Group Blog
 
<<
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
18 มกราคม 2553
 
All Blogs
 
เมรุปราสาทพญานกหัสดีลิงค์ : วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร

18 มกราคม 2553 : เมรุปราสาทพญานกหัสดีลิงค์ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร

เมื่อพระสงฆ์มรณภาพ โดยเฉพาะพระเกจิอาจารย์มีเชื้อสายรามัญ หรือมอญ รวมทั้งพระเกจิอาจารย์ทางภาคเหนือ จะจัดศพอย่างสมเกียรติ คือทำ ปราสาท ใส่โลงศพ วางบนบุษบก ทำเป็นเรือนยอด และตั้งบนหลัง นกหัสดีลิงค์ ทำแม่เรือวางปราสาทสำหรับลากไปสู่สุสาน

ในวันทำศพ จะมีผู้คนมาร่วมงานกันมากมาย เพราะถือว่า เป็นบุญกุศลอย่างสำคัญ เช่น พิธีพระราชทานเพลิงศพ ครูบาผัด ผุสสิตธมโม หรือ พระครูพิศิษฏ์สังฆการ อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๑

พระครูสิริศีลสังวร หรือ ครูบาน้อย เตชปญฺโญ รักษาการเจ้าอาวาสวัดศรีดอนมูล บอกว่า คณะกรรมการวัดจัดสร้างเมรุพิเศษชั่วคราว ในลักษณะของปราสาท “นกหัสดีลิงค์” ความสูงกว่า ๓๐ เมตร

โครงสร้างของนกหัสดีลิงค์ทั้งหมด ยึดถือตามแบบโบราณ นับตั้งแต่สะพานเชื่อมไปยังปราสาท เพื่อใช้เคลื่อนย้ายโลงแก้ว ที่บรรจุสารีระ ทำด้วยไม้ไผ่แบบโบราณ โดยใช้วิธีการขัดสานเป็นรูปร่าง

ส่วนโครงสร้างทั้งหมด ทำจากโครงไม้ ตกแต่งด้วยกระดาษสี ทำลวดลายเป็นเกล็ด บริเวณส่วนหัวสามารถขยับเคลื่อนไหวไปมา ตากะพริบได้ บรรจุข้าวตอกไว้โปรย ในการทำพิธีเผาศพ เพื่อความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อของชาวล้านนา

นอกจากนั้น บริเวณงวงยังยืดหดได้ ส่วนตาทั้ง ๒ ข้างมีลักษณะกลม สีแดง ขนตายาว งอน และกะพริบได้ตลอดเวลา

ส่วนปีกขยับขึ้นลง เหมือนจังหวะการบินของนก บริเวณส่วนหางมีลักษณะเหมือนหางหงส์ ให้ความรู้สึกอ่อนช้อยสวยงาม เมื่อได้พบเห็น

บริเวณส่วนยอดของปราสาท จะมียอดปราสาท ฉัตร ๙ ชั้น ซึ่งถือเป็นเครื่องประดับ ตามสมณศักดิ์ของพระเถระที่มรณภาพรูปนั้นๆ โดยเป็นไปตามความเชื่อโบราณของชาวล้านนา

โดย ๓ ชั้นแรก หมายถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชั้นที่ ๕ หมายถึง พระเจ้า ๕ พระองค์ ได้แก่ พระกะกุสันโธ โกนาคะมะโน กัสสะโป โคตะโม อริยเมตเตยโย

ส่วนชั้นที่ ๗ หมายถึง พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ สังวิทา ปุกะยะปะ และ ชั้นที่ ๙ หมายถึง พระนวโลกุตรธรรม เจ้าเก้าประการ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ และ นิพพาน ๑

ทั้งนี้รอบปราสาททั้ง ๔ ทิศ จะมีเพดานที่ทำจากเสาไม้ไผ่สูง และขึงด้วยผ้าสังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) ของครูบาผัด เปรียบแทนศีลของพระสงฆ์ ที่เรียกว่า "จตุปริสุทธศีล"

โดยเสาทั้ง ๔ ต้น เปรียบเป็นศีล ๔ ข้อ ได้แก่ ๑.ปาติโมกข์สังวร ๒.อินทรียสังวร ๓.อาชีวะปริสุทธศีล และ ๔.ปัจจัยสัจนิจศีล

