ตีความหนัง...ตีความชีวิต
สารบัญภาพยนตร์
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
<<
เมษายน 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
30 เมษายน 2555

From Up On Poppy Hill (2011)

สารบัญภาพยนตร์

From Up On Poppy Hill (2011)


การดำรงอยู่ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นไม่เสื่อมคลาย




ท่ามกลางกระแสวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ รวมทั้งอนิเมชั่น 3 มิติที่ครองใจตลาดได้ทั่วโลก แต่สตูดิโอชื่อดังจากประเทศญี่ปุ่นอย่างจิบลิ กลับยังคงเดินหน้าสร้างอนิเมชั่น 2 มิติ ออกมาอย่างไม่สะทกสะท้านต่อการเปลี่ยนแปลงใดๆในโลกภาพยนตร์ โดยการ์ตูนอนิเมชั่นโลกสวยเรื่องล่าสุดของจิบลิคือ From Up On Poppy Hill ของผู้กำกับ โกโระ มิยาซากิ ที่เคยฝากผลงานกำกับเรื่อง Tales from Earthsea เมื่อปี ค.ศ. 2006 โดยอนิเมชั่น From Up On Poppy Hill นั้นแม้จะต้องหยุดชะงักไปจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและซึนามิในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2011 แต่สุดท้ายก็สามารถผลิตจนสำเร็จออกฉายได้ทันในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2011ที่ผ่านมา (ในญี่ปุ่น)

เรื่องราวใช้บริบทหลัก ในปีค.ศ. 1963 ที่ในอีกหนึ่งปีให้หลังนั้น ญี่ปุ่นจะได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกปี 1964 ทำให้ถือเป็นข้อพิสูจน์ในศักยภาพของประเทศญี่ปุ่นประการสำคัญที่จะป่าวประกาศต่อคนทั่วทั้งโลกว่าประเทศญี่ปุ่นยิ่งใหญ่เพียงใด แม้จะต้องพ่ายแพ้ต่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ตาม นั่นทำให้รัฐบาลถึงกับต้องออกข้อบังคับต่างๆ เพื่อให้องค์กรเอกชนและรัฐบาลเล็งเห็นถึงความสำคัญต่อความเป็นชาติญี่ปุ่นให้ทั่วโลกยอมรับขึ้นมา โดยสิ่งที่เป็นรูปธรรมดังปรากฏในภาพยนตร์ก็คือการ สร้างตึกใหม่ เพื่อทำให้เกิดความสวยงามและน่ามองต่อการจัดวางผังเมือง โดยใช้เรื่องราวของตัวละครหลักสองตัว เป็นการเน้นย้ำถึง ประเด็นหลักที่ว่าไว้ได้เป็นอย่างดี



สาวน้อยวัย 16 อุมิ (Masami Nagasawa) ผู้ซึ่งยังคงติดอยู่กับคำสัญญาว่าพ่อจะกลับมาจากการออกเรือไปในสงครามเกาหลี โดยการชักธงขึ้นสู่อยู่ยอดเขา เพื่อส่งสัญญาณให้พ่อของเธอได้รับรู้ แม้ว่าเวลาจะผ่านไปเนิ่นนาน แต่เธอก็ยังคงทำเช่นนี้ทุกวันดั่งกิจวัตรประจำวันของเธอ เสมือนว่าถึงพ่อไม่กลับมา แต่คงจะมีใครสักคน เข้ามาปลอบประโลมใจของเธอ ที่ตกหล่นไปจากการสูญเสียพ่อไป

เด็กหนุ่มชุน (Junichi Okada) ผู้ซึ่งต้องประท้วงรักษาตึกเก่าหลังหนึ่งในโรงเรียนหลังจากถูกคำสั่งต้องรื้อทิ้งและสร้างตึกหลังใหม่(ผลกระทบจากการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก) แม้ตึกหลังนั้นจะเก่าและทรุดโทรม แต่ด้วยความสำคัญเพราะตึกหลังนั้นเป็นแหล่งรองรับชมรมต่างๆของโรงเรียนอย่างมากมาย มันจึงมีความหมายในแง่ของจิตใจขึ้นมา เพราะมันถูกส่งผ่านจากรุ่นต่อรุ่น จากพี่สู่น้อง จนอาจเรียกได้ว่า ตึกเก่าหลังนี้เป็นดั่งแหล่งวัฒนธรรมและอารยะธรรมของนักเรียนเหล่านี้เลยก็ว่าได้



