Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
2 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 

บทที่ 2 จรรยาบรรณ และ ความรับผิดชอบต่อสังคม



Ethics (จริยธรรม จรรยาบรรณ) เป็นเรื่องการสำนึก ผิดชอบชั่วดี ที่เกี่ยวข้องกับกฏเกณฑ์ของความดีและความเลว รวมทั้งภาระหน้าที่ทางด้านศีลธรรม ที่ไม่เพียงแต่พิจารณาถึงความอยู่เย็นเป็นสุขของตนเอง แต่ต้องคำนึงถึงเพื่อนมนุษย์อื่นด้วย เช่นจรรยาบรรณของนักบัญชี จรรยาบรรณจองวิชาชีพ จรรยาบรรณในการดำเนินธุริกิจ

ศีลธรรม (Moral) หมายถึง หลัก กฏเกณฑ์ หรือค่านิยมที่คนใช้ตัดสินว่าสิ่งนั้นผิดหรือถูก

**1. แนวคิดทางด้านจรรยาบรรณและศีลธรรม

- ด้านผลประโยชน์ : แก่ตัวเอง แก่คนส่วนใหญ่
- ด้านสิทธิส่วนบุคคล : ทุกคนได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน
- ด้านหลักความสัมพันธ์ : ความคิดเห็นของหลายคนร่วมกันออกมาเป็นกฏเกณฑ์ เพื่อใช้เป็นแนวทางที่ต้องยอมรับและปฏิบัติตาม
- ด้านคุณธรรม : สังคมยอมรับเอาไปปฏิบัติตาม เช่น ความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดี ความสำรวม ฯลฯ

2. ปัญหาที่เกี่ยวกับจรรยาบรรณ

- การผิดจรรยาบรรณที่เกิดเป็นประจำ จนทำให้รู้สึกว่าไม่ใช่ความผิด เช่น การลาป่วยที่ไม่ได้ป่วยจริง การปลอมลายมือชื่อในเอกสาร การลงรายการทางบัญชีที่ไม่เป็นจริง การไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อมที่กำลังเป็นพิษ การเบิกค่าใช้จ่ายที่ไม่เกิดขึ้นจริง
- การผิดจรรยาบรรณที่เกิดขึ้นกับพนักงาน แต่ถูกกดดันจากผู้บริหาร เช่น ผู้บริหารบังคับให้พนักงานเอาเปรียบลูกค้าโดยให้คิดราคาสูงกว่าปกติในกรณี ที่ต้องซ่อมแซม หรือการตั้งราคาค่าอะไหล่สูงเกินจริง การซ่อมแซมในงานที่ไม่ควรซ่อม เปลี่ยนอะไหล่ที่ยังใช้ได้อยู่ เพื่อให้ตัวเองหรือองค์การได้ประโยชน์
- การผิดจรรยาบรรณที่มีผลกระทบต่อผลประโยชน์ต่อองค์การและส่วนตัว เช่น ผู้บริหารได้รับการเรียกร้องจากรัฐมนตรีกระทรวงเจริญฮ๊วบๆ ให้จ่ายเงิน 20 ล้าน เป็นค่าที่ปรึกษา (ถ้าจ่ายจะได้รับงาน 500 ล้าน และทำให้บริษัทมีกำไร 70 ล้าน หากไม่จ่ายก็ไม่ได้งาน)
- การระบุว่าผิดหรือถูกจรรยาบรรณ ไม่ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน เช่น อนุมัติเงินกู้ให้ลูกค้าเพื่อหวังเงินค่านายหน้า อนุมัติการลงนามสัญญาก่อสร้าง สัมปทาน เพื่อได้ส่วนแบ่ง