สำหรับฟืนที่จะใช้ในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพนั้น เลือกไม้มงคล ๗ ชนิด มาประกอบพิธี ตามหลักอภิธรรม ได้แก่ ๑.ไม้ดอกแก้ว ๒.ไม้ขนุน ๓.ไม้จำปา ๔.ไม้จำปี ๕.ไม้ตุ้มคำ (ไม้มงคลท้องถิ่น) ๖.ไม้จันทน์ และ ๗.ไม้กฤษณา ซึ่งไม้บางชนิดหายาก ในวันงานพิธีพระราชทานเพลิงศพ มีประชาชนเดินทางมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก เนื่องจากชาวล้านนาเชื่อว่า การร่วมงานศพพระสงฆ์เป็นสิริมงคล จะทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง ทั้งกายและใจ

“การจัดพิธีศพ ถือเป็นการแสงความกตัญญูต่อบุพการีที่อยู่ในฐานะครูอาจารย์ ผู้มีพระคุณ เป็นครั้งสุดท้าย จึงต้องการทำพิธีทุกอย่างให้ดีที่สุด ตามที่ลูกศิษย์จะสามารถดำเนินการให้ได้ การก่อสร้างปราสาทนกหัสดีลิงค์ครั้งนี้ อาตมาร่วมกับลูกศิษย์ และคณะกรรมการวัด มอบให้ช่างรุ่ง จันตาบุญ สล่า (ช่างฝีมือ) มือหนึ่งของชาวล้านนา ที่เคยฝากผลงานหอคำหลวงในงานมหกรรมพืชสวนโลก ให้นักท่องเที่ยวชื่นชมความงาม เป็นผู้บรรจงสร้างสรรค์ขึ้น ใช้เวลาดำเนินการกว่า ๓ เดือน ใช้งบประมาณทั้งสิ้นกว่า ๙ แสนบาท” ครูบาน้อย กล่าว

ตำนานล้านนา

นกหัสดีลิงค์ เป็นนกใหญ่ตัวโตเท่าช้าง เรียกชื่อตามเจ้าของภาษาว่า หัตถิลิงคะสะกุโณ เรียกตามภาษาของเราว่า นกหัสดีลิงค์

ตามประวัติศาสตร์ล้านนา ที่เล่าขานต่อกันมาว่า นกหัสดีลิงค์ เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ มีความพิเศษ คือ มีเพศเพียงดั่งช้าง เป็นนกที่มีหัวเป็นช้าง มีหางเป็นหงส์ มีพละกำลังดั่งช้างเอราวัณ ๓-๕ เชือกรวมกัน ซึ่งเป็นสัตว์คู่บารมีของกษัตรา เจ้าเมืองผู้มีอำนาจบารมีสูง

ความเชื่อของชาวล้านนา แต่อดีตกาล นิยมสร้าง ปราสาทนกหัสดีลิงค์ เพื่อบรรจุศพของกษัตริย์เจ้านายฝ่ายเหนือ รวมถึงพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ที่มรณภาพ เพื่อให้พิธีศพสง่างาม สมฐานะบารมี และเป็นการส่งดวงวิญญาณไปสู่ชาติสรวงสวรรค์ชั้นพรหมโลก เทวโลก

แต่ในปัจจุบัน ปราสาทนกหัสดีลิงค์ นิยมใช้ในพิธีศพของพระเถระชั้นผู้ใหญ่เท่านั้น โดยรูปลักษณะของตัวนกหัสดีลิงค์นั้น มีรูปร่างโครงสร้างส่วนหัวและลำตัวทำจากโครงไม้ ตัดแต่งกระดาษเป็นลวดลาย ทำเป็นเกล็ด ส่วนหัวช้าง มีความพิเศษของการเคลื่อนไหวไปมาได้ โดยชิ้นส่วนคอและหัว ต้องเคลื่อนไหวหมุนไปมา ใบหูสามารถพับกระพือได้ ส่วนงวงทำจากผ้าเย็บเป็นทรงกระบอก เลียนแบบงวงช้าง มีเชือกร้อยอยู่ด้านในสำหรับดึง เคลื่อนไหวได้ ดวงตาต้องมีลักษณะกลมมน ขนตายาวสวย กะพริบได้ เหมือนมีชีวิตจริงๆ