นี่คือสองเส้นเรื่องหลักที่ถูกวางเอาไว้ในตอนต้นก่อนที่จะค่อยๆ คลี่คลายเรื่องราวปัญหาต่างๆ ตามระยะเวลาที่เหมาะสมในภาพยนตร์ ก่อนที่จะขมวดและแก้ไขปมต่างๆที่ถูกเครื่องหมายคำถามเล่นงานตลอดเรื่อง แม้จะไม่ได้ซับซ้อนเชิงขบคิดนามธรรมมากนัก มิหนำซ้ำอาจโดนค่อนแคะจากนักดูหนังที่อาจรู้สึกว่าไม่ได้เหนือกว่าสิ่งที่พวกเขาคาดเดาไว้แต่อย่างไรกับหนังสไตล์โลกสวยแบบนี้ ที่แม้ในตอนต้นจะเริ่มเรื่องด้วยความเศร้าหรือขมขื่นปานใด แต่สุดท้ายมันต้องสรุปลงด้วยความ Happy Ending ก็ไม่ปาน จนทำให้การดูหนังไม่ต่างจากการจับผิด ติเตียน หรือตั้งธงไว้ในใจตั้งแต่เริ่มเรื่อง จนอาจละเลยรายละเอียดหรือคุณค่าที่สำคัญของสิ่งที่ From Up On Poppy Hill นำเสนอสื่อสารออกมาได้อย่างดี แม้ในแง่ของบทภาพยนตร์ไม่ได้เหนือต่อการคาดเดาแต่อย่างใด แต่เราคงจะละเลยในส่วนที่มีคุณค่าของภาพยนตร์เรื่องนี้เห็นจะมิได้เลย

โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทอดออกมาได้ชัดเจนและมีพลังตั้งแต่ฉากแรกของการเปิดตัวละคร ยูมิ นั่นคือ การทำกิจวัตรภารกิจต่างๆ ทั่วไปในชีวิตของเธอเอง ไม่ว่าจะเป็นการชักธงขึ้นเสา การทำอาหาร การหุงข้าว หรืออะไรก็ตามที่เป็นสิ่งแสนธรรมดาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเธอหรือใครก็ตาม แต่กลับถูกถ่ายทอดออกมาอย่างมีนัยสำคัญ และถูกทำเช่นนี้ไปตลอดเรื่อง ซึ่งนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นเสน่ห์ของภาพยนตร์ญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ เพราะหลายต่อหลายเรื่องนั้น ไม่ทิ้งรายละเอียดเล็กน้อยเช่นนี้ จนนี่อาจเรียกได้ว่า จิตวิญญาณแห่งความเรียบง่าย หรือที่รู้จักกันในวิถีพุทธแบบเซนนั่นเอง



เพลงประกอบของภาพยนตร์ในเรื่องนี้นั่นก็เป็นส่วนที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกคล้อยตามและมีความรู้สึกสุนทรียะในการรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้เลยทีเดียว การใช้เพลงเข้ามาเพื่อสร้างอารมณ์ในเหตุการณ์ของฉากนั้นๆ เป็นไปได้ตามทิศทางอารมณ์ที่ควรจะเป็นไป จึงเป็นจุดที่ได้รับการยกย่องในความอิ่มเอมใจในความไพเราะต่อเรื่องราว



อีกจุดหนึ่งที่ภาพยนตร์เรื่องนี้แสดงออกมาให้เห็น ซึ่งคาบเกี่ยวกับเรื่องการทุบตึกเก่าของชมรม จึงเกิดการประท้วงต่อสู้กับทางคณาจารย์กันขึ้นมา การใช้ภาพของเด็กมัธยมซึ่งแน่นอนเป็นวัยที่ยังไม่ก้าวร้าวเท่าไหร่ต่อสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆในระบอบประชาธิปไตย แต่ From Up On Poppy Hill กลับแสดงให้เห็นถึงจุดนี้ ซึ่งไม่อาจแน่ชัดว่า เป็นเพราะระบบการสร้างชาติของญี่ปุ่นหรือไม่นั้นมิอาจตอบได้ เพราะในแต่ละประเทศมีระบบการศึกษาที่แตกต่างกันไป แต่ต้องยอมรับว่า สิ่งที่ From Up On Poppy Hill แสดงออกมาให้เห็นคือความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ของเด็กมัธยม ซึ่งมีการแยกย่อยของชมรมแตกต่างกันไป

