ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always be loved.
Group Blog
 
 
กันยายน 2563
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
18 กันยายน 2563
 
All Blogs
 
ยักษ์ผู้พิทักษ์

“ยักษ์ผู้พิทักษ์” คล้องเชือกเกลียวพันกาย ม้วนเกลียวผ้าเคียนเอว    
งานศิลปะยักษ์ทวารบาล - ผู้พิทักษ์ (Dvarapala The Guardian) ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 – 20 ได้เกิดความนิยมการคล้องเชือกเกลียวพันรอบกาย ม้วนเกลียวผ้าเคียนเอว ซึ่งในงานศิลปะยุคก่อนหน้านั้น ปรากฏงานศิลปะรูปยักษ์แบก/คนแคระแบก (Dwarf - ผู้ปวารณาตนเพื่อชดใช้กรรม) ในงานศิลปะแบบวัฒธรรมทวารวดี ตามฐานสถูปเจดีย์  ยังไม่เคยปรากฏความนิยมในการนำเชือกเกลียวเป็นสายสังวาลคล้องพันกายแต่อย่างใด 
.
ในงานศิลปะนิยมแบบนครวัด อย่างภาพสลักนูนต่ำที่ปราสาทนครวัด รวมทั้งงานศิลปะนิยมแบบบายน ก็ไม่เคยปรากฏรูปยักษ์ทวารบาล- ผู้พิทักษ์ ประดับศาสนสถาน ที่มีการใช้เกลียวเชือกพันกายเป็นสังวาล
.
แต่การใช้เชือกเกลียวพันกายของยักษ์ในงานศิลปะอยุธยากลับมีความคล้ายคลึงกับการแต่งกายของกลุ่มทหารบางกลุ่มในภาพสลักนูนต่ำปราสาทบายน ที่แสดงภาพลักษณ์ของกลุ่มทหารที่แต่งกายโดยเอาเชือกใหญ่มาพันไขว้กันที่หน้าอกแล้วไปอ้อมพันคอ นุ่งผ้าม้วนเป็นเกลียวที่เอว ทิ้งปลายผ้าเกลียวมาที่ด้านหน้าครับ
.
จะสังเกตได้ว่า ภาพสลักของทหารกลุ่มที่ใช้เชือกพันกายนี้ จะสลักอยู่แถวหน้าสุดของกองทหาร เป็นกลุ่มที่เข้าต่อสู้กับศัตรู (จาม) ก่อน เหมือนเป็นหน่วยกล้าตาย แนวหน้าที่มีความโหดเหี้ยม ดุดันกว่าทหารหน่วยทหารอื่น ๆ ในภาพสลัก  
 .
คตินิยมรูปยักษ์สวมคล้องเกลียวเชือก พบครั้งแรกในงานศิลปะแบบหลังบายน ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ในภาพสลักพุทธประวัติตอนผจญมาร (Assault of Māra) แบบคติเถรวาท บนหน้าบันวัดเทพประนัม (Tep Pranam Temple)  ที่ปรากฏภาพของเหล่ายักษ์ใช้เชือกเกลียวเป็นสังวาล และนำมาคาด-เคียนเอว ตามแบบภาพสลักทหารแนวหน้าที่ปราสาทบายนครับ 
.
จึงเป็นไปได้ว่า ในช่วงที่เมืองพระนคร ได้รับอิทธิพลพุทธศาสนาเถรวาท-ลังกาวงศ์ ได้มีการนำภาพลักษณ์ของทหารหน่วยกล้าตาย – แนวหน้าของกองทัพจากยุคจักรวรรดิบายน ในคติความหมายของนักรบที่เก่งกล้ามาผสมผสานคติและงานศิลปะเข้ากับภาพลักษณ์ของยักษ์ผู้พิทักษ์พุทธศาสนาเดิม เพื่อให้มีความโหดเหี้ยมดุดันเช่นนักรบของจักรวรรดิในอดีต
----------------------------------
