สุขา สังฆัสสะ สามัคคี ความสามัคคีนำมาซึ่งความสุข
<<
มิถุนายน 2550
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
18 มิถุนายน 2550
 
 

“พระมหาธีรราชเจ้า”แห่งองค์ “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว”ตอนจบ


เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช ทรงเชิญพระราชอาคันตุกะของประเทศสำคัญๆทั่วโลก โดยมีพระราชประสงค์จะให้มิตรประเทศรู้จักสยามมากขึ้น

พอเสร็จงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชได้เพียง ๑ เดือน ก็ได้ทรงวางแผนเกี่ยวกับการพัฒนาบุคคล ทรงเปลี่ยนโรงเรียนมหาดเล็กให้เป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน แล้วทรงตั้งโรงเรียนมหาดเล็กมหาดเล็กหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง


ในเรื่องพระศาสนานั้น พระราชนิพนธ์เรื่อง “พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร”ทรงนำพุทธศาสนสุภาษิตมาขยายความให้เข้าใจมากขึ้น และในบางโอกาสได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนา เช่น ที่ค่ายหลวงหาดเจ้าสำราญ ไม่มีวัด พอถึงวันวิสาขบูชาก็ทรงจัดพิธีบูชาพระรัตนตรัย และทรงแสดงพระธรรมเทศนาเสียเอง เรียกว่า “พระบรมราชานุศาสนีย์” เป็นต้น


ทรงหนังสือพิมพ์ทุกวัน และได้พระราชทานกำเนิดแก่หนังสือพิมพ์หลายฉบับ เช่น ทวีปัญญา ชวนหวว สมุทสาร ดุสิตสมิต เป็นต้น พระราชนิพนธ์บทความส่งไปยังสำนักพิมพ์มากมาย เวลาที่พระราชทานบทความไปลงหนังสือพิมพ์ มักจะทรงใช้ พระ นามแฝง จำนวนพระนามแฝงของพระองค์นั้น มากกว่า ๑๐๐ อาจมากที่สุดในโลกก็ได้ ตัวอย่างพระนามแฝงที่ทรงใช้ ได้แก่

อัศวพาหุ สำหรับบทพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับการบ้านการเมือง

รามจิตติ สำหรับบทพระราชนิพนธ์ที่แปลจากภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะเรื่องนักสืบ

พระขรรค์เพชร สำหรับบทพระราชนิพนธ์บทละคร (ก่อนครองราชย์)

ศรีอยุธยา
สำหรับบทพระราชนิพนธ์บทละคร (หลังครองราชย์)

พันแหลม สำหรับพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับทหารเรือ

นายแก้ว นายขวัญ สำหรับพระราชนิพนธ์ชุด “นิทานทองอิน”

นอกจากพระนามแฝงสำหรับพระองค์เองแล้ว ยังได้พระราชทานนามแฝงแก่บุคคลอื่น เช่น นายเข็ม หมวกเจ้า ประติสมิต ประเสริฐ หูผึ่ง เป็นต้น




พระองค์ได้ทรงพัฒนาวัฒนธรรมไว้หลายอย่างในสังคม ตัวอย่างเช่น

๑.ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ใช้พุทธศักราชแทนรัตนโกสินทรศก

๒.ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เลิกการใช้ทุ่มโมงยาม และให้เรียกเวลาตามนาฬิกา

๓.ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ถือการเริ่มเวลาวัน ตั้งแต่ ๒๔.๐๐ น.

๔.ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ใช้คำนำหน้าเด็กและสตรี

๕.ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้คนไทยมีนามสกุล โดยทรงมีพระราชอุตสาหะคิดนามสกุลพระราชทานถึง ๖,๔๖๐ สกุล

๖.ทรงเป็นนักอักษรศาสตร์ ได้มีบุคคลกราบบังคมทูลขอพระราชทานให้แก่ลูกหลานมากมาย และเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินประพาสปักษ์ใต้ พอถึงบ้านดอน ก็พระราชทานชื่อใหม่ว่า “สุราษฎร์ธานี” ซึ่งแปลว่า เมืองคนดี

