Group Blog
 
<<
มีนาคม 2565
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
18 มีนาคม 2565
 
All Blogs
 
รวมภาพนางรำ-ฟ้อนก๋ายลาย

18 03 2565 รวมภาพนางรำ-ฟ้อนก๋ายลาย



ตัดลอกข้อความมาจาก
https://www.chiangmai-thailand.net/fon_lanna/kaylay.html

ฟ้อนเมืองก๋ายลายหรือฟ้อนก๋ายลายเป็นฟ้อนที่ชมรมพื้นบ้านล้านนา
สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ไปค้นพบที่อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
เป็นการฟ้อนแบบโบราณนิยมใช้ฟ้อนในประเพณีแห่ครัวทาน
ผู้แสดงจะฟ้อนประกอบวงกลองมองเซิง

ฟ้อนลายได้มีการค้นพบโดย นายสุชาติ กันชัย และ นายสนั่น ธรรมธิ
อดีตสมาชิกของชมรมพื้นบ้านล้านนาสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปลายปี
พ.ศ. ๒๕๓๑ ที่ บ้านแสนตอง ตำบลสะเมิงใต้ จังหวัดเชียงใหม่ ฟ้อนเมืองลายนี้
ไม่ได้มีหลักฐานอ้างอิงแน่ชัดว่าเป็นฟ้อนของกลุ่มชาวไทลื้อ
บ้านแสนตองที่มีมาแต่เดิมหรือไมเท่าที่ทราบกันในบรรดาช่างฟ้อนที่เหลือในปัจจุบัน
จึงมีการสันนิฐานกันว่าคงมีมานานกว่า ๑๒๐ ปีมาแล้ว ยุคที่จำความกันได้ก็คือ ยุคแม่หม่อนดี
(ไม่ทราบนามสกุล) ซึ่งได้สอนฟ้อนชนิดนี้ให้กับลูกหลานชาวบ้านแสนตองในสมัยนั้น
(ปัจจุบันนี้ผู้ที่ฟ้อนเป็นเหลือไม่ถึง ๑๐ คน) คาดว่าฟ้อนดังกล่าวคงมีมาก่อนสมัยแม่หม่อนดี
และคงเป็นฟ้อนที่ได้รับการยอมรับกันในสังคมมาก่อนแล้ว ที่สำคัญก็คือ แม่หม่อนดีและเพื่อนๆ
ช่างฟ้อนในยุคนั้นได้เคยไปฟ้อนต้อนรับการเสด็จเลียบมณฑลพายัพของ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ มาแล้ว

ซึ่งรุ่นแรก ๆ ที่จำลายฟ้อนได้คือ แม่อุ้ยยอด เวชสุคำ และรุ่นต่อมาได้แก่

๑. แม่ต๋า ปัญญารัตน์
๒. แม่เตรียมตา วงศ์วาน
๓. แม่ประมวล เรือนคำ (แม่งา)
๔. แม่อร เรือนคำ
๕. แม่ชื่น กาวิละ


จากรุ่นหม่อนมาจนถึงรุ่นหลานในปัจจุบันนี้ชาวบ้านเหล่าแสนตองยังคงสืบสาน
ฮีตฮอยที่เป็นแก่นแท้ของตนเอง เป็นที่น่าภูมิใจที่ปัจจุบันนี้ยังมีลูกหลานที่ยังสืบทอดตำนานฟ้อนก๋ายลาย
ที่เป็นก๋ายลายแท้ ไม่ได้แต่งเติมให้ออกมาสวยตามยุคตามสมัย
ในช่วงเวลาที่วัดแสนตองมีงานตอนเย็นๆจะมีเด็กมาซ้อมฟ้อนก๋ายลาย
มีเสียงกลองจากเด็กผู้ชายที่มาเล่นที่วัด มีชาวบ้านที่อยู่ใกล้ๆออกมาดู
มาคุยกันตามประสาของคนที่ยึดเอาวัดเป็นศูนย์กลาง
ภาพเหล่านี้เรามักไม่ค่อยได้เห็นกันนักในสังคมเมือง แต่ที่นี่ ที่บ้านเหล่าแสนตอง
ยังคงรักษาไว้ไม่เสื่อมคลาย สมกับคำพูดที่ว่า " ฮ่อมหนูก่หนูไต่ ฮ่อมไหน่ก๋ไหน่เตียว "