3. จรรยาบรรณในองค์การ

- มาตรฐานทางด้านจรรยาบรรณในองค์การ ควรกำหนดมาตรฐานทางด้านจรรยาบรรณในองค์การ เช่น การกำหนดยอดขายในแต่ละปีที่สูงกว่าปกติ การห้ามสามีภรรยาทำงานในแผนกเดียวกัน หรือบริษัทเดียวกัน
- สัญญาณอันตราย เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงสัญญานอันตราย เช่น พนักงานมุ่งแสวงหารายได้ให้กับองค์การในระยะสั้นมากกว่าระยะยาว ไม่สนใจหรือเอาใจใส่การประพฤติผิดจรรยาบรรณ
- หลักจรรยาบรรณขององค์การ กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยควรเขียนดังนี้
1. ต้องเกี่ยวข้องกับทุกคน
2. ต้องทำเป็นนโยบาย
3. เขียนให้สั้น เข้าใจง่าย ชัดเจน และจดจำได้
4. อย่าเขียนในลักษณะจำเจ ซ้ำซาก น่าเบื่อหน่าย ล้าสมัย หรือใช้ถ้อยคำวกวน
5. ควรเขียนให้มีน้ำหนักว่าสำคัญ และผู้บริหารต้องชี้แจงให้ทุกคนเข้าใจ

- โครงการทางด้านจรรยาบรรณ ควรป้องกันไม่ให้มีการทำผิดจรรยาบรรณ โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดโครงการทางด้านจรรยาบรรณ ดังนี้

โครงการ บังคับใช้ : เพื่อป้องกัน ตรวจสอบ รายงาน ลงโทษผู้กระทำผิดจรรยาบรรณ

โครงการ ปลูกจิตสำนึก
- ทุกคนต้องมีความเข้าใจอย่างแท้จริงถึงคุณค่าของการมีจรรยาบรรณ
- ผู้นำจะต้องยอมรับอย่างจริงใจและเต็มใจ
- การตัดสินใจและดำเนินงานขององค์การต้องสะท้อนให้เห็นว่ายึดถือจรรยาบรรณนั้น อย่างแท้จริง
- ระบบข้อมูล การรายงาน รวมถึงการประเมินผลงานของพนักงานต้องอยู่บนหลักจรรยาบรรณที่ดี
- ทุกคนในองค์การต้องมีทักษะความรู้ทางด้านจรรยาบรรณเป็นพื้นฐานการปฏิบัติงาน

ตัวอย่าง นโยบายจรรยาบรรณองค์การ

(1) จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม และความรับผิดชอบ
(2) จะเก็บรักษาความลับ และไม่ใช้ข้อมูลภายในหรือข้อมูลอันเป็นความลับเพื่อแสวงหาประโยชน์แก่ตนเอง หรือผู้อื่นในทางที่มิชอบ
(3) จะป้องกัน หรือหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆที่อาจ นำมาซึ่งความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(4) จะปฏิบัติตนเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่มีความรู้ ความชำนาญ และความระมัดระวังรอบคอบ


**4. ปัจจัยที่มีผลต่อจรรยาบรรณของคน มี 3 ประเภท

1. ปัจจัยด้านตัวบุคคล : ประสบการณ์ และพื้นฐานของครอบครัว การเลี้ยงดู ศาสนา มาตรฐานความต้องการของตัวเอง สภาพแวดล้อม

- ปัจจัยที่มีผลต่อบุคลิกภาพ (personnality variable)

Ego Strength : พลังที่มีอยู่ในตัวคนในการตัดสินใจหรือการใช้ดุลยพินิจว่า สิ่งใดผิดสิ่งใดถูก คนที่มี Ego ต่ำ จะมีแนวโน้มในการตัดสินใจผิด ประพฤติผิดศีลธรรม
Locus of control : ความเชื่อ"เชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากตัวเรา" ว่าด้วยการเชื่ออำนาจแห่งตน

กลุ่มแรก เชื่อว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเรา เกิดจากการกระทำของเราเอง ฉะนั้นเราสามารถควบคุมสถานการณ์ต่าง ๆ ได้...

กลุ่ม ที่สอง มักเชื่อเรื่องของโชค ชะตา ฟ้าลิขิต โดยเชื่อว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเรามีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอก ซึ่งเราไม่สามารถควบคุมได้...

