www.xat.com/SweetTarot ทำนายสดไพ่ยิปซีฟรี
Group Blog
 
 
มีนาคม 2551
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
7 มีนาคม 2551
 
All Blogs
 

พูดอย่างไรให้เหมือนเจ้าของภาษา



มีหลายๆ คนมีจุดมุ่งหมายว่า อยากจะพูดภาษาอังกฤษให้เหมือนเจ้าของภาษา จริงๆ แล้วอยากจะบอกว่า ถ้าการพูดให้เหมือนเจ้าของภาษา คือพูดสำเนียงแบบเขาล่ะก็ เป็นไปได้ยากค่ะ มีหลายๆ คนเคยใช้ชีวิตอยู่เมืองนอกมาหลายปี บางคนเป็นสิบๆ ปี บางคนเรียนถึงปริญญาเอก เวลาพูดออกมา ก็ยังไม่ได้สำเนียงเขามาเลย เพราะว่าการพูดเนี่ย มันมีอยู่หลายปัจจัยค่ะที่เป็นอุปสรรค

ประการแรก อายุของผู้เรียน ถ้าผู้เรียนเริ่มเรียนภาษาที่สองตั้งแต่อายุยังน้อยก็มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่จะพูดเลียนสำเนียงเจ้าของภาษาได้ใกล้เคียง ที่พูดว่าใกล้เคียงเนี่ย เพราะเขามีการทำการทดลองมาแล้วกับเด็กอายุประมาณห้าขวบ ที่ย้ายไปอยู่ประเทศอเมริกา และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นเป็นเวลาสามสิบกว่าปี ก็ยังมีสำเนียงหรือที่เขาเรียกว่า accent ของภาษาแรกอยู่เลย เพราะว่าระบบภาษาของภาษาแม่มีอิทธิพลต่อการเรียนระบบภาษาของภาษาที่สองค่ะ สำหรับประสบการณ์ที่ได้เจอ และวิเคราะห์มา พบว่า การเริ่มเรียนภาษาที่สอง หรือหัดพูดสักอายุประมาณ 12 ปี ยังมีโอกาสที่จะได้ accent เขามา คือ คนธรรมดาๆ อย่างเราๆ ทั่วไป แยกไม่ออกหรอกค่ะ ว่าเขามี accent ภาษาแม่อยู่ (ฝรั่งเขาจะพูดกันว่า “You have an accent” อย่าไปเข้าใจผิดนะคะว่าเราพูดได้ accent ของเขา เขาหมายความว่า เรามี accent ภาษาไทยอยู่ ค่ะ) แต่ถ้ายิ่งอายุมากขึ้น ลิ้นเราก็จะแข็งค่ะ ก็ไม่สามารถที่จะเลียนแบบภาษาที่สองได้เท่าไหร่นัก ยิ่งอายุมากขึ้นก็เป็นไปได้ยาก ทำใมเขาถึงบอกว่าลิ้นเราแข็ง ก็เพราะว่า ภาษาแต่ละภาษามีตัวอักษรไม่เหมือนกัน การออกเสียงไม่เหมือนกัน เสียงในภาษาหนึ่ง อาจจะไม่มีในอีกภาษาหนึ่ง พอเราใช้ภาษาแม่ไปนานๆ แล้วอยู่ๆ จะมาเรียนภาษาที่สองเนี่ย ลิ้นเราก็ติดกับการพูดภาษาแม่ไปแล้ว อย่างเช่นคนไทยมักมีปัญหาในการออกเสียง th พูดยังไงก็ไม่ได้สักที ผิดทุกที ก็เป็นเพราะว่าในภาษาไทยไม่มีเสียง th ค่ะ เช่นคำว่า think เรามักจะออกกันว่า “ติ๊ง” ซึ่งจริงๆ แล้ว ไม่ได้ เราต้องออกว่า “ธิ๊งค์” อะไรอย่างนี้เป็นต้นค่ะ

