Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
6 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 

บทที่ 2 พื้นฐานของพฤติกรรมระดับบุคคล

ต้นเหตุที่ทำให้บุคคลและพฤติกรรมบุคคลในองค์การ แตกต่างกัน
• ลักษณะทางด้านชีวประวัติของบุคคล (Biographical Characteristics)
• ความสามารถ (Ability)
• การเรียนรู้ (Learning)

ลักษณะทางด้านชีวประวัติของบุคคล
(Biographical Characteristics)

1. อายุ (Age) อายุที่แตกต่างกันจะมีพื้นฐานทางพฤติกรรมที่แตกต่างกัน
2. เพศ (Gender) งานบางอย่างเพศหนึ่งจะทำได้ดีกว่าอีกเพศหนึ่ง
3. สถานภาพสมรส (Marital Status) คนโสด และคนแต่งงานแล้วจะมีประสิทธิภาพในการทำงานที่แตกต่างกัน /คนโสดจะมีความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังกับงานมากกว่า คนที่แต่งงานแล้วจะมีความเข้าใจในคนอื่นมากกว่า
4. อายุการทำงาน (Tenure)

อายุ (Age) เกิดจากความเชื่อว่า

ผลการทำงานของคนจะลดลงเมื่อมีอายุมากขึ้น
• กำลังแรงงานมีอายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้น
• พนักงานไม่จำเป็นต้องเกษียณเมื่ออายุ 60 ปี

ผลกระทบของอายุต่อพฤติกรรมองค์การ
 การเข้า-ออกจากงาน (Turnover) : อายุมากขึ้นการเข้า-ออกจากงานจะลดลง เพราะโอกาสหางานใหม่มีทางเลือกน้อยลง ตำแหน่งงานสูงขึ้น ค่าจ้างสูงขึ้น สวัสดิการเพิ่มขึ้น
 การขาดงาน : อายุมากขึ้น อัตราขาดงานที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้จะสูง เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ
 ผลิตผล หรือผลิตภาพของงาน : อายุมาก ความว่องไวลดลง เกิดความเบื่อหน่ายเพิ่มขึ้น ผลผลิตของงานย่อมลดลง
 ความพึงพอใจในงาน : คนที่ทำงานมานาน อายุมากขึ้น ความพึงพอใจในงานเพิ่มขึ้น แต่มักขาดความยืดหยุ่นในการปรับตัว ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ขัดขวางเทคโนโลยี

เพศ (Gender)
• ความสามารถในการแก้ปัญหา
• ทักษะทางด้านการวิเคราะห์
• แรงผลักดันด้านการแข่งขัน
• การจูงใจ
• ความสามารถในการเข้าสังคม
• ความสามารถด้านการเรียนรู้
• ความพึงพอใจในงาน
• อัดตราการเข้า-ออกงาน
เพศหญิง เพศชาย ไม่แตกต่างกัน

สถานภาพสมรส (Marital Status)
• พนักงานที่แต่งงานแล้ว จะมีอัตราเข้า-ออก และขาดงานน้อยกว่า
การใช้คนให้เหมาะสมกับงาน

ความสามารถ (Ability)
หมายถึงสมรรถภาพของบุคคลที่จะทำงานสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ได้รับมอบหมายได้ แบ่งออกเป็น
• ความสามารถทางด้านสติปัญญา (Intellectual Ability)
• ความสามารถทางด้านร่างกาย (Physical Ability)

ความสามารถทางด้านสติปัญญา (Intellectual Ability)

