Group Blog
 
<<
มีนาคม 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
27 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 

บทที่ 11 การบริหารหารเปลี่ยนแปลง (Change Management)

ความหมายของการเปลี่ยนแปลงองค์การ
หมายถึง กระบวนการที่ทำให้องค์การเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพปัจจุบัน เพื่อไปสู่สภาพในอนาคต เพื่อเพิ่มประสิทธิผลขององค์การให้ดียิ่งขึ้น

ทำไมองค์การต้องเปลี่ยนแปลง ?
เพราะสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจ (Business Environment) เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมีแรงผลักดัน (Driving Forces) ที่ทำให้องค์การจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกัน มิฉะนั้นองค์การก็จะไม่สามารถแข่งขัน หรือดำรงอยู่ในโลกธุรกิจได้

พลังผลักดันทำให้องค์การจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง
 ลักษณะของกำลังแรงงาน (Nature of the Workforce)
 เทคโนโลยี (Technology)
 เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง (Economic Shocks)
 การแข่งขัน (Competition)
 แนวโน้มทางสังคม (Social Trends)
 การเมืองโลก (World Politics)

พลังผลักดันทำให้องค์การจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง

ลักษณะของกำลังแรงงาน(Nature of the Workforce)
เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรมระดับความรู้ อาชีพที่แตกต่างทำให้ต้องปรับปรุงพนักงาน เพื่อให้สามารถทำงานด้วยกันได้ ด้วยการฝึกอบรมทักษะอื่นๆให้กับพนักงาน

เทคโนโลยี (Technology)
องค์การจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้แทนแรงงานคนมากขึ้น จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน โครงสร้างองค์การใหม่เพื่อทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างหัวหน้ากับทีมงานใกล้ชิดกันมากขึ้น

เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง (Economic Shocks)
ผลกระจากราคาน้ำมันโลกที่ผันผวน ค่าของเงินเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้มีผลต่อนักลงทุน

การแข่งขัน (Competition)
สภาวะการแข่งขันในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป คู่แข่งไม่ได้มีเฉพาะภายในประเทศเท่านั้นคู่แข่งข้ามชาติเพิ่มขึ้นากมายทางธุรกิจองค์การจะปรับตัวเพื่อโต้ตอบกับคู่แข่งได้จึงจะอยู่รอด

แนวโน้มทางสังคม (Social Trends)
การที่เทคโนโลยีเจริญรวดเร็ว แนวโน้มของคนรุ่นใหม่เพิ่มขึ้น คนติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้หลายทาง จึงทำให้องค์การต้องปรับเปลี่ยนเพื่อ
ตอบสนองความต้องการของคนที่เปลี่ยนไป

การเมืองโลก (World Politics)
การล่มสลายของสหภาพโซเวียต การก่อการร้าย ผลกระทบทำให้เกิดการร่วมมือประสานประโยชน์ทางการค้า การทำสนธิสัญญาร่วมกัน ก่อให้เกิดการค้าต่างๆ

การวางแผนบริหารการเปลี่ยนแปลง
 การแสวงหาแนวทางเพื่อปรับปรุงความสามารถขององค์การ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น
 การแสวงหาแนวทางเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพนักงานใหม่

การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
 การต่อต้านที่เกิดจากตัวบุคคล
 นิสัย : ความเคยชินกับพฤติกรรมเดิมๆ
 ความปลอดภัย : ถ้าองค์การนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้แทนแรงงานคน เกิดความกลัวว่างานจะไม่มั่นคง
 ปัจจัยทางเศรษฐกิจ : ถ้างานใหม่ขึ้นอยู่กับทักษะความสามารถสูง เกรงว่าจะทำไม่ได้ รายได้อาจจะลดลง
 กลัวความไม่รู้ : กลัวว่าตนเองจะไม่สามารถทำงานใหม่ได้มีทัศนคติทางลบและต่อต้าน
 การเลือกการรับรู้ : เฉพาะเรื่องที่ตนสนใจและถนัด ไม่สนใจฟังคำแนะนำใหม่ๆเพราะคิดว่าไม่มีประโยชน์

การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
 การต่อต้านที่เกิดจากองค์การ
 โครงสร้าง
 เปลี่ยนแปลงในวงจำกัด
 ความเฉื่อยของกลุ่ม
 กลัวจะสูญเสียความเป็นผู้เชี่ยวชาญ
 กลัวจะสูญเสียอำนาจที่มีอยู่เดิม
 กลัวจะสูญเสียทรัพยากรที่เคยได้รับ
การเอาชนะการต่อต้าน
 ให้การศึกษาและการติดต่อสื่อสาร ข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ
 ให้มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ
 ให้การสนับสนุน เพื่อพัฒนาฝึกอบรม และให้โอกาสพนักงานปรับตัว
 เจรจาต่อรอง ให้รางวัลแลกเปลี่ยนเพื่อลดการต่อต้าน
 ยับยั้งข้อมูลในส่วนที่อาจทำให้พนักงานไม่พอใจ
 การใช้อำนาจบีบบังคับ

ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง
 การละลายพฤติกรรม (Unfreezing) : กระตุ้นให้บุคคลละทิ้งพฤติกรรมเดิมด้วยการแก้ไขปรับปรุงสภาพที่เป็นอยู่
 การเปลี่ยนสู่สภาพใหม่ (Moving) : ปรับความคิดความรู้สึกเพื่อให้เกิดทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมใหม่ โดยการจัดโปรแกรมฝึกอบรม เพื่อสร้างความพร้อมให้กับพนักงาน
 การสร้างพฤติกรรมใหม่ (refreezing) : การเสริมแรงเพื่อให้ทุกคนมีความมั่นใจว่าระบบการให้รางวัล ความดีความชอบจะพิจารณาจากพฤติกรรมใหม่ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงที่คงที่
อุปมาเหมือนดั่ง “น้ำที่สงบนิ่ง” องค์การเปรียบเสมือนเรือลำใหญ่ที่แล่นอยู่ในทะเล กัปตันและลูกเรือคุ้นเคยกับการเดินทางเป็นอย่างดี การเปลี่ยนแปลงเปรียบเสมือนพายุที่อาจเกิดขึ้นได้

อุปมาดั่ง “น้ำใสที่ไหลเชี่ยว” องค์การเปรียบเสมือนแพที่ล่องอยู่ในแม่น้ำที่ไหลเชี่ยว ซึ่งผู้โดยสารบนเรือไม่คุ้นเคยกัน และไม่ทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้น การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

การวินิจฉัยเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ
 การวินิจฉัย (Diagnosis) : เกี่ยวกับปัญหาต่างๆ โดยการสอบถาม สัมภาษณ์ ฟังความคิดเห็นจากพนักงานงาน
 การวิเคราะห์ (Analysis) : นำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่าเกิดจากอะไร มีกี่เรื่อง วิธีการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ควรจะทำอย่างไร ใครจะเป็นผู้แก้ปัญหานั้น
 ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) : ผู้นำการเปลี่ยนแปลงและพนักงานนำข้อมูลทั้งหมดมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พนักงานพร้อมให้ความช่วยเหลือเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
 การปฏิบัติ (Action) : ลงมือปฏิบัติตามแผนที่กำหนด
 การประเมินผล (Evaluation) : นำผลที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงมาเปรียบเทียบและประเมินผล





 

Create Date : 27 มีนาคม 2553
0 comments
Last Update : 13 สิงหาคม 2553 14:47:59 น.
Counter : 14787 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Benjawan_B
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 93 คน [?]




วิทยากร, ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRM & HRD), การบริหารความเสี่ยงองค์กร, การจัดการมาตรฐานแรงงาน, กฎหมายแรงงาน,เขียนหนังสือและบทความ
New Comments
Friends' blogs
[Add Benjawan_B's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.