Group Blog
 
 
กันยายน 2552
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
28 กันยายน 2552
 
All Blogs
 
บทที่ 8 การสื่อสารกลุ่มย่อย

ความหมายของกลุ่มย่อย
- กลุ่มย่อย หมายถึงกลุ่มคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
- มีการติดต่อสัมพันธ์กัน พบหน้ากัน สมาชิกรู้จักตัวซึ่งกันและกัน เช่น ทีมกีฬา สโมสร เพื่อนร่วมชั้นเรียน กลุ่มทำงาน
- สมาชิกทุกคนมีความใกล้ชิดกัน เช่นคนที่ทำงานในแผนกเดียวกัน
- มีความสัมพันธ์กัน เช่นคนสามคนยืนรอรถเมล์อยู่ด้วยกันไม่เรียกว่าเป็นกลุ่มย่อย แต่ถ้าต่างฝ่ายต่างปรับทุกข์กันถึงเรื่องรถเมล์มาช้า เราเรียกว่าเป็นกลุ่มย่อย
- สมาชิกต้องจำลักษณะรูปร่าง หน้าตากันได้อย่างถูกต้อง เช่นคนยืนรอรถเมล์ต่างพูดคุยจนรู้จักกัน นัดเจอกันอาทิตย์หน้าเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน

ลักษณะของกลุ่มย่อย
1. มีการติดต่อสัมพันธ์กัน : พูด คุย ติดต่อสื่อสารกัน
2. มีความเป็นตัวเอง : มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง
3. มีแนวปฏิบัติของกลุ่ม : มีพฤติกรรม ค่านิยม หรือมีมาตรฐานของกลุ่มยึดเป็นแนวปฏิบัติ เช่นการแต่งตัว
4. มีพฤติกรรมเผชิญหน้ากับกลุ่มอื่น
5. มีการแบ่งแยกหน้าที่กัน
6. มีเป้าหมายร่วมกัน
7. ได้ผลงานมากกว่าที่ ต่างคนต่างทำ

ประเภทของกลุ่มย่อย
1. กลุ่มแก้ปัญหา  เน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม จึงต้องใช้เทคนิคทางด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกและความรู้ในการแก้ปัญหา
2. กลุ่มระดมความคิด  ใช้เทคนิค ระดมสมอง (Brainstorming)
- ไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าความคิดของใครถูกหรือผิด
- เป็นการต้องการความคิดที่หลากหลายไม่จำกัด
- รวบรวมเอาความคิดมาประสมประสานกัน
- ทุกคนมีอิสระเต็มที่ที่จะคิด
3. กลุ่มบำบัดรักษา  ใช้บำบัดรักษาสุขภาพจิต
- จิตแพทย์จะค้นหาข้อมูลจากคนไข้เพื่อเริ่มต้นในการรักษา
- ให้ในกลุ่มเป็นผู้บำบัดรักษาเอง โดยให้ระบายปัญหาหรือความขัดแย้งออกมา ก่อให้เกิดความไว้วางใจมากกว่า
4. กลุ่มหาความรู้  แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
5. กลุ่มทางสังคม  เพื่อความสุขสนุกสนาน แก้เหงา
6. กลุ่มสัมพันธ์  ทำให้กลุ่มได้เรียนรู้และเข้าใจ รู้วิธีแก้ไขปัญหา ยอมรับพัฒนาตนและรับรู้ตนเอง กระตุ้นในเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นแนวทางให้เกิดความร่วมมือที่ดีต่อการพัฒนาองค์กร

โครงสร้างของกลุ่มย่อย
1. ลักษณะส่วนตัว (individual characteristics) หมายถึงพฤติกรรมแลบุคลิกภาพ ความเชื่อทัศนคติ ความสามารถ อายุ เพศของสมาชิกแต่ละคนแตกต่างกัน
2. ลักษณะของกลุ่ม (Group characteristic) ขึ้นอยู่กับจำนวน ชนิดของกลุ่ม และความถี่ในการสื่อสารระหว่างสมาชิกด้วยกัน
3. ปัจจัยภายนอก (external facter) หมายถึงกฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับ การมีอิสระและสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานของกลุ่ม