ข้อสอง การที่เราใช้ภาษาแม่เป็นประจำอยู่เสมอ แล้วเรามาพูดภาษาที่สอง เราก็จะติดกับการใช้คำ หรือการออกเสียงของภาษาแม่ ยิ่งเราพูดภาษาแม่มานานเท่าไหร่ หรือใช้บ่อยแค่ไหน ก็จะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียน “เลียนเสียง” ของภาษาที่สองค่ะ ก็เป็นเหตุผลเดียวกันกับเรื่องลิ้นแข็งน่ะแหละค่ะ

ข้อสาม การเรียนภาษาที่สอง ก็คือการเลียนแบบการเรียนภาษาแม่ เราเรียนภาษาแม่ยังไง เราก็จะเอาวิธีนั้นมาใช้กับการเรียนภาษาที่สองโดยอัตโนมัติ แต่ภาษาแต่ละภาษาไม่เหมือนกัน วิธีการออกเสียงไม่เหมือนกัน ทำให้เรามีปัญหาในการออกเสียงกันเยอะ ว่าทำใม พูดไปแล้ว ฝรั่งเขาไม่เข้าใจในสิ่งที่เราพูด

ทุกอย่างที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ก็คือสาเหตุค่ะ ว่าทำใมถึงพูดไม่ได้เหมือนเจ้าของภาษาสักที แต่วิธีการแก้ไขก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีนะคะ แต่เราจะต้องค่อนข้างจริงจังกับมันมากพอสมควร ก็พอจะช่วยได้ค่ะ

อย่างแรกเลยก็คือต้องฝึกพูด ฝึกออกเสียงค่ะ ต้องเริ่มออกเสียงให้ถูกตั้งแต่พยัญชนะแต่ละตัว คำแต่ละคำ การลากเสียง การขึ้นเสียงสูง เสียงต่ำ การเน้นคำ พวกนี้ต้องอาศัยการฝึกค่ะ คำในภาษาอังกฤษมีอยู่หลายคำเหมือนกันที่คนไทยมีปัญหาในการออกเสียง อย่างที่ยกตัวอย่างไปแล้วก็คือ ตัว th แล้วก็ยังมีตัว v, ch, sh, z, h, r ค่ะ ก่อนที่จะไปฝึกพูดเป็นคำๆ ให้เริ่มจากหัดออกเสียงพวกนี้ให้ถูกต้องเสียก่อน เวลาไปออกเสียงเป็นคำๆ ก็จะออกเสียงได้ง่ายขึ้น และถูกต้องขึ้นค่ะ

ข้อสอง ฝึกพูดบ่อยๆ แต่เราอยู่เมืองไทยก็จะเจอปัญหาที่ว่า จะไปพูดกับใครล่ะ ไม่มีคนให้ฝึกพูดด้วยเลย วิธีแก้ก็อาจจะเช่น เวลาเราถามทางว่าจะไปไหน เราก็ฝึกคิดกับตัวเองก่อน ว่า เอ... ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ จะต้องพูดว่ายังไงนะ ฝึกคิด ฝึกพูดให้ชินค่ะ แล้วมันจะค่อยๆ มาเอง แต่อาจจะช้าหน่อยนะคะ ต้องใจเย็นๆ ค่ะ
ข้อสาม ศึกษาพวกสำนวน (idiom) หรือ สแลง (slang)ต่างๆ ที่ฝรั่งเขาใช้กัน พวกนี้ก็จะทำให้การใช้ภาษาอังกฤษของเราดีขึ้น ดีขึ้นตรงนี้หมายความว่า “ใช้ภาษาเป็น”ค่ะ เราสามารถศึกษาคำพวกนี้ได้จากสื่อหลายอย่าง จากหนัง จากนิตยสาร จากวิทยุ ฟังแล้วก็จดๆ มา แล้วก็ฝึกแต่งประโยคด้วยตัวเอง