การฟ้อนเมืองลาย ในสมัยก่อนไม่ได้มีการกำหนดไว้ตายตัวว่าต้องฟ้อนท่าไหนก่อน
หรือท่าไหนหลัง ผู้ฟ้อนแต่ละคนจะฟ้อนท่าไหนก่อนก็ได้
แต่เมื่อจะแลกลาย (ใส่ลีลาลูกเล่น) กับผู้ฟ้อนอื่น ก็อาจเปลี่ยนท่าฟ้อนให้เหมือนๆ กัน
แต่ก็ไม่ได้เคล่งคัดมากนัก ท่าฟ้อนมีดังนี้

1. ไหว้
2. บิดบัวบาน
3. เสือลากหาง
4. ลากลง
5. แทงบ่วง
6. กาตากปีก
7. ใต้ศอก
8. เท้าแอว
9. ยกเข่า
10. ยกแอว
11. เต็กลาย(แลกลาย)
12. เล่นศอก
13. เต็กลายลุกยืน
14. บัวบานกว้าง ส่วนท่าฟ้อนที่ชมรมพื้นบ้านล้านนา

สโมสรสักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ไปสัมภาษณ์จากบุคลากรในท้องถิ่น พบว่ามีทั้งหมด
๒๐ ท่า ท่าฟ้อนบางท่าก็มีชื่อเรียกอยู่ มีหลายท่าที่ศิลปินท้องถิ่นลืมชือ
จึงเรียกตามลักษณะท่าฟ้อน
ซึ่งทางชมรมพื้นบ้านล้านนาได้นำมาตั้งชื่อขึ้นใหม่ให้ใกล้เคียงกับท่าฟ้อน
เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจและฝึกซ้อม โดยมีท่าต่าง ๆ ดังนี้


1. ไหว้
2. บิดบัวบาน
3. เสือลากหาง
4. แทงบ่วง
5. กาตากปีก
6. ใต้ศอก
7. ไล่ศอก
8. จีบข้างเอกหมุน
9. บัวบานคว่ำหงาย
10. ยกเอวสูง
11. แลกลาย
12. ใต้ศอก (นั่ง-ยืน)
13. แลกลาย
14. ยกเอวต่ำ
15. บัวบานคว่ำหงาย
16. ม้วนไหม (เข่า)
17. ใต้ศอกนั่ง
18. ตวัดเกล้า
19. ใต้ศอกลุก
20. ไหว้

การแต่งกาย เนื่องจากฟ้อนเมืองกลายลาย เป็นฟ้อนที่สันนิฐานกันว่ากำเนิดมาจากการฟ้อน
อันเกิดมาจากความปีติยินดีของชาวบ้านในโอกาสงานบุญ เช่น ฟ้อนนำขบวนแห่ครัวทาน
เข้าวัดในขณะที่แห่ครัวทานผู้ที่ชอบฟ้อนก็จะฟ้อนเต็มที่ ส่วนคนอื่น ๆ
ที่ฟ้อนเมืองได้ก็จะถูกขอร้องให้ฟ้อนร่มขบวนด้วย
ดังนั้นการแต่งกายแบบชาวบ้านสมัยก่อนจะไม่มีรูปแบบ สวมเสือมาอย่างไรก็ฟ้อนชุดนั้นเลย