ปัจจัยตัวบุคคลในการชักนำกลุ่มย่อย

การชักนำ หมายถึง ความพยายามที่จะมีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่นเพื่อจะเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคล หรือของกลุ่มโดยผ่านกระบวนการสื่อสารด้วยคำพูดและไม่ใช่คำพูด


ปัจจัยด้านบุคลิกภาพ (personality)
แบบที่ 1 บุคคลที่เต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยมหลอกลวง : การใช้มารยา ฉวยโอกาส และการหลอกลวงในการสื่อสาร บุคคลที่ใช้เล่ห์เหลี่ยมมาก เรียกว่า
High Mach : เป็นคนที่ไม่มีความจริงใจ ไม่มีความรับผิดชอบต่อศีลธรรม ไม่มีความรู้สึกว่าตนเองผิด และไม่คำนึงถึงความรู้สึกคนอื่น ชอบชักนำบุคคลอื่น ปฏิบัติต่อบุคคลอื่นเหมือนเป็นสิ่งของเท่านั้น คนประเภทนี้จะมุ่งไปที่ความสำเร็จที่งานเป็นสำคัญ
Low Mach : มีลักษณะเป็นผู้ตาม ถูกชักนำได้ง่าย มีอารมณ์อ่อนไหว ชอบเอาอารมณ์ไปปะปนกับงาน

แบบที่ 2 บุคคลที่ทำตัวขัดกับสังคม : ไม่สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับกฏเกณฑ์ และค่านิยมของสังคมได้ ชอบแยกตัวออกจากสังคม เฉื่อยชา วิตกกังวลตลอดเวลา แนวโน้มจะทำร้าย
ในแง่ของกลุ่ม คนประเภทนี้ ไม่ชอบให้ใครมาชักนำ ไม่ไว้ใจใคร ไม่ต้องการที่จะติดต่อกับใคร ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือแม้แต่พ่อแม่ตนเอง ไม่มีความรู้สึกต่อบุคคลอื่น สนใจแต่งานของตัวเอง มักจะแยกตัวโดดเดี่ยวออกจากกลุ่ม

แบบที่ 3 บุคคลประเภทดันทุรัง : มีลักษณะจิตใจคับแคบ ไม่มีความยึดหยุ่น ไม่มีความอดทน ชอบวางอำนาจ เกิดจากความรู้สึกที่วิตกกังวล ขาดความมั่นใจ
การชักนำ ใช้ความรู้สึก ความเชื่อ ความต้องการของเขาเอง เช่น ถ้าเขามีความเห็นว่าผู้ชายเท่านั้นที่จะเป็นหัวหน้างานที่ดีได้ เขาก็จะไม่มีวันทำงานกับหัวหน้าที่เป็นผู้หญิง

แบบที่ 4 พวกที่มีความวิตกกังวลอยู่เป็นนิจ : เป็นคนหัวเสีย วิตกกังวล และไม่มีความพอใจอยู่ตลอดเวลา เกรงกลัวที่จะติดต่อพูดคุยกับผู้อื่น จึงสงบปากสงบคำไม่ยอมเปิดเผย หรือประเภทตรงข้ามที่ชอบแสดงตัวโอ้อวด พูดมากเกินไป
บุคคลประเภทนี้ไม่สามารถจะชักนำใครได้ แต่จะถูกบุคคลอื่นชักนำ หรือชักจูงไปในทางที่ถูก หรือผิดได้ง่าย

แบบที่ 5 ระดับของการเก็บตัว และการเปิดเผยตัวของแต่ละคน :
คนที่ชอบเก็บตัวจะเป็นคนขี้อาย เป็นฝ่ายที่ผู้ชักนำได้ง่าย
คนเปิดเผยตัวเอง จะชอบแสดงออก ชอบสังคม เปิดเผย พูดเก่ง มีลักษณะเป็นผู้นำ

แบบที่ 6 พวกที่นับถือตนเอง : คนที่ถือตัวเองสำคัญกว่าใครๆ จะเป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ยึดเอาตัวเองเป็นใหญ่
***สำหรับบุคคลที่มีลักษณะตรงกันข้าม จะเป็นคนที่ถูกชักนำได้ง่าย เช่น @ นักศึกษาที่เรียนไม่เก่งมักจะถูกชักจูงให้ยอมรับความคิดของคนที่เรียนเก่งกว่า
@ บุคคลที่ประสบปัญหาชีวิต ความยากจน ความล้มเหลว ไม่ได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน มักจะเป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองน้อย

ปัจจัยด้านความดึงดูดใจ
เป็นปัจจัยที่ใช้ชักนำบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดึงดูดใจให้คนอื่นอยากที่จะติดต่อด้วย
ปัจจัยด้านสังคม : เป็นคนที่น่าสนใจ น่าคบเป็นเพื่อนกันได้
ปัจจัยทางกาย : รูปร่าง การแต่งตัวดี
ปัจจัยทางด้านงาน : ถ้าทำงานด้วยจะรู้สึกสบายใจ ไม่อึดอัด

ปัจจัยด้านคล้ายกัน
คนที่มีอะไรคล้ายกัน เช่น ทางด้าน อายุ เพศ รูปร่าง ความเชื่อ ทัศนคติ สถานะทางสังคม การศึกษา ประสบการณ์ มักจะมีผลทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน เพราะต่างคนต่างเข้าใจซึ่งกันและกัน ไม่มีอะไรที่ต้องขัดแย้งกัน
**การชักจูงจึงนำไปใช้ได้ผลในการพูดในที่ชุมชน

ปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือ
- เกิดจากความสามารถของคน เช่น มีความเชี่ยวชาญ ฉลาด ทันสมัย มีเหตุมีผล และมีการศึกษาสูง
- เกิดจากคุณสมบัติส่วนตัว เช่น ความซื่อสัตย์ มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีใจกรุณา เป็นคนดี มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม
- เกิดจากสังคมดี เช่น เป็นคนร่าเริง มองตนในแง่ดี น่าคบ ใจกว้าง
- เกิดจากความสำรวม เช่น สงบเสงี่ยม ใจเย็น สุขุม ยั้งคิด เป็นคนเปิดเผย เช่น กล้าแสดงออก พูดจาตรงไปตรงมา มีความกระตือรือร้น
- ให้ความร่วมมือ เช่น การประสานงาน ไม่เอาเปรียบ เสมอต้นเสมอปลาย เป็นคนไว้ใจได้
**บุคคลที่มีความน่าเชื่อถือเหล่านี้มีโอกาสที่จะชักนำบุคคลอื่นได้มากกว่าวิธีอื่น

ปัจจัยด้านทัศนคติ ความเชื่อ และค่านิยม
ทัศนคติ (attitude) หมายถึงการมีใจเอนเอียงไปในทางบวก หรือทางลบ ต่อสิ่งที่ทำให้มีความรู้สึกว่าชอบหรือไม่ชอบคนใดคนหนึ่ง
ความเชื่อ (belief) หมายถึง ความรู้สึกที่คนมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ว่าถูกหรือผิด จริงหรือไม่จริง
ค่านิยม (value) แนวความคิดที่เห็นว่า สิ่งใดดีหรือเลว
**บุคคลที่มีทัศนคติ ความเชื่อ และค่านิยมที่คล้ายกัน ย่อมจะชักนำบุคคลอื่นได้ง่ายกว่าบุคคลที่มีความแตกต่างกัน

