Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2548
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
21 กรกฏาคม 2548
 
All Blogs
 
ศึกษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

เมื่อเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม 2548 ได้มีโอกาสไปศึกษาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร จึงได้เก็บภาพมาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาต่อไป

พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ห้องแสดงประวัติศาสตร์ชาติไทย


การแสดงที่มาของชนชาติไทย ในทุกๆทฤษฎีที่มีการศึกษาอยู่ตั้งแต่มณฑลเสฉวน จีน,จากตอนใต้ของไทยมาถึงไทยในปัจจุบัน,อีกมากมาย




ศิลาจารึกหลักที่ 1
จารึกด้วยอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย พ.ศ. 1835
ศิลา สูง 111 เซนติเมตร
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้จากเมืองเก่าสุโขทัย
จัดแสดงที่ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน
ศิลาจารึกหลักที่ 1 หรือเรียกว่า ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง นับเป็นหลักฐานสำคัญยิ่งทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นบันทึกเรื่องราวพระราชประวัติและรพระราชกรณียกิจของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เป็นครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 1826 นอกจากนี้ยังบันทึกถึงภูมิสถานบ้านเมือง การเมือง การปกครอง และวิถีชีวิตความเชื่อความเป็นอยู่ของผู้คนสมัยนั้นอีกด้วย


การแสดงจำลองภาพสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จออกรับพระราชสาส์นจากราชฑูตชาวฝรั่งเศส



ที่ พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญมหาปราสาท ใน พระราชวังนารายณ์นิเวศน์ที่เมืองลพบุรี โดยพระที่นั่งดังกล่าวฯ เป็นตึกที่มีพระ สีหบัญชรสูง ซึ่งมีการวิเคราะห์กันว่าไม่น่าจะใช้พระที่นั่งหลังนี้ในการรับพระราชสาส์น น่าจะเป็นพระที่นั่งองค์อื่นมากกว่า โดยในการถวายพระราชสาส์น ของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ นั้นผ่านการให้ราชฑูตคือ เชอวาเลีย เดอ โชมองต์ มาเข้าเฝ้าฯถวายพระราชสาส์น ได้มีการบรรยาย ไว้ให้เห็นถึง ระยะทางจากท่าน้ำ มาตาม ถนน จนถึง พระราชฐานว่าไกลพอสมควร ซึ่งถ้าหาก กระทำกันที่ พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ เมืองลพบุรีแล้ว เดิน เพียงไม่กี่ก้าวก็เข้ามาในพระราชวังแล้ว ยิ่งกว่านั้นการที่จะมีการต้อนรับด้วย กองเกียรติยศของทหารม้าและช้าง ก็ เป็นสิ่งที่ เป็นไปไม่ได้ในพระราชฐานแคบๆ เช่นพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ ท้องพระโรงที่ ออกรับแขกเมือง ครั้งนี้เป็น พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญมหาปราสาทไม่ได้ เพราะในการบันทึกของบาทหลวงเดอชัวสี ผู้อยู่ในขบวนราชฑูตนั้นระบุชัดว่า สมเด็จ พระนารายณ์ ประทับ อยู่ ณ ช่องพระบัญชร หรืออีกนัยหนึ่งสีหบัญชร ที่สูงจากระดับท้องพระโรงประมาณ ๑ วา ใน ขณะที่ สีหบัญชร ของพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญมหาปราสาทนั้นสูงกว่า ๑ วา มากมายและความสูง ใน ระดับเช่นนี้ เป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน ถ้าหาก สมเด็จพระนารายณ์จะโน้มพระองค์ เพื่อรับพระราชสาสน์ ที่ราชทูต เดอ โชมอง ยื่นถวาย เพราะฉะนั้น ภาพเขียนการถวาย พระราชสาส์นในพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญมหาปราสาท อาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความไม่เข้าใจของชาวต่างชาตินั่นเอง

ภาพจำลองมหาอันเรืองรองกรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา



เครื่องทองจากรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา



ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องทองทั้งหมดที่มีการจัดแสดง เพราะเครื่องทองในส่วนที่เป็นเครื่องราชูปโภคและการจำลององค์พระปรางค์วัดราชบูรณะนั้นจะอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ซึ่งในยุคปัจจุบันก็มีกระแสแห่งการเรียกร้องให้นำโบราณวัตถุเหล่านี้ไปสู่ที่เดิมของเขา แต่อย่างไรก็ตามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครก็เป็นเสมือนศูนย์กลางสำคัญแห่งการเข้ามาเยี่ยมชมสมบัติล้ำค่า ส่วนหนึ่งจึงต้องเก็บไว้ที่นี่ด้วย

การจัดแสดงก่อนถึงยุคแห่งการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา



ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มีการแสดงส่วนต่างๆภายในห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยพยายามที่จะแบ่งเนื้อเรื่องเป็นส่วนต่างๆ โดยให้ผู้ชมเข้าชมแบบเดินตามทาง และในส่วนที่พยายามแยกให้เห็นอย่างชัดเจนในส่วนนี้คือ ส่วนทีเป็นกรุงศรีอยุธยากำลังล่มสลายนั้น เมื่อผู้เข้าชมเดินผ่าน Sensor เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยาก็ดังขึ้นทันที พร้อมกับผู้เข้าชมทั้งได้ยินเสียงเพลงยาวฯแล้วยังจะได้รู้สึกซึมซับบรรรยากาศแห่งการเสียกรุงกับกำแพงที่เป็นรอยผนังแตก อันแสดงให้เห็นว่าใกล้แล้วคราอยุธยาจะล่มสลาย

แผนที่ประเทศไทยสมัยรัชกาลที5


กับการที่เราต้องเสียดินแดนที่เคยเป็นของเรามากกว่าครึ่งของประเทศหากคิดรวมกัน มาวันนี้คงต้องคิดกันแล้วว่า เราจะต้องเสีย 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อีกหรือ หากเราไม่ร่วมมือกันและเอาจริงเอาจังกับพวกอมนุษย์ที่ทำร้ายคน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ ณ ขณะนี้

พระที่นั่งโธรน พระราชอาสน์ในล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 นำมาจากพระทีนั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน


เรือพระที่นั่งในตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์

เรือพระที่นั่งสุวรรณเหรา จำลอง



เรือพระที่นั่งศรีสมรรถไชย
ลำที่ว่าจะมีการสร้างใหม่น่ะครับ


ซึ่งถ้าหากในยุคสมัยนี้มีกระบวนพยุหยาตราแบบเพชรพวงเหมือนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนะ เราคิดว่าคงจะน่าจะเป็นประเพณีโลกเลยก็ว่าได้ เพราะลองคิดดูสิครับ ขนาดปัจจุบัน 52 ลำ ยังเป็นกระบวนพยุหยาตราที่ยิ่งใหญ่อวดสายตาชาวโลกได้มาโดยตลอดเลย ด้วยเพราะราชสำนักของเรามีประเพณีที่ดีงามตลอดจนมีการจัดวางรูปแบบที่สวยงามและสมพระอิสริยยศ อิศริยศักดิ์ของพระเจ้าแผ่นดินยิ่งนัก

เด๋วทำต่อนะ ยังเหลืออีกสองตึก masterpiece ชิ้นสำคัญทั้งนั้นเลย แต่ว่าตอนนี้ต้องทำรายงานก่อน อิอิ เด๋วไม่เสร็จ






Create Date : 21 กรกฎาคม 2548
Last Update : 26 กรกฎาคม 2548 7:45:58 น. 8 comments
Counter : 8481 Pageviews.

 
ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ


โดย: โสมรัศมี วันที่: 22 กรกฎาคม 2548 เวลา:20:46:08 น.  

 
ยินดีที่ได้รู้จักด้วยคนครับ


โดย: ธูปรามา IP: 58.136.148.118 วันที่: 4 ตุลาคม 2548 เวลา:20:59:37 น.  

 


โดย: นิรมาณ วันที่: 9 ตุลาคม 2548 เวลา:10:58:24 น.  

 
เห็นแล้วนึกถึงอดีต ตอนนั้น สนามหลวงยังมีตลาดนัดอยู่เต็ม ...เวลาปิดเทอม แม่มาปล่อยที่พิพิธภัณฑ์ 5-6 ขวบได้มั้ง วิ่งเล่นแถวตำหนักแดง มาศิวโมกข์ สมัยก่อน ยังไม่จักแบบเดี๋ยวนี้ มีโครงกระดูกจากบ้านเชียง 2 โครงตั้งแสดง แล้วก็หลักศิลจารึก จนพวก หินเหล็ก ขวาน กำไล ลูกปัด หินเก่า-ใหม่ ที่ชอบที่สุด คือ ที่วิมาน วายุสถานฯ มันลึกลับ ดี แล้วก็ไปหลับ ที่พรหมเมศ ข้าง เก้าอี้ทำงาน ของญาติ ที่นั่น....

แลกเปลี่ยนข้อมูล ประวัติศาสตร์ได้ที่ ppongkit@yahoo.com


โดย: paul IP: 203.107.214.224 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:19:25:15 น.  

 
ไม่ได้เข้าไปถ่ายรูปนานแล้ว...
เหนแล้วอยากจะไปถ่ายเก็บไว้มั่งจัง...อิอิ


โดย: Jayskung (Jayskung ) วันที่: 26 พฤษภาคม 2549 เวลา:1:13:19 น.  

 
เข้ามาดู พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ครับ


โดย: THE Bank (THE Bank ) วันที่: 29 พฤษภาคม 2549 เวลา:19:32:08 น.  

 
ถ่ายรูป ภายในด้วยหรอคับ สงสัยจะแอบถ่ายแน่นๆเลย


โดย: คนทำวิจัยด้านพิพิธภัณฑ IP: 58.9.136.32 วันที่: 15 สิงหาคม 2553 เวลา:19:50:38 น.  

 
ยังไม่เคยไปชมเลย เห็นแล้วต้องไปบ้างจะเก็บภาพสวยๆมาฝาก


โดย: สาวสยาม IP: 115.87.235.200 วันที่: 25 สิงหาคม 2554 เวลา:17:25:25 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เด็กท้ายวัง2021
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add เด็กท้ายวัง2021's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.