2. ปัจจัยด้านองค์การ : ได้แก่ นโยบาย ข้อบังคับ โครงสร้าง พฤติกรรมของผู้บริหารพฤติกรรม ของเพื่อนร่วมงาน และวัฒนธรรมองค์การ

3. ปัจจัยภายนอก เช่น จารีตประเพณี กฏหมาย คู่แข็งขัน ผู้บริโภค และประเภทของอุตสาหกรรม


5. ความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility)

CSR หมายถึง การดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กร ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในระดับใกล้และไกล ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร ในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข

Corporate มุ่งหมายถึงกิจการที่ดำเนินไปเพื่อแสวงหาผลกำไร

Social มุ่งหมายถึงกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กันหรือมีวิถีร่วมกันทั้งโดยธรรมชาติ หรือโดยเจตนา รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รายรอบประกอบ และคำว่า

Responsibility มุ่งหมายถึงการยอมรับทั้งผลที่ไม่ดีและผลที่ดีในกิจการที่ได้ทำลงไปหรือที่ อยู่ในความดูแลของกิจการนั้นๆ ตลอดจนการรับภาระหรือเป็นธุระดำเนินการป้องกันและปรับปรุงแก้ไขผลที่ไม่ดี รวมถึงการสร้างสรรค์และบำรุงรักษาผลที่ดีซึ่งส่งกระทบไปยังผู้มีส่วนได้เสีย กลุ่มต่างๆ

6. การตรวจสอบความรับผิดชอบสังคม ขององค์การธุรกิจ

มาตรการ ที่ใช้ตรวจสอบ หรือประเมินการปฏิบัติงาน ที่สะท้อนถึงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การมี ดังนี้
- ความรับผิดชอบทางด้านเศรษฐกิจ: ผลิตสินค้าตรงความต้องการของลูกค้า ตอบสนองความต้องการของชุมชน โดยวัดจากกำไรจากการขายสินค้าและบริการ
- ความรับผิดชอบทางด้านกฏหมาย: ดำเนินธุรกิจถูกต้องตามกฏหมาย
- ความรับผิดชอบทางจรรยาบรรณ: ผลิตสินค้าและบริการตรงกับความต้องการของสังคม ปฏิบัติตามกฏหมาย ถูกต้องตามหลักศีลธรรม บริหารงานตรงตามความคาดหวังของสังคม
- ความรับผิดชอบทางการใช้ดุลยพินิจ: รับผิดชอบต่อสังคมสูงสุดและครบถ้วนทุกระดับ ก่อให้เกิดความอยู่ดีกินดีให้กับบุคคล ชุมชน และสังคมโดยส่วนรวม ซึ่งเป็นการยกระดับการดำรงชีพให้กับชุมชน

**7. กลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคม

1. กลยุทธ์ต่อสู้ขัดขวาง : เป็นการปฏิเสธที่จะรับผิดชอบต่อสังคม ขัดขวางหลีกเลี่ยง และไม่ยอมรับว่าทำผิด ต่อต้านเรื่องที่ต้องแก้ไข พยายามรักษาผลประโยชน์ของตนให้มากที่สุด

2. กลยุทธ์ป้องกันตัว : ตั้งใจทำผิด แต่จำใจทำตามกฏหมายขั้นต้นเพื่อลดความกดดันจากภายนอก และป้องกันตัวเองจากการทำผิดกฎหมาย กลัวว่าเรื่องจะลุกลาม เช่นอุตสาหกรรมบุหรี่ พยายามป้องกันตัวเองว่าการสูบบุหรี่กับมะเร็งไม่เกี่ยวข้องกัน
Ex:โรง งานจัดทำบ่อบำบัด และปล่อยน้ำเสียออกจากโรงงาน สู่ลำคลองสาธารณะ วัดค่าอยู่ในมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด

3. กลยุทธ์ปรองดอง : องค์การจำเป็นต้องยอมรับCSR โดยการปฏิบัติตามมาตรการทั้งด้านเศรษฐกิจ กฏหมาย และจรรยาบรรณ เป็นครั้งคราวแล้วแต่จะถูกกดดันจากสังคมมากหรือน้อย
EX:บริษัท ขนส่งน้ำมันดิบเกิดอุบัติเหตุน้ำมันทะลักลงทะเล บริษัทต้องทำความสะอาด หรือป้องกันน้ำมันทะลักลงทะเลด้วยการใช้เรือบรรทุกน้ำมันที่มีถังสองชั้น
EX:โรง งานให้ความช่วยเหลือชุมชนรอบโรงงาน ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงงานโดยตรง เพื่อลดการต่อต้าน การคัดค้าน โดยมีเป้าหมาย เพื่อการขยายกิจการโรงงานในอนาคตอย่างราบรื่น โดยพิจารณาความคุ้มค่าในการใช้งบประมาณเป็นสำคัญ

4. กลยุทธ์ทำล่วงหน้า : หมายถึงการวางแผน ริเริ่มมาตรการต่างๆเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ที่จะมีผลกระทบต่อสังคมใน อนาคต เช่น บริษัทผลิตเฟอร์นิเจอร์จะไม่ใช้ไม้จากป่าในเขตเมืองร้อนมาทำเฟอร์นิเจอร์ เพราะเกรงว่าป่าจะถูกทำลาย หรือบริษัทผลิตรถยนต์พลังงานทางเลือกครั้งแรกในเอเชียที่โตโยต้า นำมาแปลงโฉมใหม่ให้ขับเคลื่อนโดยระบบมอเตอร์ไฟฟ้าประหยัดน้ำมัน
และลด ปัญหาโลกร้อน.


ตัวอย่างนโยบายการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)ของธนาคารอาคารสงเคราะห์

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ตระหนักดีถึงภารกิจหลักของธนาคาร ในการมุ่งมั่นสานฝันคนไทยผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางให้มีที่อยู่อาศัยเป็น ของตนเองตามควรแก่อัตภาพ ควบคู่ไปกับการการคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และการใส่ใจดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด ภายใต้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำไปสู่สังคมที่เข้มแข็งและการเติบโตที่ยั่งยืนขององค์กร รวมทั้งเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ และภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ภายใต้แนวคิด “ธอส.สานฝันคนไทย” โดยในปี 2551 ธนาคารได้วางแนวนโยบาย CSR ที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญของการพัฒนาคน และการสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ทั้งภายใน ได้แก่ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างธนาคาร และกลุ่มเป้าหมายภายนอก ได้แก่ ลูกค้า สังคม ชุมชน โดยมีการแบ่งกิจกรรม CSR เป็น 3 ด้านหลัก ได้แก่

1. ด้านการศึกษาเพื่อเด็กเยาวชน และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม อาทิ โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน โครงการโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โครงการจักรยานยืมเรียนเพื่อน้องผู้ด้อยโอกาสในต่างจังหวัด โครงการ 555 เสียงใสสร้างโลกสวยเพื่อผู้พิการทางสายตา งานวันเด็กแห่งชาติประจำปี และโครงการเสริมความรู้บุตรพนักงาน ธอส. ฯลฯ

2. ด้านการสืบสานศิลปวัฒนธรรม ประเพณีไทย และทำนุบำรุงพุทธศาสนา ได้แก่ งานกฐินพระราชทานประจำปี การบูรณซ่อมแซมเสื่อเงิน วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จ.สระบุรี และส่งเสริมการเล่นดนตรีไทย

3. ด้านการกีฬา ได้แก่ การสนับสนุนสมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย ในโครงการ 1 สมาคมกีฬา 1 รัฐวิสาหกิจ โครงการลานกีฬา ธอส. และการสนับสนุนด้านกีฬาประเภทต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กรเพราะธนาคารเชื่อว่า การมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีมาจากการศึกษาที่ดีมีมาตรฐาน สร้างเสริมให้สุขภาพใจสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง นอกจากนั้น ความเป็นไทยที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นแตกต่างจากชาติใดๆ ในโลก และการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่คู่ไทยอย่าง ยั่งยืนนั้น เป็นแนวทางหลักในการพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยโดยรวม ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ถือเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมที่ต้องดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จอย่าง เป็นรูปธรรมในระยะยาว