ในอดีต เมื่อเจ้านายฝ่ายเหนือสิ้นชีพตักษัย การจัดประเพณีศพของเจ้านายสมัยนั้น จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ และสมเกียรติ ด้วยการสร้างบุษบก สวมทับพระโกศ ตั้งบนหลังนกหัสดีลิงค์ ฉุดลากด้วยช้าง และให้ชาวบ้านชาวเมืองเดินตามขบวนแห่ไปยังสุสาน ปัจจุบันพิธีศพนี้ นำมาใช้กับพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ด้วย

ทั้งนี้ มีพงศาวดารโยนก ตอนหนึ่ง จุลศักราช ๙๔๐ ปีขาล สัมฤทธิศก เดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำ ความว่า "นางพระญาวิสุทธิเทวี ต๋นนั่งเมืองนครพิงค์ ถึงสวรรคต พระญาแสนหลวงจึงแต่งการพระศพ ทำเป๋นวิมานบุษบกตั้งอยู่บนหลังนกหัสดินทร์ตั๋วใหญ่ แล้วฉุดลากไปด้วยแฮงจ๊างคชสาร จาวบ้าน จาวเมืองเดินตวยก้น เจาะก๋ำแปงเมืองออกไปตางต่งวัดโลกโมฬี และทำก๋าร
ถวายพระเพลิง ณ ตี้นั้น เผาตึงฮูปนกหัสฯ และวิมานบุษบกนั้นตวย"


คัดลอกจาก //www.tumsrivichai.com







ความตั้งใจจะตามไปหาถ่ายภาพการสร้างนกหัสดีลิงค์ เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งงานออกเมรุ พระราชทานเพลิงศพพระธรรมสิทธาจารย์ (หนู ถาวรมหาเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม 2552 (ที่ผ่านมา)


ครั้งนั้นได้ถ่ายภาพนกหัสดีลิงค์ในช่วงพิธีการได้มา 6-7 ภาพ



ครั้งของงานวัดพระสิงห์ นกหัสดีลิงค์ ได้มีการจัดสร้างโดย ครูบาบุญหลวง ( นิวัติ กิตฺติโสภโณ ) วัดเกาะกลาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ซึ่งก็ทำให้คิดไปเองว่า น่าจะมีการสร้างจากทางวัด หรือ ผู้จัดสร้างจากที่อื่นๆ มาก่อน แล้วจึงจะนำมาจัดสร้างจัดตั้งภายในวัดอีกครั้งหนึ่ง

ทำให้มองหาว่าครั้งนี้จะมีการจัดสร้างกันที่ไหน โดยไม่ได้เฉลียวใจว่าจะมีการสร้างภายในวัดเจดีย์หลวง (สถานที่จัดงานครั้งนี้) เลย

กว่าจะตั้งหลักตามหาสถานที่สร้างได้ ก็เป็นวันที่ 7 ม.ค. 2553 แล้ว

พญานกหัสดีลิงค์ ในงานของหลวงปู่จันทร์ (วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร) ในครั้งนี้
ผู้ออกแบบสร้าง : ช่างรุ่ง จันตาบุญ



มาวัดเจดีย์หลวงในเย็นวันที่ 7 ม.ค. 2553
หลังเลิกงานแล้ว ไปยังวัดเจดีย์หลวง แล้วก็เจอสถานที่จัดสร้างนกหัสดีลิงค์แล้ว อยู่ด้านหน้าของพระธาตุเจดีย์หลวง ทางด้านขวามือ
เพียงแต่ว่าวันที่มาวันนั้น ก็เกิดเป็นวันที่มีฝนหลงฤดูมาตกเอาตลอดวัน

ผู้สร้างจึงได้ใช้ผ้ามาคลุมปิดนกหัสดีลิงค์ไว้เป็นที่เรียบร้อย

เมื่อยังไม่ได้ภาพอะไร จึงเข้าไปในวิหารของวัด ซึ่งประิดิษฐ์หุ่นขี้ผึ้งของ "พระเดชพระคุณพระพุทธพจนวราภรณ์ (หลวงปู่จันทร์ กุสสโล)"








เดินออกมาด้านหลังของวิหาร มีเจ้าหน้าที่กำลังตกแต่ง ติดกาว ประดับประดา ชิ้นส่วนหนึ่งของเมรุปราสาทนกหัสดีลิงค์อยู่




ด้านนอกพบคนงานกำลังนั่งพักทานอาหารมื้อเย็นกันอยู่




เดินออกมาถ่ายภาพตัวนกหัสดีลิงค์ทางด้านนี้ดูด้วย แต่ยังมองไม่ออกว่าตัวนกจะหันไปทางทิศไหน แต่มุมมองด้านนี้ก็เห็นช่องปีกของนกหัสดีลิงค์แล้ว



กำหนดการจัดงานในครั้งนี้



วันแรกที่ไปตามถ่ายภาพการสร้างนกหัสดีลิงค์ ได้มาเพียงเท่านี้




วันที่ 8 ม.ค. 2553



ชอบภาพนี้ ถ่ายมาจากภาพวาดที่จัดวางไว้ด้านนอกวิหาร



























วันที่ 9 ม.ค. 2553














12 มกราคม 2553

































วันที่ 13 มกราคม 2553



วันนี้ได้เห็นส่วนหัวของนกหัสดีลิงค์ กันแล้ว


























มีสวนดอกไม้สวย มาประดับประดาให้ความสวยงามเกิดขึ้นโดยรอบกันแล้ว









ส่วนตัวปีกและหาง ก็ยังมีการตกแต่งประดับประดากันอยู่














วันที่ 14 มกราคม 2553

ใกล้ถึงวันงานมาเรื่อยๆ แล้ว เมื่อวานยังได้แค่เห็นการตกแต่งหัวนกฯ
วันนี้ได้ไปเดินเจอแบบร่างของนกหัสดีลิงค์ เลยได้ขอถ่ายมาให้ชมกันด้วย
ว่าเมื่อสำเร็จแล้ว นกหัสดีลิงค์ จะได้หน้าตาประมาณนี้




คนงานที่ทำหน้าที่ตกแต่งประดับ ด้วยการตัดกระดาษ ต่างก็เร่งมือทำกันอย่างเร่งมือ

















ส่วนที่ตัวนกหัสดีลิงค์ วันนี้ได้มีการยกส่วนของหัวนก ขึ้นไปประกอบกับตัวนกฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว







คนงานด้านบน ต่างก็เร่งมือประกอบ และตกแต่งส่วนของหัวนกฯ กันอย่างเร่งมือเช่นกัน





ส่วนของหัวนกฯ ถือเป็นส่วนสำคัญมากๆ ส่วนหนึ่ง เพราะจะต้องมีกลไกหลายๆ อย่างอยู่ในส่วนของหัวนกหัสดีลิงค์นี้
หัวสามารถหันไปทางซ้ายและขวาได้
ตากระพริบได้
หูโบกไปมา
งวงสามารถม้วนไปมาได้ และยังสามารถดูดข้าวตอกดอกไม้ที่อยู่ในพาน มาพ่นโปรยปรายออกมาได้ด้วย








เดินมาอีกข้างหนึ่ง ยังเห็นคนงานต่างก็เร่งมือทำงานกัน เพื่อให้นกหัสดีลิงค์เสร็จทันตามกำหนด















ส่วนทางด้านนี้ ที่อยู่ทางด้านทิศเหนือ ซึ่งดูว่าจะเรียบร้อยดีแล้ว ด้านล่างก็เร่งตกแต่งไม้ดอก ให้เกิดความสวยงามโดยรอบด้วย










วันที่ 15 มกราคม 2553 (ตอนเช้า)

เช้าวันที่ 15 ก่อนไปทำงาน ยังแอบไปแวะชม หวังว่าจะถอดโครงเหล็กออกไปบ้างแล้ว และก็จริงๆ ได้เห็นนกหัสดีลิงค์แบบเต็มๆ ตัวแล้ว

และวันนี้จะเป็นพิธีอัญเชิญสรีระพระเดชพระคุณขึ้นสู่เมรุปราสาทพญานกหัสดีลิงค์








































15 ม.ค. 2553 (ภาพชุดกลางคืน)
ช่วงกลางคืนของวันที่ 15 ม.ค. 2553 ได้ตามไปถ่ายภาพนกหัสดีิลิงค์ในช่วงกลางคืน เพื่อจะได้เก็บภาพแสงสีด้วย























ช่วงที่มีการทดลอง การเคลื่อนไหวตัวตัวนกหัสดีลิงค์
มีการทดลองขยับปีก ส่วนงวง ก็มีการทดลองพ่นข้าวตอกดอกไม้







2 ภาพนี้ดูแล้วจะพอทำให้เห็นปีกนกขยับได้แล้ว













จากข้อมูลที่สอบถามผู้รู้ได้มา ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ จนถึงงานหลวงปู่จันทร์ นี้
มีนกหัสดีลิงค์ อยู่ 4 ตัว ด้วยกัน

วันที่ 14 ม.ค. 2550 : งานพระราชทานเพลิงศพ ครูบาบุญชุบ ทินฺนโก ณ วัดเกาะวาลุการาม จ.ลำปาง วันที่ 14 ม.ค. 2550

วันที่ 30 มีนาคม 2551 : งานพระราชทานเพลิงศพ ครูบาผัด ผุสสิตธมโม หรือ พระครูพิศิษฏ์สังฆการ อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่

วันที่ 20 ธันวาคม 2552 : งานพระราชทานเพลิงศพพระธรรมสิทธาจารย์ (หนู ถาวรมหาเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่

และวันที่ 18 มกราคม 2553 : งานพระราชทานเพลิงศพพระพุทธพจนวราภรณ์ (หลวงปู่จันทร์ กุศลมหาเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่






และมาปิดท้ายกับภาพถ่ายนกหัสดีลิงค์ชุดนี้ชุดสุดท้าย
พร้อมกับคัดลอกรายละเอียดบางส่วนจากหนังสือ จดหมายเหตุพญานกหัสดีลิงค์ มาให้อ่านกันเล็กน้อย



5 มีนาคม 2552 ภายหลังได้รับมอบหมายจากมติที่ประชุมคณะกรรมการจัดงาน
ให้นายช่างแก้วแห่งนครพิงค์เชียงใหม่ สล่ารุ่ง จันตาบุญ
ผู้เป็นอันเตวาสิกพระเดชพระคุณหลวงปู่และสัทธิวิหาริกในพระโสภณธรรมสาร ได้ดำเนินการออกแบบเมรุจิตกาธาน เป็นปราสาทวิมานต่างบนหลังนกหัสดีลิงค์เพื่อถวายบูชาอุปัชฌาคุณ




ปราสาทดังกล่าวได้รับการออกแบบอย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติพระเดชพระคุณ ซึ่งนับว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในแผ่นดินล้านนา โดยมีขนาดปรสาททรงมณฑปเรือนยอด ขนาดจากเรือนมณฑปจนถึงยอด 21 เมตร กว้าง 4.15 เมตร
ยอดปราสาทประดับฉัตรทองเหลืองปิดทอง




ส่วนแรกแบ่งเป็นเรือนยอดมณฑปสี่ชั้น จั่วกลางประดับหน้านางหางวัลย์
มุงหลังคาประดับกาบจั่ว ห้อยเต็ง (ระฆัง)

ส่วนที่สองเป็นทรงธรรมมาสน์หลังก๋ายวัดไหล่หินหลวง

ส่วนที่สามเป็นทรงหลังคาหลังโก่งแบบปราสาทโขงประดับกาบจั๋ว




ตัวปราสาทประกอบขอมเสา 24 ต้น กลางหน้าบันประดับซุ้มโขงทั้งสี่ด้าน
ม่านปราสาทเป็นม่านดอกรักและตาข่ายหน้าช้าง ฐานปราสาทเป็นแท่นแก้วเมืองศิลปะเมืองแจ๋ม (แม่แจ่ม) ประัดับลวดลายกระดาษสีเลียนแบบการติดกระจกจีนแก้วอังวะ (กระจงเกรียบ) แบบโบราณ




ตัวนกเป็นแบบโบราณล้านนา สีน้ำเงินเพศผู้ ลักษณะเหมือนนกก๋าแก๊ (นกพิราบ) วัดจากหัวถึงหาง ยาว 16 เมตร กว้าง 6 เมตร สูงจากฐานถึงหลังนก 4.30 เมตร ประดับกระดาษสีลวดลายเบญจรงค์ ปีกสีทอง หางเป็นลายนกแบบพื้นเมืองสลับสี
ตัวนกแยกออกเป็นสี่ส่วนเพื่อความสะดวกในการประกอบ
ปีก หัว หู ตา งวง สามารถขยับขึ้นลง ปลายงวงสามารถตักโปรยข้าวตอกดอกไม้ได้




******************


18 มกราคม 2553
กำหนดวันพิธีพระราชทานเพลิงศพ

ขอนำภาพช่วงกลางคืนมาให้ชมก่อน
(ตอนเช้าและกลางวันได้ตามไปถ่ายภาพมาเหมือนกัน แต่ส่วนพิธีพระราชทานเพลิงศพ ไม่ได้ไปร่วมงานในช่วงนั้น)

