All Blog
น้ำตาล สาเหตุหลักของความอ้วน


การที่เรากินของหวาน หรือบริโภคน้ำตาลในปริมาณมากๆ จะทำให้ร่างกายนำไปใช้ไม่หมดแล้วเก็บสะสมเป็นไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย หากเราต้องการลดน้ำหนัก เราจึงต้องลดปริมาณน้ำตาลลงด้วย

วัฎจักรของน้ำตาล
รับทานอาหารน้ำตาลสูง –> กระตุ้นอินซูลินให้ออกมามาก –> ดึงระดับน้ำตาลให้ต่ำลงมามาก –> ทำให้รู้สึกหิวใหม่ –> หาอาหารน้ำตาลสูงมาทาน –> น้ำตาลในเลือดสูงอีก –> อินซูลินออกอีก
นี่จึงเป็นเป็นวัฎจักรที่ทำให้เราอ้วนนั่นเอง!

นอกจากน้ำตาลจะทำให้เราอ้วนได้แล้ว น้ำตาลยังมีข้อเสียอีกมากมายได้แก่
- ทำให้โครงสร้างต่างๆ ของร่างกายเสียไปตั้งแต่คอลลาเจนไปถึงดีเอ็นเอ
- ก่อให้เกิดการเผาผลาญน้ำตาลซึ่งทำให้เกิดการหลั่งสารอักเสบในร่างกาย
- เพิ่มอนุมูลอิสระในร่างกาย ซึ่งจะทำลายโครงสร้างต่างๆ ในร่างกาย
- กระตุ้นอินซูลินให้ออกมามาก ซึ่งจะไปยับยั้งการสลายไขมัน นำไปสู่โรคอ้วนและเบาหวาน

วิธีการแก้ไข
1. ทานอาหารน้ำตาลต่ำ เช่น แป้งหรือข้าวไม่ขัดสี ได้แก่ข้าวกล้อง ทานผักสีเขียวเข้ม ผลไม้ที่ไม่หวาน
2. ลดอาหารต้องห้าม ได้แก่ ช้อกโกแลตนม คุ้กกี้ น้ำหวาน น้ำอัดลม กาแฟเย็นใส่นมข้นหวาน น้ำผลไม้กล่อง ไอศกรีม เค้ก ฯลฯ
3. บริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาล

Other Link
ปรึกษาลดน้ำหนักฟรี
บทความอื่นๆ



Create Date : 15 ตุลาคม 2553
Last Update : 15 ตุลาคม 2553 13:46:19 น.
Counter : 3675 Pageviews.

0 comment
คนไทยติดน้ำตาล


กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย คนไทยติดน้ำตาล มีการบริโภคน้ำตาลเกินกว่ามาตรฐานกำหนดถึง 3 เท่า คือ เป็นปริมาณสูงถึงคนละ 29.6 กิโลกรัมต่อปี หรือ เฉลี่ยวันละ 20 ช้อนชา ขณะที่ค่ามาตรฐานกำหนดให้บริโภคได้ไม่เกินคนละ 10 กิโลกรัมต่อปี หรือเฉลี่ยวันละ 6 – 8 ช้อนชา

ดร.นายแพทย์ สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า คนไทยบริโภคน้ำตาลอย่างฟุ่มเฟือย โดยที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงที่ว่า “น้ำตาล” ไม่มีสารอาหารที่ร่างกายต้องการเลย มีประโยชน์เพียงให้พลังงานสูงเท่านั้น ที่สำคัญร่างกายไม่จำเป็นต้องได้พลังงานจากน้ำตาล เนื่องจากมีอาหารอื่นๆ ที่สามารถให้พลังงานทดแทนได้ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน

ปริมาณน้ำตาลที่บริโภคเกินความต้องการ เมื่อใช้ไม่หมดจะเป็นพลังงานส่วนเกินและเปลี่ยนรูปเป็นไขมันเก็บสะสมในร่างกายอันเป็นสาเหตุของภาวะ”อ้วนลงพุง” ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ อาทิ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดอุดตัน และโรคเบาหวานที่พบว่าปัจจุบันมีคนไทยป่วยเป็นโรคนี้ถึง 10 ล้านคนเลยทีเดียว

Other Link
ปรึกษาลดน้ำหนักฟรี
บทความอื่นๆ



Create Date : 15 ตุลาคม 2553
Last Update : 15 ตุลาคม 2553 10:44:35 น.
Counter : 636 Pageviews.