ปัจจัยทางด้านข่าวสารในการชักนำของกลุ่มย่อย
การที่จะชักนำให้คนเชื่อในเนื้อหาของข่าวสารนั้น ขึ้นอยู่กับวิธีการของการสร้างข่าวสาร ดังนี้
การชักชวนให้น่าสนใจ อ้างถึงนโยบาย ข้อเท็จจริง ความสำคัญ ความดี ความถูกต้อง เพื่อทำให้บุคคลอื่นยอมรับว่าเป็นเรื่องสำคัญ เป็นความจริง เป็นสิ่งที่จำเป็น หรือเป็นนโยบายที่ต้องปฏิบัติตาม

- โดยการระบุข้อเท็จจริง เช่น ในปีหน้าราคาน้ำมันจะสูงขึ้น
- โดยการให้คำจำกัดความ เช่น ในปีหน้าราคาน้ำมันจะเพิ่มขึ้นอีกลิตรละ 10 บาท
- โดยการประเมิน เช่น การขึ้นราคาน้ำมันก่อให้เกิดสินค้าราคาแพงขึ้น
- โดยการสนับสนุน เช่นราคาน้ำมันแพงขึ้นควรจะหันไปใช้กาซ LPG

ความมีเหตุผล
- โดยการจูงใจ เช่น
การชักชวนให้น่าสนใจ “ชีวิตในเมืองทำให้คนสะดวกสบาย”
ความมีเหตุผล  “เราต้องการมีชีวิตที่สะดวกสบาย”
ข้อมูล  “คนที่อาศัยอยู่ในเมือง มีชีวิตที่สะดวกสบายทั้งนั้น”
- โดยอำนาจหน้าที่ เช่น บุคคลที่พูดเรื่องกฏหมายภาษี ก็น่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากร
- โดยหลักฐาน เช่น “การไม่เอาใจใส่ในการเรียนทำให้สอบตก” “หากอากาศร้อนอบอ้าวเป็นสัญญานว่าฝนจะตก”

ด้านข้อมูล
- ข้อมูลที่ทั้งผู้พูดและผู้ฟังทุกคนเชื่อ คือข้อมูลที่เป็นจริง
- ข้อมูลที่ผู้ฟังเชื่อบางส่วน ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของผู้พูด
- พยานหลักฐาน ใช้ในการอ้างอิงให้คนเห็นตาม

โครงสร้างของข่าวสารในการชักนำกลุ่มย่อย
- แหล่งของข่าวสาร และหลักฐาน : จะต้องมีความน่าเชื่อถือ
- การอภิปรายสนับสนุน เช่น “การออกกำลังกายวันละ 30 นาที จะทำให้เรามีสุขภาพแข็งแรง”
- การเปิดเผยความตั้งใจ เช่น “ผู้บริหารก่อนที่จะสั่งงาน ควรบอกถึงความต้องการของตนเอง ว่าต้องการให้งานสำเร็จอย่างไร”
- ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหา : ควรบอกถึงปัญหาที่เกิดขึ้นก่อน แล้วจึงเสนอวิธีแก้ไขปัญหานั้น
- การสร้างความเชื่อถือในข่าวสาร : ควรพูดถึงเรื่องที่คนเชื่อหรือเห็นด้วยก่อน แล้วจึงพูดถึงเรื่องที่คนไม่เห็นด้วยทีหลัง
- การสรุป : ควรสรุปอย่างชัดเจนโดยที่ผู้ฟังไม่ต้องเก็บไปคิด กับ สรุปแบบให้ข้อคิดว่าควรจะทำอย่างไร เพื่อให้ผู้ฟังนำไปคิดต่อ หรือนำไปตัดสินใจเอาเอง





Create Date : 28 กันยายน 2552
Last Update : 28 กันยายน 2552 16:29:57 น. 0 comments
Counter : 10353 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Benjawan_B
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 93 คน [?]




วิทยากร, ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRM & HRD), การบริหารความเสี่ยงองค์กร, การจัดการมาตรฐานแรงงาน, กฎหมายแรงงาน,เขียนหนังสือและบทความ
New Comments
Friends' blogs
[Add Benjawan_B's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.