ซึ่งที่เห็นจะแปลกใจนั่นคือ ชมรมปรัชญา น้อยคนนักจะเกิดความสนใจตามวัยวุฒิ หรือจะเป็นชมรมดาราศาสตร์ ที่ถูกถามไถ่ว่า ได้ค้นพบอะไรหรือไม่ตลอดเวลาที่ก่อตั้งชมรม กลับได้รับคำตอบว่า ไม่ได้ค้นพบสิ่งใดใหม่ๆเลย แต่นั่นคงไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะสิ่งที่เป็นสาระของ ชมรมในมัธยมแห่งนี้ ในประเทศญี่ปุ่น นั่นคือการ การมุ่งหน้าค้นคว้าและให้ความสนใจต่อสิ่งใดตั้งแต่เด็ก นี่จึงไม่แปลกแต่อย่างใด ที่ญี่ปุ่นพัฒนาขึ้นมาอย่างก้าวกระโดด จากการไล่หลัง จนนำหน้าทุกประเทศในเอเชียได้



และสิ่งที่แสดงออกให้เห็นต่อความสมัครสมานกลมเกลียวในการทำนุบำรุงตึกเก่าให้ใหม่ การร้องเพลงปลุกใจ ซึ่งเชื่อเหลือเกินว่า ผู้ชมจะเกิดความรู้สึกถึงพลังในจุดนี้ที่ถ่ายทอดร้องเรียงประสานออกมา จนรู้สึกเชื่อถึงพลังที่พวกเขามีอยู่ ในประเทศแห่งนี้เลยทีเดียว จนเรียกได้ว่า ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความเป็นชาตินิยมอยู่สูงมากในสายธารของชีวิต ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษอย่างเนิ่นนาน

ดังนั้นด้วยความที่ภาพยนตร์เรื่องนี้วางอยู่บนราฐานแห่งความเป็นชาตินิยมในแบบญี่ปุ่นที่ต้องปรับตัวให้เป็นสากล(เจ้าภาพโอลิมปิก) จึงเกิดคำถามว่า เราควรจะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้อย่างไรกัน และหากจะกล่าวได้ว่า เด็กสาว อุมิ นั้น หรือจะเป็น ชุน เองก็ตาม มีความเป็นภาพตัวแทนของความดำรงรักษาไว้ด้วยวัฒนธรรมของญี่ปุ่นนั้นเอง



ยกตัวอย่างเห็นได้ชัดก็คือ การเน้นย้ำความเป็นวัฒนธรรมครอบครัว หรือการกระทำการเรียบง่ายในชีวิตประจำวัน หรือแม้กระทั่งการเดินลงหรือขึ้นเขาในระยะเวลาหลายต่อหลายกิโลฯ โดยปฏิเสธรถจากคนรู้จักเพราะด้วยการถ่อมเนื้อถ่อมตัว การเชื่อในสิ่งดีที่จะตามมาหากเราซื่อสัตย์และจริงใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ภาพการชักธงขึ้นสู่ยอดเสาทุกวันเป็นการบ่งบอกตรงจุดนี้ได้เป็นอย่างดี หรือแม้แต่ ชุน เองที่แม้จะเป็นภาพของคนรุ่นใหม่ แต่กลับเข้าใจความเป็นวัฒนธรรมที่ควรดำรงสืบไว้ไม่ให้หลงไปตามใครในชั่วข้ามคืน หรือแม้กระทั่งการรอคอยและความอดทนนั่นเอง

จึงอาจกล่าวได้ว่า สิ่งที่ถูกถ่ายทอดออกมา ในภาพยนตร์เรื่องนี้ คือการทำเช่นไรที่เราจะดำรงสืบความเป็นวัฒนธรรมของตัวเองไว้ โดยการที่ยังสามารถก้าวไปในอนาคตด้วยเพื่อการพัฒนาในแบบตะวันตกให้ได้

คำถามนี้จึงมิใช่แค่ดำรงอยู่ในภาพยนตร์เพียงเท่านั้น แต่มันเป็นคำถามในระดับความเป็นสากลของประเทศญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ ถึงแม้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้สร้างปัญหาหนักอกในแบบที่จะต้องสร้างการขบคิดให้ปวดหัวมากนัก เพราะจุดขายของอนิเมชั่นก็ยังคงเป็นในแบบฉบับของตัวมันเอง นั่นคือความเรียบง่าย เพลิดเพลิน และ Happy Ending เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัยนั่นเอง



แต่สุดท้ายคำตอบที่ภาพยนตร์เรื่องนี้กำลังให้ความกระจ่างคงเห็นไม่ยากไปจากความคิดของผู้ใหญ่ที่ว่า การดำรงและพัฒนาไว้ซึ่งวัฒนธรรมของตนเองด้วยการปรับตัวให้เป็นเลิศเทียบเท่าตะวันตก หรือการดำรงไว้ซึ่งความเป็นรากเหง้าตนเอง หรือแม้กระทั่งหากเราสามารถพัฒนาเทียบเท่าตะวันตกสิ่งที่เราจะไม่ลืมก็คือคุณค่าทางจิตใจในแบบตะวันออกนั่นเอง