*** อิทธิพลงานศิลปะเชือกเกลียวประดับตามคติเถรวาทจากเมืองพระนคร อาจได้ส่งต่อเข้ามายังเมืองละโว้ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 ที่กำลังมีความนิยมพุทธศาสนานิกายเถรวาท-กัมโพชสงฆปักขะ และยังคงมีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติกับเมืองพระนคร งานศิลปะยักษ์ผู้พิทักษ์พันเชือกเกลียว ได้รับนิยมในเขตอิทธิพลของกลุ่ม 3 รัฐขอมลุ่มเจ้าพระยา ทั้งลวะปุระ สุวรรณปุระและสุโขทัย (ศรีชยเกษมปุรี) ครับ  
.  
งานศิลปะรูปยักษ์พันเชือกเกลียว ยังได้ถูกนำมามาผสมผสานคติความเชื่อเรื่องยักษ์ทวารบาล ถูกนำมาใช้เป็นยักษ์ผู้พิทักษ์ประดับฐานสถูปเจดีย์ในท่า “ผู้แบก” ทั้งยังนำยักษ์พันเชือกเกลียวไปใช้เป็นทวารบาลถือกระบอง เป็นเครื่องบนชั้นอัสดงของพระปรางค์
.
ศิลปะของยักษ์พันเชือกเกลียว ยังถูกนำมาผสมผสานกับคติ คนแคระ (Dwarf)  สาวกของราชาแห่งยักษ์ท้าวกุเวร คนแคระผู้เป็นสาวกของมนุษย์นาค จนถึงการเป็น “คนแคระผู้ผิดบาปในชาติที่แล้ว” ที่จะมีรูปกายแบบคนแคระรูปร่างไม่สวยงาม ที่ประสงค์จะชดใช้บาปกรรมของตนด้วยความสำนึกและบริสุทธิ์ใจ จากคติของฝ่ายลังกาวงศ์ กลายเป็นคนแคระพันเชือกเกลียวครับ
.
ผู้รู้บางท่านให้ความเห็นไว้ว่า รูปยักษ์ของฝ่าย 3 รัฐขอมเจ้าพระยานั้น อาจได้ซ่อนความรู้สึกนึกคิดทางการเมืองในเรื่องการปลดแอกบ้านเมืองจากอำนาจจักรวรรดิเมืองพระนครเอาไว้ ช่างปูนปั้นรุ่นใหม่จึงได้นำเอารูปทหารผู้เก่งกล้าที่สวมใส่เกลียวเชือกพันกาย นุ่งผ้าทิ้งชาย ในยุคจักรวรรดิบายนอันรุ่งเรือง มาผสมผสานกับคติยักษ์ทวารบาล ยักผู้แบก และคนแคระ มาใช้เป็นรูปยักษ์แบกอาคารศาสนสถาน เพื่อการชดใช้กรรม
.
ภาพยักษ์สวมคล้องเกลียวเชือกเหล่านี้ เป็นการนำเอาภาพลักษณ์การแต่งกายของกองทหารแนวหน้า ที่เก่งกล้าที่สุดในยุคจักรวรรดิบายนอันยิ่งใหญ่ ดังภาพสลักของทหารในทัพหน้าที่เข้าปะทะทัพจามอย่างไม่เกรงกลัว ที่เคยอยู่ในความทรงจำมายาวนานของเหล่าลูกผสมใน 3 รัฐขอมลุ่มเจ้าพระยา มาผนวกเข้ากับคติยักษ์/คนแคระจากลังกา ที่เชื่อว่ามีฤทธา เก่งกล้า มีความสุข อำนวยโชคและความร่ำรวย ปวารนาตนที่จะปกป้องพระพุทธศาสนา 
.
จึงได้กลายมาเป็น ยักษ์คล้องเชือกเกลียวพันกาย นุ่งผ้าทิ้งชายหน้า ในงานศิลปะอันงดงามของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาครับ
เครดิต :
วรณัย พงศาชลากร
EJeab Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า


Create Date : 18 กันยายน 2563
Last Update : 18 กันยายน 2563 11:51:43 น. 1 comments
Counter : 619 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณ**mp5**


 
แวะมาเยี่ยมครับ


โดย: **mp5** วันที่: 18 กันยายน 2563 เวลา:15:34:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ททมาโน ปิโยโหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.
New Comments
Friends' blogs
[Add ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.