1 comment
ความสำคัญของอาหารเช้า


ในสูตรอาหารส่วนใหญ่จะแนะนำให้ทานอาหารเช้าน้อยๆ เช่น บางสูตรทานแค่โยเกิร์ต หรือกาแฟ หรือบางคนที่ต้องการอดอาหารก็มักจะไม่ทานอาหารเช้า หรือบางคนอาจจะรีบเร่งในตอนเช้าจึงถือโอกาสไม่ทานอาหารเช้าเพื่อประหยัดเวลา ประหยัดเงิน และควบคุมน้ำหนักไปด้วยในตัว

“การไม่ทานอาหารเช้าหรือทานน้อยๆ แทนที่จะเกิดประโยชน์อย่างที่เราคิด กลับมีโทษมากกว่าประโยชน์มากมาย!”

ลองคิดตามดูว่าหากเราไม่ทานอาหารเช้า(หรือทานเล็กน้อย) แล้วมาทานตอนเที่ยงเลย ร่างกายเราจะไม่ได้รับสารอาหารติดต่อกันนานถึง 16-18 ชั่วโมง(นับจากอาหารเย็นของเมื่อวานจนถึงอาหารเที่ยงของวันนี้)

การที่ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารนานขนาดนั้น จะส่งผลต่อสุขภาพของเราอย่างไม่ต้องสงสัย(ปวดหัว ง่วงนอน จนถึงความดัน โรคหัวใจ) และมีผลงานวิจัยว่าคนที่ไม่ทานอาหารเช้าจะเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งมากกว่าปกติ

ส่วนในเรื่องของการลดน้ำหนักนั้น การที่ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารติดต่อกันนานขนาดนั้น ร่างกายก็จะคิดว่าอยู่ในสภาวะอดอยาก ร่างกายจะคิดว่าจะไม่ได้ค่อยได้อาหาร ร่างกายก็จะเริ่มปรับตัวให้ทำงานน้อยลงคล้ายสภาวะจำศีลของสัตว์ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ร่างกายเผาผลาญน้อยลง ซึ่ง จะส่งผลให้น้ำหนักตัวของเราลดลงยากยิ่งขึ้น และทำให้น้ำหนักตัวเราเพิ่มง่ายยิ่งขึ้น นี่คือผลเสียอย่างแรกของการไม่ทานอาหารเช้า

นอกจากนี้การที่ร่างกายไม่ได้รับอาหารนานขนาดนั้น สิ่งที่ร่างกายจะทำก็คือจะเก็บพลังงานสำรองเอาไว้ใช้ในช่วงที่ไม่ได้พลังงานจากอาหาร(ร่างกายเราฉลาดมาก) ซึ่งร่างกายเราก็จะเก็บพลังงานไว้ใช้ในรูปแบบของไขมัน

ผลที่ได้ก็คือ อาหารที่เราทานในมื้ออื่นส่วนหนึ่งจะถูกใช้เพื่อให้ชีวิตอยู่รอด แต่อีกส่วนหนึ่งจะถูกกันไว้เพื่อกักเก็บเป็นพลังงานสำรองในรูปแบบของไขมัน คนที่ไม่ค่อยทานอาหารเช้าจึงมักจะมีปัญหาเรื่องสัดส่วนเกินแม้น้ำหนักตัวจะไม่มากเท่าไหร่

ผลจากการที่ร่างกายทำงานน้อยลง และผลจากการเก็บไขมันมากขึ้น คนที่ไม่ทานอาหารเช้า(หรือทานน้อย) มีแนวโน้มที่จะมีน้ำหนักตัวและสัดส่วนเกินที่ค่อยๆเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขึ้นทีละนิดจนดูไม่ออกและไม่รู้ว่าทำไมน้ำหนักขึ้นทั้งๆที่ไม่ได้ทานเยอะ

เรื่องนี้มีผลงานวิจัยรับรองโดยในสหรัฐได้ทำการวิจัยกับอาสาสมัครถึง 3,000 คน พบว่าร้อยละ 80 ของอาสาสมัครที่ประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนักไม่ให้กลับมาเพิ่ม เป็นคนที่ทานอาหารเช้าเป็นประจำทั้งนั้น (และยังช่วยลดโอกาสเป็นโรคหัวใจอีกด้วย)

ฉะนั้นไม่ว่าเราจะต้องการลดน้ำหนักหรือรักษาน้ำหนักให้คงที่ก็ตาม อาหารมื้อเช้าคือมื้อที่เราขาดไม่ได้เด็ดขาด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราอดอาหารมื้ออื่นได้ เพราะผลที่ได้แม้จะไม่เท่าอดอาหารมื้อเช้าแต่ก็ไม่แตกต่างกันมาก เราจึงไม่ควรอดอาหารมื้อใดเลย

Other Link
ปรึกษาลดน้ำหนักฟรี
บทความอื่นๆ



Create Date : 14 ตุลาคม 2553
Last Update : 14 ตุลาคม 2553 17:40:28 น.
Counter : 718 Pageviews.

