนซึ่งเป็นอุปสรรคในการเดินทางไปบริจาคโลหิต




จากสถิติการรับบริจาคโลหิตในเดือนตุลาคมปี 2552
ได้รับโลหิตบริจาคเพียง 42,491 ยูนิต
ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ทำให้โลหิตสำรองในคลัง
ไม่มีเพียงพอจ่ายให้แก่โรงพยาบาล
และปัจจุบันมีการขอใช้โลหิตจากโรงพยาบาลต่าง ๆ
กว่า 400 แห่ง ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด
สูงถึงวันละ 5,000 ยูนิต ศูนย์บริการโลหิตฯ
จึงได้จัดโครงการและกิจกรรมทุกเดือนตลอดทั้งปี
เพื่อกระตุ้นให้เกิดการบริจาคโลหิตสม่ำเสมอ
ส่งผลให้มีโลหิตสำรองเพียงพออย่างสม่ำเสมอแก่ผู้ป่วย
รวมทั้งผู้ป่วยเด็กโรคเลือดให้มีโลหิตในการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้ชิญชวนบริการโลหิต
ยังหน่วยเคลื่อนที่มีสุขภาพแข็งแรง
เจริญเติบโตเหมือนคนปกติทุกประการ
และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข


จึงขอเชิญร่วมบริจาคโลหิตในโครงการ
ตั้งแต่วันที่ 1-31 ตุลาคม 2553
ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ถนนอังรีดูนังต์

สาขาบริการโลหิตจำนวน 6 แห่ง ได้แก่

- โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า โทร.02-354-7601
เปิดวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.30- 15.00 (พักเที่ยง)
หยุดวันเสาร์ - อาทิตย์ และ วันนักขัตฤกษ์

- โรงพยาบาลตำรวจ โทร.02-252-8111-25
เปิดวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.30 -15.00 (พักเที่ยง)
หยุดวัน เสาร์ ,อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์

- โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า โทร.02-460-0000
เปิดวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.30 -15.30 (พักเที่ยง)
วันอาทิตย์ เวลา 8.30 -15.30 (ไม่พักเที่ยง)
วันนักขัตฤกษ์ เวลา 8.30 -15.30 8.30 -15.00
(หยุดเฉพาะวันสงกรานต์และปีใหม่ค่ะ)

- โรงพยาบาลรามาธิบดี โทร.02-201-1000
นิวจะแจ้งให้ทราบนะคะ ขอบคุณนะคะ : )
เปิดวัน จันทร์- ศุกร์ เวลา 8.30-16.00 (ไม่พักเที่ยง )
เปิดวัน เสาร์ - อาทิตย์ และ นักขตฤกษ์ เวลา 8.30-16.00 (พักเทียง)



- โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช โทร.02-534-7000
เปิดวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.00-15.30 ( พักเที่ยง)
หยุดวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์
(เปิดเฉพาะวันที่ 12 สิงหาคม และ 5 ธันวาคม ค่ะ )

- วชิรพยาบาล โทร. 02-244-3000
เปิดวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.00 -16.00 (ไม่พักเที่ยง)
หยุดวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์

วัน เวลา เปิดทำการ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ถ.อังรีดูนังต์ นะคะ

วันจันทร์,พุธ,ศุกร์ เปิดเวลา 08.00 - 16.30 น.
วันอังคาร,พฤหัสบดี เปิดเวลา 07.30 - 19.30 น.
วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เปิดเวลา 08.30 - 15.30 น


ส่วนภูมิภาค บริจาคโลหิตได้ที่
ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 4 แห่ง ได้แก่
ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ จังหวัดชลบุรี,
อุบลราชธานี ,สงขลา และเชียงใหม่

สอบถามรายละเอียดได้ที่

โทร. 02-256- 4300, 02-263 -9600-99

ต่อ1101,1753,1760



ขอขอบคุณที่มาจาก kapook icare นะคะ




คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต

1. มีน้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป
2. อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 60 ปีบริบูรณ์
( ถ้าเป็นผู้บริจาคครั้งแรกต้องอายุไม่เกิน 55 ปี)
3. มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว
ไม่อยู่ระหว่างไม่สบายหรือรับประทานยาใดๆ
4. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ หรือติดยาเสพติด
5. สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน ตั้งครรภ์หรือ
ให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตร
หรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา



การเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต

- นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อเนื่อง
ในเวลาปกติคืนก่อนวันบริจาค

- รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
-รับประทานอาหารมื้อหลักก่อนมาบริจาคโลหิต
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
เนื่องจากจะทำให้สีของพลาสมาผิดปกติเป็นสีขาวขุ่น
ไม่สามารถนำไปใช้ได้