• ทางด้านตัวเลข: คำนวณได้ถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว เหมาะที่จะเป็นนักบัญชี ผู้คำนวณราคาภาษีสินค้าแต่ละรายการ
• การเข้าใจภาษา : สามารถเข้าใจในสิ่งที่อ่าน หรือฟัง สื่อความหมายเข้าใจ เหมาะที่จะเป็นผู้จัดการ ผู้ประสานงาน
• การรับรู้ฉับไว : ระบุในสิ่งที่เห็น แยกแยะได้อย่างรวดเร็ว เหมาะที่จะเป็นนักสืบ ผู้หาสาเหตุของอุบัติภัย
• การให้เหตุผลเชิงอุปมาน : ระบุลำดับขั้นตอนของปัญหาได้อย่างมีเหตุผล เหมาะเป็นนักวิจัยตลาด ทำนายความต้องการของตลาดในอนาคตได้
ความสามารถทางด้านสติปัญญา (Intellectual Ability)
• ความสามารถการให้เหตุผลในเชิงอนุมาน : ใช้หลักเหตุและผลมาพิจารณาข้อเท็จจริง เหมาะกับหัวหน้างานควบคุมดูแลพนักงาน มีความสามารถในการเลือกทางเลือกที่แตกต่างกันได้
• การมองเห็นภาพจากจินตนาการ : มีความคิดสร้างสรรค์ เหมาะกับงานออกแบบตกแต่งภายใน
• ความสามารถในด้านความจำ : เก็บรักษาประสบการณ์ให้อยู่ในความทรงจำได้นาน เหมาะกับงานขาย สามารถจำชื่อลูกค้าได้

ความสามารถทางด้านร่างกาย (Physical Ability)

• ความแข็งแรง : การใช้กล้ามเนื้อ ความทรหดอดทน ความแข็งแกร่งทำให้เกิดแรงดึง แรงผลัก และการใช้พลังงาน เช่นนักกีฬากระโดดไกล นักยกน้ำหนัก พวกซูโม่
• ความยืดหยุ่น : การเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อส่วนลำตัว ส่วนหลัง สามารถแบก ยก หรือหามของหนักๆได้ ทำซ้ำๆได้อย่างรวดเร็วเช่น นักยิมนาสติก นักวิ่ง นักปั่นจักรยาน
• ด้านอื่นๆ : : ความสามารถในการทำงานพร้อมกันของอวัยวะต่างๆ ความสามารถรักษาความสมดุลในการออกแรงออกกำลัง ด้านความอดทนต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น นักมวย นักกายกรรม

การเรียนรู้ (Learning)
การเรียนรู้ คือ การที่เราทำให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างถาวร โดยได้ผ่านประสบการณ์อย่างหนึ่งอย่างใด เช่น เรามานั่งในชั้นเรียน ฟังสิ่งที่บรรยาย ก่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้
เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่ได้รับ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับบุคคลนั้นโดยตรง แต่อาจเกิดจากการสังเกตการณ์ที่มีผลกระทบต่อผู้อื่นด้วย

การเรียนรู้ (Learning)
• การเรียนรู้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
• การเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวร แต่ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว อาจเป็นเพียงผลสะท้อนจากการรับรู้เท่านั้น
• การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการกระทำ กระบวนการคิด หรือทัศนคติ
• ประสบการณ์ที่ให้เกิดการเรียนรู้ อาจได้รับจากการสังเกต จากตนเองโดยตรง หรือทางอ้อมก็ได้ เช่นจากการอ่านหนังสือ ครอบครัว เพื่อน สื่อมวลชน หรือพฤติกรรมในสังคม

ทฤษฎีการเรียนรู้
1. การเรียนรู้เงื่อนไขคลาสสิก (Classical Conditioning)
2. การเรียนรู้เงื่อนไขการกระทำ (Operant Conditioning)
3. การเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning)

ทฤษฎีการเรียนรู้เงื่อนไขคลาสสิก
• พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) : เป็นการเรียนรู้จากเงื่อนไข มีตัวกระตุ้นหรือสิ่งเร้าและมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า “ เมื่อนำสิ่งเร้าที่เป็นกลางหรือสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข (CS) เสนอควบคู่กับสิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข (UCS) ซ้ำๆหลายๆครั้ง ในที่สุด สิ่งเร้าที่เป็นกลางนั้น จะกลายเป็นสิ่งเร้าที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองได้ด้วยตนเอง”

การตอบสนองที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข
• เป่าลมเข้าตา จะทำให้ตากระพริบ
• มะม่วงดองทำให้น้ำลายไหล
• เสียงดังทำให้สะดุ้ง กลัว
• พริกไทป่นเข้าจมูกทำให้เกิดการจาม

ทฤษฎีการเรียนรู้เงื่อนไขการกระทำ (Operant Conditioning)

