" การเป็นผู้ให้ ย่อมสุขใจ กว่าการเป็นผู้รับ "
Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
11 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
เอ็กซเรย์ คือ

เอกซเรย์ คือ แสงชนิดหนึ่งที่เราไม่สามารถมองเห็น ได้ด้วยตาเปล่า
ปัจจุบันเครื่องเอกซเรย์ที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยมีหลายประเภท


เอกซเรย์ มีอะไรบ้าง

รังสีเอกซ์ค้นพบโดยศาสตราจารย์วิลเฮม คอนราด เรินเก๊นท์
เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๘ (ค.ศ. ๑๘๙๕) ที่เมืองเวิสเบิกร์
ประเทศเยอรมนี "รังสีเอกซ์" (X-rays)
เป็นคลื่นพลังงานที่มีความสามารถทะลุทะลวง ผ่านสารต่างๆได้
ในอัตราที่แตกต่างกันตามแต่ชนิดและความหนาของสารนั้นๆ
คลื่นรังสีเอกซ์ได้รับการศึกษา ถึงผลข้างเคียงและอันตราย
จากการใช้รังสี และได้พัฒนามาสู่การคิดค้นวิธีการป้องกัน
ควบคุม และเข้มงวดในการใช้เครื่องมือเหล่านี้
โดยให้มีผลกระทบกับผู้คนน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น แต่ให้ผลดีทาง





การเอกซเรย์นำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์อย่างไรบ้าง

๑. ใช้ในการช่วยวินิจฉัย, วางแผน และติดตามผลการรักษา
๒. ใช้ในการรักษา

เครื่องเอกซเรย์ที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยมีหลายประเภท ดังนี้

๑. เครื่องเอกซเรย์ทั่วๆไป สำหรับถ่ายภาพดูปอด,
ช่องท้อง, กระดูก, ไซนัส, กะโหลก ฯลฯ อย่างคร่าวๆ
โดยฉายรังสีเอกซ์ผ่านตัวผู้ป่วยไปที่ฟิล์ม

๒. อัลตราซาวนด์ใช้ คลื่นเสียงผ่านไปตามส่วนต่างๆ
ของร่างกาย แล้วสัญญาณส่วนหนึ่งจะสะท้อน กลับมาเพื่อนำไปสร้างภาพ
ส่วนมากใช้ตรวจดูการเติบโตและลักษณะของทารกในครรภ์
รวมทั้งการเคลื่อนไหวของทารกด้วย, ดูช่องท้อง,
ช่องเชิงกราน, ตับ, ไต, มดลูก, รังไข่, เต้านม, ต่อมธัยรอยด์,
หัวใจ ฯลฯ
ข้อดีคือ ไม่มีการใช้รังสีเอกซ์เลย ใช้ได้กับเด็กและหญิงตั้งครรภ์

๓. เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ทั้ง
แบบธรรมดาและความเร็วสูง ใช้รังสีเอกซ์ที่เป็นแถบเล็กๆ
ผ่านส่วนต่างๆของร่างกายที่ต้องการตรวจเป็น แว่นๆไป
แล้วให้คอมพิวเตอร์สร้างภาพ ใช้ตรวจได้ทุกส่วนของร่างกาย
โดยเฉพาะสมอง, ปอด, ช่องท้อง, กระดูก,
หัวใจและหลอดเลือดหัวใจ สำหรับเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (Ultrafast CT Scan)
ใช้ตรวจดูหัวใจและหลอดเลือดหัวใจได้ดีมาก



๔. เครื่องสร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือที่เรียกกันย่อๆ
ว่า เอ็ม อาร์ ไอ (MRI) ข้อ ดีคือ ไม่มีการใช้รังสีเอกซ์
ข้อเสียคือ ต้องใช้เวลานอนนิ่งๆ ในเครื่องเป็นเวลานาน
ใช้ได้ดีมากในการตรวจดูสมอง, หลอดเลือดไปเลี้ยงสมอง,
ไขสันหลัง, ดูหมอนรองกระดูก, เนื้องอกกดทับ ไขสันหลังและเส้นประสาท, ดูโรคข้อกระดูกและกล้ามเนื้อ มะเร็งต่อมลูกหมาก มดลูก ฯลฯ