แนวทางปฏิบัติตามแนวคิด CSR

The Centre of Urban Planning and Environmental Management” ของ University of Hong Kong รวบรวมแนวทางปฏิบัติตามแนวคิด CSR ขององค์กรธุรกิจในทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชีย แบ่งเป็น 4 หมวดหลัก คือ

1. การปฏิบัติภายในองค์กร อาทิ การดูแลไม่ให้มีการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนภายในองค์กร มีการจัดทำและแถลงระเบียบเรื่องการจ้างงานป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน (เช่น ระยะเวลาของการทำงานตามปกติและระยะเวลาสูงสุดในการทำงานล่วงเวลา) มีโครงสร้างอัตราค่าจ้าแรงงานที่ยุติธรรม และให้เสรีภาพในการจัดตั้งสมาคมต่าง ๆ ภายในองค์กร

2. การปฏิบัติภายนอกองค์กร อาทิ มีระบบตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัย สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อมทั้งของผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายสินค้าให้แก่องค์กร รวมทั้งมีนโยบายการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใสและเป็นธรรม

3. ความน่าเชื่อถือ อาทิ มีการกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนเพื่อรายงานผลความคืบหน้าขององค์กรจากการ ปฏิบัติตามแนวคิด CSR อย่างต่อเนื่อง

4. การอบรมบุคลากร อาทิ มีหลักสูตรอบรมการเป็นพลเมืองที่ดีแก่พนักงานในองค์กร รวมทั้งส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในโครงการต่าง ๆ เพื่อช่วยพัฒนาสังคมโดยรวมให้เติบโตอย่างยั่งยืน

นโยบายความรับผิด ชอบต่อสังคมของบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)

* ด้านการศึกษาและพัฒนาเยาวชน

มอบความช่วยเหลือให้กับผู้คนและชุมชนใน หลาย วิธีการที่แตกต่างกัน ในปัจจุบันเราได้มุ่งเน้นที่การลงทุนเพื่ออนาคตของเยาวชน ด้วยการสนับสนุนการศึกษาในช่องทางต่าง ๆ

* การพัฒนาสังคม

ชุม ชุนและสถาบันครอบครัวบริษัทฯ ตระหนักถึงการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และความสำคัญของครอบครัวซึ่งเป็นพื้นฐานของชุมชน และสังคม บริษัทฯจึงมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์และมีส่วนรวมในการสร้างสังคมที่แข็ง แรงอย่างยั่งยืน

* กิจกรรมด้านศาสนา

จัดงานทำบุญเนื่องใน โอกาสสำคัญทางพระพุทธ ศาสนา เช่น วันสงกรานต์ เพื่อเป็นสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีไทย โดยสร้างแบบอย่างการปฏิบัติไว้เพื่อให้เด็กๆ และเยาวชนได้ปฏิบัติตามและได้ซึมซับภาพบรรยากาศความเป็นไทยให้คงอยู่ และเป็นการสานสัมพันธ์ในครอบครัว ทำให้ได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน




 

Create Date : 02 กรกฎาคม 2553
2 comments
Last Update : 2 กรกฎาคม 2553 14:31:50 น.
Counter : 45936 Pageviews.

 

ขอบคุณที่แบ่งปัน ติวเลขออนไลน์

 

โดย: swkt (tewtor ) 11 เมษายน 2554 23:15:12 น.  

 

อยากทราบว่าจรรยาบรรณและศิลธรรมมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

 

โดย: Phonexay IP: 192.99.15.166 26 ตุลาคม 2559 21:06:30 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Benjawan_B
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 93 คน [?]




วิทยากร, ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRM & HRD), การบริหารความเสี่ยงองค์กร, การจัดการมาตรฐานแรงงาน, กฎหมายแรงงาน,เขียนหนังสือและบทความ
New Comments
Friends' blogs
[Add Benjawan_B's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.