Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
9 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 

บทที่ 11 แบบของการสื่อสาร

**ลักษณะของแบบข่าวสารที่ดี

1. ความถูกต้อง และชัดเจน : ภาษาถูกหลักไวยากรณ์
2. ความเหมาะสม : ภาษาเหมาะสมกับผู้ฟัง
3. ความประหยัด : พูดมากเกินความจำเป็น
4. ความประทับใจ : น่าสนใจ เกิดความรู้สึก เกิดภาพพจน์ในการฟัง เกิดอารมณ์ เกิดการสัมผัส
5. ความเห็นจริงเห็นจัง : ผู้ฟังเห็นคล้อยตาม จากการใช้คำง่ายๆ คำพื้นๆ คำแปลกๆ หรือคำเฉพาะ

**ปัจจัยที่สร้างความสนใจในแบบของข่าวสาร

- ความขบขัน : เรื่องเบาๆ สนุกสนาน
- ความใกล้เคียงกัน : พูดเรื่องที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เรื่องที่ใกล้ตัว
- ความกะทัดรัด : เนื้อหาชัดเจน ตรงประเด็น
- ความสำคัญต่อชีวิต : เรื่องสุขภาพ งาน ความปลอดภัย
- ความขัดแย้ง : การต่อสู้ ตื่นเต้น แข่งขัน
- ความแปลกใหม่ : พูดให้ข้อคิด สลับกับความขัดแย้ง ลงท้ายด้วยความขบขัน เพื่อสร้างความสนใจ
- การเน้นย้ำ : เน้นเรื่องสำคัญๆ พูดด้วยน้ำเสียงที่แตกต่าง

**แบบการสื่อสารของคน

1.การสื่อสารแบบควบคุม

- เป็นการสื่อสารแบบทางเดียว
- ลักษณะสั่งการ ออกคำสั่งและควบคุม
- ถือว่าความคิดของตนเองสำคัญกว่าใครๆ
- ชักนำบุคคลอื่นให้ทำตามที่ต้องการ
- ใช้อำนาจเพื่อให้บุคคลอื่นทำตาม
- ใช้วิธีการต่างๆโดยไม่คำนึงว่าถูกต้องหรือไม่

*ผลการสื่อสารแบบควบคุม บุคคลที่อยู่ในบทบาทพ่อแม่
การนำไปใช้ :
- ผู้ส่งข่าวเป็นผู้ริเริ่มการสื่อสาร และเป็นผู้กระทำให้เกิดข่าวสาร
- ใช้กับผู้ที่ขาดประสบการณ์ เช่นลูกน้องไม่มีประสบการณ์ หรือหัวหน้าเลื่อนตำแหน่งควรได้รับการฝึกอบรม
- ผู้ที่ขาดการจูงใจ เช่น ต้องมีพี่เลี้ยงคอยแนะนำ กระตุ้นให้เกิดความมั่นใจ
- ใช้กับภาวะวิกฤติ ฉุกเฉิน อันตรายอย่างร้ายแรง เช่น ไฟไหม้ การต่อสู้ การจราจล
ไม่เหมาะกับ :ถ้าตั้งเป้าหมายในการทำงาน การสั่งงานจะถูกต่อต้านจากผู้ที่มีผลงานต่ำ

2. การสื่อสารแบบเสมอภาค

- เป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง
- กระตุ้นให้อีกฝ่ายเกิดความคิด
- ให้อิสระและมีความยืดหยุ่น
- บรรยากาศในการสื่อสารเต็มไปด้วยความเข้าใจกัน และคำนึงถึงผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน
- สร้างให้เกิดความเป็นมิตร และความอบอุ่น

*ผลของการสื่อสารแบบเสมอภาค บุคคลที่อยู่ในบทบาทผู้ใหญ่
การนำไปใช้:
- ช่วยในการแก้ปัญหา ประสานความเข้าใจ
- ส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในการตัดสินปัญหา
- ช่วยลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
- สร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์การ
ไม่เหมาะกับ:
- สถานการณ์ฉุกเฉิน รีบด่วน
- บุคคลที่ขาดประสบการณ์ ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง

3. การสื่อสารแบบมีโครงสร้าง

- รูปแบบการสื่อสารมุ่งถึงระบบเป็นสำคัญ
- ใช้อิทธิพลเหนือคนอื่น โดยอ้างมาตรฐาน หลักการ หรือกฏเกณฑ์ เพื่อให้คนอื่นทำตาม
- การสื่อสารมีรูปแบบที่แน่นอน สำหรับใช้เป็นรูปแบบในการแก้ปัญหา

*ผลของการสื่อสารแบบมีโครงสร้าง บุคคลที่อยู่ในบทบาทพ่อแม่
การนำไปใช้ :
- ผู้ส่งข่าวเป็นผู้ริเริ่มการสื่อสาร และเป็นผู้กระทำให้เกิดข่าวสาร
- ใช้กำหนดเป้าหมายในการทำงาน การมอบหมายงานให้แต่ละคน การทำงานให้เสร็จตามกำหนด
ผลเสีย :
- เสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบงาน ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ ก่อให้เกิดความขัดแย้ง และสร้างความไม่พอใจให้กับบุคคลที่ทำงานอย่างมีหลักการอยู่แล้ว

4. การสื่อสารแบบรวบรัด

- การสื่อสารทั้ง 2 ทาง
- เป็นการสื่อสารที่สั้น และตรงประเด็น
- ผู้สื่อสารเป็นคนตรงและเปิดเผย มีบุคลิกคล่องแคล่ว ว่องไว
- เนื้อหาของสื่อสารเป็นแบบขวานผ่าซาก และเน้นในทางปฏิบัติ

*ผลของการสื่อสารแบบรวบรัด บุคคลที่อยู่ในบทบาทผู้ใหญ่
การนำไปใช้ :
- สั่งการให้ผู้อื่นทำตาม มอบหมายงานให้ผู้อื่นทำแทน
- เปิดโอกาสให้โต้แย้ง หรือแสดงความคิดเห็น
ไม่เหมาะกับ : ผู้ปฏิบัติที่ไม่มีความรู้ความสามารถ

5. การสื่อสารแบบตั้งรับ

- ยอมตามความต้องการของคนอื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
- ผลักความรับผิดชอบให้คนอื่น
- ยอมรับว่าตนเองเป็นเพียงส่วนประกอบ ไม่ใช่เป็นตัวการ

*ผลการสื่อสารแบบตั้งรับ บุคคลที่อยู่ในบทบาทเด็ก
การนำไปใช้ :
- เหมาะสำหรับการให้คำปรึกษา เพื่อให้เกิดความไว้วางใจกัน
- ป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นปัดความรับผิดชอบ
ไม่เหมาะกับ : บุคคลที่ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง อ่อนแอ ตัดสินใจไม่เป็น มีความสับสนในตัวเอง หงุดหงิดง่าย กลัวที่จะได้รับการมอบหมายงาน

6. การสื่อสารแบบหลีกเลี่ยง

- พยายามที่จะหลีกเลี่ยงการสื่อสารทุกรูปแบบ
- ไม่ต้องการมีอิทธิพลใดๆต่อคนอื่น หรือให้คนอื่นมามีอิทธิพลเหนือกว่า
- การสื่อสารให้ความเป็นอิสระมากกว่าที่จะเข้าไปตัดสินใจเอง
- หลีกเลี่ยงการวิเคราะห์ปัญหา โดยพูดกลบเกลื่อน หรือเลื่อนการพิจารณาปัญหาออกไป หรือให้บุคคลอื่นรับผิดชอบแทน

*ผลการสื่อสารแบบหลีกเลี่ยง บุคคลที่อยู่ในบทบาทเด็ก
การนำไปใช้ :
- ข้อมูลหรือเรื่องราวที่ต้องปกปิด เป็นความลับ
- ข่าวสารบางอย่างที่จะกระทบกระเทือนกับภาพลักษณ์ขององค์การ
- ข่าวสารที่ผู้บริหารต้องการปฏิเสธคำขอของพนักงาน

*บุคลิกภาพที่แสดงให้เห็นถึง ทัศนคติ ความรู้สึก พฤติกรรม และภาษาในขณะที่สื่อสารกับบุคคลอื่น

- บทบาทความเป็นพ่อแม่ : มีระเบียบวินัย ตามกฏเกณฑ์ ข้อบังคับ ใช้วิธีควบคุม ชอบตัดสิน (ผิดถูก ดีไม่ดี)
- บทบาทความเป็นเด็ก : ใช้อารมณ์ อ่อนไหว ไม่ระงับความรู้สึก ชอบสนุก ไม่แน่นอน ไม่เป็นระเบียบ
- บทบาทความเป็นผู้ใหญ่ : ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้ดี ตัดสินปัญหาด้วยการวิเคราะห์ มีเหตุผล เป็นกลาง ใจกว้าง

**สรุป
- การสื่อสารแบบเสมอภาคและแบบรวบรัดจะมีลักษณะเป็นการสื่อสารสองทาง คือมีทั้งไปและกลับ
- แบบควบคุม และแบบมีโครงสร้างผู้ส่งข่าวจะเป็นเริ่มการสื่อสาร
- แบบตั้งรับและแบบหลีกเลี่ยง ผู้ส่งข่าวจะไม่กระตือรือร้นที่จะทำการสื่อสาร
- แบบเสมอภาค ชัดเจนสูงสุด ข้อมูลย้อนกลับมากที่สุด ความแน่นอนสูงสุด
- แบบหลีกเลี่ยง ชัดเจนน้อยสุด ย้อนกลับ และความแน่นอนน้อยที่สุด







 

Create Date : 09 ตุลาคม 2552
0 comments
Last Update : 9 ตุลาคม 2552 11:50:21 น.
Counter : 8041 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Benjawan_B
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 93 คน [?]




วิทยากร, ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRM & HRD), การบริหารความเสี่ยงองค์กร, การจัดการมาตรฐานแรงงาน, กฎหมายแรงงาน,เขียนหนังสือและบทความ
New Comments
Friends' blogs
[Add Benjawan_B's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.