Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
17 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
บทที่ 4 การตั้งสมมติฐานการวิจัย

@ความหมายของสมมติฐาน (Hypothesis)

หมายถึง : การคาดคะเนคำตอบ ของปัญหาการวิจัยอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยแนวคิด หลักการ ประสบการณ์หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
เป็นข้อความหรือข้อสมมติซึ่งผู้วิจัยคาดไว้เกี่ยวกับคุณลักษณะของตัวแปร หรือความสัมพันธ์ของ 2 ตัวแปรขึ้นไป ว่ามีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ อย่างไร

ข้อสมมติฐานการวิจัยนั้นอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ถ้าได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริงหรือตรงกับข้อเท็จจริง สมมติฐานนั้นก็จะกลายเป็นคำอธิบายที่ถูกต้อง

@การเขียนสมมติฐานการวิจัย

- เขียนให้อยู่ในรูปของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว
- เป็นการคาดคะเนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ หรือการเปรียบเทียบ
Ex: "นักเรียนในกรุงเทพฯ จะมีทัศนคติทางวิทยาศาสตร์ดีกว่านักเรียนในชนบท"
มีตัวแปรที่เกี่ยวข้อง 2 ตัว คือ
1) ภูมิลำเนาของนักเรียน
2) ทัศนคติทางวิทยาศาสตร์
"ลักษณะความเป็นผู้นำมีความสัมพันธ์กับทัศนคติของพนักงานที่มีต่อผู้ประกอบการ"

@แหล่งที่มาของสมมติฐาน

1. ความรู้และประสบการณ์ของผู้วิจัย เช่น ผู้วิจัยทำงานเกี่ยวกับธุรกิจขายตรง จะรู้เทคนิค กลยุทธ์ในการขาย และทราบถึงปัญหาและอุปสรรคที่ได้รับจากการขายตรงเป็นอย่างดี
2. การใช้เหตุผล หรือการคิดวิเคราะห์แยกแยะสิ่งต่างๆเพื่อหาเหตุผล จากสิ่งที่รู้แล้วเชื่อมโยงไปหาสิ่งที่ไม่รู้ เช่น “ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับ อัตราค่าจ้างแรงงาน
3. ผลการวิจัยของผู้อื่น เช่น “การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ที่มีต่อสินค้าประเภทเครื่องดื่มในกรุงเทพฯ” ถ้าผู้วิจัยคิดจะทำเรื่องทำนองเดียวกันในเชียงใหม่ก็สามารถใช้สมมติฐานดังกล่าวเป้นแนวทางได้
4. ทฤษฎีและหลักการต่างๆ ช่วยให้ผู้วิจัยเกิดแนวคิดในการตั้งสมมติฐาน

@ความสำคัญและประโยชน์ของสมมติฐาน
ความสำคัญของสมมติฐาน เปรียบเสมือนแผนที่ช่วยชี้แนะแนวทางในการวิจัย และช่วยให้การค้นหาข้อเท็จจริงให้รวดเร็วขึ้น เสนอแนะแนวทางในการเก็บรวบ@ประโยชน์ของสมมติฐาน
• ช่วยจำกัดขอบเขตของการวิจัยว่า ผู้วิจัยต้องการศึกษาอะไร แง่มุมหรือในประเด็นใดบ้าง ทำให้มองเห็นปัญหาการวิจัยได้ชัดเจน
• ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ
• ช่วยเป็นแนวทางในการแสวงหาข้อมูลเพื่อตอบปัญหาการวิจัยในเรื่อง
- การเลือกแบบการวิจัย
- การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
- การสร้างเครื่องมือ
- การเก็บรวบรวมข้อมูล
- การเลือกใช้สถิติเพื่อการวิเคราะห์
- การแปรผล และสรุป
• ช่วยประหยัดเวลาและแรงงาน เพราะผู้วิจัยจะเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานตามที่ได้ตั้งไว้เท่านั้น
• ช่วยให้ผู้วิจัยได้ความรู้ หลักการ และทฤษฎีใหม่ๆ เมื่อสมมติฐานที่ตั้งไว้ได้รับการพิสูจน์ทดสอบอย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว


@ประเภทของสมมติฐานแบ่งเป็น 2 ประเภท
• สมมติฐานการวิจัย (Research Hypothesis)
- แบบมีทิศทาง (Directional Hypothesis)
- แบบไม่มีทิศทาง (Non directional Hypothesis)

• สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis)
- สมมติฐานว่าง (Null Hypothesis)
- สมมติฐานทางเลือก (Alternative Hypothesis)
- สมมติฐานที่ไม่มีทิศทาง
- สมมติฐานที่มีทิศทาง


@สมมติฐานการวิจัย (Research Hypothesis)

เป็นสมมติฐานเชิงบรรยาย (Descriptive Hypothesis) เป็นการเขียนคาดการณ์ที่เกิดขึ้น หรือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวขึ้นไป เพื่อสื่อให้ผู้อ่านทราบว่า ผู้วิจัยสงสัยและคาดการณ์ประเด็นปัญหาวิจัยแต่ละประเด็นไว้ว่าอย่างไร และแสดงแนวทางการทดสอบปัญหาในแต่ละประเด็นไว้อย่างไร

- แบบมีทิศทาง (Directional Hypothesis) : เป็นการเขียนที่มีการระบุทิศทางที่แน่นอนของการคาดคะเนในความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ของตัวแปร มีลักษณะเป็นการทดสอบสมมติฐานแบบทางเดียวกัน (One-tailed test) เช่น
- เป็นไปใน ทางบวก หรือทางลบ
- แตกต่างกันแบบ มากกว่า หรือน้อยกว่า
- ดีกว่า หรือเลวกว่า สูงกว่า หรือต่ำกว่า

EX: แบบทางเดียวกัน (One-tailed test)
- เป็นไปใน ทางบวก หรือทางลบแตกต่างกันแบบ มากกว่า หรือน้อยกว่า
- ดีกว่า หรือเลวกว่า สูงกว่า หรือต่ำกว่า
ตัวอย่าง :
• “การเป็นมะเร็งกับการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กัน”
• “ผู้ชายมีความสามารถทางช่างสูงกว่าผู้หญิง”

- แบบไม่มีทิศทาง (Non directional Hypothesis) : เป็นการเขียนที่ไม่มีการระบุทิศทางของการคาดคะเนในความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ของตัวแปร เพียงระบุว่า แตกต่างกัน สัมพันธ์กัน หรือมีผลต่อกันเท่านั้น จึงเป็นการทดสอบสมมติฐานแบบสองทาง(Two-tailed test)
EX: “ความสามารถในการพูดภาษาไทยของเด็กชายและเด็กหญิง
แตกต่างกัน”

@สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis)
- เป็นข้อความที่เขียนสมมติขึ้นเพื่อทดสอบสมมติฐานทางการวิจัย ที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้นั้นเป็นจริงหรือไม่
- อธิบายข้อเท็จจริงในรูปแบบของสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์

ค่าพารามิเตอร์ (parameters) คือค่าต่างๆของประชากร เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์

@สมมติฐานว่าง (Null Hypothesis) หรือสมมติฐานศูนย์ หรือสมมติฐานไร้นัยสำคัญ เป็นสมมติฐานที่แสดงให้เห็นว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มหรือไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร สัญญลักษณ์ที่ใช้ H0

เช่น H0 : U1 = U2
หมายความว่า ค่าเฉลี่ยของกลุ่มประชากรกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 เท่ากันหรือไม่มีความแตกต่างกัน
ตัวอย่าง
H0 : อายุเฉลี่ยของน.ศ.ภาคปกติและน.ศ.ภาคพิเศษเท่ากัน
H0 : U1 = U2 โดยให้ U1คือน.ศ.ภาคปกติ และ U2 คือน.ศ.ภาคพิเศษ
หรือ H0 : U1 - U2 = 0

- สมมติฐานทางเลือก (Alternative Hypothesis) : เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ H1 เป็นสมมติฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีความแตกต่างระหว่างกลุ่มหรือมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เช่นมากกว่า-น้อยกว่ากัน

• Null Hypothesis = H0 มักเขียนในรูปปฏิเสธ หรือไม่มีความแตกต่าง ไม่สัมพันธ์กัน
• Alternative Hypothesis = H1 มักเขียนในรูปมีความแตกต่าง มีความสัมพันธ์กัน และเขียนให้สอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย

• สมมติฐานที่ไม่มีทิศทาง (Non-Directional alternative Hypothesis) เป็นการเขียนสมมติฐานที่แสดงความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ไม่มีการระบุทิศทางว่าไปทางใด การเขียนสมมติฐานจึงมีคำว่า “แตกต่างกัน หรือไม่เท่ากัน”เสมอ

แบบไม่มีทิศทาง หรือการทดสอบแบบสองหาง (Two-tailed test) เช่น นักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูด้วยวิธีต่างกันจะมีวินัยในตนเองแตกต่างกัน ซึ่งเป็นการทดสอบเมื่อ H1 : U1 ≠ U2

• สมมติฐานที่มีทิศทาง (Directional alternative Hypothesis) :เป็นการเขียนสมมติฐานที่แสดงความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ของตัวแปรในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เช่น มากกว่า> <น้อยกว่า โดยผู้วิจัยมีข้อมูลหรือเหตุผลยืนยันเพียงพอในการกำหนดทิศทาง เช่น
หมายเหตุ : การเขียนสมมติฐานทางสถิติจะเขียน H0 และ H1 ควบคู่กันเสมอ

กรณีหางเดียวทางขวา H1: U1 > U2 หมายถึง ค่าเฉลี่ยของประชากรกลุ่มที่ 1 มากกว่าค่าเฉลี่ยของประชากรกลุ่มที่ 2

กรณีหางเดียวทางซ้าย H1: U1 < U2 หมายถึง ค่าเฉลี่ยของประชากรกลุ่มที่ 1 น้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประชากรกลุ่มที่ 2

@ ระดับนัยสำคัญ (Level of Significance)
คือ การกำหนดขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ที่ยอมให้เกิดขึ้น โดยใช้ความน่าจะเป็น (Probability) ในการทดสอบสถิตินั้น ถ้าเกิดความคลาดเคลื่อน <น้อยกว่าที่กำหนดจะยอมรับ (H0) หรือ >มากกว่าจะไม่ยอมรับ (H0)

เช่น กำหนดระดับนัยสำคัญ (alpha )= 0.05 ความหมาย คือ
- ใน 100 ครั้ง มีโอกาสผิดพลาดเพียง 5 ครั้ง
- เกิดข้อผิดพลาดได้ไม่เกิน 5% หรือ
- ในการทดลอง 100 ครั้ง จะให้ผลดังที่ปรากฏไม่น้อยกว่า 95 ครั้ง ผิดพลาดได้ไม่เกิน 5 ครั้ง

ระดับนัยสำคัญ (Level of Significance)
*** ถ้าเป็นเรื่องที่สำคัญต่อชีวิต หรือความเสียหายร้ายแรง จะกำหนดนัยสำคัญเอาไว้ต่ำ เช่น การทดลองยา การผ่าตัด การตัดสินคดี วิศวกรรม ควรกำหนดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนไว้ที่ 0.01หรือน้อยกว่า

• ระดับ .05 หมายความว่า มีความมั่นใจ 95% ยอมให้ผิดพลาดได้ 5%
• ระดับ .01 หมายความว่า มีความมั่นใจ 99% ยอมให้ผิดพลาดได้เพียง 1% เท่านั้น

ให้นักศึกษาอธิบายความหมายต่อไปนี้
• EX: เมื่อเราอ่านรายงานการวิจัยที่มีการรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลการทดลอง เรามักจะพบข้อความทำนองนี้บ่อย ๆ เช่น
1. “คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนจากวิธีการสอนภาคปฏิบัติ สูงกว่าคะแนนของนักศึกษาที่เรียนจากวิธีการสอนแบบท่องจำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05”
2. “ปุ๋ยอินทรี มีผลทำให้พืชเจริญเติบโตสูงกว่าปุ๋ยเคมี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01”

@ ขอบเขตวิกฤต (Critical Region)
หมายถึง ขอบเขตที่จะปฏิเสธ (Reject) Ho ซึ่งกำหนดตามระดับนัยสำคัญ (0.01,0.05,0.001 ฯลฯ)
ขอบเขตวิกฤติจะอยู่ปลายโค้งด้านซ้ายหรือขวาของการแจกแจง ถ้าค่าสถิติที่คำนวณตกอยู่ในขอบเขตนี้ จะปฏิเสธ H0 แสดงว่าการทดสอบมีนัยสำคัญ = การยอมรับ H1

@ ค่าวิกฤต (Critical Value)
คือ ค่าที่เป็นเส้นแบ่งระหว่าง เขตการยอมรับ และเขตปฏิเสธ H0
การทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis test)
คือขั้นตอนที่จะต้องตัดสินว่าสมมติฐานนั้นควรยอมรับหรือปฏิเสธว่าถูกต้อง และไม่ถูกต้องอย่างไร
– การยอมรับ (Accept) เป็นการทดสอบที่ยอมรับ H0 ที่ตั้งไว้
– การปฏิเสธ (Reject) คือการไม่ยอมรับ H0

การตัดสินใจในการทดสอบสมมติฐานทางสถิติ
• ยอมรับ H0 เมื่อสมมติฐานนั้นเป็นจริง ถือว่าตัดสินใจถูกต้อง
• ไม่ยอมรับ H0 ทั้งที่สมมติฐานนั้นเป็นจริง ถือว่าเป็นความผิดพลาดแบบ I (Type I Error)
• ยอมรับ H0 ทั้งที่สมมติฐานนั้นไม่เป็นจริง ถือว่าตัดสินใจเกิดความผิดพลาดแบบที่ II (Type II Error)
• ไม่ยอมรับ H0 เมื่อสมมติฐานนั้นไม่จริง ถือว่าตัดสินใจถูกต้อง

ตารางแสดงผลการทดสอบสมมติฐาน


Type I Error หมายถึง
ความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการปฏิเสธ H0 ทั้งที่ H0 เป็นจริง ความน่าจะเป็นในการเกิดความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 มีค่าเท่ากับ อัลฟา
Type II Error หมายถึง
ความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการยอมรับ H0 ทั้งที่ H0 เป็นเท็จ ความน่าจะเป็นในการเกิดความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 2 มีค่าเท่ากับ เบต้า

ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐานทางสถิติ
• ตั้งสมมติฐาน H0 และ H1 โดยผู้วิจัยต้องพิจารณาว่า การตั้ง H1 จะตั้งเพื่อทดสอบหางเดียวหรือสองหาง

เช่น H0 : U1 = U2 H1 : U1≠ U2
H1 : U1 < U2 H0 : U1 > U2

H1 : U1 ≠ U2 หมายความว่าเฉลี่ยของประชากรกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 ไม่เท่ากันหรือมีความแตกต่างกัน

@ ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐานทางสถิติ
1. กำหนดระดับนัยสำคัญ (level of Significant) หรือระดับความเชื่อมั่น เช่น 0.05 หรือ 0.01
2. เลือกสถิติที่เหมาะสมในการทดสอบสมมติฐาน โดยคำนึงถึงข้อตกลงของสถิติแต่ละตัว แล้วจึงคำนวณค่าสถิติทดสอบ โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมจากกลุ่มตัวอย่างที่เลือกมาจากประชากรที่ต้องการทดสอบ
ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐานทางสถิติ
3. หาค่าวิกฤติ (Critical Value) ได้จากการเปิดตาราง ค่าวิกฤตที่กำหนดขึ้นมาจะต้องขึ้นกับตัวสถิติที่ใช้ทดสอบ เช่น ตัวสถิติที่ใช้ทดสอบคือ Z กลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ ค่าวิกฤตจะได้จากการเปิดตาราง Z และถ้าตัวสถิติที่ใช้ทดสอบคือ T กลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก ค่าวิกฤตก็จะได้จากการเปิดตาราง T ตัวอย่างเช่น การทดสอบสองหาง
4. คำนวณค่าสถิติจากกลุ่มตัวอย่าง
5. พิจารณาผลการทดสอบสมมติฐาน โดยการนำเอาตัวเลขที่คำนวณได้ไปเปรียบเทียบกับค่าวิกฤติ หรือจุดแบ่งเขตการยอมรับ หรือไม่ยอมรับ

ตัวอย่างการกำหนดสมมติฐาน
วัตถุประสงค์ของการวิจัย : เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการขยายตัวของเมืองและปัจจัยด้านประชากรที่มีความสัมพันธ์กับการลดลงของพื้นที่การเกษตรในเขตอำเภอสันทราย
สมมติฐานการวิจัย : จำนวนประชากร จำนวนครอบครัวเกษตรกร ความหนาแน่นของประชากร และราคาที่ดิน มีความสัมพันธ์กับการลดลงของพื้นที่เกษตรกรรมในเขตอำเภอสันทราย (ฤดี ทับทิมทอง. 2536:8-9)

ตัวอย่างการกำหนดสมมติฐาน
ปัญหาการวิจัย : เพศ อายุ ระยะเวลาการเจ็บป่วย และระดับการมองเห็น มีผลต่อ ผลกระทบทางจิตใจของผู้ป่วยต้อหินชนิดเรื้อรังหรือไม่
สมมติฐาน : ปัจจัยทางด้าน เพศ อายุ ระยะเวลาการเจ็บป่วย และระดับการมองเห็น มีผลต่อปัญหาทางด้านจิตใจของผู้ป่วยต้อหินชนิดเรื้อรังแตกต่างกัน (สิริพัชร รัตแพทย์.2535:8)

ให้นักศึกษาอธิบายความหมายของสมมติฐานต่อไปนี้
สมมติฐานการวิจัย
แตงโมที่ปลูกในฤดูที่แตกต่างกันจะให้ผลผลิตแตงโมที่แตกต่างกัน
สมมติฐานทางสถิติ
H0 : U1 = U2
H1 : U1 ≠ U2
เมื่อ U1 คือ ผลผลิตในการปลูกแตงโมในฤดูฝน และ U2 คือ ผลผลิตในการปลูกแตงโมในฤดูหนาว

@@@สรุป
• สมมติฐานเป็นการคาดคะเนคำตอบ โดยอยู่บนพื้นฐานตามหลักการทางวิทยาศาสตร์
• แหล่งที่มา เช่น ประสบการณ์การของผู้วิจัย การคิดด้วยระบบเหตุผล ทฤษฎีและหลักการผลวิจัยของผู้อื่น
• ประเภทสมมติฐาน แบ่งเป็นสมมติฐานการวิจัย และสมมติฐานทางสถิติ
• การทดสอบแบ่งเป็น การยอมรับและการปฏิเสธ
• ระดับนัยสำคัญ คือการกำหนดขอบเขตของการคลาดเคลื่อนที่ยอมให้เกิดขึ้น (น้อยกว่า Ho ยอมรับ/มากกว่า Ho ไม่ยอมรับ)









Create Date : 17 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2552 13:13:53 น. 31 comments
Counter : 81248 Pageviews.

 
มีประโยชน์มากค่ะ


โดย: maemodnoi IP: 222.123.186.224 วันที่: 15 ธันวาคม 2552 เวลา:20:51:18 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ สำหรับข้อมูล ...


โดย: jz IP: 119.31.126.141 วันที่: 8 มกราคม 2553 เวลา:0:03:13 น.  

 
ดีใจมากคะที่ตัวเองได้ทำประโยชน์ให้กับคนอื่น จะพยายามหาสิ่งที่ดีดีมาให้อ่านอีกนะค่ะ


โดย: อ.หน่อย (Benjawan_B ) วันที่: 8 มกราคม 2553 เวลา:10:51:59 น.  

 
ดีจังค่ะ ^ ^


โดย: กะทิ IP: 172.16.0.1, 203.107.154.223 วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:1:41:09 น.  

 
ขอนำแผนภาพไปสอนนักศึกษานะคะ สวยงาม เข้าใจง่าย ขอบคุณค่ะ


โดย: thanika IP: 61.7.191.153 วันที่: 17 มิถุนายน 2553 เวลา:10:15:40 น.  

 
ยินดีค่ะ


โดย: อ.หน่อย (Benjawan_B ) วันที่: 17 มิถุนายน 2553 เวลา:15:31:35 น.  

 
แวะ


โดย: 5312 IP: 222.123.216.234 วันที่: 25 กรกฎาคม 2553 เวลา:19:07:11 น.  

 
ดีครับ


โดย: อานนท์ เกตุแก้ว IP: 192.168.0.205, 61.7.240.181 วันที่: 3 สิงหาคม 2553 เวลา:12:21:06 น.  

 
หาอยู่พอดีเจอแล้วขอบคุณมากนะค่ะที่มีของดี ๆ แล้วมาแบ่งปันคนที่กำลังยุ่งอยู่การบ้านเยอะมากค่ะ


โดย: o IP: 192.168.82.46, 202.29.20.82 วันที่: 29 พฤศจิกายน 2553 เวลา:13:47:51 น.  

 
ให้กำลังใจนะค่ะ


โดย: อ.หน่อย (Benjawan_B ) วันที่: 29 พฤศจิกายน 2553 เวลา:14:12:33 น.  

 
ขอบคุณครับ มีประโยชน์มากๆ
กำลังสืบค้นข้อมูลทำวิจัย ป.โท ครับ


โดย: ฟ้าสดใส ทะเลสีคราม IP: 61.19.224.42 วันที่: 25 สิงหาคม 2554 เวลา:20:12:23 น.  

 
ขอบคุณอาจารย์มากนะคะ


โดย: ครูฟ้าใส IP: 182.93.189.193 วันที่: 8 กันยายน 2554 เวลา:14:04:37 น.  

 
ขอบคุณมากนะคะ อยากให้มีตัวอย่าง เยอะๆๆ
ยากดูหารตั้ง Ho H1 ยังไม่แน่ใจเลยย



โดย: bluebery IP: 180.180.134.235 วันที่: 30 กันยายน 2554 เวลา:12:59:12 น.  

 
ขอบคุณมากๆน่ะครับ


โดย: ken IP: 223.204.16.158 วันที่: 13 ธันวาคม 2554 เวลา:17:45:38 น.  

 
ยังงงอยู่เลย ขอตัวอย่างค่ะ


โดย: ริน IP: 125.26.55.112 วันที่: 18 ธันวาคม 2554 เวลา:10:56:57 น.  

 
ตัวอย่าง คุณลักษณะที่แตกต่างกันของผู้ใช้บริการ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ อาชีพ มีอิทธิพลต่อการให้บริการของร้าน 7-11
ตัวอย่าง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ของผู้ใช้บริการในด้าน ราคา สถานที่ การบริการ


โดย: อ.หน่อย (Benjawan_B ) วันที่: 29 ธันวาคม 2554 เวลา:11:15:17 น.  

 
รบกวนสอบถามค่ะ
ถ้าหัวข้อเป็นในลักษณะของการค้นคว้า แนวปฎิบัติในการเสียภาษีสำหรับธุรกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดิน
ควรตั้งสมมติฐานแนวไหนหรือคะ


โดย: Neen IP: 124.120.230.217 วันที่: 14 มกราคม 2555 เวลา:15:10:37 น.  

 
ดีจังได้ความรู้ดีดี
อยากได้ความรู้การวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์เพิ่ม


โดย: ทุเรียน IP: 171.7.114.113 วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:21:15:48 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ


โดย: Orange IP: 110.169.224.32 วันที่: 11 มีนาคม 2555 เวลา:20:29:09 น.  

 
ข้อมูลมีประโยชน์ทั้งนั้นเลย ขอบคุณมากกค่ะ


โดย: มาย IP: 10.8.0.46, 203.172.210.237 วันที่: 28 พฤษภาคม 2555 เวลา:10:35:35 น.  

 
1235




โดย: ยขบาล IP: 118.174.42.113 วันที่: 21 มิถุนายน 2555 เวลา:14:38:15 น.  

 
เอ่อ.....ก็ดีนะคะ


โดย: ผู้อยากคอมเมนต์ IP: 192.168.97.246, 192.168.97.246, 127.0.0.1, 118.175.15.98 วันที่: 28 มิถุนายน 2555 เวลา:14:51:01 น.  

 
มีประโยชน์มากค่ะ...ขอบคุณค่ะ


โดย: Krumadyom IP: 125.26.238.55 วันที่: 23 พฤษภาคม 2556 เวลา:17:07:03 น.  

 
ตอนนี้ทำวิทยานิพนธ์อยู่ค่ะ อาจารย์ให้ตั้งสมมุติฐาน รบกวนให้อาจารย์สอนหัวข้อนี้ค่ะ ติดต่ออาจารย์ได้ยังงัยค่ะ


โดย: ผู้อยากรู้ IP: 223.204.175.148 วันที่: 10 มิถุนายน 2556 เวลา:13:48:29 น.  

 
ตอบผู้อยากรู้ ตอนนี้อ.หน่อยอยู่เชียงใหม่ สะดวกหรือเปล่าคะ


โดย: อ.หน่อย (Benjawan_B ) วันที่: 11 มิถุนายน 2556 เวลา:11:05:30 น.  

 
คือรบกวนสอบถามนะคะพอดีนู๋มีสอบสถิติ นู๋เรียนเรื่องมาตรวัดทางสถิติประยุกมามี4ตัว แต่ตอนสอบอาจารบอกว่าสอบมาตรวัดแบบ5ตัว คือนู่งงมากเรยคะ ว่ามาตรวัดทางสถิติ5ตัวมีอะไรบ้างหรอคะ รบกวนหน่อยนะคะ


โดย: คนสวย IP: 27.55.237.224 วันที่: 3 สิงหาคม 2556 เวลา:12:37:12 น.  

 
มีประโยชน์มากขอบคุณค่ะขอให้เจริญยิ่งขึ้น


โดย: ครูคณิต IP: 101.51.45.6 วันที่: 30 กันยายน 2556 เวลา:3:26:15 น.  

 
ขอบคุณมากที่นำความรู้ดีๆมารวบรวมไว้ เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจได้มากเลยค่ะ


โดย: นิหน่า IP: 202.29.177.207 วันที่: 26 พฤษภาคม 2557 เวลา:13:46:55 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ กำลังเรียนอยู่เลยแต่ไม่เข้าใจ blog นี้ให้ความกระจ่างมากขึ้นจริงๆ


โดย: Chita IP: 27.55.199.52 วันที่: 28 มิถุนายน 2557 เวลา:20:59:56 น.  

 
ยินดีมากค่ะ ที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจ


โดย: อ.หน่อย (Benjawan_B ) วันที่: 1 กรกฎาคม 2557 เวลา:15:06:33 น.  

 
ดีครับ ขอบคุณมากนะครับ


โดย: ผู้ใหญ่อิน IP: 171.97.184.210 วันที่: 6 ตุลาคม 2558 เวลา:7:49:56 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Benjawan_B
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 93 คน [?]




วิทยากร, ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRM & HRD), การบริหารความเสี่ยงองค์กร, การจัดการมาตรฐานแรงงาน, กฎหมายแรงงาน,เขียนหนังสือและบทความ
New Comments
Friends' blogs
[Add Benjawan_B's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.