ข้อสี่ คำศัพท์เท่านั้นที่ช่วยได้ค่ะ ปัญหาอีกอย่างที่พบก็คือ เวลาจะพูด จะนึกไม่ออกว่าต้องพูดยังไง ต้องใช้ศัพท์คำไหน อันนี้เป็นเพราะว่า เรารู้ศัพท์น้อย หรือ อาจจะรู้คำศัพท์ แต่ไม่ค่อยได้ใช้ เราก็จะลืม และก็จะนึกไม่ออกเวลาใช้ค่ำ ยิ่งรู้ศัพท์มาก ยิ่งได้เปรียบค่ะ อ้อ แต่เวลาเราจำศัพท์ ควรจำเป็นวลีนะคะ (phrases) จะทำให้เราจำได้ง่ายขึ้นจากการจำเป็นคำศัพท์เดี่ยวๆ ไว้จะมาเขียนเรื่องวิธีการจำคำศัพท์อีกหัวข้อนึงเลยละกันนะคะ เพราะมีรายละเอียดอยู่หลายอย่างเหมือนกัน




 

Create Date : 07 มีนาคม 2551
9 comments
Last Update : 11 มีนาคม 2551 20:15:47 น.
Counter : 1670 Pageviews.

 

เห็นด้วยค่ะ ขอเสริมอีกนิด
เวลาฝึกพูด หัดพูดแล้วก็คุยกับตัวเองเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ค่ะ

 

โดย: avadar 7 มีนาคม 2551 2:06:23 น.  

 

มานั่งรออ่านต่ออยุ่นะคะ ได้ประโยชน์จังเลยคะ

 

โดย: แป๊ะย๊ง 7 มีนาคม 2551 13:20:10 น.  

 

กับภาษาอื่นๆ ก็ใช้ได้เช่นกันคับ
ตอนนี้ ผมก็พูดภาษาญี่ปุ่นกับตัวเองอยู่ทุกวัน
และ มันก็ได้ผลค่อนข้างดีเลยคับ
ในเวลาใช้จริง มันจะออกมารวดเร็วกว่าคนที่ไม่ได้ฝึกคับ

 

โดย: teddyblooh 7 มีนาคม 2551 16:29:47 น.  

 

มุ่ยว่าวิธีนี้ได้ผลจิงๆๆนะ

หุหุ เพราะมุ่ยทำบ่อยชอบพูดอังกฤษคนเดียว

ได้ผลจิงน้า ไม่เชื่อก้อลองดูสิ

 

โดย: MuiMui IP: 203.113.17.169 28 มีนาคม 2551 23:01:46 น.  

 

ที่ทำบ่อยๆ คือเวลาอ่านหนังสือ อ่านออกเสียงค่ะ

แต่ไม่ควรอ่านออกเสียงในห้องสมุดนะคะ ไม่น่ารัก อาจจะโดนไล่ด้วย

บล๊อคดีๆ มีสาระแบบนี้ ขออนุญาต add นะคะ

 

โดย: Tigerish 4 เมษายน 2551 19:01:39 น.  

 

ลิ้นมันแข็ง...แต่จะพยายามค่ะ

 

โดย: aseptic 7 เมษายน 2551 0:45:39 น.  

 