และบางทีการติดอยู่ในวังวนขอจิตใจในเรื่องพ่อของ อุมิ ที่ไม่อาจหลุดออกไปได้นั่น อาจเปรียบเปรยได้เสมือนการติดอยู่กับสิ่งที่เป็นเดิมๆของตนเองมากจนเกินไป จนไม่สามารถพัฒนาเพื่อก้าวไปข้างหน้าได้ จุดนี้หากลองเเปรเปลี่ยนเป็นสมการ อุมิก็คงไม่ต่างจากภาพแทนของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่นในแบบยูมินั้นคงเป็นญี่ปุ่นที่ไม่พร้อมยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงใดๆ เพราะกลัวการต้องเปลี่ยนแปลง กลัวที่จะยอมรับตนเองไม่ได้หากรู้ว่าพ่อของเธอเสียชีวิตไปแล้ว

อุมิจึงเป็นหญิงสาวนิ่งเงียบที่ติดอยู่กับความเชื่อหรือการกระทำที่มีผลต่อจิตใจของเธอนั่นคือการชักธงขึ้นสู่ยอดเสา ซึ่งเปรียบไปไม่ต่างจากวัฒนธรรมของเธอ และด้วยการขมวดของปมภาพยนตร์จนสุดท้ายที่ต้องมีผลทำให้ ยูมิเกิดการยอมรับสิ่งต่างๆ ในตอนท้าย และเป็นการพัฒนาจิตใจ ว่าเขาได้เข้าใจและยอมรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า (การพัฒนาแบบตะวันตก) แต่สุดท้ายแล้ว ยูมิ ก็คงยังชักธงขึ้นสู่ยอดเขา แบบเดิม เพราะนี้คือ วัฒนธรรมที่ถูกสืบทอดมาในจิตใจ คือการไม่ทอดทิ้งความเป็นตัวตนนั่นเอง



ดังนั้นทั้งหมดที่กล่าวมาจึงทำให้เห็นได้ว่า From Up On Poppy Hill เป็นภาพยนตร์ที่มิได้สร้างความกระแสความเป็นชาตินิยมแต่ฝ่ายเดียว แต่ยังให้ภาพถึงการมุ่งสู่การพัฒนา โดยที่คอยย้ำเตือนมิให้ใครๆ ต้องหลงลืมวัฒนธรรมรากเหง้าของตนเอง แต่เพียงให้รู้จักปรับใช้ให้เข้ากับความเป็นตนเอง ถ้าสิ่งใดที่ยังดีอยู่นั้นก็ไม่ควรทำลายไปแต่ให้พัฒนาเพื่อให้คงความเอกลักษณ์ไปตราบนานเท่านาน

และด้วยความบังเอิญหรือไม่อย่างไร สาระที่ให้ของภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ไปละม้ายคล้ายคลึงต่อปรัชญาการทำอนิเมชั่นของสตูดิโอจิบลิ พอดิบพอดี สาระที่ว่านั่นคือ การปรับตัวให้เข้ากับการเป็นสมัยใหม่เพื่อการพัฒนายังคงต้องดำเนินไป แต่สิ่งใดที่ยังคงงดงามและควรสืบสานทำนุบำรุงเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของชาติก็ยังต้องดำเนินรักษาต่อไป ดังเช่นการที่อนิเมชั่นทั่วโลกนิยม 3 มิติ แต่สำหรับสตูดิโอจิบลิจะสนใจต่อการเปลี่ยนแปลงเหตุนี้ทำไม เพราะ อนิเมชั่น 2 มิติของพวกเขายังคงตราตรึงและงดงาม จนมีความพันธะผูกพันทางด้านจิตใจต่อเด็กและผู้ใหญ่ต่อการเจริญเติบโตขึ้นมา ตั้งแต่สมัยการเป็นม้วนวิดีโอ จนอาจเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมย่อมๆของนักดูหนังเลยก็ว่าได้

เหมือนดังที่สตูดิโอจิบลิเข้าใจจุดนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะบางทีนั้นการเปลี่ยนแปลงเพื่อความร่วมสมัยแต่ขาดคุณค่าและเอกลักษณ์ทางจิตใจมีหรือที่สมควรจะเปลี่ยนแปลง

คะแนน 8/10
เกรด A



อ่านบทความเรื่องอื่นได้ที่:สารบัญภาพยนตร์

อนิเมชั่นญี่ปุ่นที่เคยเขียน
Wolf Children(2012)




 

Create Date : 30 เมษายน 2555
10 comments
Last Update : 15 พฤศจิกายน 2555 10:09:18 น.
Counter : 3922 Pageviews.