• สกินเนอร์ (B.F.Skinner) : พฤติกรรมของบุคคล มีเงื่อนไขขึ้นอยู่กับผลการกระทำ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง เมื่อทำอะไรแล้วผลแห่งการกระทำเป็นที่ชื่นชอบ ก็จะกระทำซ้ำ แต่ถ้าผลการ
• กระทำใดไม่เป็นที่พอใจก็จะหยุดพฤติกรรมนั้นๆ
“บุคคลเรียนรู้ที่จะแสดงพฤติกรรมเพื่อให้ได้บางอย่างที่ต้องการ และเพื่อหลีกเลี่ยงในบางสิ่งที่ไม่ต้องการ”

ทฤษฎีการเรียนรู้เงื่อนไขการกระทำ
1. พฤติกรรม ก. ผลการกระทำได้รับ “ความพอใจ” ถือเป็น “รางวัล” (reward)
Ex : “สุดสวย” ใส่รองเท้าคู่ใหม่ ได้รับคำชมจากเพื่อนว่าสวยมาก ดังนั้นแนวโน้มว่า “สุดสวย” จะใส่รองเท้าคู่นี้บ่อยมากขึ้นในอนาคต
2. พฤติกรรม ข. ผลการกระทำได้รับ “ความไม่พอใจ” ถือเป็น “การลงโทษ” (punishment)
Ex : “สวยสุดสุด”ใส่น้ำหอมที่มีกลิ่นฉุนรุนแรงมาก ไปงานเลี้ยงรุ่น และได้รับคำหัวเราะเยาะจากเพื่อนๆ ดังนั้นจึงมีแนวโน้มว่า “สวยสุดสุด” คงไม่อยากใส่น้ำหอมยี่ห้อนี้อีกต่อไป
3. พฤติกรรม ค. ผลการกระทำ “ไม่ได้รับรางวัล และ ไม่ได้รับการลงโทษ” พฤติกรรมไม่เปลี่ยนแปลง

ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning)
• เชื่อว่าการเรียนรู้ของคนเกิดจากการสังเกตกระบวนการทางสังคม ทำให้เกิดการรับรู้และเข้าใจ ทำให้เปลี่ยนพฤติกรรมได้ เช่น หากการฆ่าคนตาย ทำให้ต้องถูกประหารชีวิต คนจะกลัวและเกิดการเรียนรู้ว่าจะไม่ทำ
• เป็นการเรียนรู้จากการสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้อื่น หรือได้รับคำบอกเล่าจากผู้อื่น หรือได้รับประสบการณ์โดยตรง เช่น เรียนรู้จากพ่อแม่ ครู อาจารย์ เพื่อนร่วมงาน ดารา และนายจ้าง เรียกว่า “การเรียนรู้จากการเลียนแบบผู้อื่น”

Modeling Processes
• กระบวนการสร้างความสนใจ : เกิดจากความสนใจ ตั้งใจ บุคคลจะเรียนรู้จากต้นแบบเมื่อเกิดการยอมรับ นับถือ และมีความสนใจ ในจุดเด่น เช่น มีบุคลิกภาพสวย เท่ สะดุดตา น่ารัก นักธุรกิจที่มีชื่อเสียงประสบความสำเร็จ หรือนักกีฬาเก่งๆ
• กระบวนการสร้างความทรงจำ : บุคคลจะเรียนรู้จากต้นแบบมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของการกระทำจากต้นแบบ ที่ผู้เลียนแบบสามารถจดจำได้มากน้อยเพียงไร
• กระบวนการให้ปฏิบัติตาม : บุคคลจะเรียนรู้จากต้นแบบได้ก็ต่อเมื่อได้เห็นพฤติกรรมใหม่ แล้วปฏิบัติตาม สร้างความรู้ใหม่ๆขึ้นมา
• กระบวนการเสริมแรง : การเอาความรู้นั้นๆ ไปใช้เพื่อให้เกิดการแตกฉาน บุคคลจะดั้บแรงจูงใจให้แสดงพฤติกรรมตามแบบอย่าง หากได้รับความพึงพอใจ ถ้าได้รับความสนใจมาก เกิดการเรียนรู้ และนำไปปฏิบัติมากขึ้น