0 comment
แนะเคล็ดลับควบคุมอาหาร


หนึ่งในวิธีที่ช่วยในการลดน้ำหนักอย่างได้ผล ก็คือการควบคุมการรับประทานอาหาร มีวิธีดังนี้
- บริโภคข้าวหรือแป้งได้ตามปกติ แต่ควรลดปริมาณลงจาก เดิม 1 ใน 3 ส่วน
- ให้บริโภคเนื้อปลา ไข่ขาว เต้าหู้และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองทุกวัน
- หลีกเลี่ยงอาหารทอดหรือผัด ให้เปลี่ยนมาเลือกอาหารที่เตรียมโดยการต้ม นึ่ง ย่าง แทน
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว อย่างเช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ครีมเทียม แนะนำให้บริโภคน้ำมันจากรำข้าว ถั่วเหลือง และเมล็ดทานตะวัน
- ควรดื่มนมพร่องมันเนย วันละ 1-2 แก้ว หากดื่มนมไม่ได้ให้ดื่มนมถั่วเหลืองแทน
- งดการบริโภคน้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ที่หวานจัด เหล้า เบียร์ และไวน์
- งดรับประทานอาหารระหว่างมื้อ
- ลดการบริโภคเกลือ อาหารหมักดอง อาหารเค็ม
- ควรออกกำลังกายอย่างน้อยอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์

Other Link
ปรึกษาลดน้ำหนักฟรี
บทความอื่นๆ



Create Date : 14 ตุลาคม 2553
Last Update : 14 ตุลาคม 2553 11:36:34 น.
Counter : 2544 Pageviews.

1 comment
โทษของการกินน้ำตาลมากเกินไป


การกินน้ำตาลเป็นการให้พลังงานแก่ร่ายกาย แต่ถ้ากินมากเกินไปจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ

1. เมื่อกินน้ำตาลมากเกินไป โดยเฉพาะน้ำตาลเชิงเดี่ยว (น้ำตาลทราย น้ำผึ้ง น้ำตาลในผลไม้ น้ำตาลในนม) น้ำตาลจะเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ทำให้เลือดมีสภาวะเป็นกรดมากเกินไป ร่างกายเกิดภาวะไม่สมดุล จึงมีการดึงแร่ธาตุจากส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายมาแก้ไขความไม่สมดุล

2. ทำให้เกิดไขมันสะสม น้ำตาลจะถูกเก็บไว้ที่ตับในรูปของไกลโคเจน แต่ถ้ามีมากจนเกินไป ตับก็จะส่งไปยังกระแสเลือดและเปลี่ยนเป็นกรดไขมัน โดยจะสะสมไว้ในส่วนของร่างกายที่มีการเคลื่อนไหวน้อย เช่น สะโพก ก้น ขาอ่อน หน้าท้อง

3. หากยังกินน้ำตาลอย่างต่อเนื่อง กรดไขมันจะสะสมไว้ที่อวัยวะภายในอื่น ๆ เช่นหัวใจ ตับ และไต ดังนั้นอวัยวะเหล่านี้จะค่อย ๆ ถูกห่อหุ้มด้วยไขมัน และน้ำเมือก ร่างกายจะเริ่มผิดปกติ ความดันเลือดจะสูงขึ้น

4. การกินน้ำตาลมากเกินไป มีผลต่อการทำงานของสมอง ทำให้รู้สึกง่วงนอน

5. อาการปวดศีรษะเรื้อรัง เป็นตะคริวเวลามีรอบเดือน เป็นสิว ผื่น แผลพุพอง ตกกระ แผลริดสีดวงทวารหนัก ไมเกรน เบาหวาน วัณโรค โรคหัวใจ มะเร็งตับ สิ่งเหล่านี้สัมพันธ์กับการกินน้ำตาลมากเกินไป

6. น้ำตาลทำให้อาการของโรคติดเชื้อที่เป็นอยู่มีสูงขึ้น เพราะเชื้อโรคทุกชนิดใช้น้ำตาลเป็นอาหาร

7. น้ำตาลนอกจากจะมีผลต่อผู้ใหญ่แล้วยังมีผลต่อเด็กอีกด้วย เพราะถ้าหากเด็กกินน้ำตาลในปริมาณที่มากจนเกินไป จะทำให้เด็กเป็นโรคกระดูกเปราะและฟันผุได้ และอาจเป็นคนโกรธง่าย สมาธิสั้น

ถ้าอยากมีสุขภาพดี ก็ควรกินน้ำตาลแต่พอประมาณจะดีกว่า

Other Link
ปรึกษาลดน้ำหนักฟรี
บทความอื่นๆ



Create Date : 13 ตุลาคม 2553
Last Update : 13 ตุลาคม 2553 9:44:23 น.
Counter : 1052 Pageviews.

4 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  

ChaiKU
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



รับสมัครผู้สนใจหารายได้ทาง Internet
และให้คำปรึกษาผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก