Group Blog
 
<<
มีนาคม 2565
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
15 มีนาคม 2565
 
All Blogs
 

รวมภาพ "นางรำ-ฟ้อนสาวไหม"

15 03 2565 รวมภาพ "นางรำ-ฟ้อนสาวไหม"

blog นี้ตั้งใจเลือกภาพนำเสนอภาพถ่ายของนางรำ
ตอนแรกก็คิดว่าจะลงภาพรวม ๆ ให้ชมกันไปซะทีเดียวเลย ไป ๆ มา ๆ ทำไม่จบ blog ในวันเดียว วันนี้เลยมาตัด blog ออก เอาเฉพาะภาพนางรำ ฟ้อนสาวไหม ก่อนละกัน



ขอเปิด blog ด้วย ฟ้อนสาวไหมต้นฉบับของแม่ครูบัวเรียว รัตนมณีภรณ์-ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 7“ ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย













































ต้นฉบับท่าฟ้อนสาวไหมของแม่ครูบัวเรียวที่เป็นมาตรฐาน มี ๑๖ ท่าฟ้อน ดังนี้

1. ไหว้ (เทพนม)
2. บิดบัวบาน
3. พญาครุฑบิน
4. สาวไหมช่วงยาว
5. ม้วนไหมซ้าย
6. ม้วนไหมขวา
7. ตากฝ้าย (เป็นท่าใหม่ที่แม่ครูบัวเรียว ได้เพิ่มเติม ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๔)
8. ม้วนไหมใต้เข่า
9. ม้วนไหมใต้ศอก
10. พุ่งหลอดไหม
11. สาวไหมรอบตัว
12. คลี่ปมไหม
13. ปูเป็นผืนผ้า
14. พับผ้า
15. พญาครุฑบิน
16. ไหว้ ตอนจบ

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
การฟ้อนสาวไหมนี้ เป็นท่าหนึ่งของเชิงสาวไหมที่มักเรียกกันในภายหลังว่า "สาวไหมลายเจิง" แม่ครูบัวเรียวได้เล่าว่าเมื่อครั้งเล็ก พ่อครูกุยได้สอนเชิงสาวไหมให้กับหนุ่มๆ ในละแวกบ้าน และได้ปรับเอาท่าสาวไหมในเชิงนั้นมาคิดประดิษฐ์เป็นฟ้อนสำหรับผู้หญิง โดยนำไปผสมผสานกับวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ปลูกฝ้ายเพื่อนำมาทอผ้า จึงได้นำวิถีชีวิต กระบวนการทอผ้ามาผสมผสานกับเชิงสาวไหมจนกลายเป็น "ฟ้อนสาวไหม" ให้กับลูกสาวคือแม่ครูบัวเรียวนั่นเอง

แต่ปัจจุบันนี้ มีผู้เข้าใจผิดคิดว่าการฟ้อนสาวไหมนั้น 'ประดิษฐ์มาจากการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม เพื่อนำมาทอเป็นผ้าไหม' อยู่มากมายรวมไปถึงวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ที่ได้นำการฟ้อนสาวไหมมาปรับปรุงด้วยเช่นกัน อาจจะเป็นเพราะความไม่เข้าใจในภาษาล้านนาอย่างลึกซึ้ง จึงตีความว่าเป็นการฟ้อนที่เลียนแบบการทอผ้าไหม ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คำว่า "ไหม" ในภาษาล้านนา หมายถึงเส้นด้าย รวมถึงสิ่งที่มีลักษณะเป็นเส้นเล็กบาง เช่น ฝ้ายไหมมือ ก็คือเส้นด้ายที่ใช้ผูกข้อมือให้ศีลให้พร เป็นต้น

หลักฐานที่สนับสนุนว่าการฟ้อนสาวไหม หมายถึงการฟ้อนที่ประดิษฐ์มาจากกระบวนการทอผ้าฝ้ายไม่ใช่ผ้าไหม ก็คือ สภาพความเป็นอยู่ การปลูกต้นฝ้ายเพื่อใช้ทอเป็นผ้าฝ้ายของชาวล้านนาตั้งแต่อดีตนั่นเอง ในล้านนามีการเลี้ยงไหมอยู่น้อยมากจนไม่อาจจะเรียกได้ว่าการปลูกหม่อน เลี้ยงไหมเป็นวัฒนธรรมของล้านนา

อีกทั้งได้สอบถามยังครูเชิงหลายท่าน ทุกท่านต่างยืนยันว่าท่าสาวไหมในเชิงของล้านนา ไม่ได้หมายถึงการสาวเส้นไหมอย่างแน่นอน

แม่ครูบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในชื่อของฟ้อนสาวไหมว่า พ่ออุ้ยกุย สุภาวสิทธิ์ เห็นว่าคำว่าฟ้อนสาวไหม มีรูปภาษาที่สวยงามกว่าคำว่า ฟ้อนสาวฝ้าย ดังนั้นจึงเห็นว่าควรใช้ สาวไหม จะมีความงามทางด้านภาษามากกว่า

ฟ้อนสาวไหม เป็น ฟ้องที่แฝงด้วยปรัชญาชีวิต ว่า ชีวิตทุกชีวิตต้องมีอุปสรรค ดั่งการสาวไหมต้องเจอปม เมื่อคลี่ปมไหมให้ดี และถักทอเป็นผืนผ้าได้สวยงามก็ เปรียบดังชีวิตที่ต้องต่อสู้ฝ่าฟันด้วยความเพียรและอดทนผ่านพ้นอุปสรรคปัญหาต่างๆ มาได้ เป็นต้น



มาต่อด้วยภาพถ่ายของน้องพิม-วิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ปัจจุบันเรียนจบแล้ว) ภาพถ่ายชุดนี้ก็น่าจะนาน 10 ปีได้แล้ว

จดจำไม่ได้แล้วว่าตอนที่น้องพิมฟ้อนรำสายไหมจะได้เรียงท่ารำตามแบบฉบับท่าฟ้อนสาวไหม 16 ท่ารำไหม ลองชมกันไปครับ ภาพถ่าย set ของน้องพิม จะเยอะหน่อย






































































































































การฟ้อนสาวไหมเป็นการฟ้อนรำที่แสดงถึงวิถีชีวิตของชาวล้านนา เป็นการเลียนแบบท่าทางการสาวไหมของหญิงสาว ที่ยามค่ำว่างจากการทำงานในพื้นที่เกษตรก็จะนิยมทอผ้าฝ้าย ผ้าไหม


ผู้คิดค้นประดิษฐ์ท่าฟ้อนสาวไหมขึ้นเป็นคนแรก ได้ค้นจากหลาย website พบว่าข้อมูลได้ระบุผู้คิดค้นคือ พ่อครูกุย สุภาวสิทธิ์ ภูมิลำเนาเดิมอยู่บ้านแม่ก๊ะ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งต่อมาพ่อครูกุยได้ถ่ายทอดท่าฟ้อนให้บุตรสาวคือแม่ครูบัวเรียว รัตนมณีพรเป็นผู้สืบทอด

แม่ครูบัวเรียวเล่าถึงประวัติความเป็นมาของการฟ้อนสาวไหมว่าถ่ายทอดมาจากวิถีชีวิตของชาวล้านนา ตั้งแต่การเก็บดอกฝ้าย สาวเส้นฝ้าย เข้าสู่กระบวนการถักทอที่ปราณีตบรรจง จนกลายมาเป็นผืนผ้าในที่สุด

สำหรับท่ารำแม่ครูบัวเรียวได้ดัดแปลงลีลาการฟ้อนต่อสู้แบบชายให้เข้ากับบุคลิกของสตรีคือให้อ่อนช้อยและลงจังหวะดนตรีแบบนาฏศิลป์ไทย ซึ่งในแต่ละท่วงท่าก็มีที่มาจากภูมิปัญญาล้านนาดั้งเดิมทั้งสิ้น ส่วนท่ารำปัจจุบันนั้น ไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัว
(คัดลอกข้อความบางส่วนมาจาก website ร้อยเรื่องเมืองล้านนา https://www.fm100cmu.com/blog/Lanna/content.php?id=299)







น้องมะเกี๋ยง สาวน้อยลูกครึ่่งที่มีใจรักด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา - ด้านการแสดง














มาที่รุ่นเล็กลงไปอีกหน่อยด้วยเลย (เจอะเจอในการแสดงฟ้อนรำที่เวทีวัดเจดีย์หลวง)








มาต่อกับสองพี่น้องที่มีใจรักด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา และด้านการแสดง















มีภาพถ่าย set นี้น่าจะเก่าสุดละ (ปี 2553)


































ปิดท้ายไว้กับสองภาพนี้ ด้วยจดจำได้ว่า "กำไลนางสวย สไบนางสวย ซิ่นนางสวย
...มือคู่นี้ฟ้อนสาวไหมสวยสุด ๆ แล้ว"

จำกัได้ไหมเอ่ย ว่ามือสวย ๆ คู่นี้เป็นของใครกัน




ขอบคุณแม่ครูบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ น้องพิม น้องมะเกี๋ยง น้องอ้อม และอีก 3 คนที่เป็นแบบถ่ายภาพนางรำ ฟ้อนสาวไหม ใน blog นี้ด้วยครับ

ขอบคุณเพื่อน ๆ ที่แวะมาชมภาพถ่ายที่ blog กันด้วยครับ




 

Create Date : 15 มีนาคม 2565
5 comments
Last Update : 19 มีนาคม 2565 16:08:50 น.
Counter : 1924 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณhaiku, คุณทนายอ้วน, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณสองแผ่นดิน, คุณหอมกร, คุณกะว่าก๋า, คุณnewyorknurse

 

ชมภาพงามๆเพลินเลยครับ

 

โดย: สองแผ่นดิน 15 มีนาคม 2565 23:27:08 น.  

 

เด็กสมัยนี้เลยกลายเป็นต้องดัดฟันทุกคนนะ อ.เบิร์ด

 

โดย: หอมกร 16 มีนาคม 2565 13:42:38 น.  

 

นับเป็นบุญตาที่ได้ชมแม่ครูฟ้อนค่ะ

ตลอดจนน้องพิม น้องมะเกี๋ยง น้องอ้อม และอีก 3 คน รำและฟ้อนสาวไหม
ผ่านฝีมือตากล้องบล็อกนี้ค่ะ

 

โดย: เริงฤดีนะ 16 มีนาคม 2565 14:34:29 น.  

 


ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับพี่
เมื่อวานผมเข้าไปรับผลตรวจโควิดของมาดามที่ราม
คนนั่งรอตรวจเป็นร้อยเลย
น่าจะยังระบาดหนักอยู่นะครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 16 มีนาคม 2565 15:14:16 น.  

 


มาชมภาพสวยๆค่ะ

>>>>>
ที่บล็อก
เรื่องดูแลรถ ผู้หญิงถ้าเราไม่รู้เรื่องไปที่ซ่อมรถ
เขาบอกอะไรก็ยอม บางที่เสียเงินเยอะด้วย
ตอนนี้สว.เลยเช่าซื้อดีกว่า สามปี คงไม่เสีย
ไปไหนๆสบายใจ

 

โดย: newyorknurse 17 มีนาคม 2565 3:56:31 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ถปรร
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add ถปรร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.