การสร้างแบบพฤติกรรมใหม่ : เครื่องมือทางด้านการจัดการ
การสร้างแบบพฤติกรรม (shapinh Behavior) หมายถึง การใช้วิธีเสริมแรงอย่างมีระบบและมีขั้นตอนต่อเนื่องกัน เพื่อให้บุคคลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ตามที่ต้องการ

วิธีสร้างแบบพฤติกรรม
• การเสริมแรงทางบวก : การให้สิ่งพอใจอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการ เกิดความรู้สึกที่ดี มีกำลังใจในการทำงาน เช่น การกล่าวชมเชย การเพิ่มเงินเดือน โบนัส
• การเสริมแรงทางลบ : การทำให้สิ่งที่ไม่พอใจเพื่อให้หยุดพฤติกรรม ปรับพฤติกรรมใหม่ เช่น การวางเฉย เลิกให้ความสนใจ นักเรียนคุยกัน ครูจับแยกกัน
• การลงโทษ : เพื่อให้เลิกพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ โดยการวางเงื่อนไข กำหนดกฏ กติกา เช่น ให้พนักงานที่ดื่มเหล้าขณะปฏิบัติงาน หยุกพักงาน 3 วันโดยไม่จ่ายเงินเดือน
• การเลิกการเสริมแรง : เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ

ตารางการเสริมแรง
• การเสริมแรงอย่างต่อเนื่อง : เพื่อให้แสดงพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ แต่หากไม่ได้รับการเสริมแรงอย่างต่อเนื่องจะทำให้ขาดความกระตือรือร้น กลับไปสู่พฤติกรรมเดิม
• การเสริมแรงเป็นช่วงๆ : เฉพาะพฤติกรรมที่ต้องการ หรือบางกรณีเท่านั้น
การเสริมแรงเป็นช่วงๆ
• กำหนดช่วงเวลาแน่นอน : ให้รางวัลระยะเวลาคงที่จ่ายรางวัลพิเศษให้ทุกวันจันทร์สำหรับพนักงานที่ไม่ขาด ลา สาย สำหรับอาทิตย์ที่ผ่านมา (ได้ผลในระดับกลางๆ )
• กำหนดช่วงเวลาแปรผัน : ให้รางวัลเวลาไม่แน่นอน กำหนดทดสอบเก็บคะแนนนักศึกษาโดยไม่บอกล่วงหน้า pop quiz (ได้ผลค่อนข้างสูง)
• กำหนดอัตราส่วนของงานคงที่ : ให้รางวัลตามผลงานจ่ายโบนัสพิเศษทุกๆยอดขาย 1,000 บาท
• กำหนดอัตราส่วนของงานแปรผัน : ให้รางวัลตามอัตราที่ผันแปร พนักงานจะได้รับค่าคอมมิชชั่นตามที่ขายสินค้าได้ (ขายมากได้มาก ขายน้อยได้น้อย)

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (OB Modification)
• ระบุพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
• กำหนดข้อมูลเพื่อใช้เป็นฐานในการวัด
• ระบุผลของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริง
• กำหนดกลยุทธ์เพื่อดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
• ประเมินผลการปรับปรุงผลงาน

ประโยชน์ของ OB Mod
• เพื่อปรับปรุงผลิตภาพของพนักงาน
• เพื่อลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงานให้น้อยลง
• เพื่อลดอัตราการขาดงาน
• เพื่อลดอัตราอุบัติเหตุ
• เพื่อลดความเฉื่อยชาในการทำงาน
• เพื่อปรับปรุงการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า

การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ในองค์การ
• การจัดโปรแกรมการจ่าย Well Pay VS. Sick Pay ให้รางวัลคนที่ไม่เคยเบิกค่ารักษาพยาบาล และให้รางวัลคนที่ไม่เคยลาหยุดเลย
• การลงโทษพนักงานที่มีปัญหา (Disciplining Problem Employees) การกำหนดวินัย เพื่อควบคุมพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา ต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพในการลงโทษทางวินัย
• การพัฒนาโครงการฝึกอบรม (Developing Training Programs) ฝึกอบรม เพื่อให้เกิดพฤติกรรมใหม่ สร้างแรงกระตุ้น
• การบริหารตนเอง (Self-management) จัดให้มีกระบวนการควบคุมดูแลตนเอง

