Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2557
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
30 พฤษภาคม 2557
 
All Blogs
 
บทที่ 3 การจัดการคุณภาพเชิงรวม

การจัดการคุณภาพเชิงรวม
Total Quality Management : TQM
ความหมายของ การจัดการคุณภาพเชิงรวม
แนวความคิดของ Kume : Total Quality Management : TQM หมายถึง เครื่องมือทางการบริหาร (management tool) .....จุดมุ่งหมายเพื่อ
 องค์กรประสบความสำเร็จและเจริญเติบโต
 สมาชิกทั้งหมดในองค์กรมีส่วนเกี่ยวข้องในการผลิต/บริการที่มีคุณภาพซึ่งลูกค้าต้องการ
 ทุกคนต้องมีความสามารถทางเทคนิค
 ตระหนักว่าตนมีส่วนร่วมในการบริหาร
 ทำตามวัตถุประสงค์และหลักการร่วมกัน....

“ใช้ทรัพยากรน้อยเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในเรื่องคุณภาพ ซึ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า”
 มีหลักการร่วมกัน
“ทำงานโดยใช้หลักการเครื่องมือทางสถิติ [PDCA] Plan-Do-Check-Act และตัดสินใจบนพื้นฐานของความเป็นจริง”
วัตถุประสงค์และหลักการร่วมกัน
 มีภาษาใช้ร่วมกัน
ความหมายของ การจัดการคุณภาพเชิงรวม
 แนวความคิดของ Martin : TQM ประกอบด้วย ความเชื่อ แนวคิด และทัศนคติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพ ประกอบด้วย
 คุณภาพเป็นอันดับแรกขององค์กร
 ลูกค้าเป็นผู้ตัดสินคุณภาพของผลิตภัณฑ์/บริการ
 ความพึงพอใจของลูกค้าเป็นตัวขับเคลื่อนองค์กร
 ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจถึงการเบี่ยงเบน และลดความเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้น....
 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจะสำเร็จโดยการทำงานเป็นทีม
 พันธะผูกพันของฝ่ายบริหารจะช่วยสร้างวัฒนธรรมเน้นคุณภาพ
 การให้อำนาจแก่ผู้ปฏิบัติงาน และทรรศนะมุ่งระยะยาว

 แนวความคิดของ Sashkin & Kiser : พิจารณาในเชิงวัฒนธรรม TQM เป็นวัฒนธรรมองค์กร ที่กำหนดขึ้นเพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า โดยใช้เครื่องมือทางเทคนิค การฝึกอบรม การปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง จนได้ผลิตภัณฑ์/บริการที่มีคุณภาพสูง

วัตถุประสงค์ของการจัดการ TQM
 ลดต้นทุน และพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการ
 สร้างความพึงพอใจและความซื่อสัตย์ เพื่อรักษาลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง เพราะลูกค้าเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุด
 สร้างความพึงพอใจในงานและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ปฏิบัติงานให้เกิดความมุ่งมั่นและทุ่มเทการทำงาน
 เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการเจริญเติบโตเพื่อสร้างองค์กรแห่งคุณภาพ (quality organization) สอดคล้องกับแนวคิด “องค์กรแห่งการเรียนรู้”

หลักการพื้นฐานของ TQM
 การวิเคราะห์เชิงสถิติ กำหนดคุณภาพโดยใช้ข้อมูลที่เป็นจริง
 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยใช้วงจร PDCA

การวัดเชิงสถิติเกี่ยวกับความเสียหายด้านคุณภาพ
เกณฑ์การวัดคุณภาพเชิงสถิติ
 ผลิตภัณฑ์/บริการที่ได้ เป็นไปตามความต้องการของลูกค้าหรือไม่
 ใช้ต้นทุนการผลิตอย่างมีประสิทธิผลหรือไม่ กำหนดความเสียหายทั้งหมดและพิจารณากระบวนการที่ทำให้เกิดความเสียหาย

ความเสียหายด้านคุณภาพ
• ความเสียหายที่สัมพันธ์กับ คุณภาพของผลิตภัณฑ์
 ผลิต/บริการไม่ได้ตามข้อกำหนดที่ลูกค้าต้องการ (customer requirements) ถ้าไม่ชอบ จะไม่ซื้อ
 ความเสียหายที่สัมพันธ์กับ คุณภาพกระบวนการ
 เกิดขึ้นในกรับวนการผลิต ปฏิบัติไม่ถูกต้อง เกิดขึ้นซ้ำๆ ปกปิดสิ่งที่ผิดพลาด
 ความเสียหายที่สัมพันธ์กับ ต้นทุนและประสิทธิภาพ
 สินค้ามีจุดบกพร่อง และกระบวนการผลิตที่ไม่มีคุณภาพ
PDCA
 เป็นการวางแผนเพื่อลดความเสียหาย การนำแผนไปใช้ ตรวจสอบ และแก้ไขซึ่งเป็นพื้นฐานของการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
วงจร PDCA
• การวางแผน (Plan) วิธีการที่ใช้เพื่อตรวจสอบ
• การนำไปใช้ ลงมือทำ (Do) เข้าวัตถุประสงค์ เนื้อหาในแผน ให้การศึกษาอบรมเพื่อนำไปใช้ได้ จัดหาทรัพยากรที่จำเป็นให้แก่ผู้ปฏิบัติ
• การตรวจสอบ (Check) แผนมีความสมบูรณ์ และปฏิบัติได้อย่างแท้จริง
• แก้ไข ทบทวน (Act) หาสาเหตุ หาทางแก้ไข

แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการ TQM
• การฝึกอบรมในเรื่องคุณภาพ
• การบริหารงานประจำวัน
• การจัดการนโยบาย
• การบริหารงานข้ามแผนกงาน
• วงจรคุณภาพ
• การวินิจฉัยของฝ่ายลริหารระดับสูง

การฝึกอบรมเรื่องคุณภาพ
• โปรแกรมการฝึกอบรม ทั่วทั้งองค์กร เช่น
 หลักสูตร “ความรู้ในเรื่องแนวคิดของการจัดการคุณภาพเชิงรวม”
 หลักสูตร “การนำหลักการ การจัดการคุณภาพมาใช้เพื่อปรับปรุงความสามารถในการปฏิบัติงาน”
 หลักสูตร “การจัดการคุณภาพที่จะบริหารและปรับปรุงสถานที่ทำงาน”
 หลักสูตร “หลักการจัดการคุณภาพเพื่อสั่งการให้ปฏิบัติ”

การฝึกอบรมเรื่องคุณภาพ
 วิธีการฝึกอบรม
 การฝึกอบรมโดยลงมือปฏิบัติ (on the job training : OJT)
 การฝึกอบรมเป็นกลุ่ม (group training)
 การฝึกอบรมนอกสถานที่ (outside training)

การบริหารงานประจำวัน
 องค์กรจะต้องมีการกำหนดระบบหรือกระบวนการบริหารงานประจำวัน ตลอดจนมาตรฐานในการปฏิบัติงานต่างๆ เพื่อให้พนักงานรับทราบถึงขั้นตอนของระบบงาน หน้าที่ของตนเอง และวิธีการทำงานที่ถูกต้อง

การจัดการนโยบาย
 การกำหนดนโยบายผู้บริหารระดับสูงจะต้องกำหนดนโยบายในการบริหารงานและประเด็นที่ต้องการปรับปรุงพัฒนา โดยพิจารณาถึงความจำเป็นเร่งด่วนและความสำคัญต่อความอยู่รอดขององค์กร เช่นการเพิ่มยอดขาย การลดต้นทุน การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต
 การนำไปใช้
 การตรวจสอบ
 การแก้ไข และทบทวน

การบริหารงานข้ามแผนกงานตามหน้าที่
 จุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงระบบงานที่มีความเกี่ยวข้องกับหลายๆ ฝ่าย เช่น ระบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันทั้งฝ่ายการตลาด ฝ่ายวิศวกรรม ฝ่ายผลิต ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ของระบบการบริหารข้ามสายงานนั้น มักจะเป็นปัญหาอันเนื่องมาจากผู้บริหารระดับสูง เช่น ผู้บริหารระดับฝ่ายต่างคนต่างทำงานไม่มีการประชุมตัดสินใจร่วมกันในประเด็นที่สำคัญ หรือเกี่ยงความรับผิดชอบเนื่องจากไม่มีระบบงานที่ชัดเจน

วงจรคุณภาพ (QCC)
 กลุ่มคนขนาดเล็ก มาจากแผนกเดียวกัน ปฏิบัติงานในกิจกรรมปรับปรุงคุณภาพ ตามความริเริ่มของกลุ่ม เช่น
• ปัญหาเกี่ยวกับตัวพนักงานเอง
• ปัญหาเกี่ยวกับการผลิต
• ปัญหาค่าใช้จ่ายสูง
• ปัญหาการซ่อมบำรุง
• ปัญหาการตลาด
• ปัญหาสิ่งแวดล้อม (ในที่ทำงาน)

การวินิจฉัยของฝ่ายบริหารระดับสูง
 สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือ ตรวจสอบนโยบาย และการนำไปใช้ วินิจฉัยความก้าวหน้าของโครงการ

ระเบียบปฏิบัติ
• แรงจูงใจในการนำ TQM มาใช้
• ทอลองและเตรียมการ
• แนะนำการจัดการคุณภาพ
• สนับสนุนส่งเสริม
• ทำให้การจัดการคุณภาพเป็นที่ยอมรับ
การเริ่มต้นการจัดการ TQM
• ผู้นำระดับสูงเข้ามาเกี่ยวข้องและกำหนดทิศทาง
• จัดตั้งกลุ่มศึกษาการจัดการคุณภาพ
• จัดตั้งคณะทำงาน
การนำ TQM ไปใช้
• ผู้บริหารระดับสูงริเริ่มกิจกรรม
• สร้างทีมงานจากแผนกตามหน้าที่ต่างๆ
• ให้อำนาจแก่ผู้ปฏิบัติ และทีมงาน
• การฝึกอบรม
• สร้างคุณภาพในผลิตภัณฑ์/บริการ

การสร้างคุณภาพในผลิตภัณฑ์/บริการ

• เก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพจากลูกค้า (ลูกค้าภายนอกและภายใน)


การสร้างคุณภาพในผลิตภัณฑ์/บริการ

• ทำความเข้าใจ หาสาเหตุ และควบคุมการเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ส่งผลต่อคุณภาพ
• ปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (PDCA /QCC)





Create Date : 30 พฤษภาคม 2557
Last Update : 30 พฤษภาคม 2557 15:45:55 น. 0 comments
Counter : 4321 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Benjawan_B
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 93 คน [?]




วิทยากร, ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRM & HRD), การบริหารความเสี่ยงองค์กร, การจัดการมาตรฐานแรงงาน, กฎหมายแรงงาน,เขียนหนังสือและบทความ
New Comments
Friends' blogs
[Add Benjawan_B's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.