ตีความหนัง...ตีความชีวิต
สารบัญภาพยนตร์
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
 
กันยายน 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
15 กันยายน 2554

อุโมงค์ผาเมือง(2011)

อุโมงค์ผาเมือง




ภาพยนตร์เรื่องอุโมงค์ผาเมือง ของผู้กำกับหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล แม้จะดัดแปลงมาจากบทละครเวทีเรื่อง ราโชมอน(ประตูผี) ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมท แต่อดนึกคิดไปถึงเรื่อง ราโชมอนต้นฉบับ ของผู้กำกับ อาคิระ คุโรซาว่าไม่ได้ เพราะโครงเรื่อง และการนำเสนอ แทบจะเรียกได้ว่าถอดแบบมาจาก ราโชมอน ของคุโรซาว่าก็ไม่ผิดนัก

ในอุโมงค์ผาเมือง จะมีการให้รายละเอียดตัวละครอย่างละเอียดยิบ เพื่อสร้างภูมิหลังประวัติให้กับตัวละคร ซึ่งแตกต่างไปจากราโชมอนต้นฉบับ ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญตรงจุดนี้ ผู้ชมจึงไม่ทราบที่มาที่ไปของตัวละคร

แต่พอจะสังเกตได้ว่าที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ในฉบับราโชมอนของ คุโรซาว่านั้น ผู้ชมเปรียบฐานะเป็นศาลตัดสินในคดีความผิดของจำเลย เห็นได้ชัดจากมุมกล้องในการนำเสนอ ที่จำเลยจะหันหน้า เข้าหาคนดู(กล้อง) เสมือนว่ากำลังถูกคนดูไต่สวน

จึงทำให้หนังไมได้ให้บทสรุปในตอนท้ายว่า แท้จริงแล้วใครคือผู้พูดโกหก กลับกลายเป็นภาระหน้าที่ของผู้ชมในการพินิจพิเคราะห์ ในการตัดสินขึ้นภายในจิตใจของผู้ชมเอง และนี่คงจะเป็นสิ่งเหนือชั้นของราโชมอนต้นฉบับ จนถูกกล่าวขานว่าเป็นหนังในตำนาน

แต่สำหรับอุโมงค์ผาเมืองนั้น ได้ลดฐานะของคนดูให้เป็นเพียงแค่ผู้สังเกตการณ์หรือบุคคลที่ 3 เพียงเท่านั้น ผู้ชมมีหน้าที่รับสารจากผู้กำกับ จึงทำให้อุโมงค์ผาเมือง นำพาผู้ชมไปทราบรายละเอียดภูมิหลังของตัวละครในแต่ละตัว เพื่อเพิ่มเติมเสริมแต่งอรรถรสในการรับชมภาพยนตร์ หรือเป็นการสร้างหลักฐานให้คนดูคล้อยตามในเนื้อเรื่องนั่นเอง

ประเด็นต่อมาคือ การที่อุโมงค์ผาเมือง มักเน้น มุมมองของหนัง (point of view ) ไปทางพระอานนท์(มาริโอ เมาเร่อ) เป็นหลัก ซึ่งแตกต่างของราโชมอน ที่ไม่ได้เน้นบทบาทของตัวละครตัวใดเลยเพื่อเป็นการไม่ชี้นำผู้ชมมากเกินไป วิธีการทั้ง 2 นั้นไม่มีใครผิดใครถูก แต่ขึ้นอยู่กับวิธีการนำเสนอของผู้กำกับที่ต้องการนำพาผู้ชมไปสู่แก่นสารของเรื่องในทิศทางใด ดังเช่นคุโรซาว่า ไม่เน้นใครเพราะต้องการให้ผู้ชมตัดสินด้วยตัวเองในภายหลัง