๗.ได้ทรงคิดคำไทยให้ใช้แก่สิ่งที่มนุษย์จำเป็นต้องใช้เป็นจำนวนมากมาย เช่น
รถยนต์ ใช้แทนคำว่า มอเตอร์คาร์
กองรักษาการ ใช้แทนคำว่า โรงการ์ด
บรรณาธิการ ใช้แทนคำว่า เอดิเตอร์
ตำรวจ ใช้แทนคำว่า โปลิส
มหาวิทยาลัย ปริญญา วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ อักษรศาสตร์ แพทยศาสตร์ เริ่มใช้เมื่อสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๘.ชื่อถนนต่างๆในกรุงเทพมหานคร ชื่อส่วนใหญ่เป็นภาษาต่างประเทศ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ คิดให้ใหม่ เช่น
ถนนซ้างฮี้นอก ถนนซ้างฮี้ใน ถนนซ้างฮี้น่า ๓ ถนนนี้ตั้งแต่ลำน้ำเจ้าพระยาถึงถนนราชปรารภ เปลี่ยนชื่อ “ถนนราชวิถี”
ถนนเบญจมาศนอก ตั้งแต่สะพานมัฆวาฬรังสรรค์ ถึงถนนพระลานเปลี่ยนชื่อ “ถนนราชดำเนินนอก” เป็นต้น

๙.เรื่องธงชาติ ทรงเห็นว่าธงชาติไทยนั้นเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องพิสดารมากนัก อีกทั้งการทำธงชาติรูปช้างนั้น ทำลำบาก และในบางกรณีมีผู้ชักธงหัวกลับด้วย มหาอำนาจจ่างๆ ก็มักจะใช้สีแดง ขาว น้ำเงิน สองหรือสามสีเรียงกันเป็นริ้ว จึงได้ทรงคิดใหม่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๑ ทีแรกลองใช้สีแดงกับขาวสลับกันเป็น ๕ ริ้ว แต่ในที่สุดก็ให้มี ๓ สี เรียกว่า “ธงไตรรงค์”

๑๐.ทรงตั้งวรรณคดีสโมสรเพื่อส่งเสริมวรรณคดีไทย และสถาบันแห่งนี้ได้ประกาศยกย่องวรรณคดีที่เป็นเลิศในประเภทต่างๆ รวม ๑๐ ประเภท ซึ่งบทพระราชนิพนธ์ของพระองค์ได้รับการถวายประกาศนียบัตรความเป็นเลิศ ๓ ประเภท คือ หัวใจนักรบ เป็นเลิศละครพูด พระนลคำหลวง เป็นหนังสือแต่งดีในกวีนิพนธ์ และมัทนะพาธา เป็นเลิศคำฉันท์ที่แปลกและแต่งยาก

๑๑.ได้ทรงเปิดหอพระสมุดสำหรับพระนคร โดยพระราชดำริว่า “ชาติใดไม่มีหนังสือ ไม่มีตำนาน นับว่าเป็นเหมือนคนป่า”


เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว ทรงได้รับการยกย่องจากบัณฑิตผู้หนึ่ง คือ พระสารประเสริฐ(ตรี นาคะประทีป) ได้ทูลเกล้าฯถวายพระราชสมัญญาว่าทรงเป็น “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” อันมีความหมายว่า พระมหากษัตริย์ผู้เป็นปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่

พ.ศ.๒๔๒๔ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแงสหประชาชาติ หรือ UNESCO ได้ยกย่องว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละคร

ขอพระองค์จงทรงพระเจริญในสวรรค์ชั้นฟ้าเทอญ...

.........................................................................................................

เอกสารอ้างอิง

กรมวิชาการ.แนวพระราชดำริเก้ารัชกาล.กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว,๒๕๒๗
ธนาคารออมสิน.สมเด็จพระมหาธรราชเจ้า พระราชประวัติ ๔๕ ปี แห่งการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย. กรุงเทพฯ: สไตล์ครีเอทีฟเฮ้าส์, ๒๕๔๕
พิมาน แจ่มจรัส.วันสวรรคตของ ๖๖ กษัตริย์.กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์, ๒๕๔๗
โรม บุนนาค.ชุดบันทึกแผ่นดิน ตอน ๑๐๐ เรื่องเก่าเล่าสนุก.กรุงเทพฯ:สยามบันทึก,๒๕๔๘
ศิริ โพธิ์ทอง.ราชสำนักพระมงกุฎเกล้าฯ และขบวนการลูกเสือแห่งประเทศไทย.กรุงเทพฯ: เทพพิทักษ์การพิมพ์, ๒๕๒๐




 

Create Date : 18 มิถุนายน 2550
0 comments
Last Update : 18 มิถุนายน 2550 10:57:14 น.
Counter : 3068 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

 

mr.benz
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




กุสลาธัมมา ..............
[Add mr.benz's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com