ตอนเย็นรอให้พิธีการพระราชทานเพลิงศพเสร็จสิ้นไปก่อน แล้วก็ตรงดิ่งไปที่วัดเจดีย์หลวง มุมที่เคยจอดรถได้ ตอนนี้เต็มไปหมดแล้ว วนไปเกือบรอบเส้นทาง พอจอดรถได้ รีบวิ่งไปที่วัดเลย ช่วงนั้นใกล้เวลา 19.00 น. ตามกำหนดเวลาพิธีเผาจริง (ที่ได้กำหนดการมาตามนั้น) เมื่อแหวกฝูงชนเข้าไปได้นิดหน่อย ก็ติดอยู่ตรงรถน้ำดับเพลิง ที่รอ stand by ไว้ก่อน เพื่อเตรียมไว้คอยฉีดน้ำเลี้ยงสถานที่รอบๆ ข้างเมรุมาศพญานกหัสดีลิงค์ด้วย

เมื่อเข้าไปไม่ถึงจุดที่คิดว่าจะถ่ายภาพสวยๆ ด้วย เลยรีบตรงดิ่งกลับมาที่ทำงาน เพราะเล็งมุมนี้เผื่อไว้แล้ว ขอขึ้นไปดาดฟ้าชั้น 15 แล้วส่องกล้องถ่ายภาพจากมุมสูงนี้ดีกว่า ยังพอเก็บภาพได้อยู่บ้างนิดหน่อยในมุมนี้ ถึงแม้จะไม่ได้รายละเอียดภายในงาน แต่ชมจากมุมสูงจากภายนอกงานก็แล้วกันครับ



ใช้เลนส์สองตัวถ่ายภาพ ช่วงแรกใช้ 50-150 mm. ก่อน แต่ดูว่ามุมยังกว้างไปหน่อย เลยวิ่งกลับลงไปเปลี่ยนเลนส์ 75-300 mm. แทน



แล้วก็ใช้เลนส์ 75-300 mm. ถ่ายภาพที่อยู่บนดาดฟ้าทั้งหมด
(ไม่ได้เก็บขาตั้งกล้องไว้ที่ห้องทำงาน)
เลยใช้ตั้งเวลาถ่ายภาพ
แล้วก็ตั้ง speed ไว้ประมาณ 1.6 วินาที
F 22
ISO 1250



ช่วงนี้เลยเวลา 19.00 น. ไปมากแล้ว
รอจนใกล้เวลา 20.00 น. เหมือนจะได้ยินเสียงจากนกหัสดีลิงค์ร้องหวูดๆๆ มา 3 ครั้ง แล้วไฟที่ติดโดยรอบนกหัสดีลิงค์ก็ดับลง แล้วภายในงานน่าจะมีการจุดควันสี เกิดกลุ่มควันสีขึ้นโดยรอบ






ช่วงนี้ภายในงานน่าจะมีพิธีการอีกเล็กน้อย เพราะดูว่าหลังจากควันสีหายไป ที่บริเวณพญานกหัสดีลิงค์ ยังดูสว่างไสวอยู่พอสมควร



รออีกสักพักหนึ่งก็มีไฟตะไลหมุนควงสว่านขึ้นท้องฟ้าหลายลูก



พลุไฟชุดนี้ถ่ายภาพออกมาสวยถูกใจ เหมือนได้ภาพของการโปรยข้าวตอกดอกไม้ลงมาบริเวณพญานกหัสดีลิงค์เลย




แล้วไฟลูกหนูก็ถูกจุดวิ่งเข้าหาเมรุมาศพญานกหัสดีิลิงค์


















พลุก็ถูกจุดขึ้นมาประมาณ 10 กว่าลูก แต่ถ่ายภาพมาได้ทันและพอจะสวยๆ ได้ 2 ภาพเอง (ที่จริงก็คิดว่าจะมีพลุไฟจุดขึ้นมาเหมือนกัน แต่จากที่ตั้งกล้องไว้ด้วยการตั้งเวลาถ่ายภาพ กว่าจะปรับมาทันเสียเวลาไปเยอะ จนพลุเกือบถูกจุดหมดไปแล้ว)







ทิ้งไว้กับภาพนี้ ภาพที่ถ่ายจากบนชั้นดาดฟ้า







ช่วงที่ขับรถกลับไปบ้าน ลองวนไปดูลาดเลาว่าพอจะเข้างานได้แล้วหรือยัง ลองผ่านไปจุดเดิม ผู้คนต่างก็กำลังเดินออกมาจากงาน เลยลองเสี่ยงเดินเข้างานไปอีกครั้ง และก็ติดอยู่ตรงรถดับเพลิงเช่นเดิม