ผิดกับอุโมงค์ผาเมืองที่ผู้กำกับ ม.ล. พันธุ์เทวนพ เทวกุล ใช้ point of view ของพระอานนท์ เพื่อต้องการชี้นำผู้ชมให้มีความเคารพนับถือในศาสนาพุทธดังที่ตนเองเลื่อมใส มีการใช้เพลงบทสวดประกอบภาพยนตร์โดยตลอด และทำให้ทิศทางของภาพยนตร์เน้นไปทางธรรมะเป็นส่วนใหญ่ คำพูดที่ออกมาจากปากพระอานนท์ดูคมคายและน่าเลื่อมใส เพื่อให้เห็นความงดงามของศาสนาพุทธตลอดทั้งเรื่อง

การเฉลยของบทสรุปของภาพยนตร์ที่ คุโรซาว่า ได้ปกปิดเป็นเวลานาน ได้ถูกตีความและถ่ายทอด ในอุโมงค์ผาเมืองใหม่ ว่าบุคคลที่ฆ่าขุนศึก คือคนตัดฝืน ที่ดึงดาบจากอกของขุนศึกจึงทำให้ถึงแก่ความตาย เพียงเพื่อต้องการดาบมีราคาที่ปักอก

มิหนำซ้ำฉากที่คนตัดฝืนขอเด็กไปเลี้ยงและบอกพระว่า มีลูก 6 คน แต่หากนับในจอภาพในช็อตต่อมานั้น จะพบเด็กแค่ 5 คนเท่านั้น ซึ่งหากไม่ใช่ความผิดพลาดของฝ่ายผลิตภาพยนตร์เอง นั่นก็แสดงว่าคนตัดฝืนอาจเป็นนำเด็กคนนี้มาทิ้งตั้งแต่แรก เพราะไม่สามารถเลี้ยงได้ไหว แต่เมื่อเกิดการสนทนา กับพระอานนท์ และ สัปเหร่อ จึงได้เกิดกลับใจและตัดสินใจนำเด็กไปเลี้ยงอีกครั้งหนึ่ง



การนำเสนอด้านภาพของอุโมงค์ผาเมืองนั้น มีความละม้ายคล้ายคลึงกับการแสดงละครเวทีเป็นอย่างมาก นั่นอาจะเป็นเพราะ ผู้กำกับ ม.ล. พันธุ์เทวนพ เทวกุลนั้น เป็นผู้กำกับละครเวทีมาก่อน จึงมักมองฉากๆหนึ่งไม่ต่างจากฉากละครเวทีนัก เทคนิคด้านกล้องจึงถูกใช้อย่างจำกัดที่สุด

การแสดงได้ดำเนินไป โดยกล้องถูกเปรียบเสมือนสายตาผู้ชมเหมือนในโรงละคร การตัดต่อถูกนำมาใช้เพียงเพื่อต้องการเน้นย้ำในรายละเอียดที่สำคัญ ๆ เท่านั้น

การแสดงของตัวละครในบางครั้งอาจดู โอเวอร์ เกินไปในมิติของภาพยนตร์ ซึ่งเหมือนกับละครเวที แม้อาจจะลดลงระดับความโอเวอร์ลงมาแล้วก็ตาม แต่ด้วยสไตล์ส่วนตัวของผู้กำกับเองที่อาจจะชื่นชอบแนวทางการแสดงเช่นนี้

ละครเวทีนั้นมักใช้นักแสดงที่ความสามรถในการแสดงสูงและมีพลังในการถ่ายทอดออกมาอย่างไม่จำกัด เหตุผลเช่นนั้นเพราะต้องการแสดงให้ถึงผู้ชมที่นั่งแถวหลังสุด แตกต่างจากภาพยนตร์ที่มักแสดงออกมาไม่มากนัก หรือแสดงเพียงสีหน้า แล้วใช้เทคนิดด้านกล้อง close up ผู้ชมก็จะเข้าใจในตัวแสดงได้ บทพูดบางครั้งก็อาจจะมีน้อย แต่ไปเน้นในรายละเอียดด้านภาพเสียส่วนใหญ่

