a whispering star
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




คุณแม่น้องเจเจ-จ๊ะจ๋าค่ะ ^^
Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
2 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add a whispering star's blog to your web]
Links
 

 
อะไรที่กำลังเขียนอยู่ ... ตอนนี้

(ร่าง) บทคัดย่อบทความที่จะเสนอในการสัมมนาวิชาการรัฐศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่ 25 - 26 พ.ย. 53 ใครสนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ ที่นี่ //www.copag.msu.ac.th/pspa/index.php?option=com_content&view=article&id=47&Itemid=54 ส่งบทคัดย่อ และบทความได้ถึงวันที่ 20 ก.ย. นี้ -- นะคะ ... ของเราก็ยังเขียนไม่เสร็จเหมือนกัน ..^^"...





บ อ ก ไ ว้ ก่ อ น ว่ า ไม่ ไ ด้ ตั้ ง ใ จ จ ะ เ ส น อ เ อ า โ ล่ ห์ น ะ ค ะ ... เขา (สกว.) บังคับว่านิสิตนักศึกษาปริญญาเอกทุกคนต้องมีการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการ และมีผลงานตีพิมพ์ ไม่งั้นมันจะเรียนไม่จบค่ะ ... วอน audience ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลาย ... - เ ร า ก็ รู้ - ว่าคุณรู้และมีประสบการณ์มากกว่าเรามากมายหลายเท่า ทั้งยังมี passion ในเรื่องที่เราทำอย่างล้นหลาม และมีการใช้ภาษาและวาทศิลป์อันเป็นเลิศ ... แต่ขอให้เห็นใจนิสิตนักศึกษาที่บางคนก็ยังไม่ชำนาญการเขียนบทความ - บางคนก็ถูกบังคับให้เลือก topic ตามอาจารย์ที่ปรึกษา -- แต่จำเป็นต้องนำเสนอบทความบ้างเหอะ ... ว่ากันตามตรงพวกเราก็ไม่ได้อยากจะผลิตบทความเผา ๆ ห่วย ๆ ออกมาให้คุณวิจารณ์ -- เราก็อยากจะเขียนบทความเฉพาะเมื่อมี impulse และ passion อันแรงกล้า..จนหลั่งไหลออกมาเป็นตัวหนังสือบนแผ่นกระดาษเหมือนกับคุณ ...ถ้าจะด่า -- ไปด่า - ใ ค ร - หรือ - อ ะ ไ ร - ที่กำหนด requirement ให้ทุกคน - ต้อง - เสนอบทความ ต้องตีพิมพ์ ต้อง blah blah blah ก่อนจบ .. จะเข้าท่ากว่าไหม ?





บ่น ๆ ๆ มามากพอแระ :P แปะเลยแล้วกัน ... จะได้รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ - แ ล ะ - ทำไมจึงจะต้องวางมือจาก farm ชั่วคราว ... อย่างน้อยก็จนกว่าจะถึงวันที่ 20 ค่ะ ... ^^...

--------------------------------------


ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่เปลี่ยนแปลงไป ภายใต้กระแส “ประชาธิปไตย” เบ่งบาน : ย้อนมองการต่างประเทศไทย พ.ศ. 2516 - 2519



บทคัดย่อ



บทความนี้เสนอที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และนโยบายต่างประเทศของไทย โดยเฉพาะนโยบายต่อสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน และประเทศอินโดจีน หลังสิ้นสุดสงครามเวียดนาม ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ – ๒๕๑๙ โดยมีพื้นฐานความคิดจากงานศึกษาวิจัยช่วงก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า หลังการลงนามในข้อตกลงปารีสเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ และการถอนทหารสหรัฐฯ ออกจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นจุดเปลี่ยน และจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งในการต่างประเทศของไทย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย – สหรัฐฯ ที่มีปัญหามากกว่าช่วงใดๆ ที่ผ่านมา และความพยายามที่ไม่ค่อยประสบผลนัก ในการปรับความสัมพันธ์กับประเทศคอมมิวนิสต์ ได้แก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน และประเทศในกลุ่มอินโดจีน ความเปลี่ยนแปลง และความขัดแย้งดังกล่าว ที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนหลังการล่มสลายของรัฐบาลทหารในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ มักถูกมองว่า เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากบรรยากาศที่เป็น ‘ประชาธิปไตย’ มากขึ้น ในยุคสมัยของรัฐบาลพลเรือน ปี 2516 – 2519 ที่เปิดโอกาสให้ภาคประชาชน และประชาสังคมมีส่วนร่วมมากขึ้น





จากการศึกษา เอกสารชั้นต้นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นเอกสารที่เพิ่งมีการเปิดเผยใหม่ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หอจดหมายเหตุแห่งชาติสหราชอาณาจักร และกระทรวงการต่างประเทศของไทย บทความนี้เสนอว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับนโยบาย และการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยในช่วงรัฐบาลพลเรือนคือ ตั้งแต่รัฐบาลสัญญา ธรรมศักดิ์ หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ถึงรัฐบาลเสนีย์ ปราโมช ในช่วงก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม นั้น เป็นผลมาจากอิทธิพลของพลังสังคมทั้งภายนอกประเทศ และภายในประเทศ โดยพลังสังคมจากภายนอกประเทศที่สำคัญที่สุดที่มีผลโดยตรงต่อการกำหนด และดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทย ยังคงเป็นอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงแม้ว่าสหรัฐฯ จะถูกมองว่าได้ลดการให้ความสำคัญกับภูมิภาคนี้ลง หลังจากที่ได้มีการประกาศใช้หลักการ นิกสัน (Nixon Doctrine) และนโยบายการมอบภาระในการทำสงครามให้กับชาวเวียดนาม ส่วนอิทธิพลของพลังสังคมภายในประเทศนั้น ถึงแม้ว่ากลุ่มภาคประชาชน และภาคประชาสังคมจะได้มีการเรียกร้องในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น การถอนทหาร และฐานทัพของสหรัฐฯ ออกจากประเทศไทย แต่พลังสังคมในประเทศที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการตัดสินใจและกำหนดนโยบายต่างประเทศของไทย ยังคงได้แก่ผู้นำทหาร และผู้นำพลเรือนของไทย ซึ่งมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันในหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาและความไม่ชัดเจนในทิศทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทย ภายใต้การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” โดยรัฐบาลพลเรือน





คำสำคัญ : การต่างประเทศของไทย, นโยบายต่างประเทศ, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย – สหรัฐ, การสิ้นสุดสงครามเวียดนาม







--------------------------------------





The Changing Course of Thai Foreign Affairs during the ‘Democratic’ Years (1973 – 1976)






Abstract





This paper looks at the foreign affairs and policies of Thailand towards other countries, specifically the United States, the People’s Republic of China and the Indochinese countries after the end of Vietnam War in 1973 up to the year 1976. It builds on earlier studies which propose that the signing of Paris Peace Accords in 1973 and the withdrawal of US troops from Southeast Asia mark a significant shift and struggle in Thai foreign affairs, namely the more troubled relationship between Thailand and the United States, as well as several not-so-succesful attempts to restore the relationship with communist countries, stately the People’s Republic of China and the Indochinese countries. These changes and struggles, which became more prominent after the fall of Thailand’s military government in October 1973, are often claimed by mainstream literature to be the result of the more ‘democratic’ political atmosphere during the period of civilian governments (1973 -1976) that allow more participation from the people’s sector and civil society.





With supporting evidences from primary sources document, this paper argues that the changing course of Thailand’s international relationship during the civilian government period – from Sanya Dhammasak Government after the event of October 14, 1973 to the Seni Pramoj Government before the coup on October 6, 1976 - should be considered as the result of external as well as internal social forces. Despite the claim that the US influence in Southeast Asia has dropped after the implementation of Nixon Doctrine and Vietnamization policy, the US remained the most influential international power in the region and its policy still bore considerable impact to Thai foreign affairs. Internally, despite the facts that many groups in the people sector and civil society has been campaigning on international affairs issues, such as the withdrawal of US troops from Thailand, the principle decisive force in Thai foreign affairs still remained within the inner circle – the civilian and military leaders, whose conflicts and schisms were the major causes for the changing course of Thai foreign policies during the so-called ‘democratic’ years.






Keywords: Thai Foreign Affairs/ Foreign Policy/ Thai-US Relations/ End of Vietnam War








Create Date : 02 กันยายน 2553
Last Update : 2 กันยายน 2553 20:55:12 น. 0 comments
Counter : 1221 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.