๕. การตรวจทางเอกซเรย์โดยการกลืนสารทึบรังสีทางปาก
หรือสวนทางทวารหนัก เพื่อตรวจดูหลอดอาหาร,
กระเพาะอาหาร, ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ เพื่อตรวจหาแผล,
เนื้องอก, มะเร็ง หรือการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร
การตรวจนี้ผู้ป่วยต้องร่วมมือในการเตรียมทางเดินอาหารให้สะอาดมากๆ
ผลการตรวจจึงจะดีและแม่นยำ เช่น งดอาหารและน้ำ ๑๒ ชั่วโมง
ก่อนมาตรวจ

๖. การตรวจทางเอกซเรย์โดยฉีดสารทึบรังสีทางหลอดเลือดดำ
เพื่อตรวจไต เรียก ไอวีพี (IVP) ใช้สำหรับดูภาวะการทำงานของไต

๗. การตรวจทางเอกซเรย์ ร่วมกับการฉีดสารทึบรังสี
พื่อตรวจหลอดเลือดดำ เรียก วีโนแกรม (Venogram)
หรือหลอดเลือดแดง เรียก แองจิโอแกรม (Angiogram)
ใช้ตรวจดูภาวะหลอดเลือดตีบ, ตัน, โป่งพอง หรือแตก

๘. การตรวจดูถุงน้ำไขสันหลังโดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าไป
ในช่องน้ำไขสันหลัง เรียกว่า ไมอีโลแกรม (Myelogram)
ตรวจ ดูการกดทับ, ก้อนหรือความผิดปกติอื่นๆ
ของไขสันหลังและเส้นประสาทสันหลัง หลังตรวจด้วยไมอีโลแกรม
ต้องนอนราบยกหัวสูง ๑๒-๒๔ ชั่วโมง
เพื่อไม่ให้สารทึบรังสีเข้าไปในร่องสมองมากเกินไป
ซึ่งอาจทำให้ปวดศีรษะมากหรือชักได้
ปัจจุบันทำน้อยลงมาก เพราะสามารถตรวจด้วย
เอ็ม อาร์ ไอ แทนได้ แต่มีราคาแพงกว่า






ควรรู้ก่อนเข้าสู่การตรวจ



๑. ต้องการตรวจดูส่วนไหนของร่างกาย
หรือต้องการตรวจหาพยาธิสภาพอะไร
ที่ทำให้ท่านมีปัญหาทางสุขภาพ
๒. เทคโนโลยีที่สามารถใช้ได้
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการมีอะไรบ้าง ข้อดี-ข้อเสียเป็นอย่างไรบ้าง
๓. การเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนการตรวจมีอะไรบ้าง
๔. รายละเอียดของการตรวจเป็นอย่างไร
๕. ผลแทรกซ้อนมีอะไรบ้าง ในกรณีหญิงตั้งครรภ์มีผลต่อทารกในครรภ์หรือเด็กอย่างไร
๖. ค่าใช้จ่ายในการตรวจเป็นอย่างไรบ้าง



ท่านควรทำความเข้าใจกับขั้นตอนเหล่านี้
ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการตรวจ เพื่อตอบปัญหาให้ตรงประเด็นให้ได้ผลดี
ที่สุด เสียค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
และมีการคิดเตรียมป้องกันผลแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
แต่ต้องไม่ลืมว่าการเอกซเรย์เหล่านี้เป็นการช่วยในการวินิจฉัยโรค หรือความผิดปกติที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม


เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นแค่เครื่องมือช่วย
สิ่งที่สำคัญที่สุดยังคงเป็นมนุษย์ที่ใช้เครื่องมือเหล่านี้ว่าเป็นผู้ชำนาญ
การจริง หัวใจที่สำคัญที่สุดยังคงเป็น ตัวท่านเอง
และแพทย์ที่ดูแลท่าน ที่ซักประวัติการเจ็บป่วยและตรวจร่างกายของท่านอย่างละเอียด และต้องการความช่วยเหลือ
จากเทคโนโลยีเหล่านี้ ข้อสำคัญ "ถ้าท่าน
ตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าตนเองตั้งครรภ์โปรดแจ้งแพทย์และเจ้าหน้าที่ทาง เอกซเรย์ทุกครั้งก่อนรับการตรวจด้วยวิธีการใดๆทางรังสีวินิจฉัย"



ขอขอบคุณที่มาจาก //www.vcharkarn.com/varticle/39478


Create Date : 11 กันยายน 2553
Last Update : 11 กันยายน 2553 21:06:23 น. 0 comments
Counter : 989 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อลิซ ในดินแดนไม่มหัศจรรย์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




การเป็นผู้ให้ ย่อมสุขใจกว่าการเป็นผู้รับ : )
Friends' blogs
[Add อลิซ ในดินแดนไม่มหัศจรรย์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.