ดนตรีประกอบการฟ้อน ฟ้อนเมืองกลายลายในอดีตนั้นใช้กลองสิ้งมหม้องแห่ประโคมประกอบการฟ้อนนำขบวนครัวทาน
บางทีเรียก "แห่มองซิงมอง"บางครั้งก็ใช้กลองกลองตึ่งนง (กลองแอว)
ปัจจุบันใช้กลองมองเซิงแห่ประโคมการฟ้อน ซึ่งเริ่มมาประมาณ ๔๐ ปีมานี้เอง
ปัจจุบันฟ้อนเมืองกลายลายได้เป็นที่ยอมรับและแพร่หลายให้อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
ซึ่งถือเป็นการเผยแพร่ในระดับท้องถิ่นเท่านั้น ยังไม่เป็นที่แพร่หลายกันทั่วไป





ภาพถ่ายนางรำ-ฟ้อนก๋ายลาย ของชมรมพื้นบ้านล้านนา สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้อนุรักษ์การฟ้อนก๋ายลาย และก็ได้ถ่ายทอดมายังสโมสรนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ น้องๆ นักศึกษาชุดนี้ก็ได้รับการถ่ายทอดการฟ้อนรำก๋ายลายชุดนี้ และนำมาแสดงให้ชมกันอย่างสวยงามทีเดียว





















































































ชมรมพื้นบ้านล้านนา สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้อนุรักษ์การฟ้อนก๋ายลาย และก็ได้ถ่ายทอดมายังสโมสรนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์
การสืบทอดการฟ้อนก๋ายลาย มีมารุ่นต่อรุ่น อย่างสม่ำเสมอ และเมื่อมีเวทีให้แสดงการฟ้อนก๋ายลาย น้อง ๆ นักศึกษาของชมรมพื้นบ้านล้านนา สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็ได้ร่วมแสดงและสืบสานรูปแบบการฟ้อนก๋ายลาย ให้ยังคงอยูู่ ได้ชื่นชมการแสดงฟ้อนสวย ๆ อีกหนึ่งรูปแบบกันด้วย







ฟ้อนก๋ายลาย จากงานประกวดเทพีสงกรานต์ เชียงใหม่ 2551
































ฟ้อนก๋ายลาย [นักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ มช. ปี 2-3] จากงานพิธีไหว้ครูวิจิตรศิลป์ มช.
































































ขอบคุณน้อง ๆ นักแสดงฟ้อนรำ นางรำ-ก๋ายลายทุกๆ ท่านกันที่เป็นแบบฟ้อนรำสวยๆ กันด้วยครับ

ขอบคุณเพื่อน ๆ ที่แวะมาชมภาพถ่ายที่ blog กันด้วยครับ


Create Date : 18 มีนาคม 2565
Last Update : 18 มีนาคม 2565 5:53:32 น. 5 comments
Counter : 1852 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณทนายอ้วน, คุณหอมกร, คุณอุ้มสี, คุณhaiku, คุณSweet_pills, คุณnewyorknurse


 
รู้สึกว่า อ.เบิร์ดจะพยายามโคสต์อัพไปที่ช่างฟ้อนสวยๆ นะ 55





โดย: หอมกร วันที่: 18 มีนาคม 2565 เวลา:10:12:55 น.  

 
ชุดก็งาม..หลากหลายลวดลายสีสัน
ฟ้องก็งาม..
้ห็นแล้วพาลให้เกิดความอิ่มเอมใจ



โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 18 มีนาคม 2565 เวลา:10:35:35 น.  

 
สวยค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 18 มีนาคม 2565 เวลา:14:24:45 น.  

 
ภาพสวยครับพี่
ผมไม่ถนัดถ่ายภาพในงานแบบนี้เลย
หามุมไม่เก่งครับ

ปล.ตอนนี้เชียงใหม่จะสั่งเปิดร้านเหล้าเป็นปกติ
อันนี้น่ากลัวมากครับพี่

คราวก่อนเปิดโรงเรียนก็ติดกันเยอะมาก

ไม่รู้รอบนี้จะเป็นยังไงบ้างนะครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 18 มีนาคม 2565 เวลา:20:13:25 น.  

 

มาชมภาพสวยๆด้วยค่ะ


โดย: newyorknurse วันที่: 19 มีนาคม 2565 เวลา:3:18:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ถปรร
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add ถปรร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.