สำหรับคนที่ฝึกได้ถูกทางแล้วเป็นเรื่องดี เพราะตัวเองใช้เวลาอยู่หน้าจอทีวีตลอด4ปี แม้ว่าในชีวิตประจำวันจะได้ใช้น้อยมาก เพราะไม่มีเพื่อนต่างชาต จากนั้นการอ่านออกเสียงที่หลายๆคนไม่อยากทำเพราะอาย แต่ตัวเองนั้น อ่านได้ทุกที่ที่เราทำได้โดยการอ่านเบาๆก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟเงียบๆ ร้านในสโมสร เป็นต้น
ส่วนการดูทีวี ช่วยให้เดาได้ด้วยจากภาพ แต่วิธีที่ดีมากคือการฟังจากวิทยุหรืออินเตอร์เน็ต คุณสามารถย่จับใจความ จดศัพท์ที่สงสัย นำไปเปิดพจนานุกรม
อีกกรณี การจำคำศัพท์ต้องจำโครงสร้างการใช้ศัพท์ จะทำให้เกิดความผิดพลาดได้น้อยในการแต่งประโยค
การใช้คำเชื่อมสำคัญมาก ใคร ทำอะไรที่ไหน เมื่อไหร่ ทำไม ในภาษาฝรั่งเศสก็มีคำแบบนี้ ใข้อักษรคิว กัว กิ กง ปูกัว อุ๊
เราต้องเลียนเสียงทันทีที่ได้ยิน เพื่อให้ได้อารมณ์ในทำนองเดียวกันหรือระดับเดียวกัน การฝึกแบบนี้ คุณจะทราบว่าเราสามารถใช้ทำนองศุงต่ำกำกับอารมณ์และความหมายของคำได้ ถ้ามีเทปอัดคุณจะได้ทราบว่าคุณพัฒนาได้ใกล้เคียงมากน้อย สำหรับตัวเอง พอเวลาพูดไปสักระยะหลังจากหายเกร็งเพราะเขินหรืออะไรก็ตาม ก็จะพูดได้รื่น จนเอาเทปมาฟังหลายทีก็จำไม่ได้ ไม่แน่ใจว่าเป็นตัวเองหรือคจต่างชาติ โดยเฉพาะถ้าบทสนทนาเป็นเรื่องวิชาการก็ไม่คิดว่าตัวเองทำได้อย่างไร เพราะการที่เราสามารถคุยกับผู้อื่นได้โดยไม่ต้องเตรียมเนื้อหา แสดงว่าต้องมีคลังความรู้อยู่บ้าง
เมื่อคุณฝึกได้ระดับดี คุณจะสามารถฟังคนอ่านและช่วยแก้ไขการออกเสียงที่ถูกต้องให้เขาได้ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมคำ การเน้นเสียงตัวสะกดและอื่นๆ
การอ่านบทความกับการอ่านนิยายหรือเรื่องสั้น มีวิธีอ่านต่างกัน ไม่งั้นไม่น่าสนใจ ไม่มีความแตกต่าง ดังนั้น คนพากย์ก็เหมือนกัน

โดยส่วนตัว ภูมิใจในตัวเด็กและคนต่างชาติที่เคยสอนให้เขาสามารถออกเสียงภาษาฝรั่งเศสและไทยได้ถูกต้องและนำไปพัฒนา
หากผู้เรียนไม่พัฒนาต่อ เขาก็ต้องเริ่มใหม่ เป็นเรื่องยากแต่ไม่ยากเกินกว่าจะทำ ต้องสู้ ๆๆ

 

โดย: a.dittell IP: 125.25.246.120 15 เมษายน 2551 18:41:59 น.  

 

อยากให้ช่วยลงวิธีบริหารกล้ามเนื้อปากนะคะ ถ้าเราำทำวันละสิบนาที มันจะทำให้เราวางลิ้น ฟัน รูปปากได้ถูกต้องก้อจะช่วยให้การออกเสียงดีขึ้น

 

โดย: chutima IP: 76.168.173.254 6 ธันวาคม 2552 2:35:09 น.  

 

ลองทำแล้วค่ะ แต่ก็ไม่ค่อยมั่นใจ พยายามแล้วแต่จะไม่ลดความพยายาม
ขอบคุณนะค่ะสำหรับเคล็ดลับ ดีดี

 

โดย: Tangmo IP: 202.29.57.211 20 กันยายน 2553 17:01:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


absoluteaommy
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




online ♥
Friends' blogs
[Add absoluteaommy's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.