ใบงานครั้งที่ 1
แบ่งกลุ่มนักศึกษา 4 กลุ่ม ให้เวลากลุ่มละ 10 นาที ตัวแทนนำสรุปหน้าห้อง พร้อมส่งรายงาน

งานกลุ่ม 1
Well Pay Program และ Sick Leave Program ต่างกันอย่างไร
การที่บริษัทจัดทำ Well Pay Program ใช้แทน Sick Leave Program นักศึกษาเห็นด้วยหรือไม่ เพราะอะไร


ให้นักศึกษาอธิบายบทบาทของผู้บริหาร (Management Roles) แต่ละแบบ พร้อมยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจน
งานกลุ่ม 2 : บทบาทด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal Roles)
งานกลุ่ม 3 : บทบาทด้านข้อมูลข่าวสาร (Information Roles)
งานกลุ่ม 4 : บทบาทด้านการตัดสินใจ (Decisional Roles)







 

Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2553
17 comments
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2553 14:14:02 น.
Counter : 13125 Pageviews.

 

อาจารย์ครับมีเรื่องรบกวนสอบถามหน่อยครับอยากถามว่าถ้ามีความสนใจเรื่องของHRD เราต้องมีความรู้หรือหาความรู้เรื่องไหนเป็นสำคัญบ้างครับ

รบกวนอาจารย์ด้วยนะครับ..
ขอบคุณครับ

 

โดย: พิทักษ์ ขนิษฐ์น้อย IP: 113.53.21.140 7 กุมภาพันธ์ 2553 22:21:23 น.  

 

อ่านในคอลัมภ์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ HRD ซิค่ะ เผื่อจะได้ไอเดียบ้าง

 

โดย: อ.หน่อย (Benjawan_B ) 8 กุมภาพันธ์ 2553 14:07:22 น.  

 

เข้ามาหาข้อมูล โปรแกรมการจ่าย Well Pay VS. Sick Pay ครับ

 

โดย: วีระฉัตร ใจมา IP: 58.137.145.41 10 กุมภาพันธ์ 2553 12:45:11 น.  

 

ตัวอย่าง 1
องค์การแห่งหนึ่งที่ Midwest ในสหรัฐอเมริกา มีการจัดโปรแกรมจ่ายโบนัสพนักงานที่มีสุขภาพดี เรียกว่า "Well-Pay Program" ซึ่งถ้าพนักงานไม่ขาดงานทุกๆ 4 สัปดาห์ติดต่อกัน และให้สิทธิพนักงานลาป่วยได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมงแรกเท่านั้น โดยไม่หักเงินเดือน แต่ถ้าหลังจากนั้นจะโดนหักเงิน จากการประเมินผล Well-Pay Program พบว่าองค์การสามารถประหยัดเงินเพิ่มขึ้น ลดอัตราการขาดงานลง เพิ่มผลผลิต หรือผลิตภาพของงานสูงขึ้น และทำให้พนักงานได้รับความพอใจมากขึ้น

ตัวอย่างที่ 2
นิตยสาร Forbes ได้ใช้หลักการเดียวกันเพื่อนำไปลดค่าใช้จ่ายทางด้านการรักษาพยาบาลของ พนักงาน โดยการให้รางวัลแก่พนักงานที่สามารถรักษาสุขภาพของตนเองได้ดี ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย โดยจะจ่ายเงินเป็น 2 เท่าของผลต่างระหว่าง $500 หักค่ารักษาพยาบาลและค่ายาที่นำมาเบิก

ดังนั้นถ้าพนักงานผู้ใดไม่ มีรายการหักค่ารักษาพยาบาลใดๆใน 1 ปี ก็จะได้รับเงินรางวัลเท่ากับ $1,000 ด้วยการให้รางวัลแก่พนักงานที่มีสุขภาพดีดังกล่าวนี้ Forbes อ้างว่า ทำให้บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านค่ารักษาพยาบาลได้มากกว่า 30%

แต่สำหรับองค์การในประเทศไทย ถ้าจะนำมาใช้ก็คงจะต้องปรับให้เข้ากับนโยบายขององค์การแต่ละองค์การ



 

โดย: อ.หน่อย (Benjawan_B ) 12 กุมภาพันธ์ 2553 14:26:13 น.  