ผิดกับอุโมงค์ผาเมือง ที่เน้นการพูดของตัวละครเป็นสำคัญ ซึ่งมันก็ควรเป็นอย่างนั้นเพราะคำพูดที่ออกจากปากเป็นคำให้การ เพื่อเป็นหลักฐานให้ผู้ชมรับรู้ แต่ในบางครั้งตัวละครก็ใช้คำพูดฟุ่มเฟ้อจนเกินไป อีกทั้งยังมีคำที่ใช้ผิดยุคสมัยที่ควรจะใช้กันใน ปีพ.ศ. 2110 เช่น ฉัน หล่อน ตำรวจ แป๊ปนะ เหยี่ยว ฯลฯ

ซึ่งทำให้อารมณ์ร่วมที่มีในเหตุการณ์รู้สึกสะดุดในฉับพลัน แม้ว่าทีมงาน อาจจะแก้ตัวว่า คำพูดเหล่านี้ อาจจะมาจากบทละครเวทีราโชมอน ก็ตาม แต่ในช่วงก่อนการถ่ายทำ ก็น่าจะมีใครสักคน ที่รู้สึกว่าคำพูดเหล่านี้ อาจจะทำให้ผู้ชมรู้สึกตะขิดตะขวงใจ ในขณะที่ภาพยนตร์ออกฉาย

หากกล่าวกันในภาพรวมนั้น อุโมงค์ผาเมือง ถือเป็นหนังไทยอีกเรื่องหนึ่งที่ควรดู โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่เคยได้ดู ราโชมอนต้นฉบับมาก่อน อย่างน้อยๆ แก่นสารของเรื่องที่หนังฝากไว้ ทำให้ผู้ชมจะได้ลองเข้าไปสำรวจเข้าไปในจิตใจตนเองว่าเรานั้น เป็นมนุษย์อย่างที่ภาพยนตร์ได้ถ่ายทอดออกมาหรือไม่

แต่สำหรับผู้ที่เคยดู ราโชมอน ของอาคิระ คุโรซาว่า แล้วนั้น อาจจะกล่าวว่า ความลุ่มลึกในอารมณ์แบบราโชมอนต้นฉบับได้หายไป เหลือเพียงความมากล้นของการแสดงในแต่ละตัวละคร ดังนั้นฉากจบของเรื่องที่พระอานนท์ได้เข้าใจในความมนุษย์นั้น อาจเป็นฉากที่สงบที่สุดของเรื่องนี้ และพอจะเข้าใจได้ว่า ชีวิตมนุษย์มันช่างตอแหลและวุ่นวายไม่จบสิ้น ไม่ต่างอะไรกับการแสดงของตัวละครนักแล

คะแนน 7/10
เกรด B

คะแนนมาตฐานหนังไทย 8/10 (A)




 

Create Date : 15 กันยายน 2554
1 comments
Last Update : 29 กุมภาพันธ์ 2555 23:05:12 น.
Counter : 2360 Pageviews.

 

เหมือนมาดูละครเวทีในโรงไงครับ อาจจะรู้สึกว่าเยอะไปบ้าง แต่เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ

และผมก็ชอบทั้งเนื้อหาและองค์ประกอบหลายๆอย่างของหนังเรื่องนี้

ยกให้เป็นหนังไทยแห่งปี 2011 เลยครับ

 

โดย: จุใจ 10 พฤศจิกายน 2554 19:57:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


A-Bellamy
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ย้ายบล็อกแล้วนะครับ ติดตามกันต่อได้ที่ http://www.A-Bellamy.com ครับ

พูดคุยเรื่องหนังกันได้ที่Facebook

สนุกกับการอ่านบล็อกนะครับ


บทความล่าสุด
Jack the Giant Slayer (2013)
The Tree of Life(2011)
Iron Man (2013)
ลัทธิ Constructivism
คู่กรรม(2013)
Stoker(2013)
Amour(2012)
Silver Linings Playbook(2012)
Zero Dark Thirty(2012)
Les Misérables(2012)


บทความแนะนำ
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
สารบัญภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

[Add A-Bellamy's blog to your web]