 

จะพาลูกสาววัย 12 ปีไปดู From up on poppy hill ดีไหม?
เธอกำลังจะไปอยู่โรงเรียนประจำในปีหน้า จะสร้างแรงบันดาลใจอะไรได้บ้างไหม?
เช่นรักอาคารในอดีต
จะมีข้อเสียเรื่องรักในวัยรุ่นไหม?

คิดมากไปไหมเนี่ย คนเป็นพ่อก็แบบนี้แหละครับ

ขอความคิดเห็นด้วยครับ ขอบคุณมากครับ

 

โดย: คนขับช้า 1 พฤษภาคม 2555 23:37:01 น.  

 

ผมว่าเป็นประโยชน์มากเลยครับ

แต่มีข้อเสียอยู่นิดนึงเรื่องความรักอ่ะครับ เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้ ถ่ายทอดในมุมมองผู้หญิง ทำให้เราจะเห็นว่าหลายครั้งผู้หญิงจะเป็นฝ่ายเข้าหาผู้ชาย รวมทั้งนางเอกด้วยที่ตัดสินใจบอกความในใจแก่ผู้ชายก่อนด้วย แต่ทั้งหมดเกิดขึ้นด้วยความบริสุทธิ์

ดังนั้นผมก็คิดว่าน่าจะอยู่ที่มุมมองและวิธีการสอนลูกแล้วหละครับ

แต่สำหรับตัวผมคิดว่า น่าจะเป็นประโยชน์ มากกว่าอยู่ดีครับ

 

โดย: A-Bellamy 2 พฤษภาคม 2555 0:20:19 น.  

 

เขาจัดเรทหนังเรื่องนี้อยู่กลุ่มไหนครับ?

 

โดย: คนขับช้า 2 พฤษภาคม 2555 19:43:04 น.  

 

เรต ท ครับ

 

โดย: A-Bellamy 3 พฤษภาคม 2555 12:44:59 น.  

 

ชอบหนังของ Ghibli ทุกเรื่องเลยค่ะ

แต่เรื่องนี้ยังไม่มีโอกาสได้ดู

แต่เพลงประกอบเพราะมากเลย

 

โดย: DaRaDoRa 11 พฤษภาคม 2555 9:07:11 น.  

 

เขียนถึงแล้วนะครับเรื่องนี้ที่
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=amp-atom&month=05-2012&date=09&group=2&gblog=325

 

โดย: คนขับช้า 12 พฤษภาคม 2555 23:45:41 น.  

 

เด็ก12ไม่รู้นะคะ แต่เด็ก14ไปดูมาแล้วประทับใจมากเลยค่ะ

 

โดย: gingerMooham IP: 58.11.196.50 4 มิถุนายน 2555 15:37:48 น.  

 

ชอบเพลง สุกี้ยากี้ที่นำมาประกอบหนังการ์ตูนเรื่องนี้มาก เข้ากับบรรยากาศยุคสมัยนั้นดี

 

โดย: แฟนlinKinPark 14 สิงหาคม 2555 0:43:23 น.  

 

ชื่อเพลงสุกี้ยากี้หรอครับ ไม่ค่อยจำชื่อเพลง เพราะผมว่าเพลงในหนังเรื่องนี้ เพราะเกือบหมดเลย ^^

 

โดย: A-Bellamy 14 สิงหาคม 2555 9:36:10 น.  

 

ขอบคุณสำหรับบทความค่ะ ทำให้มองเห็นเรื่องราวต่างๆในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ชัดเจนขึ้นค่ะ

 

โดย: <<aLiTaLiA>> 18 กุมภาพันธ์ 2556 4:24:15 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


A-Bellamy
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ย้ายบล็อกแล้วนะครับ ติดตามกันต่อได้ที่ http://www.A-Bellamy.com ครับ

พูดคุยเรื่องหนังกันได้ที่Facebook

สนุกกับการอ่านบล็อกนะครับ


บทความล่าสุด
Jack the Giant Slayer (2013)
The Tree of Life(2011)
Iron Man (2013)
ลัทธิ Constructivism
คู่กรรม(2013)
Stoker(2013)
Amour(2012)
Silver Linings Playbook(2012)
Zero Dark Thirty(2012)
Les Misérables(2012)


บทความแนะนำ
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
สารบัญภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

[Add A-Bellamy's blog to your web]