 

ขอบคุณครับ อ.หน่อย ตัวอย่างเหมือนในหนังสือเดี๊ยเลยครับ งั้นผมคงต้องขอตัวไปหาข้อมูลเพิ่มเติมอีกหน่อยส่วนรายงานเดี๋ยวให้มือปืนพิทักษ์ จัดการครับส่วนผมฝ่ายสนับสนุนครับ (^_^)

 

โดย: วีระฉัตร ใจมา IP: 58.137.145.41 12 กุมภาพันธ์ 2553 19:20:20 น.  

 

เธซเธงเธฑเธ”เธ”เธตเน€เธžเธทเนˆเธญเธ™เน€เธเนˆเธฒ เธ™เธฒเธขเธˆเธณเน€เธฃเธฒเน„เธ”เน‰เธซเธฃเธทเธญเน€เธ›เธฅเนˆเธฒ

 

โดย: เธžเธดเธ—เธฑเธเธฉเนŒ IP: 125.24.82.250 24 พฤษภาคม 2553 11:37:49 น.  

 

Jack (Nat)

 

โดย: Jack IP: 125.24.82.250 24 พฤษภาคม 2553 11:38:42 น.  

 

from ..... Nat

 

โดย: hi...Jack IP: 125.25.181.252 14 มิถุนายน 2553 14:56:34 น.  

 

hi...Jack
I want you my friend

 

โดย: Nat IP: 125.25.181.252 14 มิถุนายน 2553 14:58:05 น.  

 

อ่านเเล้วจะหลับ



zzzz

 

โดย: เเก IP: 192.168.212.14, 58.136.93.202 14 กันยายน 2553 9:09:32 น.  

 

ขอบคุณที่ให้ความรู้ค่ะ

 

โดย: mylove IP: 192.168.1.87, 118.172.87.172 21 ธันวาคม 2553 20:29:47 น.  

 

นู๋เป็นคนหนึ่งที่ชอบศึกษานอกจากเวลาที่อาจาร์ยผู้สอนแล้วยังมาหาความรู้เพิ่มเติม เรื่องนี้ตรงกับที่ผู้สอน มหาลัยหนูพอดีเลยค่ะ

 

โดย: mylove IP: 192.168.1.87, 118.172.87.172 21 ธันวาคม 2553 20:33:00 น.  

 

ขอโทษนะคะ
อยากทราบว่า คุณพิทักษ์ ขนิษฐ์น้อย เคยศึกษาที่วิทยาลัยเทคนิคน่านรึเปล่าคะ

 

โดย: คุณพิทักษ์ ขนิษฐ์น้อย IP: 183.89.18.28 14 มีนาคม 2554 22:18:09 น.  

 

คุณพิทักษ์ ขนิษฐ์น้อย (Jack) ใช่คุณรึเปล่า อยากทราบว่าตอนนี้ สบายดีไหม

 

โดย: Natt IP: 183.89.18.28 14 มีนาคม 2554 22:20:06 น.  

 

อ. ครับ ผมอยากทราบตัวอย่างพฤติกรรมระดับบุคคลในองค์การไทย พอจะมีรายละเอยดบ้างมั้ยครับ

ขอบคุณครับ

 

โดย: Sylar IP: 118.172.168.225 17 มีนาคม 2554 14:19:41 น.  

 

อยากรู้ว่า พฤติกรรมส่วนบุคคล พฤติกรรมกลุ่ม มีความสัมพันธ์กับองค์กรอย่างไร และส่งผลต่อพฤติกรรมองค์กรอย่างไรครับ

 

โดย: ส้ม IP: 171.4.248.63 14 กรกฎาคม 2558 17:52:05 น.  

 

ตอบคุณส้ม
ข้อมูลอยู่ในบล๊อคใหม่ แล้วนะคะ

 

โดย: อ.หน่อย (Benjawan_B ) 20 กรกฎาคม 2558 12:17:17 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Benjawan_B
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 93 คน [?]




วิทยากร, ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRM & HRD), การบริหารความเสี่ยงองค์กร, การจัดการมาตรฐานแรงงาน, กฎหมายแรงงาน,เขียนหนังสือและบทความ
New Comments
Friends' blogs
[Add Benjawan_B's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.