- ดื่มน้ำ 3-4 แก้ว และเครื่องดื่มเหลวเพิ่ม
เช่น น้ำผลไม้ นม น้ำหวาน เพื่อเพิ่มปริมาณโลหิตในร่างกาย
จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น มึนงง อ่อนเพลีย
หรือวิงเวียนศีรษะภายหลังบริจาคโลหิต
หลีกเลี่ยงชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนบริจาค

- งดสูบบุหรี่ ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง
เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี

ขณะบริจาคโลหิต

- สวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่คับเกินไป
สามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว

- เลือกแขนข้างที่เส้นโลหิตดำใหญ่ชัดเจน
ที่สามารถให้โลหิตไหลลงถุงได้ดี ผิวหนังบริเวณที่จะให้เจาะ
ไม่มีผื่นคัน หรือรอยเขียวช้ำ ถ้าแพ้ยาทาฆ่าเชื้อ
เช่น แอลกอฮอล์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า

- ทำตัวตามสบาย อย่ากลัว หรือวิตกกังวล

- ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะบริจาคโลหิต

- ขณะบริจาคควรบีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อให้โลหิตไหลได้สะดวก หากมีอาการผิดปกติ
เช่น ใจสั่น วิงเวียน มีอาการคล้ายจะเป็นลม อาการชา
อาการเจ็บที่ผิดปกติ ต้องรีบแจ้งให้พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่
ในบริเวณนั้นทราบทันที

- หลังบริจาคโลหิตเสร็จเรียบร้อย ห้ามลุกทันที
ให้นอนพักสักครู่จนกระทั่งรู้สึกสบายดี จึงลุกไปดื่มน้ำ
และรับประทานอาหารว่างที่จัดไว้รับรอง



หลังบริจาคโลหิต

- ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 1-2 วัน

- หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า หรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากๆ
งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ รวมถึงการหิ้วของหนักๆ
เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ภายหลังการบริจาคโลหิต

- ถ้ามีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม
หรือรู้สึกผิดปกติ ให้รีบนั่งก้มศีรษะต่ำระหว่างเข่า
หรือนอนราบยกเท้าสูงจนกระทั่งมีอาการปกติจึงลุกขึ้น
และเดินทางกลับ ป้องกันอุบัติเหตุจากการล้ม

- ถ้ามีโลหิตซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผล
อย่าตกใจ ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อส
กดให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที
หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคโลหิต
เพื่อพบแพทย์หรือพยาบาล

- ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
ควรหยุดพัก 1 วัน

- รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
และยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละอย่างน้อย 1 เม็ด จนหมด
เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก



ขั้นตอนบริจาคโลหิต ที่สภากาชาดไทยนะคะ

ขั้นตอนที่ 1 กรอกแบบฟอร์มผู้บริจาคโลหิต
ควรให้ข้อมูลตรงตามความเป็นจริงของผู้บริจาค
จะทำให้ได้โลหิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัย
ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทั้งต่อตัวผู้บริจาคเอง
และตัวผู้ป่วย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการรับบริจาคโลหิต



ขั้นตอนที่ 2 ตรวจร่างกาย วัดความดันโลหิต และความเข้มโลหิต
*บุคลากรทางการแพทย์ จะสอบถามประวัติผู้บริจาคเพิ่มเติม
เพื่อวินิจฉัยเบื้องต้นว่าท่าน มีสุขภาพพร้อมที่จะบริจาคโลหิตหรือไม่
โปรดอย่าปิดบังข้อมูลเรื่องสุขภาพ หรือเขินอายที่ จะตอบคำถาม


ขั้นตอนที่ 3 ลงทะเบียนรับหมายเลขถุงบรรจุโลหิต ที่เคาน์เตอร์ทะเบียน

ขั้นตอนที่ 4 บริจาคโลหิต ที่ชั้น 2

ขั้นตอนที่ 5 พักรับประทานอาหารว่าง/เครื่องดื่ม

*หลังบริจาคโลหิตจำเป็นต้องดื่มเครื่องดื่มที่เจ้าหน้าที่จัดไว้บริการให้
และนั่งพักสักระยะหนึ่ง เพื่อให้ร่างกายได้ปรับสภาพน้ำในร่างกาย
เมื่อปกติดีแล้วจึงเดินทางกลับ

ขอขอบคณที่มาจาก //www.redcross.or.th/donation/blood_wholeblood.php



Create Date : 29 กันยายน 2553
Last Update : 23 ตุลาคม 2553 7:18:05 น. 0 comments
Counter : 599 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อลิซ ในดินแดนไม่มหัศจรรย์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




การเป็นผู้ให้ ย่อมสุขใจกว่าการเป็นผู้รับ : )
Friends' blogs
[Add อลิซ ในดินแดนไม่มหัศจรรย์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.