แอบขึ้นไปยืนราวบันไดรถดับเพลิง ใช้มือหนึ่งเกี่ยวราวบันไดไว้ อีกมือหนึ่งถ่ายภาพ พญานกหัสดีลิงค์ที่กำลังจะมอดไหม้ไปด้วย



และขอจบไว้กับภาพนี้ ก่อนที่พญานกหัสดีลิงค์จะมอดไหม้จนหมด
(ที่จริงก็อยู่ถ่ายภาพต่อจนมอดไหม้ไปแล้ว)






ขอบคุณทุกๆ ท่านที่แวะมาชมภาพถ่าย set นี้ด้วยนะครับ
ตั้งใจให้ภาพถ่ายชุดนี้ บอกเล่าเรื่องการสร้างนกหัสดีลิงค์ไว้เป็นพอสังเขป
และขอน้อมส่งพระเดชพระคุณ หลวงปู่จันทร์ ในวันที่ 18 มกราคม 2553 ซึ่งจะเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของนครเชียงใหม่ ที่มีพิธีพระราชทานเพลิงศพพระมหาเถระชั้นสูงในตัวเมืองเชียงใหม่ ตามประเพณีโบราณของล้านนาที่สืบปฏิบัติกันมา โดยเฉพาะพระพุทธพจนวราภรณ์ (หลวงปู่จันทร์ กุศลมหาเถร) ซึ่งเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ให้ธรรมะ อบรมสั่งสอน และเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนชาวเชียงใหม่มายาวนานกว่า 70 ปี ตั้งแต่บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุสิบกว่าปี จนอุปสมบท ได้รับสมณศักดิ์พัดยศ ตั้งแต่พระครุสัญญาบัตร จนถึงรองสมเด็จพระราชาคณะ(หิรัณยบัฏ) และถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2551 ขณะอายุได้ 89 ปี พรรษา 69 นับว่าพระเดชพระคุณมีคุณูปการอย่างยิ่งต่อพระพุทธศาสนา ต่อบ้านเมือง และศรัทธาประชาชน........จำได้ว่าช่วงที่หลวงปู่อาพาธ ยังมีโอกาสได้ไปช่วยดูการรักษา การใช้เครื่องช่วยหายใจ ณ กุฏิของหลวงปู่ด้วย ครั้งนี้เป็นครั้งที่สองที่ได้อยู่ใกล้ชิดหลวงปู่ ........ขอกราบนมัสการหลวงปู่อีกครั้งด้วยครับ.






Create Date : 18 มกราคม 2553
Last Update : 19 มกราคม 2553 16:34:27 น. 18 comments
Counter : 15135 Pageviews.

 



ไล่ชมภาพมาเรื่อยเรื่อยอย่างรวดเร็วก่อนค่ะ
อยากเห็นภาพก่อน

แล้วอ่านอีกรอบ








โดย: d__d (มัชชาร ) วันที่: 18 มกราคม 2553 เวลา:8:57:28 น.  

 



ได้ความรู้กลับไปเต็มเต็มเลยค่ะ
เพราะไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อน

กว่าจะสร้างเสร็จ อย่างนานเลย
กว่าพี่จะได้ภาพชุดนี้มา
ก็นานไม่น้อยเลย


ภาพชุดนี้ .. เป็นภาพชุดที่มีคุณค่ามากๆค่ะ








โดย: d__d (มัชชาร ) วันที่: 18 มกราคม 2553 เวลา:9:46:46 น.  

 
ขอบคุณ k.ดี ที่แวะมาเจิมภาพถ่ายชุดนี้ให้ด้วยนะครับ.....วันนี้ยังแอบลุ้นไปเองว่าจะไปถ่ายภาพได้ไหม ถ้ามีภาพเพิ่มเติมก็จะนำมารวมให้ชมกันอีกครับ


โดย: ถปรร วันที่: 18 มกราคม 2553 เวลา:11:30:50 น.  

 
งามจัง....

ตามติดทุกสถานการณ์กันเลยนะคะ

ไม่น่าเชื่อเลยว่าภาพนั้นเป็นภาพวาด
สวยเหมือนภาพถ่ายเลยค่ะ


โดย: chenyuye วันที่: 18 มกราคม 2553 เวลา:11:44:58 น.  

 
เป็นงานใหญ่มากเลยนะครับพี่เบิร์ด




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 18 มกราคม 2553 เวลา:11:52:27 น.  

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

สวยจังเลยล่ะคุณเบิร์ด


โดย: อุ้มสี วันที่: 18 มกราคม 2553 เวลา:14:14:51 น.  

 


ขอบพระคุณที่นำมาให้ชมค่ะ



โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 18 มกราคม 2553 เวลา:14:52:58 น.  

 
สวยจังเลยค่ะ


โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 19 มกราคม 2553 เวลา:1:40:38 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่เบิร์ด








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 มกราคม 2553 เวลา:7:34:32 น.  

 


สวัสดียามเช้าค่ะพี่

เมื่อคืนดี.ดูไม่ทัน
มาดีนัยห์ได้ดู
บอกให้ดี.เปิดโทรทัศน์
แต่อีก 2 วินาที บอกว่า ..จบแว๊วววว
อดเลย

ไม่สิ ไม่อด
เดี๋ยวดูที่บล็อกพี่






โดย: d__d (มัชชาร ) วันที่: 19 มกราคม 2553 เวลา:7:52:29 น.  

 
เดี๋ยวกลับมาอ่าน


โดย: VET53 วันที่: 19 มกราคม 2553 เวลา:10:27:21 น.  

 
สวยดีนะค่ะไม่น่าเชื่อเลยว่าทำออกมาแล้วจะสวยได้ขนาดนี้เพราะว่าเห็นพี่ชายเล่าให้ฟังอยู่เหมือนกันค่ะ


โดย: รินทร์ IP: 125.24.58.206 วันที่: 17 กรกฎาคม 2553 เวลา:16:34:56 น.  

 
ขอบคุณในความตั้งใจจริงๆ
ขออนุญาตไปเผยแพร่ใน pantip ห้องศาสนานะครับ


โดย: big_ong2000 IP: 192.168.1.149, 110.164.31.34 วันที่: 20 ธันวาคม 2553 เวลา:9:39:08 น.  

 
ตอบคุณ big_ong2000
ยินดีครับ ที่นำไปเผยแพร่ให้ชมกันต่อด้วยครับ
ข้อความอาจจะไม่ได้เขียนเชิงอธิบายอ้างอิงอะไรตามล้านนามากมายนัก เขียนเล่าจากที่พบเห็นซะมากกว่านะครับ และหากจะมีอะไรที่ผิดไป จะแจ้งกันกลับมาเพื่อแก้ไขก็ยินดีนะครับ


โดย: ถปรร วันที่: 20 ธันวาคม 2553 เวลา:9:48:45 น.  

 
งานวันนั้นดิฉันจำได้ไม่เคยลืมเพราะดิฉันเป็นนักเรียนในสถาบันพัฒนาเยาวสตรีที่หลวงปู่ได้เป็นผู้อุปถัมอยู่จากวันที่เริ่มงานจนถึงวันฌาปนกิจเราได้มีส่วนร่วมในงานครั้งนี้ด้วยรูปภาพที่เกี่ยวกับนกหัสดีลิงค์ในงานของหลวงปู่จันทร์ได้ถ่ายเก็บไว้และแสดงที่วัดป่าดาราภิรมย์ อ.แม่ริมจ.เชียงใหม่ค่ะไปดูกันได้นะคะ


โดย: ละอ่อนสถาบันรุ่น9 IP: 27.55.14.125 วันที่: 12 มกราคม 2556 เวลา:12:57:13 น.  

 
ชอบวาดตาม


โดย: นนทพัทธ์ พรแก้ว IP: 101.51.69.128 วันที่: 20 ธันวาคม 2561 เวลา:10:01:50 น.  

 
ยังไม่เคยด้วย


โดย: จันทริกา หนูประโคน IP: 101.51.208.7 วันที่: 21 ธันวาคม 2561 เวลา:10:22:24 น.  

 
กราบน้อมส่งพระเดชพระคุณพระพุทธพจนวราภรณ์(จันทร์ กุสโล) ผู้ก่อตั้ง รร.ของผม เมตตาศึกษา (ม.ศ.) จะไม่ลืมพระคุณของหลวงปู่ครับ.


โดย: Gg IP: 58.9.35.79 วันที่: 21 กันยายน 2562 เวลา:15:39:27 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ถปรร
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add ถปรร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.